ญาณจริยา [ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค]
โดย เมตตา  29 มี.ค. 2567
หัวข้อหมายเลข 47663

[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ ๗๙๙ - ๘๐๐

[๑๗๐] คำว่า ญาณจริยา ความว่า ชื่อว่าญาณจริยา เพราะอรรถว่ากระไร?

ชื่อว่าญาณจริยา เพราะอรรถว่าประพฤติไม่มีราคะ ประพฤติไม่มีโทสะ ฯลฯ ประพฤติไม่มีอนุสัย ประพฤติไม่ประกอบด้วยราคะ ประพฤติไม่ประกอบด้วยโทสะ ประพฤติไม่ประกอบด้วยโมหะ ประพฤติไม่ประกอบด้วยมานะ ฯลฯ ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ ไม่ประกอบด้วยอุทธัจจะ ไม่ประกอบด้วยวิจิกิจฉา ไม่ประกอบด้วยอนุสัย ประกอบด้วยกุศลกรรม ไม่ประกอบด้วยอกุศลกรรม ไม่ประกอบด้วยกรรมมีโทษ ประกอบด้วยกรรมไม่มีโทษ ไม่ประกอบด้วยกรรมดำ ประกอบด้วยกรรมขาว ประกอบด้วยกรรมมีสุขเป็นกำไร ไม่ประกอบด้วยกรรมมีทุกข์เป็นกำไร ประพฤติประกอบด้วยกรรมมีสุขเป็นวิบาก ประพฤติไม่ประกอบด้วยธรรมมีทุกข์เป็นวิบาก ประพฤติในญาณ ญาณมีจริยาเห็นปานนี้ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า ญาณจริยา นี้ชื่อว่าญาณจริยา วิญญาณจริยา อัญญาณจริยา ญาณจริยา ชื่อว่า เพราะอรรถว่า รู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดจริยา เป็นจริยานานัตตญาณ.