พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑-หน้าที่ 387
ข้อความบางตอนจาก...
จิตตวรรคที่ ๓
ว่าด้วยการฝึกจิต
[๑๓] ๑. ชนผู้มีปัญญา ย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอก อันบุคคลรักษาได้ยาก ห้ามได้ยาก ให้ตรง ดุจช่างศรดัดลูกศรให้ตรงฉะนั้น จิตนี้ (อันพระโยคาวจรยกขึ้นจากอาลัย คือกามคุณ ๕ แล้ว ซัดไปในวิปัสสนากัมมัฏฐาน) เพื่อละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรนดุจปลาอันพรานเบ็ดยกขึ้นจาก (ที่อยู่) คือน้ำ แล้วโยนไปบนบก ดิ้นรนอยู่ฉะนั้น.
๒. การฝึกจิตอันข่มได้ยาก เป็นธรรมชาติเร็ว มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่ เป็นการดี (เพราะว่า) จิตที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นเหตุนำสุขมาให้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑-หน้าที่ 387
ข้อความบางตอนจาก...
จิตตวรรคที่ 3
ว่าด้วยการฝึกจิต
๓. ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยากละเอียดยิ่งนัก มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่ (เพราะว่า) จิตที่คุ้มครองไว้ได้ เป็นเหตุนำสุขมาให้
๔. ชนเหล่าใด จักสำรวมจิตอันไปในที่ไกล เที่ยวไปดวงเดียวไม่มีสรีระ มีถ้ำเป็นที่อาศัย ชนเหล่านั้น จะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร.
๕. ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์แก่ผู้มีจิตไม่มั่นคง ไม่รู้แจ้งซึ่งพระสัทธรรม มีความเลื่อมใสอันเลื่อนลอยภัย (ความกลัว) ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตอันราคะไม่ซึมซาบ มีใจไม่ถูกโทสะตามกระทบ ละบุญและบาปได้ ตื่นอยู่
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ