การไม่ทำบาป ดี.
โดย pirmsombat  15 ก.ย. 2554
หัวข้อหมายเลข 19729

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 396

...................

ที่แปลว่า ดี เช่นในคาถาเป็นต้นว่า

สาธุ ธมฺมรุจี ราชา สาธุ ปญฺญาณวา นโร

สาธุ มิตฺตานมทฺทุพฺโภ ปาปสฺสากรณํ สุขํ

พระราชาใฝ่ธรรม ดี

นระผู้มีปัญญา ดี

ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ดี

การไม่ทำบาป ดี.



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 15 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

จากที่คุณหมอยกมานั้น เป็นความหมายของคำว่า สาธุ ซึ่งปกติเราก็มักจะใช้คำว่า สาธุ กันบ่อยๆ

คำว่าสาธุมีหลายความหมายดังนี้ครับ

1. วอนขอ เช่น พระภิกษุขอโอกาสให้พระพุทะเจ้าแสดงธรรมก็ใช้คำว่าสาธุ

2. รับคำ เช่น พระภิกษุรับคำที่พระพุทธเจ้าตรัสธรรมว่าดีแล้ว

3. ปลอบใจ

4. ดี คำว่าสาธุ ใช้กับคำว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ดี สิ่งที่ประเสริฐ จึงใช้คำว่าสาธุ

5. ทำให้ร่าเริ่ง

6. ทำให้มั่น คือ ขอให้ฟังธรรมให้มั่นด้วยความตั้งใจ ก็ใช้คำว่าสาธุ

แต่ในที่นี้ใช้คำว่าสาธุ ที่หมายถึง คำว่าดี เป็นสิ่งที่ประเสริฐ ถูกต้อง เป็นกุศลนั่นเอง ครับ เช่น

พระราชาใฝ่ธรรม ดี พระราชา เมื่อปกครองประชาชน ตั้งอยู่ในสิ่งที่ดี คือ ใฝ่ธรม ปกครองโดยธรรม เป็นสิ่งที่ถูกต้องและดี จึงใช้คำว่าสาธุครัย

นระผู้มีปัญญา ดี ผู้ที่มีปัญญา ย่อมทำตนในสิ่งที่ควรเหมาะสม และเป็นชีวิตที่ดี ดังนั้น ผู้ปัญญา จึงเป็นสิ่งที่ดี เพราะปัญญาเป็นคุณธรรมที่ดีครับ

ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ดี คนที่ลับหลัง คอยทำร้ายเพื่อนให้เพื่อนแตกกัน การประทุษร้าย มิตรนั้นด้วยอกุศล ไม่เป็นความดี ไม่ใช่สิ่งที่ดี แต่ การไม่ประทุษร้ายเพื่อนทั้งต่อหน้า และลับหลังด้วยความจริงใจและมีเมตตา การไม่ประทุษร้ายนั้นด้วยจิตที่เป็นกุศล จึง เป็นสิ่งที่ดี เป็นความดี จึงใช้คำว่า สาธุ

การไม่ทำบาป ดี. การไม่ทำบาปเป็นสิ่งที่ดี เพราะบาป อกุศลไม่ดี การไม่ทำสิ่งที่ไม่ดี จึงเป็นความดี จึงใช้คำว่า สาธุ ดังนั้นคำว่า ดี คือ สาธุ จึงหมายถึง ความถูกต้อง สิ่งที่เป็นกุศล โดยนัยนี้นั่นเองครับ

ขออนุโมทนาคุณหมอและทุกท่านครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 2    โดย ผู้ร่วมเดินทาง  วันที่ 15 ก.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 3    โดย khampan.a  วันที่ 15 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความดี (กุศลธรรม) เป็นความดี ไม่ว่าจะเกิดกับใครก็ตาม ก็เป็นความดี ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น เพราะธรรม เป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น

- พระราชาผู้ชอบใจธรรม ตั้งอยู่ในกุศลธรรม ประพฤติอยู่ในกุศลธรรม เว้นจากความชั่วและอคติทั้งปวง ย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยความดี คือ กุศลธรรม เพราะมีกุศลธรรม จึงทำให้พระราชา เป็นพระราชาที่ดี (แต่ การเป็นคนดี ไม่ได้จำกัดเฉพาะใครคนใดคนหนึ่ง เป็นคนดีได้ทุกเพศ ทุกวัย เป็นคนดีได้ทุกตำแหน่ง ทุกฐานะ แม้ไม่มีตำแหน่ง ก็เป็นคนดีได้)

- การไม่เบียดเบียน ไม่ประทุษร้ายทั้งทางกายและวาจา แต่มีจิตใจประกอบด้วยความหวังดี ความปรารถนาดีและมุ่งประพฤติประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ย่อม ดี เพราะเป็นกุศล ไม่เบียดเบียนทั้้งตนเองและผู้อื่น

- บุคคลผู้ที่ประกอบด้วยปัญญา ย่อมรู้ว่าอะไรเป็นกุศล อะไรเป็นกุศล อะไรควรละ อะไรควรที่จะอบรมเจริญให้มีขึ้น พร้อมทั้งเป็นผู้มีจิตใจน้อมไปในการขัดเกลากิเลส และสะสมกุศลในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น ผู้มีปัญญา จึง ดี เพราะท่านจะคิดุพูด และทำแต่สิ่งที่ดีงามเท่านั้น

- การไม่กระทำบาป ดี แน่นอน ย่อมจะไม่ได้รับผลกรรมของบาปนั้น และย่อมไม่มีความเดือดร้อนใจเพราะเหตุแห่งการทำบาปนั้น เนื่องจากไม่ได้ทำบาป คนดี ย่อมไม่ทำบาป เพราะมีความเกรงกลัว มีความละอายต่อบาป อย่างแท้จริง ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอ,คุณผเดิม และุทกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 4    โดย pirmsombat  วันที่ 15 ก.ย. 2554

ขอบคุณและอนุโมทนาคุณเผดิม คุณคำปั่นและทุกท่านครับ


ความคิดเห็น 5    โดย ผ้าเช็ดธุลี  วันที่ 15 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกพระองค์

กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับ และ อนุโมทนากุศลจิตอาจารย์ครับ


ความคิดเห็น 6    โดย kinder  วันที่ 15 ก.ย. 2554
สาธุ

ความคิดเห็น 7    โดย nong  วันที่ 15 ก.ย. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 8    โดย wannee.s  วันที่ 15 ก.ย. 2554

การฟังธรรมเป็นความดี การทำตามโอวาทเป็นความดี ความประพฤติมักน้อยเป็นความดี การอยู่โดยไม่ห่วงใยเป็นความดีทุกเมื่อค่ะ


ความคิดเห็น 9    โดย pat_jesty  วันที่ 16 ก.ย. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ