พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 235 คำว่า มุนี มีความว่า ญาณ เรียกว่าโมนะ ได้แก่ ปัญญา ความรู้ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ บุคคลประกอบด้วยญาณนั้น ชื่อว่า มุนี คือผู้ถึงญาณที่ชื่อว่า โมนะ โมเนยยะคือ ธรรมที่ทำให้เป็นมุนี มี ๓ อย่าง คือ โมเนยยธรรมทางกาย ๑ โมเนยยธรรมทางวาจา ๑ โมเนยยธรรมทางใจ ๑. ชนผู้ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนี ๓ อย่างนี้ ชื่อว่ามุนี มุนี มี ๖ จำพวก คือ อาคาริยมุนี ๑ อนาคาริยมุนี ๑ เสกขมุนี ๑ อเสขมุนี ๑ ปัจเจกมุนี ๑ มุนิมุนี ๑ .
อาคาริยมุนี เป็นไฉน? ชนเหล่าใด เป็นผู้ครองเรือน มีบทคือนิพพานอันเห็นแล้ว มีศาสนาอันรู้แจ้งแล้ว ชนเหล่านี้ชื่อว่า อาคาริยมุนี. อนาคาริยมุนี เป็นไฉน? ชนเหล่าใดออกบวช มีบทคือนิพพานอันเห็นแล้ว มีศาสนาอันรู้แจ้งแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่า อนาคาริยมุนี. พระเสขะ ๗ จำพวก ชื่อว่า เสกขมุนี. พระอรหันต์ทั้งหลาย ชื่อว่า อเสกขมุนี. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่า ปัจเจกมุนี. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่า มุนิมุนี.
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนาครับ
ภิกษุที่ปฏิบัติแบบโมเนยยะ คือข้อปฏิบัติธรรมที่เคร่ง ในศาสนาของพระพุทธเจ้าสมณโคดม
มีเพียงองค์เดียวค่ะ เช่น วันนี้บิณฑิตบาตที่นี้ รุ่งขึ้นบิณฑิตบาตอีกที่หนึ่ง ไม่ซ้ำ ไม่ติดใน
สกุล ที่อยู่อาศัยก็อยู่ไม่ซ้ำกัน วันนี้อยู่ที่โคนไม้นี้ รุ่งขึ้นก็อยู่อีกที่หนึ่ง มักน้อยในคำพูด
ปกติท่านจะไม่พูดกับใคร มักน้อยในปริยัติ ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าเพียงครั้งเดียว แล้ว ก็หลีกไปตามลำพัง ไม่ฟังอีก คนที่มักน้อยในปริยัติ มีความรู้เป็นพหูสูต แต่ไม่แสดงตน