วันก่อนดูทีวี เทปวันมาฆะ ตอนหนึ่ง อ.อรรณพ เล่าถึงสาวกองค์หนึ่ง นั่งบำเพ็ญในที่ร้อนจัด แล้วท่านตอบว่า ท่านนั่งเพราะกลัวความร้อนจัด อ.อรรณพ บอกว่ากลัวนรกหมกไหม้ที่ร้อนจัด แต่สงสัยว่าเป็นการพูดเพื่อให้ท่านไม่กลัวความร้อนจัดมากกว่า คืออยู่กับความร้อนจัดได้ โดยไม่รู้สึกอะไร ท่านจึงตอบอย่างนั้น
อีกประเด็นหนึ่ง อ.อรรณพ กล่าวว่า การมีขันติ ไม่ใช่เพราะกลัวว่าจะถูกลงโทษ เช่น กลัวว่า จะต้องถูกไล่ออกหรือ อื่นๆ จึงมีความอดทน แล้วการที่กลัวตกนรกหมกไหม้ เลยต้องอดทน นี่เป็นขันติหรือเปล่า ฟังแล้วมันขัดๆ นะครับ
ขอบคุณมาก
ท่านเป็นผู้ที่ใส่ใจในกรรมฐานไม่ละทิ้งในการอบรมเจริญปัญญา ขณะที่นั่งอยู่ภายนอกในฤดูร้อน ท่านก็พิจารณาถึงความเร่าร้อนในอเวจีมหานรก แต่ความร้อนที่เกิดจากพระอาทิตย์ไม่ร้อนเท่าในอเวจีมหานรก ผู้มีปัญญากับผู้ที่ไม่มีปัญญาจึงแตกต่างกันค่ะ
การแสดงพระธรรมที่กล่าวถึงบุคคลต่างๆ ก็เพื่อให้ผู้ศึกษาเห็นถึงความหลากหลายตามการสั่งสมของพระสาวกแต่ละท่าน ซึ่งแต่ละท่านนั้นสะสมปัญญามามากถึงขั้นเป็นพระอริยบุคคล แต่ที่มีการกระทำและคำพูดที่ต่างกัน ก็เพราะสั่งสมอัธยาศัยมาไม่เหมือนกัน ดังนั้น ผมเห็นว่าผู้ศึกษาในรุ่นหลังที่ยังไม่ได้สะสมความเข้าใจมามากพอจึงไม่อาจคาดเดาความคิดของท่านผู้ทรงปัญญาเหล่านั้นครับ เพราะหากปัญญายังไม่เสมอท่าน ก็คงไม่มีทางเข้าใจความคิดของท่านจริงๆ ได้ว่าเหตุใดท่านจึงทำหรือกล่าวเช่นนั้น และหากจะลองวิเคราะห์ดูก็ต้องพิจารณาเหตุกาณ์และบุคคลแวดล้อมด้วยครับว่า ที่ท่านกล่าวหรือทำเช่นนั้น ด้วยวัตถุประสงค์ใด (แน่นอนว่าต้องเป็นไปในทางที่ดี) ในประเด็นที่สองนั้น ท่านผู้บรรยายชี้ให้เห็นว่าการมีขันตินั้น เป็นเพราะเห็นว่าขันติเป็นสิ่งที่มีประโยชน์จึงเจริญขันติ มิใช่การอดทนในความไม่สบายกาย ไม่สบายใจเพราะเกรงว่าหากแสดงออกถึงความไม่พอใจแล้วจะถูกตำหนิหรือลงโทษ
ไม่ขัดกัน แต่ต่างกันตรงปัญญาที่ต่างขั้นกันครับ กลัว แล้วไปอดทนทำอะไรที่ไม่ทำให้กลัวดับเป็นสมุจเฉทก็ไม่ใช่หนทางที่ถูกต้อง กลัวเสียผลประโยชน์ที่ตนเองจะได้เลยอดทนทำงานต่อไป เป็นขันติไม่ได้ เพราะไม่ใช่กุศลจิต แต่เป็นความรักตัวเองจึงสละสิ่งที่กำลังติดข้องด้วยความมีเยื่อใยในสิ่งนั้นไม่ได้ ก็เป็นอกุศลจิตทั้งขึ้นทั้งล่องเป็นมิจฉาปฏิปทาครับ
กลัว ก็กลัวเป็นธรรมดาของปุถุชน แต่เข้าใจความกลัวตามเป็นจริงและอบรมหนทางที่จะละความเห็นผิดในความกลัวว่าเป็นเรา เป็นตัวตน ละคลายไปจนกว่าจะดับความเห็นผิดนั้นเป็นสมุจเฉทเมื่อเป็นพระโสดาบันจึงจะเป็นหนทางที่จะนำไปสู่ความเป็นผู้ที่กลัวน้อยลงเมื่อเป็นพระสกทาคามี จนกระทั่งท้ายที่สุด ไม่เป็นผู้ที่มีความกลัวเกิดขึ้นอีกเลย เมื่อได้บรรลุเป็นพระอนาคามีและพระอรหันต์ตามลำดับครับ
ที่กลัวตกนรก ถ้าพูดคำที่รัดกุมขึ้นคือ การมีปัญญาเห็นภัยในอบาย นั่นเองครับ แต่ถ้าไม่ใช่ปัญญา ก็กลัวด้วยโทสมูลจิต ซึ่งถ้ารู้กันแล้ว จะใช้คำอะไร ก็คือไม่ควรประมาท เพื่อเป็นปัจจัยเกื้อกูลให้สติระลึกได้ในขณะนี้นั่นเองครับ
ต่างกันที่ปัญญาจริงๆ / ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ
สงสัยในธรรมะข้อใด ก็มาสนทนากันให้เข้าใจถูกตรงตามที่พระพุทธองค์แสดง //
สงสัยก็ถาม // สาธุครับ