[เล่มที่ 57] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 266
๙. คหปติชาดก
ว่าด้วยการทวงในเวลาที่ยังไม่ถึงกําหนด
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 57]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 266
๙. คหปติชาดก
ว่าด้วยการทวงในเวลาที่ยังไม่ถึงกำหนด
[๒๔๗] กรรมทั้งสองไม่ควรแก่เรา เราไม่ชอบใจก็หญิงคนนี้ ลงไปในฉางข้าวแล้วพูดว่า เรายังใช้หนี้ให้ไม่ได้
[๒๔๘] ดูก่อนนายบ้าน เพราะเหตุนั้น เราจึงพูดกะท่าน ท่านมาทวงค่าเนื้อวัวแก่ ซูบผอม ซึ่งเราได้ทำสัญญาผลัดไว้ถึงสองเดือน ในคราวเมื่อชีวิตของเราน้อยลำบากยากเข็ญ ในกาลยังไม่ทันถึงกำหนดสัญญา กรรมทั้งสองนั้นไม่ถูกใจเราเสียเลย.
จบ คหปติชาดกที่ ๙
อรรถกถาคหปติชาดกที่ ๙
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้กระสันเหมือนกัน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อุภยํ เม น ขมติ ดังนี้.
พระศาสดาเมื่อจะรับสั่ง จึงตรัสว่า ขึ้นชื่อว่า มาตุคามดูแลไม่ไหว ทำความชั่วเข้าแล้ว ย่อมลวงสามีด้วยอุบายอย่างใด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 267
อย่างหนึ่ง แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลคหบดี แคว้นกาสี ครั้นเจริญวัยได้ครองฆราวาส. ภรรยาของพระโพธิสัตว์นั้นเป็นหญิงทุศีล ประพฤติอนาจารกับผู้ใหญ่บ้าน. พระโพธิสัตว์ทราบระแคะระคาย จึงเที่ยวสืบ. ก็ในครั้งนั้นในระหว่างฤดูฝน เมื่อข้าวปลูกยังไม่แก่ ก็เกิดความอดหยาก. ถึงเวลาที่ข้าวกล้าตั้งท้อง. ชาวบ้านทั้งหมดร่วมใจกัน ยืมโคแก่ตัวหนึ่งของผู้ใหญ่บ้านมาบริโภคเนื้อ โดยสัญญาว่า จากนี้ไปสองเดือนเราเก็บเกี่ยวแล้วจักให้ข้าวเปลือก.
อยู่มาวันหนึ่ง ผู้ใหญ่บ้านคอยโอกาส จึงเข้าไปยังเรือนในเวลาที่พระโพธิสัตว์ออกไปข้างนอก. ในขณะที่ทั้งสองคนนอนอย่างเป็นสุขนั่นเอง พระโพธิสัตว์ก็เข้าไปทางประตูบ้าน หันหน้าไปทางเรือน. หญิงนั้นหันหน้ามาทางประตูบ้าน เห็นพระโพธิสัตว์ คิดว่า นั่นใครหนอ จึงยืนมองดูที่ธรณีประตู ครั้นรู้ว่าพระโพธิสัตว์นั่นเอง จึงบอกแก่ผู้ใหญ่บ้าน. ผู้ใหญ่บ้านกลัวตัวสั่น. หญิงนั้นจึงบอกผู้ใหญ่บ้านว่า อย่ากลัว ฉันมีอุบายอย่างหนึ่ง พวกเรายืมโคของท่านมาบริโภคเนื้อ ท่านจงทำเป็นทวงเรียกค่าเนื้อ ฉันจะขึ้นไปยังฉางข้าวยืนอยู่ที่ประตูฉาง แล้วบอกท่านว่า ข้าวเปลือกไม่มี ท่านยืนอยู่กลางเรือน แล้วทวงบ่อยๆ ว่า พวกเด็กๆ ในเรือนของเราหิว ท่านจงให้ค่าเนื้อเถิด ว่าแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 268
นางก็ขึ้นไปยังฉางนั่งที่ประตูฉาง. ฝ่ายผู้ใหญ่บ้านยืนอยู่ที่กลางเรือนก็ร้องว่า จงให้ค่าเนื้อเรา. นางนั่งอยู่ที่ประตูฉางพูดว่า ในฉางไม่มีข้าวเปลือก เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วเราจึงจะให้ ไปก่อนเถิด.
พระโพธิสัตว์เข้าไปยังเรือนเห็นกิริยาของคนทั้งสองก็รู้ว่า นั่นคงเป็นอุบายของหญิงชั่วนี้ จึงเรียกผู้ใหญ่บ้านมาพูดว่า นี่แน่ะท่านผู้ใหญ่ เมื่อเราจะบริโภคเนื้อโคแก่ของท่านก็บริโภคโดยสัญญาว่า จากนี้ไปสองเดือน เราจึงจักให้ข้าวเปลือก ยังไม่ล่วงไปถึงกึ่งเดือนเลยท่าน เพราะเหตุไรท่านจึงมาทวงในเวลานี้ ท่านมิได้มาด้วยเหตุนี้ น่าจะมาด้วยเหตุอื่นกระมัง เราไม่ชอบใจกิริยาของท่านเลย แม้หญิงนี้ก็เลวทรามเหลือหลาย รู้ว่าในฉางไม่มีข้าวเปลือก ก็ยังขึ้นฉางบอกว่า ข้าวเปลือกไม่มี แม้ท่านก็ทวงว่า จงให้เรา เราไม่ชอบการกระทำของท่านทั้งสองเลย เมื่อจะประกาศเนื้อความนี้จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-
กรรมทั้งสองไม่ควรแก่เรา เราไม่ชอบใจก็หญิงคนนี้ ลงไปในฉางข้าวแล้วพูดว่า เรายังใช้หนี้ให้ไม่ได้.
ดูก่อนผู้ใหญ่บ้าน เพราะเหตุนี้เราจึงพูดกะท่าน ท่านมาทวงค่าเนื้อวัวแก่ซูบผอม ซึ่งเราได้ผลัดไว้ถึงสองเดือน ในคราวเมื่อชีวิตของเราน้อยลำบากยากเข็ญ ในกาลยังไม่ถึงกำหนดสัญญา กรรมทั้งสองนั้นไม่ชอบใจเราเสียเลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 269
ในบทเหล่านั้น บทว่า ตํ ตํ คามปติ พฺรูมิ ความว่า ท่านผู้ใหญ่บ้าน เราพูดกะท่านด้วยเหตุนั้น. บทว่า กทเร อปฺปสฺมึ ชีวิเต ความว่า ชื่อว่าชีวิตของเรายากจน คือ ค่นแค้น เศร้าหมอง ฝืดเคือง กำลังน้อย ซูบผอม เมื่อชีวิตของ. เราเป็นถึงเช่นนี้. บทว่า เทฺว มาเส สงฺครํ กตฺวา มํสํ ชรคฺควํ กิสํ ความว่า เมื่อพวกเราจะรับเนื้อ ท่านก็ให้โคแก่ คือ โคชรา ซูบผอม ทุพพลภาพ แล้วผลัดเพี้ยน คือกำหนดสองเดือนอย่างนี้ว่า สองเดือนล่วงแล้ว ท่านควรชำระค่าเนื้อ. บทว่า อปฺปตฺตกาเล โจเทสิ ความว่า เมื่อยังไม่ถึงเวลานั้นท่านก็มาทวงเสียแล้ว. บทว่า ตมฺปิ มยฺหํ น รุจฺจติ ความว่า และหญิงชั่วช้าทุศีลผู้นี้รู้อยู่ว่า ภายในฉางข้าวไม่มีข้าวเปลือกทำเป็นไม่รู้ขึ้นไปบนฉางข้าว ยืนที่ประตูฉางพูดว่า เรายังใช้หนี้ให้ไม่ได้ อนึ่ง ท่านก็มาทวงเมื่อยังไม่ถึง เวลา ทั้งสองอย่างนี้เราไม่ชอบใจเลย.
เมื่อพระโพธิสัตว์กล่าวซ้ำซากอยู่อย่างนี้ จึงจิกผมผู้ใหญ่บ้านกระชากให้ล้มลงท่ามกลางเรือน แล้วด่าว่าด้วยคำเป็นต้นว่า เจ้าทำร้ายของที่คนอื่นเรารักษาหวงแหนโดยถือว่า ฉันเป็นผู้ใหญ่บ้าน แล้วทุบตีจนบอบช้ำ จับคอไสออกจากเรือน แล้วคว้าผมหญิงชั่วร้ายนั้นให้ลงมาจากฉางตบตีขู่ว่าหากเจ้าทำเช่นนี้อีก จักได้รู้กัน. ตั้งแต่นั้นมาผู้ใหญ่บ้านก็ไม่กล้ามองดูเรือนนั้น. แม้หญิงชั่วนั้นก็ไม่อาจประพฤตินอกใจอีก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 270
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจธรรม ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรม ภิกษุกระสัน ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. คหบดีผู้ลงโทษผู้ใหญ่บ้าน คือเราตถาคต นี้แล.
จบ อรรถกถาคหปติชาดกที่ ๙