การบูชา เป็นกุศล เป็นความดีที่ควรจะอบรมเจริญ
โดย ธรรมทัศนะ  7 ส.ค. 2551
หัวข้อหมายเลข 9495

ในคำสอนทางพระพุทธศาสนา แสดงบุคคลที่ควรแก่การบูชาไว้หลายบุคคลด้วยกัน มีพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยสาวก อาจารย์ อุปัชฌาย์ มารดา บิดา และบุคคลผู้เป็นญาติซึ่งเป็นบุคคลที่ควรเคารพ เป็นต้น บุคคลทั้งหลายเหล่านี้ เป็นผู้ที่ควรแก่การบูชา ด้วยเครื่องสักการะบูชาประการต่างๆ มีดอกไม้ ผ้า ปัจจัย ๔ เป็นต้น การบูชาเป็นกุศล เป็นความดีที่ควรจะอบรมเจริญ เพราะเป็นกุศลจิตของผู้ที่บูชา เป็นจิตที่ประกอบด้วยความอ่อนโยนขณะที่บูชา ย่อมชื่อว่าได้สร้างเหตุที่ดี เมื่อสร้างเหตุที่ดีผลก็ต้องดี เพราะเหตุว่า ผลแห่งการบูชาในบุคคลที่ควรบูชานั้น ใครๆ ไม่สามารถที่จะนับได้เลย นอกจากนั้น ยังมีข้อความที่แสดงต่อไปอีกว่า มิใช่เพียงบูชาพระพุทธเจ้าเป็นต้น ผู้ยังทรงพระชนม์อยู่อย่างเดียวเท่านั้น แม้บูชาในพระเจดีย์ พระปฏิมา และต้นโพธิ์เป็นต้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้แม้ปรินิพพานไปแล้ว ก็นัยนี้เหมือนกัน



ความคิดเห็น 1    โดย เมตตา  วันที่ 8 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 2    โดย pornpaon  วันที่ 8 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย Noparat  วันที่ 8 ส.ค. 2551

บูชา ... ในสิ่งที่ควรค่าแก่การบูชา

เป็นกุศลจิตของผู้ที่บูชา

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 4    โดย เจริญในธรรม  วันที่ 8 ส.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 5    โดย ปริศนา  วันที่ 8 ส.ค. 2551

สภาพจิตที่อ่อนโยน ... ย่อมควรแก่การงาน.

อนุโมทนาค่ะ.


ความคิดเห็น 6    โดย Pararawee  วันที่ 8 ส.ค. 2551

แล้วถ้าบูชาในสิ่งที่ไม่ควรบูชาล่ะคะ? ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิไปโดยความไม่รู้? แล้วศรัทธาเจตสิกก็ทำงานด้วยหรือเปล่าคะ ขอคำตอบด้วยค่ะ

อนุโมทนา ...


ความคิดเห็น 7    โดย suwit02  วันที่ 8 ส.ค. 2551

สาธุ

คำถามน้องแอ้มน่าสนใจครับ ขอฟังด้วยคน


ความคิดเห็น 8    โดย paderm  วันที่ 8 ส.ค. 2551

อ้างอิงจาก : ความคิดเห็น 6 โดย Pararawee แล้วถ้าบูชาในสิ่งที่ไม่ควรบูชาล่ะคะ? ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิไปโดยความไม่รู้? แล้วศรัทธาเจตสิกก็ทำงานด้วยหรือเปล่าค่ะ ขอคำตอบด้วยค่ะ อนุโมทนา ...

ศรัทธาเจตสิก ต้องเกิดกับจิตที่เป็นสภาพธรรมฝ่ายดีเท่านั้น เช่น เกิดกับกุศลจิต ดังนั้น ถ้าเป็นความเลื่อมใสเชื่อถือบูชาในสิ่งที่ผิด เป็นอกุศลจิตที่เป็นความยินดีพอใจที่ประกอบด้วยความเห็นผิด ไม่ใช่ศรัทธาเจตสิกครับ


ความคิดเห็น 9    โดย suwit02  วันที่ 8 ส.ค. 2551

เดิมผมเคยเข้าใจว่า ศรัทธา คือความเชื่อ ส่วนจะเชื่อในสิ่งควรเชื่อหรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง จึงสงสัยว่า ในขณะที่เชื่อในสิ่งไม่ควรเชื่อ เลื่อมใสในสิ่งไม่ควรเลื่อมใสนั้น จิตประกอบด้วยศรัทธาเจตสิกหรือไม่

เมื่อได้ฟังคุณ ผเดิม แล้ว จึงตรวจดู ปรมัตถธรรมสังเขป แล้วพบว่า

สัทธาเจตสิก เป็นเจตสิกหนึ่งในโสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง เป็นเจตสิกที่ผ่องใสสะอาด เปรียบเสมือนสารส้มหรือแก้วมณีที่ทำให้น้ำใสสะอาดไม่ขุ่นมัว เมื่อสัทธาเจตสิกเกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายซึ่งเปรียบเสมือนโคลนตมย่อมจมลง คือ เกิดไม่ได้ เพราะขณะนั้น สัทธาเป็นสภาพที่เลื่อมใสในกุศลธรรม

ขออนุโมทนาคุณผเดิมครับ

ปล.ขอเรียนถามต่อไปว่า สภาพที่เลื่อมใสใน อกุศลธรรม เป็นเจตสิกอะไรได้บ้างครับ คุณผเดิมใช้คำว่า เป็นความยินดีพอใจที่ประกอบด้วยความเห็นผิด คงจะเป็น โลภเจตสิก เกิดร่วมกับ ทิฏฐิเจตสิก กระมังครับ

(เช่น คนที่เลื่อมใสว่า ผู้นี้ สิ่งนี้ จะให้หวยได้ เป็นต้น)

ขอบพระคุณครับ


ความคิดเห็น 10    โดย paderm  วันที่ 8 ส.ค. 2551

สิ่งที่เชื่อถืออย่างนั้น เป็นไปตามสัจจะความจริงของพระธรรมหรือไม่ เช่น ขัดแย้งในเรื่องของกรรม ผลของกุศลย่อมเกิดจากเหตุคือกุศล ไม่ได้เกิดจากผู้อื่นผู้ใดบันดาลให้ได้

ดังนั้น ถ้าเชื่อไปในทางที่ผิดก็เป็น โลภะที่เป็นความยินดีพอใจที่ประกอบด้วยความเห็นผิดครับ ไม่ใช่ศรัทธาเจตสิก

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 11    โดย prakaimuk.k  วันที่ 11 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ ...


ความคิดเห็น 12    โดย คุณ  วันที่ 29 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 13    โดย opanayigo  วันที่ 2 ก.ย. 2551

ได้ความเข้าใจอีกมาก

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 14    โดย orawan.c  วันที่ 12 ก.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 15    โดย pamali  วันที่ 10 ส.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 16    โดย chatchai.k  วันที่ 28 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ