๑๐. อุลูกชาดก หน้าตาไม่ดีไม่ควรให้เป็นใหญ่
โดย บ้านธัมมะ  23 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 35720

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 156

๑๐. อุลูกชาดก

หน้าตาไม่ดีไม่ควรให้เป็นใหญ่


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 156

๑๐. อุลูกชาดก

หน้าตาไม่ดีไม่ควรให้เป็นใหญ่

[๔๐๙] ได้ยินว่า พวกญาติทั้งมวลตั้งนกเค้าให้เป็นใหญ่ ถ้าพวกญาติอนุญาต ฉันจะขอพูดสักคําหนึ่ง.

[๔๑๐] ดูก่อนสหาย เราทั้งหมดอนุญาตให้ท่านพูด แต่จงพูดแต่ถ้อยคําที่เป็นอรรถ และธรรมอย่างเดียว เพราะว่านกหนุ่มๆ ที่มีปัญญา และทรงไว้ซึ่งญาณอันรุ่งเรืองมีอยู่.

[๔๑๑] ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย การแต่งตั้งนกเค้าให้เป็นใหญ่ ข้าพเจ้าไม่ชอบใจท่าน จงมองดูหน้าของนกเค้าผู้ไม่โกรธเกิด นกเค้าโกรธแล้วจักทําหน้าตาเป็นอย่างไร.

จบ อุลูกชาดกที่ ๑๐

อรรถกถาอุลูกชาดกที่ ๑๐

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการทะเลาะของกา และนกเค้า จึงตรัสเรื่องนี้ มีคําเริ่มต้นว่า สพฺเพหิ กิร าตีหิ ดังนี้.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 157

ได้ยินว่า ในกาลครั้งนั้น กาทั้งหลายพากันกินนกเค้าทั้งหลายในตอนกลางวัน ฝ่ายนกเค้าทั้งหลาย จําเดิมแต่พระอาทิตย์อัศดงคต ก็พากันเฉี่ยวศีรษะของพวกกาที่นอนอยู่ในที่นั้นๆ ทําให้พวกกาเหล่านั้นถึงความสิ้นชีวิตไป. ศีรษะกาแม้มากมาย เปื้อนเลือดประมาณ ๗ - ๘ ทนาน หล่นจากต้นไม้ ภิกษุรูปหนึ่งผู้อยู่ในบริเวณแห่งหนึ่งท้ายพระวิหารเชตวัน ต้องเก็บทิ้งในเวลากวาด. ภิกษุนั้นจึงบอกเนื้อความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ได้ยินว่า ในเวลาที่ภิกษุรูปโน้นกวาดจะต้องทิ้งศีรษะกาทั้งหลายมีประมาณเท่านี้ทุกวันๆ พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไร? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่ามิใช่ในบัดนี้เท่านั้นน่ะ ภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน กากับนกเค้าก็ได้กระทําการทะเลาะกันมาแล้ว. ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กากับนกเค้าก่อเวรแก่กัน และกันขึ้นในคราวไรพระเจ้าข้า? พระศาสดาตรัสว่า จําเดิมแต่กาลอันเป็นปฐมกัปทีเดียว แล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งปฐมกัป มนุษย์ทั้งหลายประชุมกัน คัดเลือกบุรุษคนหนึ่งผู้มีรูปงาม ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยความงาม สมบูรณ์ด้วยมารยาท บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง แต่งตั้งให้เป็นพระราชา. ฝ่ายสัตว์ ๔ เท้าก็ประชุมกันตั้งราชสีห์ให้เป็นพระราชา. พวกปลาใน


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 158

มหาสมุทรก็ได้ตั้งปลาอานนท์ให้เป็นพระราชา. ลําดับนั้น หมู่นกพากันประชุมที่หินดาดแห่งหนึ่ง ในหิมวันตประเทศ ปรึกษากันว่าในหมู่มนุษย์พระราชาก็ปรากฏ ในสัตว์ ๔ เท้า และปลาทั้งหลาย ก็ปรากฏเหมือนอย่างนั้น แต่ในระหว่างพวกเรา พระราชายังไม่มี ธรรมดาว่าการอยู่โดยไม่มีที่พึ่ง ย่อมไม่ควร แม้พวกเราก็ควรจะได้พระราชา พวกเราจงกําหนดนกตัวหนึ่งผู้สมควรตั้งไว้ในตําแหน่งพระราชา. นกทั้งหลายพิจารณาหานกเช่นนั้น เห็นนกเค้าตัวหนึ่งก็ชอบใจ จึงกล่าวว่า เราชอบใจนกตัวนี้. ลําดับนั้น นกตัวหนึ่งจึงประกาศขึ้น ๓ ครั้ง เพื่อต้องการหยั่งดูอัธยาศัยใจคอของนกทุกตัว. เมื่อนกตัวนั้นร้องประกาศอยู่ ๒ ครั้ง ก็ยังสงบเงียบอยู่ ในเวลาจะประกาศครั้งที่๓ กาตัวหนึ่งลุกขึ้นกล่าวว่า ก่อนอื่น ในเวลาอภิเษกเป็นพระราชาครั้งนี้ หน้าของนกเค้าผู้ยังไม่โกรธ ยังเห็นปานนี้ก่อน เมื่อเขาโกรธหน้าจักเป็นเช่นไร ก็พวกเขาผู้ถูกนกเค้าตัวนี้โกรธ แลดูแล้วจักแตกตื่นกันในที่นั้นทันที เหมือนเกลือที่ใส่ในกระเบื้องร้อนฉะนั้น การตั้งนกเค้านี้ให้เป็นพระราชา ข้าพเจ้าหาพอใจไม่ เมื่อจะประกาศเนื้อความนี้จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ได้ยินว่า พวกญาติทั้งปวงจะตั้งนกเค้าให้เป็นใหญ่ ถ้าพวกญาติอนุญาต ฉันจะขอพูดสักคําหนึ่ง.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 159

ความของคาถานั้นว่า ฉันได้ฟังการกล่าวประกาศ ซึ่งกําลังเป็นไปอยู่นั้น จึงขอกล่าว. ได้ยินว่าพวกญาติที่มาประชุมกันนี้ทั้งหมดจะตั้งนกเค้าตัวนี้ให้เป็นพระราชา ก็ถ้าพวกญาติจะอนุญาตฉันไซร้ ฉันขอกล่าวอะไรๆ สักคําหนึ่งที่จะพึงกล่าวในสมาคมนี้.

ลําดับนั้น นกทั้งหลายเมื่อจะอนุญาตกานั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ดูก่อนสหาย เราทั้งหมดอนุญาตให้ท่านพูด แต่จงพูดแต่ถ้อยคําที่เป็นอรรถ และธรรมอย่างเดียว เพราะว่านกหนุ่มๆ ที่มีปัญญา และทรงญาณอันรุ่งเรือง ยังมีอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภณ สมฺม อนุฺาโต ความว่าดูก่อนกาผู้สหาย พวกเราอนุญาต ท่านจงพูดสิ่งที่ควรพูดเถิด. บทว่า อตฺถํ ธมฺมฺจ เกวลํ ความว่า ก็เมื่อท่านจะกล่าวจงกล่าวอย่าให้ละเลยเหตุ และคําอันมีมาตามประเพณีเสีย. บทว่า ปฺวนฺโต ชุตินฺธรา ความว่า พวกนกแม้หนุ่มๆ ที่สมบูรณ์ด้วยปัญญา และทรงแสงสว่างแห่งญาณความรู้ยังมีอยู่เหมือนกัน.

กาตัวนั้นอันพวกนกอนุญาตอย่างนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย การแต่งตั้งนกเค้าให้เป็นใหญ่ ข้าพเจ้าไม่


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 160

ชอบใจ ท่านจงมองดูหน้าของนกเค้าผู้ไม่โกรธเถิด นกเค้าโกรธแล้วจักทําหน้าตาอย่างไร.

เนื้อความของคาถานั้นนั้นว่า ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย การที่ท่านทั้งหลายทําการอภิเษกนกเค้าด้วยการประกาศ ๓ ครั้งนั้น ข้าพเจ้าไม่ชอบใจ ก็ท่านทั้งหลายจงมองดูหน้าของนกเค้านี้ ผู้ดีใจยังไม่โกรธในขณะนี้ เราไม่รู้ว่า ก็นกเค้านี้โกรธแล้วจักกระทําหน้าอย่างไร การตั้งนกเค้าให้เป็นใหญ่นี้ ข้าพเจ้าจึงไม่ชอบโดยประการทั้งปวง.

กานั้นครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วบินร้องไปในอากาศว่า ข้าพเจ้าไม่ชอบใจ ข้าพเจ้าไม่ชอบใจ. ฝ่ายนกเค้าก็บินขึ้นไล่ติดตามกานั้นไป. ตั้งแต่นั้นมา กากับนกเค้าจึงได้ผูกเวรกัน และกัน. นกทั้งหลายตั้งหงส์ทองให้เป็นพระราชา แล้วพากันหลีกไป.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะแล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ คนเป็นอันมากได้เป็นพระโสดาบันเป็นต้น. หังสโปดกผู้ได้รับอภิเษกให้เป็นพระราชาในกาลนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอุลูกชาดกที่ ๑๐


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 161

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปทุมชาดก

๒. มุทุปาณิชาดก

๓. จุลลปโลภนชาดก

๔. มหาปนาทชาดก

๕. ขุรัปปชาดก

๖. วาตัคคสินธวชาดก

๗. สุวรรณกักกฏกชาดก

๘. อารามทูสกชาดก

๙. สุชาตาชาดก

๑๐. อุลูกชาดก

จบ ปทุมวรรคที่ ๒