ในชีวิตประจำวัน เรื่องหนึ่งคือ คำพูด เพราะ คนเราพูดทุกวัน พูดในเรื่องกุศลบ้าง อกุศลบ้าง คละกันไป อย่างไรก็ตาม คำพูดเราสามารถกระทบกระเทือนความรู้สึกและความคิดผู้อื่นได้ไม่ยากนัก ในบางครั้งก็มีเรื่องที่จำเป็นต้องชี้แจงเพื่อประโยชน์ แต่ผู้ฟัง ฟังแล้วอาจหงุดหงิด หรือ ไม่พอใจขึ้นมาก็ได้ จึงประสงค์จะเรียนถามว่า การพูดนั้นในพระธรรม มีได้กล่าวไว้หรือไม่ ว่า การพูดนั้นต้องพิจารณาอะไรบ้าง ถึงสมควรพูด เช่น ประโยชน์ กาลเทศะ ผู้ฟัง เป็นต้น และจะสามารถฉลาดในโวหารได้อย่างไร
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พิจารณาองค์ประกอบของคำพูดที่เป็นวาจาสุภาษิต เป็นคำที่กล่าวดีแล้ว ดังนี้
[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ ๔๓๙
๘. วาจาสูตร
(ว่าด้วยองค์แห่งวาจาสุภาษิต ๕ ประการ)
[๑๙๘] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการเป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นทุพภาษิต และเป็นวาจาไม่มีโทษ วิญญูชนไม่ติเตียน
องค์ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ วาจานั้น ย่อมเป็นวาจาที่กล่าวถูกกาล ๑ เป็นวาจาที่กล่าวเป็นสัจจ์ (คำจริง) ๑ เป็นวาจาที่กล่าวอ่อนหวาน ๑ เป็นวาจาที่กล่าวประกอบด้วยประโยชน์ ๑ เป็นวาจาที่กล่าวด้วยเมตตาจิต ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นทุพภาษิต และเป็นวาจาไม่มีโทษ วิญญูชนไม่ติเตียน
แต่ละคน ก็แตกต่างกันตามการสะสม บางทีเราพูดสิ่งที่เป็นประโยชน์ มุ่งประโยชน์แก่เขา แต่เขาไม่รับฟัง โกรธ ไม่พอใจ ใครจะทำอะไรได้ เพราะเขาเป็นอย่างนั้น หน้าที่ของเรา คือ อดทน ไม่โกรธ รักษาจิตของตน เข้าใจถึงการสะสมของแต่ละบุคคล เมื่อเข้าใจความเป็นจริงของธรรม จะอยู่ที่ไหน ประสบกับอะไร ก็ไม่เดือดร้อน ครับ
...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...
ขออนุโมทนาครับ
ขอพระคุณครับ ขออนุโมทนาทุกท่านครับ
ขออนุโมทนาค่ะ