การอบรมเจริญเมตตาเป็นเรื่องละเอียด เพราะสภาพธรรมต้องตรงตามความจริง คือ ขณะที่กุศลจิตเกิดแม้เพียงเล็กน้อย ก็ต่างกับขณะที่โลภะเกิดมากๆ แต่ถ้าสติปัฏฐานหรือสติสัมปชัญญะไม่เกิดจะรู้ได้อย่างไรว่าขณะใดเป็นโลภะ ขณะใดเป็นเมตตาเมื่อไม่รู้จึงอาจเจริญโลภะแทนเจริญเมตตาก็ได้ ฉะนั้นจึงจำเป็นจะต้องศึกษาโดยละเอียด ให้รู้ลักษณะที่ต่างกันของโลภะและเมตตา
ข้อความในอัฏฐสาลินี นิกเขปกัณฑ์ อธิบายนิทเทสโลภะ (๑๐๖๕) แสดงลักษณะอาการต่างๆ ของโลภะที่ต่างกับเมตตามีข้อความว่าชื่อว่า ความกำหนัด เนื่องด้วยความยินดี ชื่อว่าความกำหนัดนักโดยความหมายว่ายินดีรุนแรงชื่อว่าความคล้อยตามอารมณ์ เพราะยังสัตว์ทั้งหลายให้คล้อยตามไปในอารมณ์ทั้งหลาย
นี่เป็นชีวิตประจำวันที่จะต้องพิจารณาจริงๆ ว่าในขณะใดที่เมตตาไม่เกิดจิตย่อมคล้อยตามโลภะไปในอารมณ์ต่างๆ อยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่สังเกตจะไม่รู้เลยว่าจิตคล้อยตามโลภะอยู่เสมอ เมื่อมีความยินดีพอใจในอารมณ์ใด ก็กระทำตามความคิดตามความพอใจในอารมณ์นั้นทุกอย่าง ในขณะนั้นรู้ได้ว่าไม่ใช่เมตตา เมื่อรู้ลักษณะของโลภะแล้วภายหลังเมื่อเมตตาเกิด ก็จะเปรียบเทียบได้ถูกต้องว่า ลักษณะของโลภะต่างกับลักษณะของเมตตา
..จากหนังสือ "เมตตา" เปิดอ่าน --> คลิกที่นี่
ขออนุโมทนาครับ
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ