ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ข้อความบางตอน จาก หนังสือบทบาทของอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ในการเผยแผ่พุทธธรรมเรียบเรียงโดย พระธนนาถ นิธิปญฺโญ (พลกรรณ์) หน้า ๔๐ - ๔๓
ท่านอาจารย์สุจินต์ ได้บรรยายธรรมโดยอ้างอิงข้อความใน ขุททกนิกาย จริยาปิฎก ปกิณกกถาซึ่ง พรรณนา "ลักษณะของขันติ" ไว้หลายประการ ด้งนี้ อนึ่ง ชื่อว่า "ขันติ" นี้ เป็นอาวุธ ไม่เบียดเบียนคนดี คือ ทำลายอกุศล เพราะคนดี เมื่อมีขันติแล้ว จะไม่มีความเดือดร้อนใจ "ขันติ" เป็นอาวุธที่ไม่เบียดเบียนคนดี เพราะเหตุว่า สมบูรณ์ ด้วยคุณสมบัติเพราะกำจัดความโกรธ อันเป็นปฏิปักษ์ต่อคุณธรรม ถ้าสามารถที่จะอดทนได้ ในขณะนั้น โทสะ ไม่เกิด วาจาที่ไม่ดี ก็ไม่เกิด แม้เพียงเล็กๆ น้อยๆ ก็ไม่มีไม่ต้องกล่าวถึงวาจาที่รุนแรงแม้แต่คำเพียงเล็กน้อย ที่เกิดจากใจที่โกรธ ก็ไม่มี เป็นเครื่องประดับ ของผู้ที่สามารถครอบงำผู้อื่นได้
ถึงแม้จะประดับเครื่องประดับ สวยงาม หลากหลาย สักเท่าไรแต่ถ้ากาย วาจาไม่ดี จะไม่สวยเลย ความไม่โกรธ หรือ "ขันติ"เป็นเครื่องประดับ ของผู้สามารถครอบงำผู้อื่นได้ไม่ต้องมีเครื่องประดับเลยก็ยังงามกว่าผู้มีเครื่องประดับ แต่ว่าไม่มี "ขันติ"คือ กาย วาจา ไม่งาม
เป็น พละสัมปทา ของสมณพราหมณ์ คือ เป็นการถึงพร้อมด้วยกำลัง ของผู้สงบ คนที่สงบ ไม่ต้องไปมีเรื่องวุ่นวายกับใครทั้งสิ้น ฉะนั้น ความสงบจากอกุศล เป็น พละสัมปทา ของสมณพราหมณ์ .เป็นสายน้ำ กำจัดไฟ คือ ความโกรธ ถ้าจะโกรธ แล้วมี "ขันติบารมี" ก็ไม่โกรธ ขณะนั้น จะเพิ่ม "ความอดกลั้น" ต่ออกุศลต่างๆ ได้สะดวกขึ้น เพิ่มขึ้นง่ายขึ้น จนกระทั่ง เป็น อุปนิสัย
เป็นเครื่องชี้ถึง ความเกิดแห่งกิตติศัพท์ อันดีงามเป็นมนต์ และ เป็นยาวิเศษระงับพิษ คือ คำพูดของคนชั่ว เวลาโกรธ และ คำพูดที่ไม่ดีออกมา "ใคร" ไม่ดี ในขณะที่พูดคำไม่ดี คือ "ตัวเอง" ตนเองเท่านั้น คือ คนชั่ว ใครที่พูดชั่ว คนนั้น ก็คือคนชั่วฉะนั้น "ขันติ" เป็นมนต์ และ เป็นยาวิเศษระงับพิษ คือ คำพูดของคนชั่ว เป็นปกติของผู้ที่มีปัญญายอดเยี่ยม เป็นปกติของผู้ที่ตั้งอยู่ในสังวร
ทุกท่านอยากมีปัญญา แต่กว่าจะมีปัญญาได้ ต้อง "อดทน" มาก เช่น "อดทน" ต่อการที่จะฟังพระธรรม แล้วพิจารณาถึงลึกซึ้ง ความละเอียด และ ประโยชน์ของพระธรรมจริงๆ จนเห็นว่า ควรจะประพฤติปฏิบัติตาม ไม่ใช่แต่เพียงฟัง แต่ว่า เป็นปกติของผู้มีปัญญายอดเยี่ยมถ้าต้องการมีปัญญาก็ต้องเริ่มเป็น "ผู้ที่อดทน" มี "ขันติบารมี" เป็นสาคร เพราะอาศัยความลึกซึ้ง
"ขันติ" เป็นสิ่งที่ลึกซึ้งจริงๆ มี "เหตุ" ที่อกุศล เกิดบ่อยกว่า กุศล ถ้า "สติสัมปชัญญะ" เกิด แล้วเห็นว่า ขณะใด เป็นอกุศลแล้วมี "ความอดทน" ต่อการที่จะไม่เป็นอกุศลนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น โลภะ โทสะ ความริษยา ความตระหนี่ หรือ ความสำคัญตนขณะนั้น จะเห็นความลึกซึ้งจริงๆ ว่าถ้าไม่รู้ ก็ไม่สามารถที่จะบำเพ็ญ "ขันติบารมี" ได้
ฉะนั้น ขันติบารมี และ สติสัมปชัญญะ จึงเป็นสิ่งที่ละเอียดมาก เพราะจะทำให้ "อดทน" ต่ออกุศลต่างๆ ได้
เป็นฝั่ง ของมหาสาคร คือ โทสะเป็นบานประตูปิดอบาย หลายคนกลัวอบายภูมิ ที่ทำกุศล เพราะไม่อยากจะเกิดในอบายภูมิแต่ถ้าจะไม่เกิดในอบายภูมิ ก็ต้องเป็นผู้ที่ "อดทน" เพราะ "ความอดทน" เป็นบานประตูที่ปิดประตูอบาย (ภูมิ) เป็นบันได ขึ้นไปสู่เทวโลก และ พรหมโลกเป็นภูมิสถิต ของคุณทั้งปวงเป็นความบริสุทธิ์ของกาย วาจา ใจ อย่างสูงสุด พึงมนสิการ ด้วยประการฉะนี้
คงต้องคิดแล้วคิดอีก ว่าจะมีความอดทนเพิ่มขึ้น ได้หรือไม่ ในทุกสถานการณ์. ถ้าฝึกหัดบ่อยๆ อบรมบ่อยๆ โสภณเจตสิก จะเจริญขึ้น จนเป็นปกติ บางท่าน ที่เป็นผู้มีอุปนิสัยอดทนมากกว่าคนอื่นเป็นเพราะ "การอบรม" นั่นเอง
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนาค่ะ สาธุ..........
จะขออนุญาตคัดลอกไปลงใน blog ของดิฉันในบริษัทฯ จะได้ไหมคะ.....
ไม่ว่าจะเป็น โลภะ โทสะ ความริษยา ความตระหนี่ หรือ ความสำคัญตนขณะนั้น จะเห็นความลึกซึ้งจริงๆ ว่าถ้าไม่รู้ ก็ไม่สามารถที่จะบำเพ็ญ "ขันติบารมี" ได้.
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตน
ข้อความจากจริยาปิฎก เมื่อผู้ทำความผิดมีคุณ เราไม่ควรทำความโกรธในผู้มีคุณ เมื่อผู้ทำความผิด ไม่มีคุณควรแสดงความ สงสารเป็นพิเศษ.ทำความเสียหายด้วยธรรมใดและทำในที่ใด ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ก็ดับไปในขณะนั้นเอง. บัดนี้ใครพึงทำความโกรธแก่ใคร และใครผิด แก่ใคร เพราะธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา พิจารณาดังนี้ควรเพิ่มพูนขันติสัมปทา (ความสมบูรณ์ของขันติ) ด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง ผู้มีปัญญาเท่านั้นเป็นผู้มีความอดกลั้นต่อความเสียหายของผู้อื่น เป็นต้น ผู้มีปัญญาทรามไม่เป็นผู้อดกลั้น
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
สาธุ ตอนนี้ ผมกำลังร้อนเลยครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ สาธุ.........
สาธุ สาธุ สาธุ
ขออนุโมทนาค่ะ
ช่วงนี้ดู TV ต้องใช้ความอดทนและขันติเป็นอย่างมาก เมื่อรู้สึกว่าขันติมีไม่มากพอ (ดูจากโทสะที่ผุดขึ้นมา) เปลี่ยนช่องดีกว่า
..ขออนุโมทนากับทุกๆ ความคิดเห็นค่ะ
พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า สิ่งใดควรเสพ สิ่งใดไม่ควรเสพ สิ่งใดเสพคุ้นแล้วทำให้อกุศลเจริญ ไม่ควรเสพคุ้น สิ่งใดเสพคุ้นแล้วทำให้กุศลเจริญ สิ่งนั้นควรเสพคุ้นค่ะ
ในขณะที่ หลายๆ แห่งกำลังร้อน ที่นี่น่ารื่นรมย์
ได้เห็น ได้ยิน มีความรู้สึกของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเข้ากระทบเหมือนคลื่นที่เคลื่อนตัวมากระทบฝั่งครั้งเล่าแล้วก็หายไป แต่ภาพในเหตุการณ์ยังตรึงติดตาอยู่ในจิต โลกคือละครโรงใหญ่ มีแต่กิเลส ตัณหาเป็นผู้กำกับ
ขันติ เพื่อความ มั่นคงในการศึกษาพระธรรมต่อไป
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ
ด้วยคำที่ให้มา จักสิกขา (ฟัง) จนเข้าใจ ไตร่ตรองไม่หวั่นไหว ปีติได้ในพระธรรม ขอน้อมกราบอนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ ขอรับ