สมาธิ เป็นสภาพธรรมที่ตั้งมั่นในอารมณ์ ซึ่งได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่เกิดกับจิตทุกดวง
เมื่อจิตฝักใฝ่ มีอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งนานๆ ลักษณะของเอกัคคตาเจตสิกก็ปรากฏเป็นสมาธิ คือ ตั้งมั่นแน่วแน่ อยู่ที่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง เพียงอารมณ์เดียว เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิตเป็น มิจฉาสมาธิ เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับกุศลจิตจึงเป็น สัมมาสมาธิ
แสดงว่า การไปนั่งทำสมาธิ เพื่อจะให้จิตสงบ หรือต้องการจะให้สงบหรือทำสมาธิเพื่อให้จิตตั้งมั่น แล้วค่อยยกระดับจิตสู่การทำวิปัสสนาต่อไปนั้น แสดงว่าการทำเช่นนั้นไม่ได้เป็นไปในกุศล แต่เพราะต้องการ (อยาก) จึงเป็นอกุศล เป็นมิจฉาทิฏฐิใช่หรือเปล่าคะ
ถ้าทำด้วยความต้องการเป็นโลภะ ถ้ามีความเห็นว่าการกระทำแบบนั้นเป็นหนทางพ้นทุกข์ ความเห็นนั้นเป็นความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) เพราะไม่ตรงกับความเป็นจริง
ผู้เคารพธรรม ย่อมประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ผู้ไม่ประพฤติสมควรแก่ธรรม ย่อมเข้าใจผิด เมื่อเห็นผิด ย่อมปฏิบัติผิด (สีลัพพตปรมาสะ) ชื่อว่าไม่สมควร คือ ธรรมะมีปรากฏอยู่ ก็ไม่รู้จักว่าเป็นธรรมะ อย่างที่ท่านผู้รู้ ได้กล่าวไว้ข้างบนแล้ว การเข้าใจสิ่งหนึ่งเป็นอื่นไป คือ เข้าใจว่าให้เอกัคคตา (สมาธิ) เกิดกับจิตที่มีอาการไม่รับรู้ สภาวธรรมใดๆ ว่าเป็นการปฏิบัติ แล้วตัวตนก็จะยกจิตอีก เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ ทั้งประพฤติไม่สมควร และผิดธรรม (อื่นจากธรรม) จากผิดไม่มั่นคง ก็ผิดมั่นคงในที่สุด
ขอบพระคุณค่ะ สำหรับคำตอบที่ให้ความกระจ่าง เพราะเห็นส่วนใหญ่ จะพยายามไปทำสมาธิกัน อยากสงบมากๆ อยากให้สติเกิดมากๆ แล้วก็ท้อถอยว่า ทำไมไม่ก้าวหน้าสักที ทั้งที่ไม่ได้เป็นไปเพื่อการละ แต่เป็นไปเพื่อความเกี่ยวข้องต้องการ
ขออนุโมทนาครับ
ยินดีในกุศลจิตค่ะ