[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 285
๗. สฬายตนวิภังคสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 23]
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 285
๗. สฬายตนวิภังคสูตร
[๖๑๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดํารัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสฬายตนวิภังค์แก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังสฬายตนวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าวต่อไป. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.
[๖๑๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า พวกเธอพึงทราบอายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ หมวดวิญญาณ ๖ หมวดผัสสะ ๖ ความนึกหน่วงของใจ ๑๘ ทางดําเนินของสัตว์ ๓๖ ใน ๓๖ นั้น พวกเธอจงอาศัยทางดําเนินของสัตว์นี้ ละทางดําเนินของสัตว์นี้ และพึงทราบการตั้งสติประการที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่อันเราเรียกว่าสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นี้เป็นอุเทศแห่งสฬายตนวิภังค์.
[๖๑๙] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายใน ๖ นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่อาตนะคือจักษุ อายตนะคือโสต อายตนะคือฆานะ อายตนะคือชิวหา อายตนะคือกาย อายตนะคือมโน. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ ว่าพึงทราบอายตนะภายใน ๖ นั้น เราอาศัยอายตนะนี้ กล่าวแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 286
[๖๒๐] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั้นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่อายตนะคือรูป อายตนะคือเสียง อายตนะคือกลิ่น อายตนะคือรส อายตนะคือโผฏฐัพพะ อายตนะคือธรรมารมณ์. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั้น เราอาศัยอายตนะนี้กล่าวแล้ว.
[๖๒๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่จักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั้น เราอาศัยวิญญาณนี้ กล่าวแล้ว.
[๖๒๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่จักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่นเราอาศัยสัมผัสนี้กล่าวแล้ว.
[๖๒๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบความนึกหน่วงของใจ ๑๘นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ใจย่อมนึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส นึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส นึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา.
เพราะฟังเสียงด้วยโสต...
เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ...
เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา...
เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...
เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน ใจย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส นึกหน่วงธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส นึกหน่วงธรรมารมณ์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 287
เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา. ฉะนั้น เป็นความนึกหน่วงฝ่ายโสมนัส ๖ ฝ่ายโทมนัส๖ ฝ่ายอุเบกขา ๖. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบความนึกหน่วงของใจ ๑๘นั้น เราอาศัยความนึกหน่วงนี้ กล่าวแล้ว.
[๖๒๔] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบทางดําเนินของสัตว์ ๓๖ นั่นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ โสมนัสอาศัยเรือน ๖ โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖โทมนัสอาศัยเรือน ๖ โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ อุเบกขาอาศัยเรือน ๖อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖.
[๖๒๕] ใน ๓๖ ประการนั้น โสมนัสอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน. คือบุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงรูปที่เคยได้เฉพาะในก่อน อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเช่นนี้ นี้เราเรียกว่าโสมนัสอาศัยเรือน.
บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต...
บุคคลเนื้อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิสโดยเป็นของอันตนได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงธรรมารมณ์ที่เคยได้เฉพาะในก่อน อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโสมนัสขึ้นโสมนัสเช่นนี้ นี้เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเรือน เหล่านี้โสมนัสอาศัยเรือน ๖.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 288
[๖๒๖] ใน ๓๖ ประการนั้น โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน.คือ บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรูปทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่ารูปในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเช่นนี้ นี่เราเรียกว่าโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ.
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของเสียงทั้งหลายนั่นแล...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของกลิ่นทั้งหลายนั่นแล...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรสทั้งหลายนั้นแล...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของโผฏฐัพพะทั้งหลายนั่นและ..
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของธรรมารมณ์ทั้งหลายนั้นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเช่นนี่เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ เหล่านี้โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖.
[๖๒๗] ใน ๓๖ ประการนั้น โทมนัสอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน. คือบุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันทนไม่ได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงรูปที่ไม่เคยได้เฉพาะในก่อน อันล่วงไป
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 289
แล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโทมนัส โทมนัสเช่นนี้ นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเรือน.
บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งเสียง...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งกลิ่น...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรส...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งโผฏฐัพพะ...
บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิสโดยเป็นของอันคนไม่ได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงธรรมารมย์ที่ไม่เคยได้เฉพาะในก่อน อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโทมนัสโทมนัสเช่นนี้ นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเรือน เหล่านี้โทมนัสอาศัยเรือน ๖
[๖๒๘] ใน ๓๖ ประการนั้น โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉนคือ บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรูปทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่ารูปในก่อน และในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาแล้ว ย่อมเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ เมื่อเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ดังนี้ว่า เมื่อไร ตัวเราจึงจักบรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลายได้บรรลุอยู่ในบัดนี้เล่า ย่อมเกิดโทมนัสเพราะความปรารถนาเป็นปัจจัยขึ้น โทมนัสเช่นนี้ นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ
บุคคลทราบความไม่เทียง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ ของเสียงทั้งหลายนั่นแล...
บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ ของกลิ่นทั้งหลายนั่นแล...
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 290
บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ ของรสทั้งหลายนั้นแล...
บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ ของโผฏฐัพพะทั้งหลายนั้นแล...
บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ ของธรรมารมณ์ทั้งหลายนั้นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่าธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาแล้ว ย่อมเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ เนื้อเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ดังนี้ว่า เมื่อไร ตัวเราจึงจักบรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลายได้บรรลุอยู่ในบัดนี้เล่า ย่อมเกิดโทมนัสเพราะความปรารถนาเป็นปัจจัยขึ้น โทมนัสเช่นนี้ นี่เรียกว่า โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ เหล่านี้ โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖.
[๖๒๙] ใน ๓๖ ประการนั้น อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน. คือเพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลา ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ เป็นคนหนาแน่น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยรูปไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเรือน.
เพราะฟังเสียงด้วยโสต...
เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ...
เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา...
เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...
เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลายังไม่ชนะกิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ เป็นคนหนาแน่น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 291
อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยธรรมารมณ์ไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่าอุเบกขาอาศัยเรือน เหล่านี้ อุเบกขาอาศัยเรือน ๖.
[๖๓๐] ใน ๓๖ ประการนั้น อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน.คือ บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรูปทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่ารูปในก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยรูปไปได้เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ.
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของเสียงทั้งหลายนั่นแล...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของกลิ่นทั้งหลายนั่นและ...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรสทั้งหลายนั้นแล...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของโผฏฐัพพะทั้งหลายนั้นแล...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของธรรมารมณ์ทั้งหลายนั้นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน เป็นธรรมดา ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยธรรมารมณ์ไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ เหล่านี้อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบทางดําเนินของสัตว์ ๓๖ นั้น เราอาศัยทางดําเนินนี้ กล่าวแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 292
[๖๓๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ในทางดําเนินของสัตว์๓๖ นั้น พวกเธอจงอาศัยทางดําเนินของสัตว์นี้ ละทางดําเนินของสัตว์นี้ นั่นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโสมนัสอาศัยเรือน ๖นั้นๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละโสมนัสนั้นๆ ได้ เป็นอันล่วงโสมนัสนั้นๆ ได้.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงโทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ แล้วละคือล่วงเสียซึ่งโทมนัสอาศัยเรือน ๖ นั้นๆ อย่างนี้ย่อมเป็นอันละโทมนัสนั้นๆ ได้ เป็นอันล่วงโทมนัสนั้นๆ ได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ๖ นั้นๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาอาศัยเรือน ๖ นั้นๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานั้นๆ ได้ เป็นอันล่วงอุเบกขานั้นๆ ได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ๖ นั้นๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ อย่างนี้ย่อมเป็นอันละโทมนัสนั้นๆ ได้ เป็นอันล่วงโทมนัสนั้นๆ ได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน ๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ๖ นั้นๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละโสมนัสนั้นๆ ได้ เป็นอันล่วงโสมนัสนั้นๆ ได้.
[๖๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ ก็มีอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งก็มี.
ก็อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ เป็นไฉน. คืออุเบกขาที่มีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ นี้อุเบกขาที่ความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 293
ก็อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นไฉน. คืออุเบกขาที่อาศัยอากาสานัญจายตนะ อาศัยวิญญาณัญจายตนะ อาศัยอากิญจัญญายตนะ อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะ นี้อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่งอาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โนอุเบกขา ๒ อย่าง พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ นั้น อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานี้ได้ เป็นอันล่วงอุเบกขานี้ได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงอาศัยคืออิงความเป็นผู้ไม่มีตัณหา แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่งอาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานี้ได้ เป็นอันล่วงอุเบกขานี้ได้ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ในทางดําเนินของสัตว์๓๖ นั้น พวกเธอจงอาศัยทางดําเนินของสัตว์นี้ ละทางดําเนินของสัตว์นี้ นั่นเราอาศัยการละการล่วง นี้ กล่าวแล้ว.
[๖๓๓] ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า และพึงทราบการตั้งสติ๓ ประการที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว.
[๖๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี้เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ. เหล่าสาวกของศาสดานั้น ย่อมไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ และประพฤติหลีกเลี่ยงคําสอนของศาสดา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม ไม่เสวยความชื่นชม และไม่ระคายเคือง ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 293
ก็อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นไฉน. คืออุเบกขาที่อาศัยอากาสานัญจายตนะ อาศัยวิญญาณัญจายตนะ อาศัยอากิญจัญญายตนะ อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะ นี้อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่งอาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โนอุเบกขา ๒ อย่าง พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ นั้น อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานี้ได้ เป็นอันล่วงอุเบกขานี้ได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงอาศัยคืออิงความเป็นผู้ไม่มีตัณหา แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่งอาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานี้ได้ เป็นอันล่วงอุเบกขานี้ได้ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ในทางดําเนินของสัตว์๓๖ นั้น พวกเธอจงอาศัยทางดําเนินของสัตว์นี้ ละทางดําเนินของสัตว์นี้ นั่นเราอาศัยการละการล่วง นี้ กล่าวแล้ว.
[๖๓๓] ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า และพึงทราบการตั้งสติ๓ ประการที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว.
[๖๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี้เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ. เหล่าสาวกของศาสดานั้น ย่อมไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ และประพฤติหลีกเลี่ยงคําสอนของศาสดา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม ไม่เสวยความชื่นชม และไม่ระคายเคือง ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 294
นี้ เราเรียกว่าการตั้งสติประการที่ ๑ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพ ชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่.
[๖๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ. เหล่าสาวกของศาสดานั้น บางพวกย่อมไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้และประพฤติหลีกเลี่ยงคําสอนของศาสดา. บางพวกย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคําสอนของศาสดา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม ไม่เสวยความชื่นชม ทั้งไม่เป็นผู้ไม่ชื่นชมไม่เสวยความไม่ชื่นชม เว้นทั้งความชื่นชมและความไม่ชื่นชมทั้งสองอย่างนั้นแล้ว เป็นผู้วางเฉย ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าการตั้งสติประการที่๒ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่.
[๖๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ.เหล่าสาวกของศาสดานั้น ย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคําสอนของศาสดา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ตถาคตเป็นผู้ชื่นชม เสวยความชื่นชม และไม่ระคายเคือง ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าการตั้งสติประการที่ ๓ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า และพึงทราบการตั้งสติ๓ ประการที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ นั้นเราอาศัยเหตุนี้ กล่าวแล้ว
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 295
[๖๓๗] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ศาสดานั้นเราเรียกว่า สารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นั้นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้วดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างที่ควรฝึก อันอาจารย์ฝึกช้างไสให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเท่านั้น คือ ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้. ม้าที่ควรฝึกอันอาจารย์ฝึกม้าขับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเหมือนกันคือ ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้. โคที่ควรฝึกอันอาจารย์ฝึกโคขับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเหมือนกัน คือ ทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้. แต่บุรุษที่ควรฝึก อันตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทั่วทั้ง ๘ ทิศ คือผู้ที่มีรูปย่อมเห็นรูปทั้งหลายได้ นี้ทิศที่ ๑. ผู้ที่มีสัญญาในอรูปภายใน ย่อมเห็นรูปทั้งหลายภายนอกได้ นี้ทิศที่๒. ย่อมเป็นผู้น้อมใจว่างามทั้งนั้น นี้ทิศที่๓.ย่อมเข้าอากาสานัญจายตนะอยู่ด้วยใส่ใจว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่ใส่ใจมานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่๔.ย่อมเข้าวิญญาณัญจายตนะอยู่ ด้วยใส่ใจว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่๕. ย่อมเข้าอากิญจัญญายตนะอยู่ด้วยใส่ใจว่า ไม่มีสักน้อยหนึ่ง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๖. ย่อมเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๗. ย่อมเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษที่ควรฝึก อันตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้วิ่งย่อมวิ่งไปได้ทั่วทั้ง ๘ ทิศดังนี้. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ศาสดานั้นเราเรียกว่าสารถี
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 296
ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นั่นเราอาศัยเหตุดังนี้กล่าวแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
จบ สฬายตนวิภังคสูตร ที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 297
อรรถกถาสฬตนวิภังคสูตร
สฬายตนวิภังคสูตร มีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวทิตพฺพานิ (พึงทราบ) ความว่า พึงรู้ด้วยมรรคอันมีวิปัสสนา. บทว่า มโนปวิจารา (ความนึกหน่วงของใจ) ได้แก่ วิตกและวิจาร. จริงมนะที่ยังวิตกให้เกิดขึ้น ท่านประสงค์ว่า มนะ ในที่นี้. ชื่อว่า มโนปวิจารา เพราะอรรถว่า เป็นความนึกหน่วงของใจ. บทว่า สตฺตปทา ได้แก่ ทางดําเนินของสัตว์ทั้งหลาย ที่อาศัยวัฏฏะและวิวัฏฏะ. ก็ในที่นี้ ทางดําเนินสู่วัฏฏะมี๑๘ ประการ ทางดําเนินสู่วิวัฏฏะมี ๑๘ ประการ. ทางดําเนินแม้เหล่านั้นพึงทราบด้วยมรรคอันมีวิปัสสนานั้นแล. บทว่า โยคาจริยานํ (กว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย) ความว่า ผู้ให้ศึกษาอาจาระมี หัตถิโยคะ เป็นต้น ได้แก่ ผู้ฝึกบุคคลที่ควรฝึก. บทที่เหลือจักแจ่มแจ้งในวิภังค์นั้นเทียว. บทว่า อยมุทฺเทโส (นี้เป็นอุเทศ) นี้ เป็นบทตั้งมาติกา.อายตนะทั้งหลายมีจักขุอายตนะเป็นต้น ให้พิสดารแล้วในวิสุทธิมรรค. บทว่า จกฺขุวิฺาณํ ได้แก่จักขุวิญญาณทั้งสอง โดยวิบากของกรรมที่เป็นกุศลและอกุศล. แม้ในปสาทวิญญาณที่เหลือทั้งหลายก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็วิญญาณที่เหลือเว้น วิญญาณ ๕ ประการนี้ ชื่อว่า มโนวิญญาณในที่นี้. บทว่า จกฺขุสมฺผสฺโส ได้แก่ สัมผัสในจักษุ. นั้นเป็นชื่อของสัมผัสที่ประกอบด้วยจักษุวิญญาณ. ในสัมผัสทั้งหลายแม้ที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา (เพราะเห็นรูปด้วยตา) ความว่า เพราะเห็นรูปด้วยจักษุวิญญาณ. ในบททั้งปวงก็นัยนี้เหมือนกันบทว่า โสมนสฺสฏานียํ (เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส) ได้แก่ เป็นเหตุด้วยอํานาจแห่งอารมณ์ของโสมนัส.บทว่า อุปวิจรติ (ย่อมนึกหน่วง) ความว่า ใจย่อมนึกหน่วง ด้วยความเป็นไปของวิตก ในความนึกหน่วงของใจนั้น. พึงทราบความนึกหน่วงของใจ กล่าวคือ วิตก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 298
วิจาร ๑๘ ประการ โดยนัยนี้ว่า วิตกฺโก ตํ สมฺปยุตฺโต จ. ก็ชื่อว่าโสมนัสสูปวิจาร เพราะอรรถว่า นึกหน่วงพร้อมกับโสมนัสในบทว่า ฉ โสมนสฺสูปวิจารา (ความนึกหน่วงแห่งโสมนัส ๖) นี้. แม้ในบททั้งสองที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า เคหสิตานิ (อาศัยเรือน) ได้แก่อาศัยกามคุณ. บทว่า เนกฺขมฺมสิตานิ (อาศัยเนกขัมมะ) ได้แก่ อาศัยวิปัสสนา. บทว่า อิฏานํ (อันน่าปรารถนา) ได้แก่ อันแสวงหาแล้ว. บทว่า กนฺตานํ (น่าใคร่) ได้แก่ให้ความใคร่ บทว่า มโนรมานํ (เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ) ความว่า ใจย่อมยินดีในธรรมารมณ์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น ธรรมารมณ์เหล่านั้น จึงชื่อว่า เป็นที่มายินดีของใจ ธรรมารมณ์เหล่านั้น เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ. บทว่า โลกามิสปฏิสํยุตฺตานํ (ประกอบด้วยโลกมิส) คือ ประกอบด้วยตัณหา. บทว่า อตีตํ (อันล่วงไปแล้ว) คือ อันได้เฉพาะแล้ว.ถามว่า โสมนัส ปรารภปัจจุบันเกิดขึ้นก่อนจะเกิดขึ้นในอดีตอย่างไร. ตอบว่าโสมนัสอันมีกําลัง ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้หวนระลึก แม้ในอดีตว่า เราเสวยอิฏฐารมณ์ในบัดนี้ฉันใด เราเสวยแล้วแม้ในกาลก่อนฉันนั้น. บทว่า อนิจฺจตํ (ความไม่เที่ยง) ได้แก่อาการอันไม่เที่ยง. บทว่า วิปริณามวิราคนิโรธํ (ความแปรปรวน ความคลายกำหนัด และความดับ) ความว่า ชื่อว่าความแปรปรวน เพราะละปกติ ชื่อว่า ความคลายไป เพราะไปปราศจากชื่อว่า ความดับ เพราะดับไป. บทว่า สมฺมปฺปฺาย (ด้วยปัญญาชอบ) ได้แก่วิปัสสนาปัญญา. บทว่า อิทํ วุจฺจติ นกฺขมฺมสิตโสมนสฺสํ (โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ) ความว่า โสมนัสนี้เกิดขึ้นแล้ว แก่บุคคลผู้นั่งเจริญวิปัสสนา เห็นความแตกดับของสังขารทั้งหลายเหมือนพระราชาทรงเห็นศิริสมบัติของพระองค์ฉะนั้น ในเมื่อวิปัสสนาญาณอันแข็งกล้า ถึงสังขารนําไปอยู่ เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ สมดังคาถาประพันธ์ที่ตรัสไว้ดังนี้ว่า
ความยินดีอันไม่ใช่มนุษย์ ย่อมมีแก่ภิกษุ ผู้เข้าสู่เรือนว่างเปล่า มีจิตสงบแล้วเห็นแจ้งธรรมโดยชอบอยู่ ภิกษุเห็นความ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 299
เกิดและความดับของขันธ์ทั้งหลาย ในกาลใดๆ ย่อมได้ความปิติและปราโมทย์ในกาลนั้นๆ อมตะนั้นอันภิกษุรู้แล้ว.
บทว่า อิมานิ (เหล่านีั) ความว่า เหล่านั้น โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ อย่างเกิดแล้ว แก่บุคคล ผู้นั่งเจริญวิปัสสนา ด้วยอํานาจแห่งความไม่เที่ยงเป็นต้นในเมื่ออิฏฐารมณ์ไปสู่คลองในทวาร ๖. บทว่า อตีตํ (อันล่วงไปแล้ว) ความว่า โทมนัสจงเกิดแก่บุคคลผู้ปรารถนาไม่ได้อิฏฐารมณ์ปัจจุบันก่อน จะเกิดในอดีตอย่างไร. โทมนัสอันมีกําลัง ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้หวนระลึก แม้ในอดีตว่าเราปรารถนาแล้วไม่ได้อิฏฐารมณ์ในบัดนี้ฉันใด เราปรารถนาแล้ว ไม่ได้แม้ในกาลก่อนก็ฉันนั้น. บทว่า อนุตฺตเรสุ วิโมกฺเขสุ (ในอนุตตรวิโมกข์) คือ อรหัต ชื่อว่าอนุตตรวิโมกข์. อธิบายว่า ตั้งความปรารถนาในอรหัต. บทว่า อายตนํ (อายตนะ) ได้แก่ อายตนะคือ อรหัต. บทว่า ปิหํ อุปฏาปยโต (เมื่อเข้าไปตั้งความปรารถนา) ความว่าตั้งความปรารถนา. ก็อายตนะนั้นย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ตั้งความปรารถนานั้น.อธิบายว่า ผู้เข้าไปทั้งความปรารถนา เพราะความที่อายตนะเป็นมูลรากของความปรารถนา ด้วยประการฉะนี้. บทว่า อิมานิ ฉ เนกฺขมฺมสิตานิโทมนสฺสานิ (เหล่านี้คือโทมนัสอาศัยเนกขัมมะ๖) ความว่า โทมนัสอันเกิดแก่บุคคลผู้ตั้งความปรารถนาในอรหัตในเมื่ออิฏฐารมณ์ไปสู่คลองในทวาร. ๖ อย่างนี้ ไม่อาจเพื่อจะดังวิปัสสนาให้เจริญขึ้นด้วยอํานาจแห่งความไม่เที่ยงเป็นต้น เพื่อบรรลุอรหัตนั้น ดุจพระมหาสิวเถระ ผู้อยู่ในเงื้อมใกล้บ้าน เศร้าโศกว่า เราไม่อาจแล้ว เพื่อบรรลุอรหัต ตลอดปักษ์นี้บ้าง ตลอดเดือนนี้บ้าง ตลอดปีนี้บ้าง ด้วยอํานาจความเป็นไปแห่งสายน้ำตาเหล่านี้ พึงทราบว่า โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ก็เรื่องราว ได้ให้พิสดารแล้วในสักกปัญหวัณณนา ในอรรถกถาทีฆนิกายชื่อ สุมังคลวิลาสินี. ผู้ประสงค์พึงถือเอาจากอรรถกถานั้นเถิด.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 300
อุเบกขาในอัญญาณ ชื่อว่า อุเบกขา ในบทนี้ว่า อุเปกฺขา. บทว่าอโนธิชินสฺส (ผู้ไม่ชนะกิเลส) ความว่า ขีณาสพ ชื่อว่า โอธิชินะ เพราะความที่พระขีณาสพชนะข้าศึกคือกิเลสแล้วดํารงอยู่ เพราะฉะนั้นบทนี้ ได้แก่ปุถุชนผู้ไม่สิ้นอาสวะ.ขีณาสพแล ชื่อว่าวิปากชินะ เพราะความที่พระขีณาสพชนะวิบากต่อไปดํารงอยู่ แม้ในบทนี้ว่า อวิปากชินสฺส (ไม่ชนะวิบาก) เพราะฉะนั้น ผู้ไม่สิ้นอาสวะนั้นเทียว.บทว่า อนาทีนวทสฺสาวิโน (ไม่เห็นโทษ) ได้แก่ ผู้ไม่เห็นโดยความเป็นโทษ. บทว่า อิมา ฉ เคหสิตา อุเปกฺขา (เหล่านี้คืออุเบกขาอาศัยเรือน ๖) ความว่า อุเบกขาที่ไม่กลับสู่รูปเป็นต้นดุจแมลงวันที่จับงบน้ำอ้อย เมื่ออิฏฐารมณ์ไปสู่คลองในทวาร ๖ อย่างนี้ทิศอยู่ในรูปเป็นต้นนั้น เกิดขึ้นนี้ พึงทราบว่า อุเบกขาอาศัยเรือน ๖. บทว่ารูปํ สา นาติวตฺตติ (อุเบกขาเช่นนี้ไม่ล่วงเลยรูปไปได้) ความว่า อุเบกขานั้นไม่ล่วงเลยรูป. ไม่ตั้งอยู่ด้วยอํานาจความเบื่อหน่ายในรูปนั้น. บทว่า อิมา ฉ เนกฺขมฺมสิตา อุเปกฺขา (เหล่านี้อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖) ความว่าอุเบกขาเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ยินดีในอิฏฐารมณ์ไม่ยินร้ายในอนิฏฐารมณ์เมื่ออารมณ์ที่น่าปรารถนาเป็นต้น ไปสู่คลองในทวาร ๖ อย่างนี้ ไม่หลุ่มหลงด้วยการพิจารณาไม่รอบคอบ ประกอบด้วยอุเบกขาญาณเหล่านั้น พึงทราบว่าอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖. บทว่า ตตฺถ อิทํ นิสฺสาย อิทํ ปชหถ (ในธรรมเหล่านี้ พวกเธอจงอาศัยธรรมนี้ ละธรรมนี้) ความว่า ในทางดําเนินของสัตว์๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัยทางดําเนิน๑๘ ประการ ละทางดําเนิน ๑๘ ประการ. ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ตตฺร ภิกฺขเว ยานิ ฉ เนกฺขมฺมสิตานิ (ภิกษุทั้งหลาย ในสัตตบท ๓๖ นั้น... โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖) ดังนี้เป็นต้น. บทว่า นิสฺสาย อาคมฺม (อาศัย คืออิง) ได้แก่อาศัยและอิง ด้วยอํานาจความเป็นไป. บทว่า เอวเมเตสํ สมติกฺกโม โหติ (อย่างนี้ย่อมเป็นอันล่วงโสมนัสเหล่านั้นได้) ความว่า ชื่อว่า ล่วงเลยอุเบกขาอาศัยเรือเพราะความเป็นไปแห่งอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ละธรรมที่คล้ายกัน ด้วยธรรมที่คล้ายกันอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงให้ละธรรมที่ไม่มีกําลัง ด้วยธรรมที่มีกําลัง จึงตรัส
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 301
อีกว่า ตฺตร ภิกฺขเว ยานิ ฉ เนกฺขมฺมสิตานิ โสมนสฺสานิ ดังนี้ป็นต้น.พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงให้ละโทมนัสอาศัยเนกขัมมะด้วยโสมนัสอาศัยเนกขันมะ และโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ด้วยอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะอย่างนี้ จึงตรัสการละธรรมที่ไม่มีกําลัง ด้วยธรรมที่มีกําลัง. ก็บัณฑิตตั้งอยู่ในการละนั้น พึงกล่าวอุเบกขา. ก็บุพภาควิปัสสนาของภิกษุ ๘ รูป ผู้ปรารภวิปัสสนา ทําฌาน ๓ มีปฐมฌานเป็นต้น ในสมาบัติ ๘ และสังขารบริสุทธิ์ทั้งหลายให้เป็นบาท ย่อมสหรคตด้วยโสมนัสหรือสหรคตด้วยอุเบกขา. ส่วนวุฏฐานคามินี สหรคตด้วยโสมนัสเทียว. บุพภาควิปัสสนาของภิกษุ ๕ รูป ผู้ปรารภวิปัสสนาทําฌานทั้งหลายมีจตุตถฌานเป็นต้นให้เป็นบาท ก็เป็นอันเดียวกับนัยก่อน. ก็วุฏฐานคามินีเป็นอันสหรคตด้วยอุเบกขา. ทรงหมายถึงบทนี้ จึงตรัสว่า อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ ใด พวกเธออาศัยอุเบกขาเหล่านั้น อิงอุเบกขาเหล่านั้น จงละโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ ดังนี้. ก็ภิกษุผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมมีคุณวิเศษ ด้วยอํานาจแห่งเวทนา ด้วยวิปัสสนานี้อย่างเดียวก็หามิได้. คุณวิเศษ แม้แห่งองค์ของฌาน โพชฌงค์ และองค์ของมรรคย่อมมีแม้ในอริยมรรค. ก็อะไรกําหนดคุณวิเศษนั้น. เถระบางพวกกล่าวก่อนว่า ฌานซึ่งมีวิปัสสนาเป็นบาท ย่อมกําหนด. บางพวกกล่าวว่า ขันธ์ทั้งหลายอันเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา ย่อมกําหนด. บางพวกว่า อัธยาศัยของบุคคลย่อมกําหนด ในวาทะของเถระ แม้เหล่านั้น วิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินี ในบุพภาคนี้เทียว พึงทราบว่า ย่อมกำหนด. ส่วนวินิจฉัยกถาในข้อนี้ ได้กล่าวแล้วในสังขารูเปกขานิเทศในวิสุทธิมรรคเทียว.
บทว่า นานตฺตา (มีประเภทต่างกัน) ได้แก่ ต่างๆ มาก มีประมาณมิใช่หนึ่ง. บทว่า นานตฺตสิตา (อาศัยอารมณ์ต่างกัน) ได้แก่ อาศัยอารมณ์ต่างๆ. บทว่า เอกตฺตา (เป็นประเภทเดียวกัน) ได้แก่ หนึ่ง. บทว่า เอกตฺตสิตา (อาศัยอารมณ์เดียวกัน) ได้แก่อาศัยอารมณ์หนึ่ง. ถามว่า ก็อุเบกขานี้เป็นไฉน. ตอบว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 302
ได้ตรัสอัญญาณูเบกขาไว้ในหนก่อน. จะตรัสฉฬังคุเบกขาในข้างหน้า ทรงถือเอาอุเบกขา ๒ อย่าง คือ สมถอุเบกขา วิปัสสนูเบกขา แม้ในที่นี้. ในอุเบกขา ๒ อย่างนั้นเพราะอุเบกขาในรูปเป็นอย่างหนึ่งอุเบกขาในเสียงเป็นต้นอย่างหนึ่ง. ก็อุเบกขาในรูปย่อมไม่มีในเสียงเป็นต้น. อุเบกขาในรูปเท่านั้น ทํารูปเท่านั้นให้เป็นอารมณ์. เสียงเป็นต้นย่อมไม่ทํารูปและความเป็นอุเบกขาให้เป็นอารมณ์.สมถอุเบกขาอื่นๆ ก็คืออุเบกขาที่ทําปฐวีกสิณให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น. อุเบกขาอื่นๆ คืออุเบกขาที่เกิดขึ้นเพราะทําอาโปกสิณเป็นต้นให้เป็นอารมณ์. เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรงจําแนกความเป็นต่างๆ และอาศัยอารมณ์ต่างๆ จึงตรัสว่า อตฺถิ ภิกฺขเว อุ เปกฺขา รูเป (อุเบกขาที่มีในรปก็มี) เป็นต้น ก็เพราะอากาสานัญจายตนะ หรือวิญญาณัญจายตนะ เป็นต้น ไม่มีสอง หรือสาม. เพราะฉะนั้น เมื่อทรงจําแนกอาศัยอารมณ์หนึ่งจึงตรัสว่า อตฺถิ ภิกฺขเว อุเปกขา อากาสานฺจายตนนิสฺสิตา (อุเบกขาที่อาศัยอากาสานัญจายตนะก็มี) ดังนี้เป็นต้น. บรรดาอุเบกขาเหล่านั้น อากาสานัญจายตนูเบกขา อาศัยอากาสานัญจายตนะ ด้วยอํานาจที่เป็นสัมปยุต วิปัสสนูเบกขาของภิกษุผู้เห็นแจ้งอากาสานัญจายตนขันธ์อาศัยอากาสานัญจายตนะ ด้วยอํานาจแห่งอารมณ์. ในอุเบกขาแม้ที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน. ทรงให้ละรูปาวจรกุศลสมาบัติอุเบกขา ด้วยอรูปาวจรสมาบัติอุเบกขา ทรงให้รูปาวจรวิปัสสนูเบกขา ด้วยอรูปาวจรวิปัสสนูเบกขา ในบทนี้ว่า ตํ ปชหถ (ละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มีประเภทต่างกัน อาศัยอารมณ์ต่างกันนั้นเสีย) ดังนี้ ตันหาชื่อว่า ตมฺมยตา ในบทนี้ว่า อตมฺมยตํ. วิปัสสนาอันให้ถึงการออกจากการกลุ้มรุม ของตัณหานั้น เรียกว่า อตมฺมยตา (ความเป็นผู้ไม่มีตัญหา) . ย่อมละอรูปาวจรสมาบัติอุเบกขาและวิปัสสนูเบกขา ด้วยวุฏฐานคามินีวิปัสสนา ในบทนี้ว่า ตํ ปชหถ.บทว่า ยทริโย (ที่พระอริยะ) ความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นอริยเจ้า ย่อมทรงเสพสติปัฏฐานเหล่าใด. ทรงตั้งพระสติในฐานะ ๓ อย่างนั้น พึงทราบว่าทรงเสพสติปัฏฐาน.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 303
บทว่า น สุสฺสุสนฺติ (ย่อมไม่ฟังด้วยดี) ความว่า ไม่ปรารถนาเพื่อเชื่อฟัง. บทว่า น อฺา (ไม่ตั้งจิตรับรู้) ความว่า ไม่ตั้งจิตเพื่อประโยชน์แก่การรู้. บทว่า โวกมฺม (หลีกเลี่ยง) ได้แก่ ก้าวล่วง. บทว่า สตฺถุ สาสนํ (คำสอนของศาสดา) ความว่า ไม่สําคัญซึ่งโอวาทของพระศาสดาที่ควรถือเอา ควรให้เต็ม. บทว่า เนว อตฺตมโน (ไม่ยินดี) คือ ไม่มีใจเป็นของตน.แต่ในที่นี้ ไม่ควรเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ไม่ระคายเคือง ด้วยอํานาจโทมนัสอาศัยเรือน. แต่ตรัสบทนั้นเพราะไม่มีเหตุแห่งความชื่นชม ในเหล่าสาวกผู้ไม่ปฏิบัติ. บทว่า อนวสฺสุโต (ปลอดจากกิเลสเครื่องรั่วรดคือปฏิฆะ) คือ ไม่ขวนขวายด้วยอํานาจขวนขวายความแค้นเคือง. บทว่า สโต สมฺปชาโน (มีสติสัมปชัญญะ) ความว่า ถึงพร้อมด้วยสติ และญาณบทว่า อุเปกฺโข (เป็นผู้วางเฉย) ความว่า วางเฉยด้วยฉฬังคูเบกขา. ไม่พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า มีความดีใจด้วยอํานาจโสมนัสอาศัยเรือน ในบทแม้นี้ว่า อตฺตมโน (ยินดี) .บทนั้น ตรัสแล้วด้วยความมีเหตุแห่งความชื่นชมในเหล่าสาวกผู้ปฏิบัติ. บทว่าอนวสฺสุโต (ปลอดจากกิเลสเครื่องรั่วรด) ได้แก่ ไม่ขวนขวาย ด้วยอํานาจขวนขวายด้วยราคะ. บทว่า สาริโต (ไสให้วิ่ง) ได้แก่ ฝึกแล้ว. บทว่า เอกํเยว ทิสํ ธาวติ (ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเท่านั้น) ความว่า เมื่อไม่ให้กลับวิ่งไป ชื่อว่า วิ่งไปสู่ทิศเดียวเท่านั้น. แต่ย่อมอาจเพื่อให้กลับวิ่งไปสู่ทิศอื่น. บทว่า อฏทิสา วิธาวติ (ย่อมวิ่งไปได้ทั่วทั้ง ๘ ทิศ) ความว่า นั่งโดยบัลลังก์หนึ่ง ไม่กลับด้วยกาย วิ่งทั่วทั้ง ๘ ทิศ ด้วยครั้งเดียวเท่านั้น ด้วยอํานาจแห่งวิโมกข์. อธิบายว่า ทรงมุ่งพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก หรือทิศใต้เป็นต้น ทิศใดทิศหนึ่งประทับนั่งเข้าสมาบัติทั้ง ๘ นั้นเทียว. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสฬายตนวิภังคสูตรที่ ๗