ปฐวีรส อาโปรส เป็นปัจจัยแก่มธุรส
โดย เมตตา 26 ก.ค. 2552
หัวข้อหมายเลข 12994
ขอเรียนถามข้อความตอนหนึ่งจาก
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 211
ในข้อว่ารูปไม่ใช่เหตุนั้น เหตุมี ๔ อย่าง คือ..........
............ เหตุที่ตรัสไว้ว่า ข้อที่อวิชชานี้เท่านั้นเป็นเหตุ อวิชชานี้เป็นปัจจัยแก่สังขารทั้งหลาย อวิชชาเป็นเหตุทั่วไปแม้แก่สังขารทั้งหลาย ย่อมแผ่ไปสู่ความเป็นปัจจัย ดังนี้ เหมือนที่ตรัสว่าปฐวีรส อาโปรส เป็นปัจจัยแก่มธุรสบ้าง แก่อมธุรสบ้าง ฉันใด อวิชชาก็เป็นสาธารณปัจจัยแก่สังขารที่เป็นกุศลบ้าง ที่เป็นอกุศลบ้าง ฉันนั้น ชื่อว่าสาธารณเหตุ.
เรียนถามท่านอาจารย์วิทยากรว่า ปฐวีรส อาโปรส เป็นปัจจัยแก่มธุรสบ้าง แก่อมธุรสบ้าง มีความหมายว่าอย่างไรค่ะ ขอขอบพระคุณค่ะ
ความคิดเห็น 1
โดย prachern.s วันที่ 27 ก.ค. 2552
โดยทั่วๆ ไปเมื่อกล่าวถึงผลไม้ที่มีรสหวานหรือรสเปรี้ยว รสเหล่านั้นก็มาจากลำต้นมาจากราก รากของต้นไม้ก็ดูด รสของดิน รสของน้ำ ทำให้มีผลไม้ที่มีรสหวาน และรสเปรี้ยว คำว่า ปฐวีรส อาโปรส เป็นปัจจัยแก่ มธุรส (หวาน) อมธุรส (ไม่หวาน) ก็มีความหมายโดยนัยนี้แล
ความคิดเห็น 2
โดย JANYAPINPARD วันที่ 27 ก.ค. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
ความคิดเห็น 3
โดย เมตตา วันที่ 27 ก.ค. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
ความคิดเห็น 4
โดย จำแนกไว้ดีจ๊ะ วันที่ 27 ก.ค. 2552
อวิชชา เป็นเหตุทั่วไป สาธารณปัจจัย แก่สังขารทั้งหลาย เหมือนปฐวีรส อาโปรส เป็นปัจจัยแก่มธุรสบ้าง อมธุรสบ้าง อะไรเป็นปัจจัยจำแนก สังขารให้ต่างกันเล่า เหมือนดังผลไม้ที่มีรสหวานมากบ้าง น้อยบ้างเล่า และที่มีรสเปรี้ยวมากบ้าง น้อยบ้างเล่า ท่านผู้เจริญ
ความคิดเห็น 5
โดย prachern.s วันที่ 27 ก.ค. 2552
ปัจจัยที่จำแนก สังขารให้ต่างกันก็คือการสะสมมาที่ต่างกัน หรือ ธาตุที่ต่างกัน ครับ
ความคิดเห็น 6
โดย pornpaon วันที่ 28 ก.ค. 2552
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ