พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 100
ข้อความบางตอนจาก ..
อรรถกถา มหาปธานสูตร ชื่อว่านิยามนี้มี ๕ อย่าง คือ กรรมนิยาม อุตุนิยาม พีชนิยาม จิตต-นิยาม ธรรมนิยาม. ในนิยามทั้ง ๕ นั้น การให้ผลแห่งกุศลที่น่าปรารถนาการให้ผลแห่งอกุศลที่ไม่น่าปรารถนา นี้ชื่อกรรมนิยาม. ในชนบทนั้นๆ ในกาลนั้นๆ การเก็บดอกไม้และผลไม้เป็นต้น โดย ตัดครั้งเดียวเท่านั้น ลมพัด ลมไม่พัด แดดกล้า แดดอ่อน ฝนตก ฝนไม่ตก ดอกบัวกลางวันแย้ม กลางคืนหุบ อย่างนี้เป็นต้น เป็นอุตุนิยาม ผลข้าวสาลีย่อมเป็นผลจากพืชข้าวสาลีอย่างเดียว รสหวานย่อมเป็นผลจากน้ำหวาน รสขมย่อมเป็นผลจากพืชขม นี้เป็นพีชนิยาม. ธรรมคือจิตและเจตสิกดวงก่อนๆ เป็นปัจจัย โดยอุปนิสัยปัจจัยแห่งธรรมคือจิตและเจตสิกดวงหลังๆ เพราะฉะนั้น การเกิดขึ้นแห่งสัมปฏิจฉันนะเป็นต้นในลำดับแห่งจักขุวิญญาณเป็นต้น นี้ เป็นจิตตนิยาม. ความเป็นไปแห่งความหวั่นไหวในหมื่นโลกธาตุ ในการเสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแห่งพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย นี้ชื่อธรรมนิยาม.
ขออนุโมทนาค่ะ
เป็นปกติของธาตุรู้ที่เขาเกิดขึ้นทำกิจการงานตามการสะสมตามเหตุตามปัจจัย ไม่มีใครเป็นเจ้าของธรรมะใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่มีใครสามารถบังคับบัญชาธรรมะได้ ธรรมะแต่หนึ่งเกิดขึ้นทำกิจการงานแล้วก็ดับไปไม่กลับมาอีกเลยในสังสารวัฏฏ์ จิตตนิยาม กราบเท้าบูชาคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ ที่เคารพยิ่ง อนุโมทนา สาธุค่ะ