ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ถอดคัดข้อความจากไฟล์เสียงสนทนาธรรม
ความเข้าใจตามลำดับขั้น
ผู้ถาม ท่านอาจารย์ จะกรุณา ช่วยอธิบาย คำว่า บริกรรม เพื่อให้วิปัสสนาญาณคมขึ้น ค่ะ ท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์สุจินต์ โดยมาก เมื่อผ่าน แล้วก็ จะ คิดถึง “คำ” ตาม ระดับ ความคิด ความเข้าใจ แต่ว่า จริงๆ แล้ว นี่ “จะต้องมี การเข้าใจตามลำดับขั้น” ยังไม่ถึงตรงนั้น แต่ว่าเดี๋ยวนี้ ตรงนี้ บัญญัติเป็นอารมณ์ ของสติปัฏฐานได้ไหมก่อน จะต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้อง ถ้าได้ แปลว่า ผิด ได้อย่างไรบัญญัติเกิดหรือเปล่า บัญญัติดับหรือเปล่า
“อุทยัพพยญาณ” ก็คือ การประจักษ์การเกิดดับ แล้วจะไป ประจักษ์ การเกิดดับของบัญญัติ ได้ อย่างไร เพราะว่า บัญญัติไม่มี ไม่ใช่ปรมัตถธรรม ไม่ใช่จิต ไม่ใช่เจตสิก ไม่ใช่รูป เพราะฉะนั้น ก็ต้องมีความเข้าใจ ถูกต้อง ถ้ามีความเข้าใจถูกต้องตามลำดับขั้นจริงๆ เวลาที่ผ่านพยัญชนะใด ก็สามารถที่จะเข้าถึงอรรถ ความหมาย ของคำนั้นได้ อย่างอนิจจัง สภาพที่ไม่เที่ยง ลักษณะที่ไม่เที่ยง ไตรลักษณะ คือ ลักษณะที่ไม่เที่ยง ทุกขัง ลักษณะที่เป็นทุกข์ อนัตตา ก็สภาพที่ไม่ใช่ตัวตน ไตรลักษณะของอะไร อยู่ดีๆ ไม่มีอะไรเลย แล้วก็จะ มีลักษณะลอยๆ ไม่เที่ยง-เป็นทุกข์-เป็นอนัตตา ได้อย่างไร เพราะฉะนั้น แม้แต่ ไตรลักษณะ “ไตรลักษณะของอะไร” ของ “สภาพธัมมะที่เกิดขึ้น มีจริงๆ แล้วก็ดับไป”
“ลักษณะที่เกิดดับ” นั่นแหละ “เป็นทุกข์ ที่ ไม่มี ใคร สามารถจะ แก้ไขได้ เลย” ใครจะให้สภาพธัมมะขณะนี้ที่เกิดแล้ว - ไม่ดับบ้าง ใครทำได้ ใช่ไหมคะ สภาพธัมมะใด ก็ตามที่เกิด แล้วก็ดับ ลักษณะนั้น ถ้าไม่ใช่ “ปัญญาที่ประจักษ์แจ้ง ในความเกิดดับ” จะ เห็นว่า “เป็นทุกข์” ไหม เพราะเราก็เพียงแต่ “ขณะนี้”
จิต-เกิดแล้วก็ดับ เจตสิก-เกิดพร้อมจิต-ดับพร้อมจิต รูป-เกิด-แล้วก็ดับ มี อายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ นี่คือ ผู้รู้ ได้ทรงแสดง แต่ว่า ถ้าไม่มีการประจักษ์แจ้งจริงๆ จะ เห็น “ทุกขลักษณะ” นี้ไหม ว่า เป็น ลักษณะของอะไร ก็ต้อง เป็น ลักษณะของสภาพธัมมะ ที่ผู้ประจักษ์ ก็จะรู้ว่า ลักษณะนี้ เป็น ลักษณะของธัมมะทั้งหมด ที่เกิด เป็น “สามัญญลักษณะ” ลักษณะของสภาพธัมมะทุกประเภทที่เกิดขึ้นต้องดับไป เป็น “ไตรลักษณะ” ถ้า มี ความเข้าใจ อย่างนี้ จะเป็น “บัญญัติ” หรือเปล่า
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ