พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 258
ข้อความบางตอนจาก
บุรุษผู้กล่าวผัดเพี้ยนการงานที่ควรจะทำในวัน
นี้ว่า ควรทำในวันพรุ่งนี้ การงานที่ควรจะทำในวัน
พรุ่งนี้ว่า ควรทำในวันต่อไป ย่อมเสื่อมจากการงาน
นั้น ธีรชนคนใดรู้ว่า สิ่งใดเป็นอนาคต สิ่งนั้นไม่มี
แล้ว พึงบรรเทาความพอใจที่เกิดขึ้นเสีย.
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
การงานในที่นี้หมายถึงการอบรมเจริญปัญญาคือสติปัฏฐานครับ อย่าผัดเพี้ยนครับ มีโอกาสฟังธรรมนะครับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 258
ข้อความบางตอนจาก หัตถิปาลชาดก
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หิยฺโย ได้แก่ ในวันพรุ่งนี้. บทว่า
ปเร ได้แก่ ในวันมะรืนนี้. มีคำอธิบายว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า บุรุษใด
ผัดเพี้ยนการงานที่ควรทำในวันนี้ว่า ควรทำในวันพรุ่งนี้ การงานที่ควรทำใน
วันพรุ่งนี้ ว่าควรทำในวันมะรืนนี้ แล้วไม่ทำการงาน บุรุษนั้นย่อมเสื่อมจาก
การงานนั้น คือไม่สามารถจะทำการงานนั้นให้สำเร็จได้. โคปาลกุมารแสดง
ถึงการงานชื่อ " ภัทเทกรัตตะ " มีราตรีเดียว เจริญด้วยอาการอย่างนี้. อรรถา-
อธิบายความข้อนี้ ควรกล่าวในภัทเทกรัตตสูตร. บทว่า อนาคต เนตมตฺถิ
ความว่า บัณฑิตชนคนใดรู้ว่า สิ่งใดเป็นอนาคต สิ่งนั้นยังไม่มีไม่เป็นแล้ว
พึงบรรเทาคือนำกุศลฉันทะที่เกิดขึ้นแล้วไป.
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขออนุโมทนาครับ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 210
ว่าด้วยผู้มีราตรีเดียวเจริญ
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วง
ไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และ
สิ่งที่ยังไม่มาถึงก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคล
ใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่
คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้ บุคคลนั้น
พึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด
พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใคร
เล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความ
ผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อม
ไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบย่อม
เรียกบุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีความ
เพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลาง
คืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.
ขออนุโมทนา