[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 28-29
๓. ทุติยปหานสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง
[๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อรู้ยิ่งกำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมสำหรับรู้ยิ่งกำหนดรู้แล้วละเสียซึ่งสิ่งทั้งปวงเป็นไฉน. จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละเสีย แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ควรกำหนดรู้แล้วละเสีย ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ควรกำหนดรู้ แล้วละเสีย แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ควรกำหนดรู้แล้วละเสีย นี้เป็นธรรมสำหรับรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวงเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันนี้แล เป็นธรรมสำหรับรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง.
จบ ทุติยปหานสูตรที่ ๓
๔. ปฐมปริชานสูตร
ว่าด้วยผู้ยังไม่รู้ยิ่งย่อมละสิ่งทั้งปวงไม่ได้
[๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ซึ่งสิ่งทั้งปวง ยังไม่เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงคืออะไร. บุคคลผู้ยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ยังไม่เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์
สาธุ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
กราบนอบน้อมพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า
การได้ฟังคำของพระพุทธองค์เป็นมงคลสูงสุดแห่งชีวิตเมื่อเข้าใจ ความเข้าใจต้องเกิดด้วยการได้ฟังความละเอียดที่พระพุทธองค์ทรงแสดงความจริงของสภาพธรรมแต่ละหนึ่งๆ จนมั่นคง ที่วันหนึ่ง เวลาหนึ่งจึงรู้ว่า สิ่งที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร เกิดเมื่อใด ดับเมื่อใด จากเหตุอะไร
ขอบพระคุณยินดีในกุศลท่านผู้เผยแพร่พระธรรมด้วยค่ะ
ขออนุโมทนาครับ