พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 119
ข้อความบางตอนจาก โพธิราชกุมารสูตร
ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้เป็นธรรมลึก ยากที่จะเห็นได้ สัตว์อื่นจะตรัสรู้ตาม
ได้ยาก เป็นธรรมสงบระงับ ประณีต ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงได้ด้วยความตรึก
เป็นธรรมละเอียด อันบัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 28 ข้อความบางตอนจาก อรรถกถา วิภังคสูตร
ความพยายามเพื่อต้องการเห็นสัจจะทั้งสองนอกนี้ (นิโรธ มรรค) นิโรธ คือ พระนิพพาน มรรค คือ มรรคมีองค์ 8 ย่อมเป็นเหมือนการเหยียดมือไปเพื่อจับภวัคคพรหมเหมือนการเหยียดเท้าไปเพื่อถูกต้องอเวจี และเหมือนการยังปลายแห่งขนหางสัตว์ซึ่งแยกแล้วโดย ๗ ส่วน ให้ตกสู่ปลาย. สัจจะเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นธรรมลุ่มลึก เพราะเห็นได้ยากด้วยประการดังนี้.
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 44
พระศาสดา. อานนท์ เธอเห็นจะทำความสำคัญว่า ' ธรรมของเรา
อันบุคคลพึงฟังได้โดยง่ายกระมัง? '
อานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ธรรม (ของพระองค์) อัน
บุคคลพึงฟังได้โดยยากหรือ?
พระศาสดา. ถูกแล้ว อานนท์.
อานนท์. เพราะเหตุไร? พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. อานนท์ บทว่า ' พุทฺโธ ' ก็ดี ' ธมฺโม ' ก็ดี ' สงฺโฆ '
ก็ดี อันสัตว์เหล่านั้นไม่เคยสดับแล้ว ในแสนกัลป์ แม้เป็นอเนก: เพราะ-
ฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นจึงไม่สามารถฟังธรรมนี้ได้: แต่ในสงสารมีที่สุดอัน
ใครๆ ตามรู้ไม่ได้ สัตว์เหล่านั้นฟังดิรัจฉานกถามีอย่างต่างๆ นั่นแล
กราบอนุโมทนาค่ะ