[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 473
ปัญจมปัณณาสก์
ทีฆจาริกวรรคที่ ๓
๑. ปฐมทีฆจาริกสูตร
ว่าด้วยคุณและโทษของการจาริก
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 473
ทีฆจาริกวรรคที่ ๓
๑. ปฐมทีฆจาริกสูตร
ว่าด้วยคุณและโทษของการจาริก
[๒๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของภิกษุผู้ประกอบการเที่ยวไปนาน การเที่ยวไปไม่มีกำหนด ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ย่อมไม่ได้ฟัง สิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๑ ย่อมไม่เข้าใจชัด สิ่งที่ได้ฟังแล้ว ๑ ย่อมไม่แกล้วกล้า ด้วยสิ่งที่ได้ฟังแล้ว บางประการ ๑ ย่อมได้รับโรคเรื้อรังอย่างหนัก ๑ ย่อมไม่มีมิตร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของภิกษุ ผู้ประกอบการเที่ยวไปนาน การเที่ยวไปไม่มีกำหนด ๕ ประการ นี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเที่ยวไป มีกำหนดพอสมควร ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๑ ย่อมเข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว ๑ ย่อมแกล้วกล้า ด้วยสิ่งที่ได้ฟังแล้วบางประการ ๑ ย่อมไม่ได้รับโรคเรื้อรังอย่างหนัก ๑ ย่อมมีมิตร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเที่ยวไป มีกำหนดพอสมควร ๕ ประการ นี้แล.
จบปฐมทีฆจาริกสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 474
ทีฆจาริกวรรควรรณนาที่ ๓
อรรถกถาปฐมทีฆจาริกสูตร
พึงทราบวินิจฉัยใน ปฐมทีฆจาริกสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๓ ดังต่อ ไปนี้ :-
บทว่า อนวฏฺจาริกํ ได้แก่ เที่ยวไปไม่มีกำหนด. บทว่า สุตํ น ปริโยทเปติ ความว่า ข้อใดที่เธอเคยฟังแล้ว ก็ไม่สามารถจะเข้าใจชัด ข้อนั้นได้. บทว่า สุเตนเนกจฺเจน อวิสารโท โหติ ความว่า ย่อมไม่ถึงโสมนัส ด้วยข้อที่ได้ฟังมา คือ ความรู้ที่มีอยู่นิดหน่อย. บทว่า สมวฏฺจาเร ได้แก่ ในการเที่ยวไปมีกำหนด.
จบอรรถกถา ปฐมทีฆจาริกสูตรที่ ๑