พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 89
บทว่า เอตทริยานมุตฺตม การประพฤติวิเวกนี้เป็นกิจอันสูงสุดของ
พระอริยเจ้าทั้งหลาย คือ วิเวกจริยา (การประพฤติวิเวก) นี้เป็นกิจสูงสุด
ของพระอริยเจ้าทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เพราะฉะนั้น พึงศึกษาวิเวก
เท่านั้น.
บทว่า เตน เสฏฺโ น มญฺเถ ความว่า มุนีไม่ควรสำคัญตนว่า
เราเป็นผู้ประเสริฐด้วยวิเวกนั้น. ท่านอธิบายว่า ไม่ควรผูกพันอยู่กับวิเวกนั้น.
บทว่า ปวิเวกกถ ได้แก่ กถาเกี่ยวกับความสงัด. จริงอยู่ ความ
สงัดมี ๓ อย่าง คือ สงัดกาย ๑ สงัดจิต ๑ สงัดจากอุปธิ (กิเลส) ๑. ใน
ความสงัด ๓ อย่างนั้น รูปหนึ่งเดิน รูปหนึ่งยืน รูปหนึ่งนั่ง รูปหนึ่งนอน
รูปหนึ่งเข้าไปบิณฑบาต รูปหนึ่งก้าวไป รูปหนึ่งเดินจงกรม รูปหนึ่งเที่ยวไป
รูปหนึ่งอยู่ นี้ชื่อว่า กายปวิเวก (สงัดกาย) . สมาบัติ ๘ ชื่อว่า จิตตปวิเวก
(สงัดจิต) . นิพพานชื่อว่า อุปธิปวิเวก (สงัดจากกิเลส) . สมดังที่ท่านกล่าว
ไว้ว่า กายปวิเวกของผู้มีกายตั้งอยู่ในความสงัด จิตตปวิเวกของผู้ยินดีใน
เนกขัมมะแล้ว อุปธิปวิเวกของบุคคลผู้ไม่มีอุปธิ ผู้มีจิตบริสุทธิ์ถึงความ
ผ่องแผ้วอย่างยิ่ง ถึงนิพพานแล้วดังนี้.
...............................................
ผู้อบรมเจริญสติฯ อย่างพวกเราทั้งหลาย จิตตปวิเวก (สงัดจิต) ยินดี
ใน เนกขัมมะ การ ออกจากกาม ออกจากอกุศล เป็นสิ่งสำคัญ
00264 ธรรม ๓ อย่างแทงตลอดได้ยาก
ทสุตตรสูตร
ธรรม ๓ อย่าง แทงตลอดได้ยาก เป็นไฉน
ได้แก่ ธาตุอันเป็นที่ตั้งแห่งการสลัดออก ๓ คือ
เนกขัมมะ เป็นที่สลัดออกของกาม ๑
อรูป เป็นที่สลัดออกของรูป ๑
นิโรธ เป็นที่สลัดออกของสิ่งที่เกิดแล้ว
สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยเกิดแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑
ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ แทงตลอดได้ยาก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒
ธรรมเตือนใจวันที่ : 26-01-2548
พระพุทธเจ้าก็เคยตรัสกับพระภิกษุว่า ธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้เป็นไปเพื่อความละคลายในหมู่คณะ คือไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ไม่คลุกคลีกับอกุศลทั้งหลาย
ขอบูชาคุณพระรัตนตรัย
การอยู่ผู้เดียวที่ประเสริฐคือสิ้นกิเลสหมด
แต่ยังมีกิเลสก็มีเพื่อนคือตัณหา แม้จะอยู่ในป่าหรือที่เงียบก็ตาม
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 780
เถรนามสูตร
............[๗๑๘] ครั้นท่านพระเถระนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสถามว่า ดูก่อนเถระ. ได้ยินว่า เธอมีปกติอยู่คนเดียวและมัก
สรรเสริญการอยู่คนเดียว จริงหรือ.
พระเถระกราบทูลว่า จริง พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนเถระ ก็เธอมีปกติอยู่คนเดียว และมักกล่าวสรรเสริญ
การอยู่คนเดียวอย่างไร.
ถ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในข้อนี้ คือข้าพระองค์คนเดียวเข้าไป
สู่บ้านเพื่อบิณฑบาต เดินกลับคนเดียว นั่งในที่ลับตาคนเดียว อธิษฐาน
จงกรมคนเดียว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีปกติอยู่คนเดียว และ
มักกล่าวสรรเสริญการอยู่คนเดียว อย่างนี้แล.
[๗๑๙] พ. ดูก่อนเถระ การอยู่คนเดียวนี้มีอยู่ เราจะกล่าวว่า
ไม่มีก็หาไม่ เถระ อนึ่ง การอยู่คนเดียวของเธอย่อมเป็นอันบริบูรณ์โดย
พิสดารกว่าโดยประการใด เธอจงฟังโดยประการนั้น จงทำไว้ในใจให้ดี
เราจักกล่าว ท่านพระเถระทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าได้ตรัสดังต่อไปนี้.
[๗๒๐] ดูก่อนเถระ ก็การอยู่คนเดียว ย่อมเป็นอันบริบูรณ์โดย
พิสดารกว่าอย่างไร ในข้อนี้ สิ่งใดที่ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละได้แล้ว
สิ่งใดยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็สละคือได้แล้ว ฉันทราคะในการได้อัตภาพที่เป็น
ปัจจุบันถูกกำจัดแล้วด้วยดี การอยู่คนเดียวย่อมเป็นอันบริบูรณ์โดยพิสดาร
กว่าอย่างนี้แล.
[๗๒๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยา-
กรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
เราย่อมเรียกนรชนผู้ครอบงำขันธ์ อายตนะ ธาตุ
และไตรภพทั้งหมดได้ ผู้รู้ทุกข์ทุกอย่าง ผู้มีปัญญาดี
ผู้ไม่แปดเปื้อนในธรรมทั้งปวง ผู้ละสิ่งทั้งปวงเสียได้
ผู้หลุดพ้น ในเพราะนิพพานเป็นที่สิ้นตัณหา ว่าเป็น
ผู้มีปกติอยู่คนเดียว ดังนี้.
จบเถรนามสูตรที่ ๑๐
กระทำได้ยาก.....กระทำได้แสนยาก พระพุทธเจ้าข้า
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น. ..................ขออนุโมทนา.................
ขออนุโมทนาครับ