ได้ทำงานมาหลายปีและได้ทำงานมาหลายแผนกแต่ละแผนกก็จะต้องเจอแต่งานที่ยุ่ง
ยาก และเร่งรีบจนรู้สึกเหนื่อย แต่พอผู้อื่นมาทำงานในแผนกที่เราเคยทำมาทำไม ไม่
เห็นเขาจะต้อง เจองานที่ยุ่งยากและเร่งรีบจะรู้สึกเหนื่อยเหมือนเราเลย นี่คงจะเป็นกรรม
ที่เราทำมาในอดีต จะแก้ไขอะไรก็คงจะไม่ได้ก็คงก้มหน้ารับกรรมและพร้อมที่จะต้องทำ
งานให้ดีที่สุด (จะได้ใช้กรรมในส่วนนี้ให้หมดไป) และก็คงต้องทำงานให้ดีเพื่อให้คนที่
ทำงานต่อจากเราจะ ได้ไม่ลำบาก (จะได้ไม่เป็นการสร้างกรรมขึ้นมาใหม่อีก)
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ธรรมคือชีวิตประจำวัน ขณะที่เป็นผลของกรรมที่เป็นวิบาก คือ ขณะทีเห็น ได้ยิน ได้
กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัส เป็นต้น ดังนั้นในชีวิตประจำวันก็มีผลของกรรมทีเป็นวิบากที
เกิดอยู่เป็นปกติ และก็มีทั้งผลของกรรมที่ดีและไม่ดี เช่น เห็นสิ่งที่ดี ก็เป็นผลของกรรม
ที่ดี เห็นสิ่งที่ไม่ดีก็เป็นผลของกรรมที่ไม่ดีครับ
ดังนั้นในการทำงานก็จะต้องมีวิบากที่มีการให้ผลของกรรม 5 ทาง คือ ทางตา หู จมูก
ลิ้น กายครับ เมื่อพูดถึงความเหนื่อย ความเหนื่อย มีจริง เพราะมีลักษณะให้รู้ได้ เป็น
วิบากที่เป็นผลของกรรมที่ไม่ดีทางกายครับ ดังนั้นขณะที่เหนื่อย เป็นผลของกรรมที่ไม่ดี่
อันเกิดจากกรรมที่ไม่ดีในอดีตทีเคยทำไว้ครับ แต่ที่สำคัญ ธรรมเป็นเรื่องละเอียดการ
พิจารณาธรรมที่ถูกต้องไม่ใช่การพิจารณาเป็นเรื่องราว ยาวๆ จึงจะตัดสินได้ว่าขณะไหน
เป้นผลของกรรมทีเป็นวิบาก หรือไม่ใช่วิบาก แต่ต้องพิจารณาทีละขณะจิต เช่น ที่เรา
กล่าวว่า เจองานที่ยุ่งยาก เร่งรีบและเหนื่อย ขณะทีเห็น ได้ยินในสิ่งที่ไม่ดี หรือขณะที่
เหนื่อย ขณะนั้นเป็นผลของกรรม เป็นวิบากที่ไม่ดีครับ แต่ขณะที่วุ่นวาย เดือดร้อน ไม่
สบายใจกับงานที่ทำอยู่ในขณะนั้น ขณะนั้นไม่ใช่ผลของกรรทีเป็นวิบาก แต่เป็นอกุศล
จิตที่เกิดจากกิเลสของเราเองที่เป็นโทสะครับ ไม่ใช่เกิดจากกรรมไม่ดีในอดีตทำไว้ครับ
เห็นไหมครับ ในแต่ละเหตุการณ์จิตเกิดดับนับไม่ถ้วน บางครั้งเราอาจจะเหนื่อยทางกาย
ไม่มาก แต่เหนื่อยใจ เดือดร้อน วุ่นวายกับงานที่ทำมากกว่าก็ได้ หรือ บางคนต้องเหนื่อย
กายมาก แต่ไม่ทุกข์ใจ เดือดร้อนใจน้อยก็ได้ครับ แล้วแต่การสะสมกิเลสมานั่นเองครับ
ดังนั้นการพิจารณาธรรมต้องละเอียด ทีละขณะ ไม่เป็นเรื่องยาวๆ ขณะที่เป็นอกุศลจิตก็
เป็นอกุศลจิต ขณะที่เหนื่อยกาย ไม่ใช่เหนื่อยใจ เหนื่อยกายเป็นวิบากที่เป็นผลของ
กรรมในอดีตทีเคยทำไว้ครับ
ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ เราไม่สามารถตัดสินคนอื่นว่ามีวิบากที่ดี หรือ ไม่ดีมาก
น้อยอย่างไรเพียงการมองดูภายนอกได้เลยครับ เพราะว่า วิบาก ผลของกรรมของใครก็
เกิดกับคนนั้น เช่น เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัส เป็นผลของกรรม เราไม่
สามารถรู้ได้เลยว่าเพื่อนร่วมงานหรือว่าใครกำลังเห็นอะไร เห็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดีหรือ
ไม่ เพราะเป็นการเห็นของเขา ไม่ใช่ของเรา ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัสก็
โดยนัยเดียวกัน
เราไม่สามารถรู้ว่าเพื่อนร่วมงานมีวิบากที่ดี หรือไม่ดีทางตา หู จมูก ลิ้น กายได้เลย
เพราะเกิดกับตัวเขาเองไม่ใช่เกิดกับเรา สิ่งทีเห็นที่ไม่ดี มีอยู่ ในเวลาเดียวกัน บางคน
เห็นสิ่งนั้นที่ไม่ดี แต่บางคนอาจจะอยู่ใกล้กว่าก็ไม่เห็นก็ได้ครับ บางครั้งมีงานมาอาจ
จะน้อย แต่ความเหนื่อยกายมีมากกว่า คนที่มีงานมากก็ได้ นั่นแสดงถึงความเป็นอนัตตา
ของการให้ผลของกรรมที่เป็นความเหนื่อยกายครับ จึงไม่สามารถตัดสินภายนอกได้เลย
ว่าใครจะได้รับผลของกรรมมากหรือน้อยที่ไม่ดีครับ
ถ้าเราเข้าใจอย่างนี้ แต่ละคนก็แต่ละหนึ่งไม่เกี่ยวกันเลย ความวุ่นวาย จากงานเป็น
อกุศลจิต เป็นกิเลส ไม่ใช่วิบาก ขณะทีเห็นได้ยิน ได้กลิ่น..รู้กระทบสัมผัส หรือเหนื่อย
กาย เป็นผลของกรรมในอดีต คนละขณะกันกับความวุ่นวาย ยุ่งกับงานที่เป็นอกุศลจิต
ครับ ดังนั้นทุกคนมีวิบากที่เป็นผลของกรรมที่ดีและไม่ดี ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลย
แต่เมื่อเห็นแล้ว ได้ยินแล้ว เหนื่อยแล้วทีเป็นผลของกรรม เข้าใจสิ่งทีเกิดขึ้นในความ
เป็นจริงถูกต้องหรือไม่ สำคัญตรงนี้ครับ พระพุทธเจ้าแสดงสัจจะความจริงว่าสิ่งที
เกิดขึ้นคือธรรม ไม่ใช่เราเหนื่อย ไม่ใช่เราวุ่นวายไม่ใช่เราที่ได้รับผลของกรรมแต่เป็นจิต
ทีเกิดขึ้นทำหน้าที่ จิตชาติวิบาก ชาติอกุศล เป็นต้นครับ การเข้าใจอย่างนี้ย่อมต่างจาก
ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาธรรมแม้จะทำงานร่วมกัน แต่ก็ไม่ได้ประโยชน์จากการใช้ชีวิตประจำวัน
ในการทำงาน คือ ได้ประโยชน์จากสิ่งทีเกิดขึ้นนั่นเอง อันเป็นเหตุที่ทำให้ปัญญาเจริญ
ในชีวิตประจำวันครับ ดังนั้น สิ่งที่เกิดแล้ว ได้รับสิ่งที่ไม่ดี่ ไม่ใช่เราเหนื่อย ไม่ใช่เราได้
รับผลของกรรมในอดีต แต่เป็นธรรมที่เป็นวิบาก ผลของกรรมทีเป็นจิตไม่ใช่เรา ไม่ใช่
เราวุ่นวาย เดือดร้อนในงาน แต่เป็นอกุศลจิต ไม่ใช่เราแต่เป็นธรรมที่เป็นอกุศลครับ
การเข้าใจอย่างนี้คือการอบรมปัญญาในชีวิปตระจำวัน และก็จะดำเนินชีวิตด้วยความ
เบาสบายด้วยการเข้าใจว่าเป็นธรรม คิดถึงคนอื่นก็เป็นเพียงจิตคิดของตนเอง คิดเท่า
นั้นไม่ใช่เราที่คิด เป็นธรรมคือจิตคิดครับ ดังนั้นการตั้งใจทำงานต่อไป เป็นสิ่งทีดี
ครับ ทำหน้าที่ในการทำการงานให้ดีที่สุด โดยไม่คิดว่าใครจะทำงานมาก น้อย เพราะ
เป็นไปตามเหตุปัจจัยของแต่ละคนตามที่กล่าวมา และคงไม่หมดกรรมตราบใดยังมีการ
เกิด มีกิเลส หนทางเดียวที่จะหมดกรรมไม่ต้องทำงาน ทุกข์ต่างๆ อีกคือดับเหตุคือ
กิเลส นั่นคือการอบรมปัญญาฟังพระธรรมศึกษาพระธรรมครับ ขออนุโมทนาที่ร่วม
สนทนาครับ
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ชีวิตทุกชีวิต มีแต่ความเกิดขึ้นเป็นไปของสภาพธรรม คือ จิต เจตสิก รูป เท่านั้นจริงๆ ถ้าหากได้ศึกษาประวัติของพระอริยสาวกผู้เป็นคฤหัสถ์ในสมัยครั้งพุทธกาล แล้ว ก็จะพบว่า ในชีวิตประจำวันนั้น ท่านมีชีวิตเป็นปกติทุกอย่าง แต่มีการอบรมปัญญามากขึ้น ด้วยการฟังพระธรรม และเจริญกุศลประการต่างๆ ตามสมควร และท่านเหล่านั้นทำหน้าที่ของตนในฐานะต่างๆ มีการทำงานต่างๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละคน ชีวิตที่ดำเนินไปนั้น เป็นการเกิดดับสืบต่อกันของจิตแต่ละขณะ และจิตที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ได้มีเฉพาะจิตที่เป็นผลของกรรม คือ วิบากจิต (ขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกาย) เท่านั้น ยังมีขณะที่เป็นกุศล และ อกุศล ตามการสะสมของแต่ละบุคคล ด้วย ซึ่งก็เป็นความเกิดขึ้นเป็นไปของธรรม ที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ตราบใดที่ยังมีการเกิด ก็ยังไม่พ้นจากทุกข์ ยังไม่พ้นไปจากการกระทำกิจการงานต่างๆ ทีหนักบ้าง เบาบ้าง ที่สืบเนื่องมาจากมีการเกิด นั่นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรมตลอด ๔๕ พรรษา ก็เพื่อให้สัตว์โลกถึงการดับทุกข์อย่างแท้จริงการดับทุกข์ที่แท้จริงนั้น ต้องดับกิเลสทั้งปวง เพราะเหตุว่าเมื่อไม่มีการเกิด ก็ไม่ต้องประสบกับทุกข์ประการต่างๆ ไม่ต้องมีการเวียนว่ายตายเกิดอีกในสังสารวัฏฏ์ จึงเป็นสุขอย่างแท้จริง แต่การจะไปถึงตรงนั้นได้ ต้องเริ่มที่การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญา สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตามลำดับ ซึ่งไม่ใช่แค่ชาตินี้ชาติเดียว แต่ต้องอบรมเจริญเป็นระยะเวลาที่ยาวนานทีเดียว ที่สำคัญคือ ไม่ขาดการฟังพระธรรม ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์ผเดิมและอาจารย์คำปันครับ
"..ขณะที่วุ่นวาย เดือดร้อน ไม่ สบายใจกับงานที่ทำอยู่ในขณะนั้น ขณะนั้นไม่ใช่ผล
ของกรรมทีเป็นวิบาก แต่เป็นอกุศลจิตที่เกิดจากกิเลสของเราเองที่เป็นโทสะ.."
ขอบคุณ และขออนุโมทนาคะ