[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 410
สูตรที่ ๗
ว่าด้วยบริษัทที่หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรม และบริษัทที่หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิส
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 410
สูตรที่ ๗
ว่าด้วยบริษัทที่หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรม และบริษัทที่หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิส
[๒๙๓] ๔๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บริษัทที่หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรม ๑ บริษัทที่หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิส ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรมเป็นไฉน ภิกษุบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ ต่างสรรเสริญคุณของกันและกันต่อหน้าคฤหัสถ์ผู้นุ่งห่มผ้าขาวว่า ภิกษุรูปโน้นเป็นอุภโตภาควิมุต รูปโน้นเป็นปัญญาวิมุต รูปโน้นเป็นกายสักขี
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 411
รูปโน้นเป็นทิฏฐิปัตตะ รูปโน้นเป็นสัทธาวิมุต รูปโน้นเป็นธัมมานุสารี รูปโน้นเป็นสัทธานุสารี รูปโน้นมีศีล มีกัลยาณธรรม รูปโน้นทุศีล มีธรรมเลวทราม เธอต่างได้ลาภด้วยเหตุนั้น ครั้นได้แล้ว ต่างก็กำหนัดยินดี หมกมุ่นไม่เห็นโทษ ไร้ปัญญาเป็นเหตุออกไปจากภพบริโภคอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทผู้หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิสเป็นไฉน ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ ต่างไม่พูดสรรเสริญคุณของกันและกันต่อหน้าคฤหัสถ์ผู้นุ่งห่มผ้าขาวว่า ภิกษุรูปโน้นเป็นอุภโตภาควิมุต รูปโน้นเป็นปัญญาวิมุต รูปโน้นเป็นกายสักขี รูปโน้นเป็นทิฏฐิปัตตะ รูปโน้นเป็นสัทธาวิมุต รูปโน้นเป็นธัมมานุสารี รูปโน้นเป็นสัทธานุสารี รูปโน้นมีศีล มีกัลยาณธรรม รูปโน้นทุศีลมีธรรมเลวทราม เธอต่างได้ลาภด้วยเหตุนั้น ครั้นได้แล้วก็ไม่กำหนัด ไม่ยินดี ไม่หมกมุ่น มักเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเหตุออกไปจากภพบริโภคอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทผู้หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิสเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๗
อรรถกถาสูตรที่ ๗
ในสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อามิสครุ ได้แก่ หนักในปัจจัย ๔ คือ เป็นบริษัทที่ถือโลกุตรธรรมเป็นของทรามดำรงอยู่. บทว่า สทฺธมฺมครุ ได้แก่ เป็น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 412
บริษัทที่ยกโลกุตรธรรม ๙ เป็นที่เคารพ ถือปัจจัย ๔ เป็นของทรามดำรงอยู่. บทว่า อุภโตภาควิมุตฺโต ความว่า เป็นผู้หลุดพ้นโดยส่วนทั้งสอง. บทว่า ปญฺญาวิมุตฺโต ได้แก่ เป็นผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา คือ เป็นพระขีณาสพประเภทสุกขวิปัสสก. บทว่า กายสกฺขี ได้แก่ เป็นผู้ถูกต้องฌานด้วยนามกาย ภายหลังทำนิโรธคือนิพพานให้แจ้งดำรงอยู่. บทว่า ทิฏฺิปฺปตฺโต แปลว่า เป็นผู้ถึงที่สุดแห่งความเห็น. ทั้ง ๒ พวกเหล่านี้ ย่อมได้ในฐานะ ๔. บทว่า สทฺธาวิมุตฺโต ได้แก่ ชื่อว่าสัทธาวิมุตติ เพราะเชื่อจนหลุดพ้น. แม้พวกนี้ก็ย่อมได้ในฐานะ ๖. ชื่อว่า ธัมมานุสารี เพราะตามระลึกถึงธรรม. ชื่อว่า สัทธานุสารี เพราะตามระลึกถึงศรัทธา. แม้ ๒ พวกเหล่านี้ ก็เป็นผู้พร้อมเพรียงกันด้วยปฐมมรรค. บทว่า กลฺยาณธมฺโม แปลว่า เป็นผู้มีธรรมงาม. บทว่า ทุสฺสีโล ปาปธมฺโม แปลว่า เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก. เพราะเหตุไรจึงถือข้อนี้. เพราะพวกเขาสำคัญว่า เมื่อคนมีศีล ทั้งหมดเสมือนคนเดียวกัน ความเคารพอย่างมีกำลังในคนผู้มีศีลก็จะไม่มี แต่เมื่อมีบางพวกเป็นคนทุศีล ความเคารพมีกำลังจึงมีเหนือพวกคนมีศีล จึงถืออย่างนี้. บทว่า เต เตเนว ลาภํ ลภนฺติ ความว่า ภิกษุเหล่านั้นกล่าวสรรเสริญภิกษุบางพวก ติภิกษุบางพวก ย่อมได้ปัจจัย ๔. บทว่า คธิตา ได้แก่ เป็นผู้ละโมบเพราะตัณหา. บทว่า มุจฺฉิตา ได้แก่ เป็นผู้สยบเพราะอำนาจตัณหา. บทว่า อชฺโฌสนฺนา ได้แก่ เป็นผู้อันความอยากท่วมทับกลืนกินสำเร็จเสร็จสิ้นแล้ว. บทว่า อนาทีนวทสฺสาวิโน ได้แก่ ไม่เห็นโทษในการบริโภคโดยไม่พิจารณา. บทว่า อนิสฺสรณปญฺา ได้แก่ เว้นจากปัญญาเครื่องสลัดออก ที่ฉุดคร่าฉันทราคะในปัจจัย ๔ คือ ไม่รู้ว่าเนื้อความนี้เป็นอย่างนี้. บทว่า ปริภุญฺชนฺติ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 413
ได้แก่ เป็นผู้มีฉันทราคะบริโภค.
ในบทว่า อุภโตภาควิมุตฺโต เป็นต้น ในธรรมฝ่ายขาว มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
พระอริยบุคคล ๗ จำพวก มีอธิบายสังเขปดังนี้. ภิกษุรูปหนึ่ง ยึดมั่นทางปัญญาธุระ ทำสมาบัติ ๘ ให้บังเกิด บรรลุโสดาปัตติมรรค เธอย่อมชื่อว่า ธัมมานุสารี ในขณะนั้น ชื่อว่า กายสักขี ในฐานะ ๖ มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ชื่อว่า อุภโตภาควิมุต ในขณะบรรลุอรหัตตผล อธิบายว่า เป็นผู้หลุดพ้น ๒ ครั้ง หรือหลุดพ้นทั้ง ๒ ส่วน คือ โดย วิขัมภนวิมุตติ ด้วยสมาบัติทั้งหลาย โดย สมุจเฉทวิมุตติ ด้วยมรรค. อีกรูปหนึ่ง ยึดมั่นทางปัญญาธุระ ไม่อาจจะทำสมาบัติให้บังเกิดได้ เป็นสุกขวิปัสสกเท่านั้น บรรลุโสดาปัตติมรรค เธอย่อมชื่อว่า ธัมมานุสารี ในขณะนั้น ชื่อว่า ทิฏฐิปัตตะ ถึงที่สุดแห่งความเห็น ในฐานะ ๖ มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ ในขณะบรรลุอรหัตตผล. อีกรูปหนึ่ง ยึดมั่นทางสัทธาธุระ ทำสมาบัติ ๘ ให้บังเกิดแล้วบรรลุโสดาปัตติผล เธอย่อมชื่อว่า สัทธานุสารี ในขณะนั้น ชื่อว่า กายสักขี ในฐานะ ๖ มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ชื่อว่า อุภโตภาควิมุต ในขณะบรรลุอรหัตตผล. อีกรูปหนึ่ง ยึดมั่นทางสัทธาธุระ ไม่อาจจะทำสมาบัติให้บังเกิดได้ เป็นสุกขวิปัสสกเท่านั้น บรรลุโสดาปัตติมรรค เธอย่อมชื่อว่า สัทธานุสารี ในขณะนั้น ชื่อว่า สัทธาวิมุต ในฐานะ ๖ มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ชื่อว่า ปัญญาวิมุต ในขณะบรรลุอรหัตตผล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๗