พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ ๔๗
ญาณทัสสนะมีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒
[๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา ในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีแล้ว เพียงใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังยืนยันไม่ได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พรามหณ์ เทวดา และมนุษย์.
อ.อรรณพ: ท่านอาจารย์ก็กล่าวคำอันเกื้อกูลตรงทุกอย่าง เพราะว่า อริยสัจจ์ที่ ๒ เห็นยาก ความอยาก โลภะนี่ แม้ศึกษาธรรม ก็มีโลภะเกิดขึ้นกลุ้มรุมยุบยับไปหมด แม้กระทั่งที่ท่านอาจารย์ได้เกื้อกูลทั้ง อ.ธนากร อ.วิชัย และก็ทุกท่านที่ฟัง ก็เป็นประโยชน์อย่างนั้นจริงๆ ซึ่งก็ต้องยินดีมากที่ อ.ธนากรก็เริ่ม แล้วทำให้เห็น
เพราะฉะนั้น ใครจะอนุเคราะห์ที่จะเมตตาเตือนว่า แม้แต่ คำแนะนำ ว่า พวกเรายังขาดอะไรไป ผมฟังแล้วก็ว่าดีมากที่ อ.ธนากรพูด แต่ท่านอาจารย์พูดได้ยิ่งดีที่ทำให้เห็นว่า แม้กระนั้นก็เป็นโลภะที่ขอคำแนะนำ ท่านอาจารย์ก็ตอบว่า ขาดการไตร่ตรอง เพราะขณะที่โลภะเกิดขึ้นที่ขอ เหมือนเราเคารพท่านอาจารย์ แล้วเราก็คิดว่า ท่านอาจารย์ก็จะได้ให้ปัญญาให้คำเตือน ได้เติมเต็มเต็มที่ อะไรอย่างนี้ครับ
เพราะฉะนั้น กว่าจะเห็นว่า โลภะ เกิดขึ้นแล้ว เพราะฉะนั้น เมื่อมีโลภะที่ว่าดูดีว่า ขอท่านอาจารย์ที่มีปัญญาจะได้เติมเต็มอะไรให้เรา ก็ยังมีการที่เป็นไปได้ที่ โลภะ จะเกิดขึ้น ท่านอาจารย์ก็เตือนตรงนั้นเดี๋ยวนั้นเลย ก็ต้องขอบคุณ อ.ธนากรด้วยที่ทำให้ได้รับ นี่แหละ เป็นคำเตือนจริงๆ เลย คือสุดท้ายท่านอาจารย์ก็เตือน แต่ไม่ได้ไปเสริมเราว่า เราขาดอย่างนี้ แต่จริงๆ เราขาดการไตร่ตรอง แล้วที่ อ.วิชัย ก็กราบเรียนท่านอาจารย์ ท่านอาจารย์ก็เตือนว่า ไม่ต้องไปไหนนะ ตรงนี้จะกราบเท้าถามท่านอาจารย์ด้วย เพราะว่า ถ้ามีคำที่เกื้อกูลละเอียดขึ้น ก็จะเป็นประโยชน์กับการที่จะเป็นผู้ที่ไตร่ตรองเพิ่มขึ้น ท่านอาจารย์ก็กล่าวว่า ไม่ต้องไปไหน แต่ต้องถูกตั้งแต่ต้น ถูกตั้งแต่ต้นคืออย่างไร จึงจะไม่ไปไหนอย่างไร ครับท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์: ก็จะต้องรู้ด้วยตัวเอง อะไรที่จะทำให้ละความไม่รู้?
อ.อรรณพ: ความรู้ครับ
ท่านอาจารย์: พูดแล้วนะๆ เห็นไหม? ไตร่ตรองพอไหมว่า ขณะนี้รู้หรือเปล่า?
อ.อรรณพ: ก็ต้องไตร่ตรองต่อไปว่า ขณะนี้ไม่ได้รู้ความจริง
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น จะรู้ได้อย่างไร? เห็นไหม? ไม่ใช่นั่งถาม นี่คิด แต่ต้องรู้ด้วยตัวเอง สัจจบารมี ตรงกับสิ่งที่มีที่ได้ฟัง ถ้าไม่มีการเกิดขึ้น สิ่งนี้มีไม่ได้ และเดี๋ยวนี้กำลังเกิดอยู่ทุกขณะหรือเปล่า? จึงมีสิ่งที่ปรากฏทุกขณะ
อ.อรรณพ: ขณะนี้กำลังเกิดอยู่ทุกขณะ เป็นไปตามธรรมที่เกืดจากปัจจัยอยู่ทุกขณะ แต่หาได้รู้ในความเป็นไปตามธรรมที่เกิดปรากฏ หมดไปอยู่ทุกขณะอย่างที่ได้ฟัง
ท่านอาจารย์: แล้วก็จะไปรู้ปัจจัยต่างๆ โดยที่ เดี๋ยวนี้ อะไรที่กำลังปรากฏ เห็นไหม? ตรงไหม? เดี๋ยวนี้รู้หรือยัง? อะไรกำลังปรากฏ? ข้ามไปแล้ว
อ.อรรณพ: ครับ ถ้าไม่รู้ว่า เดี๋ยวนี้อะไรกำลังปรากฏ ไปคิดถึงเรื่องความเป็นปัจจัยก็ไร้ประโยชน์
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ไม่ต้องห่วงเลย ปัญญา คือความเห็นถูก ไม่ใช่ความคิดอยากโน่นอยากนี่ หรือความคิดเละเทะ ชื่อโน่นชื่อนี่ คิดว่าเข้าใจแล้ว แต่แม้แต่เพียงว่า สิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ ทั้งๆ ที่ได้ยินว่า เป็นสิ่งที่มีจริง และก็ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดตามที่เคยเป็นทั้งวัน ทุกชาติ แต่เป็นแต่ละหนึ่งซึ่งตรงตามความเป็นจริง เหมือนกันไม่ได้ เป็นแต่ละหนึ่งตามเหตุตามปัจจัย ให้เกิดก็ไม่ได้ เพราะเกืดแล้ว คำนี้มั่นคงแค่ไหนที่จะไม่ไปทำให้อะไรเกิด แต่รู้ว่า สิ่งที่เกิดนั้นเป็นอะไร ถ้าไม่ถูกตรงนี้แล้ว จะถูกต่อไปได้อย่างไร?
อ.อรรณพ: อันนี้ลึกซึ้งครับ ท่านอาจารย์ว่า ไม่ใช่ไปทำให้อะไรเกิด แต่รู้ตามความเป็นจริงในสิ่งที่กำลังปรากฏ ซึ่งตรงนี้จะละเอียดมาก แม้กระทั่งพวกเราที่ศึกษาพระธรรมกัน ก็ยังมีความคิดที่จะไปทำให้อะไรเกิด เช่น ไปทำให้การไตร่ตรองเกิด แม้จะคิดไปทำให้การไตร่ตรองเกิด ก็ไม่ใช่ แต่ว่าขณะที่ฟังแล้วเป็นการไตร่ตรองตั้งแต่เริ่มฟังเริ่มเข้าใจเป็นปริยัติต่างหาก
แต่ ความเป็นเราคิดไปหมด มันเยอะมากครับ ความเป็นเราทำให้มันเฉไฉ แม้ได้ยินคำที่ประเสริฐ ไม่ว่าจะได้ยินว่า ขันติบารมี อดทนนะ อดทนที่จะฟังธรรม อดทนที่จะค่อยๆ เข้าใจ ก็เป็นเราที่จะอดทนแล้ว แต่ไม่ใช่อดทนที่ไม่ใช่เรา หรืออย่างที่ท่านอาจารย์กล่าวเมื่อสักครู่ก็เช่นกัน ไม่ใช่ว่าจะไปทำอะไรนะครับ แล้วมีความคิดจะทำย่อมๆ ๆ อยู่เรื่อยๆ ในขณะนี้ อาจจะไม่ได้คิดไปทำอะไรที่ไปสำนักปฏิบัติไปจดจ้อง แม้คิดที่จะทำการไตร่ตรอง คิดจะทำการที่จะเสริมสิ่งที่เราขาด ท่านอาจารย์บอกว่า ไตร่ตรองก็มีเราที่จะไตร่ตรองขึ้นมา มันเยอะมากเจ้าโลภะนี่ มันคอยเคลือบคลุมไปทั่ว ยากจริงๆ ขรุขระมากครับ
ท่านอาจารย์: ถ้ารู้อย่างนี้ ก็ไม่แสวงหาที่จะทำอย่างโน้น หรือไปเข้าใจอย่างนี้ ไปค้นไปคว้าโดยไม่รู้ว่า เดี๋ยวนี้เป็นอะไร ได้แต่พูดว่าเป็นธรรม
อ.อรรณพ: ใช่ครับ เพราะฉะนั้น ยังไม่รู้ว่า ขณะนี้ ธรรมคือเดี๋ยวนี้ มีไหม? ท่านอาจารย์เกื้อกูลไป ก็คือให้เห็นว่า รอบแรก คือสัจจญาณ ยังไม่ได้บริบูรณ์เลยที่จะเข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริง หรือใส่ชื่อเข้าไปก็ อริยสัจจ์ ๔ ยังไม่ได้เห็นใน อริยสัจจ์ที่ ๒ ความอยาก นี่ เพราะก็ปิดบังไม่ให้รู้ อริยสัจจ์ที่ ๑ เพราะสิ่งที่ปรากฏนี่ก็ไม่ได้สนใจ แล้วก็โดนความอยาก อริยสัจจ์ที่ ๒ มาฉาบทาไว้ ก็ไม่รู้ ขรุขระจริงๆ ครับ ชีวิตที่มีโลภะ และความไม่รู้เยอะๆ นี่มันขรุขระ แม้จะได้ยินได้ฟัง คำ อันประเสริฐ อย่างที่ท่านอาจารย์กล่าว แต่ความไม่รู้ และโลภะนี่ก็เป็นไป ก็เป็นความเป็นไปตามธรรมของโลภะ และอวิชชามหาศาลจริงๆ ครับ ท่านอาจารย์ก็เกื้อกูลคนโง่มากๆ อย่างพวกเราให้ค่อยๆ รู้ขึ้นๆ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ก็รู้หนทางละแล้วใช่ไหม?
อ.อรรณพ: รู้ครับ
ท่านอาจารย์: ไม่ใช่ไปเอาชื่อมา อริยมรรคมีองค์ ๘ มีอะไรบ้าง? เจตสิกอะไร? แต่ว่า เดี๋ยวนี้หนทาง คือรู้ว่าสิ่งที่ปรากฏยังไม่รู้
อ.อรรณพ: อันนี้พื้นฐานที่สุด สำคัญที่สุด สิ่งที่ปรากฏยังไม่รู้ แล้วจะไปรู้ปัจจัย รู้เกิดรู้ดับ รู้อะไรต่ออะไรต่อไป ก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น จึงต้องตั้งต้นอีกๆ ตั้งต้น คือเพิ่มขึ้นอีกน้อยมาก เพราะว่า ที่สะสมมาเทียบไม่ได้เลยกับที่กำลังเข้าใจเพียงเท่านี้
อ.อรรณพ: ตอนนี้ก็มีปัจจัยให้ปรุงแต่งไปที่จะปรารภอีกๆ ตั้งต้นอีกๆ ที่จะเห็นประโยชน์ของการที่จะฟังเพื่อเข้าใจว่า ขณะนี้สิ่งที่มีจริง ก็คือขณะนี้ ครับ แล้วก็เป็นประโยชน์ที่จะปรุงแต่งไปที่จะรู้ ความจริงของสิ่งที่ปรากฏขณะนี้จริงๆ แล้วปัญญาก็ดำเนินไปเป็นหนทาง เป็นมรรค เป็นอริยมรรค ค่อยๆ เป็นไป ก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ ไม่มีทางอื่น ไปคิดไปทำ คิดทำใหญ่ คิดทำย่อย ยังไงก็ตาม ก็เป็นตัวตนทั้งสิ้น
ท่านอาจารย์: ล้วนแต่เป็น คำ ที่เคยได้ยินแล้วทั้งนั้น ก็ต้องพูดอีก แล้วถ้าไม่พูดเลย จะผ่านไปโดยที่ไม่รู้ความจริงได้เลย เพราะไม่รู้ว่า ต้องพูดถึงแล้วพูดถึงอีกเพื่ออะไร? เพื่อเป็นปัจจัยให้ไม่ลืม ค่อยๆ คิดถึง ค่อยๆ ใส่ใจในลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ โดยความเป็นอนัตตา เพิ่มความละเอียดขึ้นไหมว่า หนทางลึกซึ้งเพียงใด เป็นหนทางเดียวที่พระอริยทั้งหลายได้ประพฤติมาแล้ว
ขอเชิญอ่านได้ที่..
สมุทัยอริยสัจจ์
ขอเชิญฟังได้ที่..
จุดประสงค์ของการศึกษาธรรมคืออะไร
ฟังให้เข้าใจว่าเป็นธรรม
อาศัยการฟังให้เข้าใจก่อน
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ
กราบยินดีในกุศลจิตของ อ.อรรณพ ด้วยความเคารพค่ะ