การถวายทานที่ถูกต้อง
โดย สกุณา  8 ส.ค. 2551
หัวข้อหมายเลข 9502

เคยได้ฟังธรรมของพระอาจารย์รูปหนึ่งท่านบอกว่า เวลาถวายทานอาหารแห้งที่ต้องการให้ท่านเก็บไว้ฉันนานๆ เช่น กาแฟ น้ำตาล ฯลฯ ท่านให้ความรู้มาว่าไม่ต้องประเคน ให้วางไว้ในที่ให้ท่านเห็นและกราบเรียนท่านว่าต้องการถวายให้ท่าน (ทำให้ท่านรับรู้ว่าเราถวายแล้ว) ท่านก็จะไม่ต้องอาบัติ

เกี่ยวกับเรื่องนี้อยากขอความรู้เพิ่มเติมจากท่านผู้รู้ทั้งหลาย ว่าจะหารายละเอียดอ่านได้จากที่ไหน (เรื่องการถวายทาน/การทำบุญทำนองนี้นะค่ะ)



ความคิดเห็น 1    โดย prachern.s  วันที่ 10 ส.ค. 2551
รายละเอียดทั้งหมดอยู่ในพระวินัยปิฎกและอรรถกถาพระวินัยครับ แต่ขอเรียนตามพระวินัยบัญญัติว่ามีรายละเอียดเรื่องประเภทของวัตถุ แต่ละประเภทมีข้อจำกัดเรื่องเวลาการถวายและการเก็บและสถานที่เก็บอยู่พอสมควร คือ ถ้าเป็นอาหารเมื่อพระภิกษุรับประเคนแล้ว เก็บไว้ฉันไม่เกินเวลาเที่ยงคือเวลาที่ท่านฉันได้นับตั้งแต่อรุณขึ้น (สว่าง) จนถึงเที่ยง (๑๒.๐๐ น.) เลยเวลานี้ไปฉันไม่ได้ เก็บไว้ฉันวันอื่นก็ไม่ได้ ส่วนน้ำปานะ เมื่อพระท่านรับประเคนแล้ว เก็บไว้ฉันได้ตั้งแต่เช้าจนถึงก่อนสว่างของวันใหม่ คือมีอายุ ๑ วัน ๑ คืน เลยนั้นไปฉันไม่ได้ ส่วนเภสัช ๕ มีเนยใสน้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เมื่อรับประเคนแล้วเก็บไว้ได้ ๗ วัน ส่วนยารักษาโรค มียาแก้ไข้แก้ปวด เป็นต้น เมื่อรับประเคนแล้วเก็บไว้ได้ตลอดชีวิต สำหรับสิ่งของที่ยังไม่ได้ถวาย ยังไม่ได้ประเคน ชื่อว่าของนั้นยังไม่เป็นของท่านข้อจำกัดเรื่องเวลาจึงไม่มี แต่ต้องเก็บไว้สถานที่สมควร คือต้องไม่ใช่ที่พักของพระภิกษุ

ความคิดเห็น 2    โดย wannee.s  วันที่ 10 ส.ค. 2551

ถ้าเราเอาอาหารแห้ง เช่น ข้าวสาร น้ำมัน น้ำปลา น้ำตาล ปลากระป๋อง อาหาร

กระป๋อง ผลไม้กระป๋อง ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไปถวายที่วัดให้สงฆ์เป็นกองกลาง ไปไว้ที่โรง

ครัวคฤหัสถ์ทำให้พระได้และเก็บได้นานหลายเดือน เพราะว่าพระท่านไม่ได้เก็บเองค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย suwit02  วันที่ 10 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 4    โดย khampan.a  วันที่ 10 ส.ค. 2551

พระภิกษุเป็นเพศที่แตกต่างไปจากเพศคฤหัสถ์ เป็นบุคคลที่มีอัธยาศัยน้อมไปในการที่จะสละอาคารบ้านเรือน สละวงศาคณาญาติ พร้อมทั้งกองแห่งโภคสมบัติทั้งปวง เพื่อขัดเกลากิเลสในเพศบรรพชิตด้วยความจริงใจ

ชีวิตของพระภิกษุดำรงอยู่ได้ โดยการอาศัยอาหารบิณฑบาตที่อุบาสกอุบาสิกาผู้มีศรัทธาได้ถวาย ถ้าหากว่าคฤหัสถ์ได้ศึกษาพระวินัยจนกระทั่งมีความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว ก็จะรู้ว่าอาหารประเภทใดควรถวาย อาหารประเภทใดไม่ควรถวาย และรู้ว่าควรถวายเวลาใด ไม่ควรถวายเวลาใด

สำหรับพระภิกษุฉันอาหารได้เฉพาะในกาลเท่านั้นคือ ตั้งแต่เช้าถึงเที่ยง ถ้าฉันในเวลาวิกาล คือเลยเวลาเที่ยงไป เป็นอาบัติ อีกประการหนึ่ง พระภิกษุเป็นผู้งดเว้นจากการสั่งสมอาหาร เพราะฉะนั้นแล้ว จึงควรที่จะถวายอาหารที่ปรุงสำเร็จ พร้อมที่จะให้พระภิกษุฉันได้ในเวลาได้ทันที เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ท่านต้องอาบัติเพราะการสั่งสมอาหารด้วย อาหารแห้งประเภทต่างๆ ที่กล่าวมา (รวมถึงอาหารทุกอย่าง) นั้น ต้องประเคนพระภิกษุจึงจะฉันได้ ถ้าไม่ประเคน พระภิกษุ ฉัน เป็นอาบัติ ยกเว้นน้ำ กับ ไม้ชำระฟันเท่านั้น ที่ไม่ต้องประเคน แต่ถ้าอุบาสกอุบาสิกามีจิตศรัทธาที่จะถวายอาหารแห้งประเภทต่างๆ สำหรับเป็นส่วนรวม ก็สามารถที่จะกระทำได้ โดยการมอบไว้กับคฤหัสถ์ ให้เก็บไว้ในที่อันสมควร เพื่อจัดหรือประกอบเป็นอาหารสำหรับประเคนพระภิกษุ ฉันในกาล (ที่ถูกต้องตามพระวินัย) ต่อไป ..

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่าน ครับ...


ความคิดเห็น 5    โดย paderm  วันที่ 10 ส.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 6    โดย Sam  วันที่ 11 ส.ค. 2551

พระวินัยบัญญัติ เป็นพุทธวิสัยของพระผู้มีพระภาคเพราะเป็นมัชฌิมาปฏิปทา

ขออนุโมทานทุกท่านที่สนใจศึกษพระวินัยตามที่ทรงบัญญัติไว้ครับ


ความคิดเห็น 7    โดย Unclemax  วันที่ 14 ส.ค. 2551
อนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 8    โดย happyindy  วันที่ 14 ส.ค. 2551

อนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 9    โดย เจริญในธรรม  วันที่ 25 ส.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ