๙. ทุติยสูจิสูตร ว่าด้วยบุรุษมีขนเป็นเข็ม
โดย บ้านธัมมะ  5 ก.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 36716

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 713

๙. ทุติยสูจิสูตร

ว่าด้วยบุรุษมีขนเป็นเข็ม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 713

๙. ทุติยสูจิสูตร

ว่าด้วยบุรุษมีขนเป็นเข็ม

[๖๔๘] ฯลฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ตอบว่า เมื่อผมลงมาจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นบุรุษมีขนเป็นเข็มลอยอยู่ในเวหาส เข็มเหล่านั้นของบุรุษนั้นเข้าไปศีรษะแล้วออกทางปาก เข้าไปในปากแล้วออกทางอก เข้าไปในอกแล้วออกทางท้อง เข้าไปในท้องแล้วออกทางขาอ่อน เข้าไปในขาอ่อนแล้วออกทางแข้ง เข้าไปในแข้งแล้วออกทางเท้า ได้ยินว่า บุรุษนั้นส่งเสียงร้องครวญคราง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์นี้เป็นคนส่อเสียด อยู่ในกรุงราชคฤห์นี้เอง ฯลฯ.

จบทุติยสูจิสูตรที่ ๙

อรรถกถาทุติยสูจิสูตรที่ ๙

ในเรื่องสัตว์มีขนเหมือนเข็ม เรื่องที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สูจิโก (๑) ได้แก่ ผู้ทำการส่อเสียด.

ได้ยินว่า เขายุยงหมู่มนุษย์ให้แตกกัน. และในราชตระกูล เขายุยงแล้วยุยงเล่าว่า ผู้นี้มีสิ่งนี้ ผู้นี้ทำสิ่งนี้ด้วยสิ่งนี้ ให้ถึงความย่อยยับ. เพราะฉะนั้น เพื่อเสวยทุกข์เพราะทำให้เขาแตกกัน เพราะการยุยงโดยประการที่พวกมนุษย์ถูกยุยงแล้วแตกกัน เขากระทำกรรมนั่นแหละให้เป็นนิมิตจึงเกิดเป็นสูจิโลมเปรต.

จบอรรถกถาทุติยสูจิสูตรที่ ๙


(๑) ม. สูจโก ผู้กล่าวส่อเสียด.