๒. ทุติยสมุททสูตร ว่าด้วยสมุทรในวินัยของพระอริยเจ้า
โดย บ้านธัมมะ  14 ก.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 37335

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 340

๒. ทุติยสมุททสูตร

ว่าด้วยสมุทรในวินัยของพระอริยเจ้า


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 340

๒. ทุติยสมุททสูตร

ว่าด้วยสมุทรในวินัยของพระอริยเจ้า

[๒๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนไม่ได้สดับแล้ว ย่อมกล่าวว่า สมุทรๆ ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย สมุทรนั้นไม่ชื่อว่าเป็นสมุทรในวินัยของพระอริยเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมุทรนั้นเรียกว่า เป็นแอ่งน้ำใหญ่ เป็นห้วงน้ำใหญ่ รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด นี้เรียกว่า เป็นสมุทรในวินัย


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 341

ของพระอริยเจ้า โลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีอยู่ในสมุทรนี้โดยมาก เป็นผู้เศร้าหมอง เกิดเป็นผู้ยุ่งประดุจด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย เป็นดุจหญ้าปล้องและหญ้ามุงกระต่าย หาล่วงอบาย ทุคติ วินิบาต สงสารไปได้ไม่ ฯลฯ ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้ได้ด้วยใจ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด นี้เรียกว่า เป็นสมุทรในวินัยของพระอริยเจ้า โลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีอยู่ในสมุทรนี้โดยมาก เป็นผู้เศร้าหมอง เกิดเป็นผู้ยุ่งดุจด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย เป็นดุจหญ้าปล้องและหญ้ามุงกระต่าย หาล่วงอบาย ทุคติ วินิบาต สงสารไปได้ไม่.

[๒๘๘] บุคคลใดคลายราคะ โทสะ และอวิชชาได้แล้ว บุคคลนั้นชื่อว่าข้ามสมุทรนี้ ซึ่งมีทั้งสัตว์ร้าย มีทั้งผีเสื้อน้ำ มีภัยคือคลื่น ที่ข้ามได้แสนยาก ได้แล้ว เรากล่าวว่า บุคคลนั้นล่วงพ้นเครื่องข้อง ละมัจจุ ไม่มีอุปธิ และทุกข์ได้ขาด เพื่อไม่เกิดต่อไป ถึงความดับสูญ ไม่กลับมาเกิดอีก ลวงมัจจุราชให้หลงได้.

จบ ทุติยสมุททสูตรที่ ๒


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 15 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 342

อรรถกถาทุติยสมุททสูตรที่ ๒

ในทุติยสมุททสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สมุทฺโท ความว่า ชื่อว่า สมุททะ เพราะอรรถว่า ตั้งขึ้น ท่านอธิบายไว้ว่า เพราะอรรถว่า เปียกชุ่ม. บทว่า เยภุยฺเยน ความว่า เว้นพระอริยสาวกทั้งหลาย. บทว่า สมุทฺทา ความว่า เปียก ชุ่ม จมน้ำ. คำว่า กนฺตา กุลกชาตา เป็นต้น กล่าวไว้พิสดารแล้วในหนหลังนั่นแล. บทว่า มจฺจุชโห ได้แก่ ละมัจจุทั้ง ๓ แล้วอยู่. บทว่า นิรูปธิ ได้แก่ ไม่มีอุปธิ ด้วยอุปธิทั้ง ๓. บทว่า อปุนพฺภวาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่พระนิพพาน. บทว่า อโมหยี มจฺจุราชํ ความว่า ไปทางข้างหลังพระยามัจจุราช โดยอาการที่พระยามัจจุราชไม่รู้คติของเขา.

จบ อรรถกถาทุติยสมุททสูตรที่ ๒