๘. ชัมพุคามิกปุตตเถรคาถา ว่าด้วยคาถาของพระชัมพุคามิกบุตรเถระ
โดย บ้านธัมมะ  18 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40426

[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 183

เถรคาถา เอกนิบาต

วรรคที่ ๓

๘. ชัมพุคามิกปุตตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระชัมพุคามิกบุตรเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 183

๘. ชัมพุคามิกปุตตเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระชัมพุคามิกบุตรเถระ

[๑๖๕] ได้ยินว่า พระชัมพุคามิกบุตรเถระ ได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า

ท่านเป็นผู้ขวนขวาย ในเรื่องผ้าหรือไม่ ยินดีในเครื่องประดับหรือไม่ ท่านทำกลิ่นอันสำเร็จด้วยศีลให้ฟุ้งไปใช่ไหม หมู่ชนนอกนี้ ไม่อาจทำกลิ่นที่สำเร็จด้วยศีลให้ฟุ้งไปได้.

อรรถกถาชัมพุคามิกปุตตเถรคาถา

คาถาของพระชัมพุคามิกบุตรเถระ เริ่มต้นว่า กตฺถจิ โน วตฺถปสุโต. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?

ได้ยินว่า ท่านเป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์ ก่อนๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้นๆ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า เวสสภู ในกัปที่ ๓๑ นับแต่ภัทรกัปนี้ ในวันหนึ่งท่านเห็นดอกทองกวาว จึงเก็บดอกทองกวาวเหล่านั้นไป ระลึกถึงพระพุทธคุณ เหวี่ยงดอกไม้ไปในอากาศ อุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้า บูชาแล้ว. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านได้ไปบังเกิดในภพดาวดึงส์.

ต่อแต่นั้น กระทำบุญเป็นอันมาก ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายไปๆ มาๆ เกิดเป็นบุตรของอุบาสก ชื่อว่า ชัมพุคามิกะ ใน


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 184

จัมปานคร ด้วยเหตุนั้นเขาจึงได้นามว่า ชัมพุคามิกบุตร เหมือนกัน. เขาเจริญวัยแล้ว ฟังธรรมในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วเกิดความสลดใจ กระทำบุรพกิจ เรียนกรรมฐาน อาศัยอยู่ในป่าอัญชนวัน ใกล้เมืองสาเกต.

ลำดับนั้น บิดาของท่าน เพื่อจะทดสอบว่า พระลูกชายของเรายังยินดีในพระศาสนาอยู่หรือไม่หนอ ดังนี้ จึงเขียนคาถาส่งไปใจความว่า ท่านเป็นผู้ขวนขวายในเรื่องผ้าหรือไม่ ดังนี้เป็นต้น. ท่านอ่านหนังสือนั้นแล้ว เกิดความสลดใจว่า โยมบิดารังเกียจการอยู่อย่างประมาทของเรา ก็แม้ถึงในวันนี้ เราก็ยังล่วงพ้นภูมิแห่งปุถุชนไปไม่ได้ จึงเพียรพยายาม ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ต่อกาลไม่นานเลย สมด้วยคาถาประพันธ์ ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

เราเห็นต้นทองกวาวมีดอกบานจึงประนมอัญชลี นึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด แล้วบูชาในอากาศ ด้วยกรรมที่ทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่นคง เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็ครั้นท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว ไปสู่นครที่อยู่ของหมู่ญาติ เมื่อจะประกาศความที่พระศาสนาเป็นนิยยานิกธรรม ได้แสดงปาฏิหาริย์แล้ว. ญาติทั้งหลายเป็นจำนวนมาก เห็นปาฏิหาริย์นั้นแล้ว มีใจเลื่อมใส ให้สร้างสังฆารามแล้ว. แม้พระเถระก็กระทำคาถาที่บิดาของตน ส่งไปแล้วให้เป็นดัง


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 185

ขอสับ (สำหรับสับหัวช้าง) เพียรพยายามอยู่ ได้กระทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตแล้ว. แม้เมื่อจะพยากรณ์อรหัตตผล เพื่อจะบูชาคุณของบิดา ท่านได้กล่าวคาถานั้นแหละ ใจความว่า

ท่านเป็นผู้ขวนขวายในเรื่องผ้า หรือไม่ ยินดีในเครื่องประดับหรือไม่ ท่านทำกลิ่นอันสำเร็จด้วยศีลให้ฟุ้งไปหรือไม่ หมู่ชนโฉดนอกนี้ ทำกลิ่นศีลให้ฟุ้งไปไม่ได้ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า กจฺจิ เป็นนิบาตใช้ในคำถาม. บทว่า วตฺถปสุโต ความว่า ผู้ขวนขวายในผ้า ชื่อวัตถปสุตะ ได้แก่ ยินดีการ ประดับตกแต่งด้วยจีวรเป็นต้น. ก็บทว่า วตฺถปสุโต นี้ เป็นเพียงตัวอย่าง เพราะท่านประสงค์ถึงการห้าม การคึกคะนองมีการตกแต่งบาตรเป็นต้นด้วย. ปาฐะว่า กจฺจิ น วตฺถปสุโต ดังนี้ก็มี. ความก็อย่างเดียวกันนี้.

บทว่า ภูสนารโต ความว่า ยินดีแล้ว คือยินดียิ่งนักในการประดับ ตกแต่งอัตภาพ. เหมือนอย่างภิกษุบางรูปแม้บวชแล้ว ก็ยังกลับกลอก มากไปด้วยการบำเรอกาย ย่อมขวนขวายประดับตกแต่งบริขารมีจีวรเป็นต้น และสรีระของตน. แม้ใจความของบททั้งสองในคาถานี้ ก็มีดังนี้ว่า ไม่ได้เป็นผู้ขวนขวายในบริขาร และไม่ได้ยินดีในการประดับตกแต่ง บ้างหรือ?.

บทว่า สีลมยํ คนฺธํ ความว่า ท่านยังกลิ่นอันสำเร็จด้วยศีล ที่ท่านกล่าวไว้แล้วว่า ก็กลิ่นของท่านผู้มีศีลย่อมฟุ้งขจรไป เป็นกลิ่นสูงสุดในหมู่เทพ ดังนี้ ให้ฟุ้งไปด้วยสามารถแห่งศีลแม้มีอย่าง ๔ อันบริสุทธิ์ด้วยดี โดยการยังความเป็นผู้มีศีลไม่ขาดเป็นต้น ให้เกิดขึ้น (บ้างหรือ) อธิบายว่า ท่านมีกิตติศัพท์อันงามระบือไปสู่ทิศทั้งปวง ด้วยมูลเค้าแห่งศีลสมบัติ บ้าง หรือ.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 22 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 186

บทว่า เนตรา ปชา ความว่า หมู่ชนผู้ทุศีลนอกนี้ ยังกลิ่นศีลให้ฟุ้งไปไม่ได้ คือชื่อว่า ยังกลิ่นเหม็น อันสำเร็จด้วยความเป็นผู้ทุศีลให้ฟุ้ง ไป เพราะความเป็นผู้ทุศีลนั่นเอง อธิบายว่า ท่านไม่ยังกลิ่นเหม็นให้ฟุ้งไป อย่างนี้ แล้วยังกลิ่นสำเร็จด้วยศีลให้ฟุ้งไปได้บ้างหรือ.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า เนตรา ปชา ความว่า หมู่ชนผู้ทุศีลนอกนี้ ยังกลิ่นศีลให้ฟุ้งไปไม่ได้ ข้อนั้นไม่มีดอกหรือ เพราะกลิ่นสำเร็จด้วยศีลย่อมฟุ้งไปได้. เพราะเหตุนั้น กลิ่นแห่งศีลเท่านั้น จึงปรากฏชัดเจน โดยแปลกออกไป ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาชัมพุคามิกปุตตเถรคาถา