[เล่มที่ 78] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 178
วินิจฉัยกถาพระบาลี
ก็พึงทราบวินิจฉัยกถาในพระบาลีต่อไป
จริงอยู่ สัมมัปปธานกถานี้ มี ๒ อย่าง คือ เป็นโลกียะอย่างหนึ่ง เป็นโลกุตตระอย่างหนึ่ง ในสองอย่างนั้น สัมมัปปธานที่เป็นโลกิยะ ย่อมมีในบุพภาคทั้งหมด. สัมมัปปธานนั้น พึงทราบในขณะที่เป็นโลกิยมรรค โดยปริยายแห่งกัสสปสังยุต
สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า "ดูก่อนอาวุโส บรรดาธรรมเหล่านั้น สัมปปธานนี้มี ๔
สัมมัปปธาน ๔ เป็นไฉน
ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมทำความเพียรเผากิเลส ด้วยการคิดว่า "อกุศลธรรมอันลามกของเราที่ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อเกิด พึงเป็นไปเพื่อความฉิบหาย" ดังนี้ เธอย่อมทำความเพียรเผากิเลส ด้วยคิดว่า "อกุศลธรรมอันลามกของเราที่เกิดขึ้นแล้ว อันเราไม่ละเสีย ก็จะพึงเป็นไปเพื่อความพินาศ" ดังนี้ เธอย่อมทำความเพียร ด้วยคิดว่า "กุศลธรรมทั้งหลายของเรา ที่ยังไม่เกิด เมื่อไม่เกิดขึ้นพึงเป็นไปเพื่อความพินาศ" ดังนี้ เธอย่อมทำความเพียรเผากิเลส ด้วยการคิดว่า "กุศลธรรมทั้งหลายของเราที่เกิด เมื่อดับไป (หมายความถึงการเสื่อมไป) ก็จะพึงเป็นไปเพื่อความพินาศ" ดังนี้
[เล่มที่ 78] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 186-187
วินิจฉัยในโลกิยสัมมัปปธานกถา
พึงทราบวินิจฉัยในโลกิยสัมมัปปธานกถาก่อน ดังต่อไปนี้
ก็สำหรับในขณะแห่งโลกุตตรมรรค ความเพียรอย่างหนึ่งเท่านั้นย่อมได้ชื่อ ๔ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งการยังกิจ ๔ อย่างให้สำเร็จ
บรรดาคำเหล่านั้น
คำว่า อนุปฺปนฺนาน ได้แก่ (อกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย) ที่ยังไม่เกิดขึ้น ด้วยสามารถแห่งการปรากฏ หรือด้วยสามารถแห่งอารมณ์อันยังไม่เคยเสพ. จริงอยู่ ในสังสารอันหาเบื้องต้นและที่สุดมิได้ ขึ้นชื่อว่าอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้นแล้วโดยประการอื่นๆ มิได้มี. ก็อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นเหล่านั้นนั่นแหละแม้เมื่อจะเกิดก็ย่อมเกิดขึ้นได้ แม้เมื่อละก็พึงละได้
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ