๗. มหาจัตตารีสกสูตร ว่าด้วยมรรคที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ
โดย บ้านธัมมะ  28 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 36122

[เล่มที่ 22] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 341

๗. มหาจัตตารีสกสูตร

ว่าด้วยมรรคที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 22]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 341

๗. มหาจัตตารีสกสูตร

ว่าด้วยมรรคที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ

[๒๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐีกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระพุทธดํารัสแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัมมาสมาธิที่เป็นอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ แก่เธอทั้งหลาย. พวกเธอจงฟังสัมมาสมาธินั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.

องค์ประกอบอริยสมาธิ ๗

[๒๕๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็สัมมาสมาธิที่เป็นอริยะอันมีเหตุมีองค์ประกอบ คือสัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะสัมมาสติ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล เรียกว่า สัมมาสมาธิที่เป็นอริยะ อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง.

[๒๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร? คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาทิฏฐิว่ามิจฉาทิฏฐิ รู้จักสัมมาทิฏฐิว่าสัมมาทิฏฐิ ความรู้ของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 342

มิจฉาทิฏฐิ ๑๐

[๒๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฏฐิเป็นไฉน? คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล๑ ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล๑สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล๑ ผลวิบากของกรรมที่ทําดีทําชั่วแล้วไม่มี๑โลกนี้ไม่มี๑โลกหน้าไม่มี๑ มารดาไม่มี (คุณ) ๑ บิดาไม่มี (คุณ) ๑ สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดําเนินไปชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี ๑ นี้มิจฉาทิฏฐิ.

สัมมาทิฏฐิ ๒

[๒๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมาทิฏฐิไว้๒ อย่าง คือ สัมมาทิฏฐิที่ยังเป็นสาสวะเป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก้ขันธ์อย่าง ๑ สัมมาทิฏฐิที่เป็นอริยะ ที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระเป็นองค์มรรคอย่าง ๑

สัมมาทิฏฐิที่เป็นสาสวะ ๑๐

[๒๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน? คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้วมีผล ๑ ยัญที่บูชาแล้วมีผล ๑ การสังเวยที่บวงสรวงแล้วมีผล ๑ผลวิบากของกรรมที่ทําดีทําชั่วแล้วมีอยู่ ๑ โลกนี้มี ๑โลกหน้ามี ๑มารดามี ๑ บิดามี ๑ สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี๑ สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดําเนินไปชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองในโลกมีอยู่ ๑ นี้ สัมมาทิฏฐิที่ยังเป็นสาสวะเป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 343

สัมมาทิฏฐิที่เป็นอนาสวะ

[๒๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ สัมมาทิฏฐิที่เป็นอริยะ ที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระเป็นองค์มรรคเป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญญา๑ปัญญินทรีย์๑ ปัญญาพละ๑ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์๑ ความเห็นชอบ ๑องค์แห่งมรรค ๑ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิที่เป็นอริยะเป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค.

ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาทิฏฐิ เพื่อบรรลุสัมมาทิฏฐิความพยายามของเธอนั้น เป็น สัมมาวายามะ.

สัมมาสติ

เธอมีสติละมิจฉาทิฏฐิได้ มีสติบรรลุสัมมาทิฏฐิอยู่ สติของเธอนั้นเป็น สัมมาสติ.

ธรรมะที่ห้อมล้อมสัมมาทิฏฐิ

ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะสัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาทิฏฐิของภิกษุนั้น.

สัมมาทิฏฐิเป็นประธานอย่างไร?

[๒๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร? คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาสังกัปปะว่าเป็นมิจฉาสังกัปปะรู้จักสัมมาสังกัปปะว่าเป็น สัมมาสังกัปปะ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 344

มิจฉาสังกัปปะ

[๒๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาสังกัปปะเป็นไฉน? ดุก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดําริในกาม ๑ ดําริในพยาบาท ๑ ดําริในความเบียดเบียน ๑ นี้คือมิจฉาสังกัปปะ.

สัมมาสังกัปปะ ๒

[๒๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมาสังกัปปะไว้๒ อย่าง คือ สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์อย่าง ๑ สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระเป็นองค์มรรคอย่าง ๑.

สัมมาสังกัปปะที่เป็นสาสวะ

[๒๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะเป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดําริในเนกขัมมะ๑ ดําริในความไม่พยาบาท ๑ ดําริในความไม่เบียดเบียน ๑นี้คือสัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์.

สัมมาสังกัปปะที่เป็นอนาสวะ

[๒๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะที่เป็นอริยะที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลายความตรึก ๑ ความวิตก ๑ ความดําริ๑ ความแน่ว ๑ ความแน่ ๑ ความปักใจ ๑วจีสังขาร ๑ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาสังกัปปะที่เป็นอริยะเป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระเป็นองค์มรรค.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 345

สัมมาวายามะ

ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาสังกัปปะ เพื่อบรรลุสัมมาสังกัปปะความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ.ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาสังกัปปะได้ มีสติบรรลุสัมมาสังกัปปะอยู่ สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ.

ธรรมที่ห้อมล้อมสัมมาสังกัปปะ

ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือสัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาวายามะ๑ สัมมาสติ ๑ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาลังกัปปะ ของภิกษุนั้น. [๒๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร? คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาวาจาว่าเป็นมิจฉาวาจา รู้จักสัมมาวาจาว่าเป็นสัมมาวาจา ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ.

มิจฉาวาจา

[๒๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็มิจฉาวาจาเป็นไฉน? คือพูดเท็จ๑พูดส่อเสียด ๑ พูดคําหยาบ ๑ เจรจาเพ้อเจ้อ๑ นี้คือ มิจฉาวาจา.

สัมมาวาจา ๒

[๒๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาเป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรากล่าวสัมมาวาจาไว้๒ อย่าง คือ สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์อย่าง ๑ สัมมาวาจาที่เป็นอริยะ เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคอย่าง ๑.


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 346

สัมมาวาจาที่เป็นสาสวะ

[๒๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน? คือ เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ๑งดเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ งดเว้นจากการพูดคําหยาบ ๑ งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ๑ นี้คือ สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์.

สัมมาวาจาที่เป็นอนาสวะ

[๒๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาที่เป็นอริยะ เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความงด ๑ความเว้น ๑ ความเว้นขาด ๑ เจตนางดเว้น ๑ จากวจีทุจริตทั้ง ๔ของภิกษุ ผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรคเจริญอริยมรรคอยู่ นี้แลคือ สัมมาวาจาที่เป็นอริยะที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค.

ภิกษุย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาวาจา เพื่อบรรลุสัมมาวาจาอยู่ ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ.

ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาวาจาได้ มีสติบรรลุสัมมาวาจาอยู่ สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ.

ธรรมะที่ห้อมล้อมสัมมาวาจา

ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือสัมมาทิฏฐิ๑ สัมมาวายามะ๑ สัมมาสติ๑ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาวาจาของภิกษุนั้น.

[๒๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร? คือ ภิกษุรู้จัก


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 347

มิจฉากัมมันตะว่าเป็นมิจฉากัมมันตะ รู้จักสัมมากัมมันตะว่า เป็นสัมมากัมมันตะ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ.

มิจฉากัมมันตะ

[๒๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉากัมมันตะเป็นไฉน? คือปาณาติบาต ๑ อทินนาทาน ๑ กาเมสุมิจฉาจาร๑ นี้คือ มิจฉากัมมันตะ.

สัมมากัมมันตะ ๒

[๒๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะเป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมากัมมันตะไว้๒ อย่างคือ สัมมากัมมันตะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์อย่าง ๑ สัมมากัมมันตะที่เป็นอริยะเป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคอย่าง ๑

สัมมากัมมันตะที่เป็นสาสวะ

[๒๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะที่ยังเป็นสาสวะเป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต ๑ งดเว้นจากอทินนาทาน ๑ งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ๑ นี้คือ สัมมากัมมันตะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก้ขันธ์.

สัมมากัมมันตะที่เป็นอนาสวะ

[๒๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็สัมมากัมมันตะที่เป็นอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคเป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลายความงด ๑ ความเว้น ๑ เจตนางดเว้น ๑ จากกายทุจริตทั้ง ๓ ของภิกษุ


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 348

ผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพรอ้มด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แลคือ สัมมากัมมันตะที่เป็นอริยะเป็นอนาสวะเป็นโลกุตระเป็นองค์มรรค.

ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉากัมมันตะ เพื่อบรรลุสัมมากัมมันตะ ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ.

ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉากัมมันตะได้ มีสติบรรลุสัมมากัมมันตะอยู่ สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ.

ธรรมะที่ห้อมล้อมสัมมากัมมันตะ

ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ๑ สัมมาสติ ๑ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมากัมมันตะของภิกษุนั้น.

[๒๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธานอย่างไรคือ ภิกษุรู้จัก มิจฉาอาซีวะว่าเป็นมิจฉาอาชีวะรู้จักสัมมาอาชีวะว่าเป็นสัมมาอาชีวะ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ.

มิจฉาอาชีวะ

[๒๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาอาชีวะเป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลายการโกง ๑ การล่อลวง ๑ การตลบตะแลง ๑ การทําอุบายโกง๑ การเอาลาภต่อลาภ ๑ นี้คือ มิจฉาอาชีวะ.

สัมมาอาชีวะ ๒

[๒๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะเป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมาอาชีวะไว้เป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาอาชีวะที่


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 349

ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาอาชีวะที่เป็นอริยะเป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคอย่าง ๑.

สัมมาอาชีวะที่เป็นสาสวะ

[๒๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะเป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน? คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ย่อมละมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์.

สัมมาอาชีวะที่เป็นอนาสวะ

[๒๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะที่เป็นอริยะเป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลายความงด ๑ ความเว้น ๑ เจตนางดเว้นจากมิจฉาอาชีวะ ๑ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แลคือ สัมมาอาชีวะที่เป็นนอริยะเป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค.

ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาอาชีวะ เพื่อบรรลุสัมมาอาชีวะความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ.

ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาอาชีวะ มีสติบรรลุสัมมาอาชีวะอยู่ สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ.

ธรรมะที่ห้อมล้อมสัมมาอาชีวะ

ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือสัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ๑ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาอาชีวะของภิกษุนั้น.


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 350

เมื่อมีสัมมาทิฏฐิก็มีสัมมาสังกัปปะพอเหมาะ ฯลฯ

[๒๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร? คือผู้มีสัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ ก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาก็มีพอเหมาะผู้มีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะก็มีพอเหมาะผู้มีสัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะก็มีพอเหมาะผู้มีสัมมาวายามะ สัมมาสติก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาสติ สัมมาสมาธิก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาญาณะสัมมาวิมุตติก็มีพอเหมาะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐.

[๒๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร? คือเมื่อมีสัมมาทิฏฐิก็สลัดมิจฉาทิฏฐิได้ดูก่อนภิกษุทั้งหลายผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาทิฏฐิได้ทั้งอกุศลธรรมลามกเป็นอเนกบรรดามี เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาทิฏฐิสลัดได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนก ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย.

ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสังกัปปะได้ ... .

ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวาจาได้ ... .

ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉากัมมันตะได้ ... .

ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาอาชีวะได้ ... .

ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวายามะได้ ... .


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 351

ผู้มีสัมมาสติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสติได้....

ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสมาธิได้....

ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาญาณะได้.....

ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวิมุตติได้ ทั้งอกุศลธรรมลามกเป็นอเนกบรรดามี เพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาวิมุตติสลัดได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายด้วยประการนี้แลจึงเป็นธรรมฝ่ายกุศล ๒๐ ฝ่ายอกุศล ๒๐ ชื่อธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ อันเราให้เป็นไปแล้ว สมณะหรือ พราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ในโลกจะให้เป็นไปไม่ได้.

[๒๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงสําคัญที่จะติเตียน คัดค้านธรรมบรรยาย มหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อนและการกล่าวตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์ผู้นั้น ย่อมถึงฐานะน่าตําหนิในปัจจุบันเทียว ถ้าใครติเตียน สัมมาทิฏฐิ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญ ท่านสมณพราหมณ์ผู้มีทิฏฐิผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาสังกัปปะ เขาก็ต้องบูชาสรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสังกัปปะผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาวาจา เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีวาจาผิดถ้าใครติเตียนสัมมากัมมันตะเขาก็ต้องบูชาสรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีการงานผิดถ้าใครติเตียนสัมมาอาชีวะ เขาก็ต้องบูชาสรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีอาชีวะผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาวายามะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีความพยายามผิดถ้าใครติเตียนสัมมาสติเขาก็ต้องบูชา สรรเสริญ


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 352

ท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสติผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาสมาธิ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสมาธิผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาญาณะ เขาก็ต้องบูชาสรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีญาณผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาวิมุตติเขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีวิมุตติผิด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง พึงสําคัญที่จะติเตียน คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อนและการกล่าวตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้นย่อมถึงฐานะน่าตําหนิในปัจจุบันเทียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้พวกอัสสะและพวกภัญญะ ชาวอุกกลชนบท ซึ่งเป็นอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะนัตถิกวาทะ ก็ยังสําคัญที่จะไม่ติเตียน ไม่คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ นั่นเพราะเหตุไร เพราะกลัวถูกนินทา ถูกว่าร้ายและถูกก่อความ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ มหาจัตตารีสกสูตรที่ ๗


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 353

อรรถกถามหาจัตตารีสกสูตร

มหาจัตตารีสกสูตร มีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่าอริยํ แปลว่า ไม่มีโทษ. เพราะว่าสิ่งที่ไม่มีโทษ เรียกกันว่าอริยะ. บทว่า สมฺมาสมาธึ ได้แก่สมาธิที่เป็นมรรค.

บทว่า สอุปนิสํ แปลว่า มีเหตุปัจจัย

บทว่า สปฺปริกฺขารํ แปลว่า มีองค์ประกอบ

สัมมาทิฏฐิ ๒

บทว่า ปริกฺขตา แปลว่า แวดล้อมแล้ว.

บทว่า สมฺมาทิฏฺิ ปุพฺพงฺคมา โหติ ความว่า สัมมาทิฏฐิที่เป็นหัวหน้ามี๒ ส่วน คือ วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิที่เป็นปุเรจาริก ๑ มรรคสัมมาทิฏฐิ ๑

วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ กําหนดพิจารณาสังขารอันเป็นไปในภูมิ๓ ด้วยอํานาจลักษณะที่ไม่เที่ยงเป็นต้น. ส่วนมรรคสัมมาทิฏฐิให้ถอนวัฏฏะอันเป็นเหตุให้ได้ภูมิคือทําให้สงบระงับเกิดขึ้นในที่สุดของการกําหนดพิจารณาเหมือนเอาน้ำเย็นพันหม้อราดรดบนศีรษะฉะนั้น.

อุปมาเหมือนชาวนา เมื่อจะทํานาย่อมตัดต้นไม้ในป่าก่อน ภายหลังจึงจุดไฟ ไฟนั้นจะไหม้ต้นไม้ที่ตัดไว้ก่อนให้หมดไปไม่มีเหลือ ฉันใดวิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมพิจารณาสังขารทั้งหลาย ด้วยอํานาจลักษณะมีความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นก่อน มรรคสัมมาทิฏฐิเกิดขึ้น ถอน


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 354

สังขารทั้งหลายเสียได้ ด้วยอํานาจ (ที่สังขาร) เป็นไปไม่ได้อีกต่อไป เพื่อการพิจารณาด้วยวิปัสสนาสัมมาทิฏฐินั้น ในที่นี้ประสงค์เอาทิฏฐิทั้งสองอย่าง.

บทว่า มิจฺฉาทิฏึ มิจฺฉาทิฏีติปชานาติได้แก่ รู้ชัดมิจฉาทิฏฐิโดยอารมณ์ด้วยการแทงตลอดลักษณะว่าอนิจจัง ทุกขังอนัตตา. สัมมาทิฏฐิย่อมรู้ชัด สัมมาทิฏฐิโดยกิจ (คือ) โดยความไม่หลง.

บทว่า สาสฺส โหติ สมฺมาทิฏิ ความว่า ความรู้อย่างนั้นนั้นของเธอ ย่อมชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ.

บทว่า ทฺวยํ วทามิ ความว่า เรากล่าว (สัมมาทิฏฐิ) ไว้สองส่วน.

บทว่า ปุฺภาคิยา แปลว่า เป็นส่วนแห่งบุญ.

บทว่า อุปธิเวปกฺกา แปลว่า ให้วิบาก คือ อุปธิ.

ในบทว่า ปฺา ปฺณินฺทริยํ เป็นต้น ที่ชื่อว่า ปัญญา เพราะจําแนกออกแล้วๆ ยังประตูแห่งอมตะให้ปรากฏ คือแสดงให้เห็น.

ชื่อว่า ปัินทรีย์เพราะทําความเป็นใหญ่ในอรรถ (ภาวะ) อันนั้น

ชื่อว่า ปัญญาพละ เพราะไม่หวั่นไหวด้วยอวิชชา.

ชื่อว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เพราะบรรลุองค์แห่งการตรัสรู้แล้วค้นคว้าสัจธรรม ๔.

ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ เพราะเห็นดีงามด้วยความสมบูรณ์แห่งมรรค.

ชื่อว่า องค์แห่งมรรค เพราะเป็นองค์แห่งอริยมรรค.

บทว่า "โส" แปลว่า ภิกษุนั้น.

บทว่า ปหานาย แปลว่า เพื่อต้องการละ.

บทว่า อุปสมฺปทาย แปลว่า เพื่อต้องการได้เฉพาะ.

บทว่า สมฺมาวายาโม ได้แก่ ความพยายามอันเป็นกุศลอันเป็นเหตุนําออกจากทุกข์.


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 355

บทว่า สโต คือ เป็นผู้ประกอบด้วยสติ

บทว่า อนุปริวตฺตนฺติ คือ ห้อมล้อมเป็นสหชาต.

ก็ในที่นี้ สัมมาวายามะ และสัมมาสติ เป็นสหชาต (เกิดร่วม) ห้อมล้อมโลกุตรสัมมาทิฏฐิ. เหมือนราชองครักษ์ถือกระบี่ และเจ้าพนักงานเชิญฉัตรยืนอยู่ในรถคันเดียวกันแวดล้อมพระราชาฉะนั้น. ส่วนวิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ เป็นปุเรชาต (เกิดก้อน) ห้อมล้อม เหมือนทหารเดินเท้าเป็นต้น เดินไปหน้ารถฉะนั้น. ก็จําเดิมแต่บรรพ (ข้อ) ที่ ๒ ไป ธรรมแม้ทั้ง ๓ ประการ (คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ) ก็พึงทราบว่าเป็นสหชาต เป็นบริวารแห่งสัมมาสังกัปปะเป็นต้น.

บทว่า มิจฺฉาสงฺกปฺโปติ ปชนาติความว่า ย่อมรู้ชัด มิจฉาสังกัปปะ โดยอารมณ์ ด้วยการแทงตลอดไตรลักษณ์ว่า อนิจจัง ทุกขังอนัตตา ย่อมรู้ชัดสัมมาสังกัปปะโดยกิจ โดยความไม่หลง. แม้ในสัมมาวาจาเป็นต้นต่อจากนี้ไป ก็พึงทราบการประกอบความอย่างนี้เหมือนกัน. ความดําริในกามเป็นต้น กล่าวไว้แล้วในเทฺวธาวิตักกสูตร.

วิตก

บทว่า ตกฺโก ความว่า ชื่อว่า ตักกะด้วยอํานาจความตรึก ตักกะนั้นแหละเพิ่มบทอุปสรรค (คือวิ) เข้าไป เรียกว่า วิตักกะ (คือความตรึก).ความตรึกนั้นนั่นแล ชื่อว่า สังกัปปะ ด้วยอํานาจความดําริ.

ชื่อว่า อัปปนา เพราะแนบแน่นในอารมณ์โดยเป็นอันเดียวกัน. ก็เพราะเพิ่มบทอุปสรรค จึงเรียกว่า พฺยปฺปนา.


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 356

บทว่า เจตโส อภินิโรปนา แปลวายกจิตขึ้น. เพราะเมื่อมีวิตกวิตกย่อมยกจิตขึ้นในอารมณ์.

แต่เมื่อไม่มีวิตก จิตก็ขึ้นสู่อารมณ์ได้ตามธรรมดาของตนเองเหมือนคนที่ชํานาญ มีชาติตระกูลสูง ย่อมเข้าพระราชวังได้ฉะนั้น เพราะสําหรับผู้ไม่ชํานาญ (การเข้าพระราชวัง ย่อมต้องการคนนําทางหรือคนเฝ้าประตู. พระราชาและมหาอํามาตย์ของพระราชาทรงรู้และรู้จักคนผู้ชํานาญ มีชาติอันสมบูรณ์เพราะเหตุนั้น เขาจึงออกและเข้า (พระราชวัง) ได้ โดยธรรมดาของตน (ฉันใด) พึงทราบข้ออุปไมยนี้ฉันนั้น.

ชื่อว่า วจีสังขาร เพราะปรุงแต่งวาจา. ก็ในเรื่องวจีสังขารนี้โลกิยวิตก ย่อมปรุงแต่งวาจา โลกุตรวิตก ไม่ปรุงแต่ง. โลกุตรวิตก ไม่ปรุงแต่ง ก็จริงอยู่ ถึงกระนั้น วิตกนั้นก็ย่อมมีชื่อว่า วจีสังขารเหมือนกัน.

บทว่า สมฺมาสงฺกปฺปํ อนุปริธาวนฺติ ความว่า ย่อมห้อมล้อมสัมมาสังกัปปะอันเป็นโลกุตระ.

ก็ในการนี้ ธรรมแม้๓ ประการมีเนกขัมสังกัปปะ (ดําริในอันออกจากกาม) เป็นต้น ย่อม (มี) ได้ในจิตต่างๆ ในกาลอันเป็นเบื้องต้น.แต่ในขณะแห่งมรรค สัมมาสังกัปปะองค์เดียวเท่านั้น ตัดทางดําเนินแห่งสังกัปปะทั้ง ๓ มีกามสังกัปปะเป็นต้นให้เป็นการถอน (ราก) ขึ้น ทําองค์มรรคให้บริบูรณ์เกิดขึ้น ย่อมได้ชื่อ ๓ ชื่อเนื่องด้วยเนกขัมสังกัปปะเป็นต้น. แม้ในสัมมาวาจาเป็นต้นข้างหน้า ก็นัยนี้เหมือนกัน.

อารติ-วิรติ-ปฎิวิรติ-เวรมณี

แม้ในบทว่า มุทาวาทา เวรมณี ดังนี้เป็นต้น เป็นวิรัติก็ถูกเป็นเจตนาก็ถูก.


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 357

ในบทว่าอารติ ดังนี้เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ ชื่อว่าอารติเพราะยินดีความห่างไกลจากวจีทุจริต.

ชื่อว่า วิรติ เพราะเว้นจากวจีทุจริตเหล่านั้น.

ชื่อว่า ปฏิวิรติ เพราะถอยกลับจากวจีทุจริตนั้นๆ แล้วงดเว้นจากวจีทุจริตเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ท่านเพิ่มบทด้วยอํานาจอุปสรรค. บททั้งหมดนี้เป็นชื่อของภาวะคือ การงดเว้นทั้งนั้น.

ชื่อว่า เวรมณี เพราะย่ํายีเวร ได้แก่ ทําเวรให้พินาศไป แม้บทนี้ก็เป็นไวพจน์ของความงดเว้นเหมือนกัน.

แม้คําทั้งสองว่า เจตนา ๑ วิรติ ๑ ย่อมใช้ได้เหมือนกัน แม้ในคําว่าปาณาติปาตา เวรมณี เป็นต้น.

อธิบกยกุหนาเป็นต้น

ในบทว่า กุหนา เป็นต้น

ชื่อว่า กุหนา (วาจาล่อลวง) เพราะลวงโลกใช้งงงวยด้วยวาจานั้นด้วยเรื่องหลอกลวง ๓ ประการ.

ชื่อว่า ลปนา (วาจายกยอ) เพราะคนผู้ต้องการลาภ สักการะยกยอด้วยวาจานั้น.

ชื่อว่า ผู้ทําบุ้ยใบ้ เพราะมี (แต่ทํา) บุ้ยใบเป็นปกติ. ภาวะของผู้ทําบุ้ยใบ้เหล่านั้น ชื่อว่า เนมิตฺตกตา (ความเป็นผู้ทําบุ้ยใบ้)

ชื่อว่า ผู้ทําอุบายโกง เพราะคนเหล่านั้นมีการทําอุบายโกงเป็นปกติภาวะของคนผู้ทําอุบายโกงเหล่านั้น ชื่อว่า นิปฺเปสิกตา (ความเป็นผู้ทําอุบายโกง)

ชื่อว่าการแลกลาภด้วยลาภ เพราะแลก คือหา ได้แก่แสวงหาลาภด้วยลาภ ภาวะแห่งการแลกลาภด้วยลาภเหล่านั้น ชื่อว่า การหาลาภด้วยลาภ. ความย่อในที่นี้มีเพียงเท่านี้.


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 358

ก็กิริยามีการล่อลวงเป็นต้น เหล่านี้ ข้าพเจ้านําเอามาทั้งพระบาลีและอรรถกถา กล่าวไว้โดยพิสดารแล้วในสีลนิทเทสในวิสุทธิมรรคนั่นแล.

ในบทว่า มิจฺฉาอาชีวสฺส ปหานาย นี้มิจฉาอาชีวะที่มาในพระบาลีเท่านั้นยังไม่พอ ก็แม้เจตนาที่เป็นกรรมบถ ๗ ประการ มีปาณาติบาตเป็นต้น ซึ่งเป็นไปเพราะอาชีวะเป็นเหตุก็เป็นมิจฉาอาชีวะด้วย.

วิรัติ (ความงดเว้น) อันกระทําการตัดทางดําเนินของเจตนา ๗ ประการนั้นนั่นแหละ ให้ถอนรากถอนโคน ทําองค์มรรคให้บริบูรณ์เกิดขึ้น ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ.

ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ก็มีสัมมาสังกัปปะด้วย

บทว่า สมฺมาทิฏิสฺส ได้แก่ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิในมรรค.

บทว่า สมฺมาสงฺกปฺโป ปโหติ ความว่า สัมมาสังกัปปะ ในมรรคย่อมมีพอเหมาะ สัมมาสังกัปปะในผล ก็มีพอเหมาะแม้แก่ผู้มีสัมมาทิฏฐิในผล พึงทราบความหมายในบททั้งปวง ด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้.

ผู้มีสัมมาสมาธิก็มีสัมมาญาณญาณะและสัมมาวิมุตติด้วย

ก็ในบทว่า สมฺมาาณํ สมฺมาวิมุตฺติ นี้มีอธิบายว่า สัมมาญาณะอันเป็นเครื่องพิจารณามรรค ก็มีพอเหมาะพอดีกับบุคคลผู้ตั้งอยู่ในสัมมาสมาธิในมรรค สัมมาญาณะอันเป็นเครื่องพิจารณาผล ก็มีพอเหมาะพอดีแก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในสัมมาสมาธิในผล สัมมาวิมุตติในมรรค ก็มีพอเหมาะพอดีแก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ ในญาณอันเป็นเครื่องพิจารณามรรค สัมมาวิมุตติในผลก็มีพอเหมาะพอดีแก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในญาณอันเป็นเครื่องพิจารณาผล.

ก็ในอธิการนี้ ท่านกล่าวไว้ว่า เว้นองค์แห่งผลทั้ง ๘ ประการเสียกระทําสัมมาญาณะให้เป็นเครื่องพิจารณาแล้วทําสัมมาวิมุตติให้เป็นผลก็ควร


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 359

ผู้มีสัมมาทิฏฐิก็สลัดมิจฉาทิฏฐิได้

ในบทว่า สมฺมาทิฏฺิสฺส ภิกฺขเว มิจฺฉาทิฏฺินิชฺชิณฺณา โหติ (ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีสัมมาทิฏฐิย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาทิฏฐิ) ดังนี้เป็นต้นท่านอาจารย์ผู้กล่าวนิกายที่เหลือกล่าวว่า ตรัสถึงผล ส่วนอาจารย์ผู้กล่าวมัชฌิมนิกาย กล่าวอาคตสถานของนิชชรวัตถุ ๑๐ ประการว่า ตรัสถึงมรรค.

บรรดาธรรมเหล่านั้น พึงทราบว่า ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ เพราะอรรถว่าเห็น พระนิพพาน พึงทราบว่าชื่อว่า สัมมาญาณะ เพราะอรรถว่ากระทําให้แจ่มแจ้งพระนิพพาน พึงทราบว่า ชื่อว่า สัมมาวิมุตติ เพราะอรรถว่าน้อมใจไปในพระนิพพานนั้น.

บทว่า วีสติ กุสลปกฺขา ความว่า เป็นธรรมฝ่ายกุศล ๒๐ประการอย่างนี้ คือ ธรรม ๑๐ ประการมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น และธรรม๑๐ ประการ ที่ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า กุศลธรรมเป็นอเนกประการที่มีสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย.

บทว่า วีสติ อกุสลปกฺขา ความว่า พึงทราบธรรมฝ่ายอกุศล๒๐ ประการอย่างนี้ คือ ธรรม ๑๐ ประการมีมิจฉาทิฏฐิเป็นต้นที่ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า มิจฉาทิฏฐิย่อมเป็นเครื่องให้เสื่อมแล้วและธรรม ๑๐ประการที่ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า ธรรมอันลามกมิใช่น้อย มีมิจฉาทิฏฐิ เป็นปัจจัย.

บทว่า มหาจตฺตารสโก ความว่า ชื่อว่า มหาจัตตารีสกะ (หมวด ๔๐ ใหญ่) เพราะประกาศธรรม ๔๐ ประการ อันเป็นฝ่ายกุศล และเป็นฝ่ายอกุศลอันเป็นข้อใหญ่ เพราะการให้วิบากมาก.


๑. อัง. ทสก. ๒๔/ข้อ ๑๐๖.


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 360

สัมมาทิฏฐิ ๕

ก็แหละในพระสูตรนี้ ตรัสสัมมาทิฏฐิ ๕ ประการ คือ วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ กัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ มัคคสัมมาทิฏฐิ ผลสัมมาทิฏฐิปัจจเวกขณสัมมาทิฏฐิ.

บรรดา สัมมาทิฏฐิ ๕ ประการนั้น สัมมาทิฏฐิที่ตรัสไว้ โดยนัยมีอาทิว่า ย่อมรู้มิจฉาทิฏฐิว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่า วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ.

ที่ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า ทานที่ให้แล้วมีผล ชื่อว่า กัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ.

ส่วนสัมมาทิฏฐิ แม้๒ ประการ คือ มัคคสัมมาทิฏฐิ ผลสัมมาทิฏฐิตรัสไว้ในคํานี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสังกัปปะ ย่อมเหมาะสําหรับผู้มีสัมมาทิฏฐิ ดังนี้.

อนึ่ง พึงทราบว่าตรัสปัจจเวกขณสัมมาทิฏฐิไว้ในคํานี้ว่า " สัมมาญาณะย่อมพอเหมาะ " ดังนี้.

วาทะ ๓

บทว่า สมฺมาทิฏฺิเจ ภวํ ครหติความว่า เมื่อกล่าวว่า ชื่อว่ามิจฉาทิฏฐินี้ดี ดังนี้ก็ดี เมื่อกล่าวว่า ชื่อว่า สัมมาทิฏฐินี้ไม่ดี ดังนี้ก็ดีย่อมชื่อว่าติเตียนสัมมาทิฏฐิ.

บทว่า โอกฺกลา ได้แก่ชาวโอกกลชนบท.

บทว่า วสฺสภฺา ได้แก่ ชน ๒ พวก คือ พวกวัสสะและพวกภัญญะ.

บทว่า อเหตุวาทา คือผู้มีวาทะเป็นต้นอย่างนี้ว่า ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย.

บทว่า อกิริยวาทา ได้แก่ ผู้มีวาทะปฏิเสธการกระทําอย่างนี้ว่าเมื่อทํา (บาป) บาปก็ไม่เป็นอันทํา.


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 15 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 361

บทว่า นตฺถิกวาทา ได้แก่ ผู้มีวาทะเป็นต้นว่า ทานที่ให้แล้วย่อมไม่มีผล.

ชนผู้มีวาทะดังกล่าวนั้น ย่อมเป็นผู้ก้าวลงแน่นอนในทัสสนะ ๓ประการเหล่านี้.

ถามว่า ก็การกําหนดแน่นอนแห่งทัสสนะเหล่านี้ มีได้อย่างไร?

ตอบว่า ก็บุคคลผู้ใดถือลัทธิเห็นปานนี้นั่งในที่พักกลางคืนและที่พักกลางวัน สาธยายอยู่ พิจารณาอยู่ มิจฉาสติของบุคคลผู้นั้นย่อมตั้งมั่น ในอารมณ์นั้นว่า เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มี เมื่อทํา (บาป) บาปก็ไม่เป็นอันทํา ทานที่ให้แล้วไม่มีผล เมื่อกายแตกย่อมขาดสูญ จิตของผู้นั้นย่อมมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ชวนะทั้งหลายย่อมแล่นไป ในชวนะที่หนึ่ง ยังพอแก้ไขได้ในชวนะที่สองเป็นต้นก็ยังพอแก้ไขได้เหมือนกัน แต่ในชวนะที่เจ็ด แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ทรงแก้ไขไม่ได้ เป็นผู้มีปกติไม่หวนกลับ เช่นกับภิกษุชื่ออริฏฐกัณฏกะ.

ในบรรดาทัสสนะเหล่านั้น บางคนก้าวลงสู่ทัสสนะเดียว บางคน ๒ทัสสนะ บางคน ๓ ทัสสนะ จึงเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิบุคคลโดยแท้ ถึงการห้ามทางไปสวรรค์และพระนิพพาน เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะไปสู่สวรรค์ในลําดับต่อจากชาตินั้น จะป่วยกล่าวไปไยที่จะไปสู่พระนิพพาน สัตว์นี้ชื่อว่า เป็นหลักตอแห่งวัฏฏะ เฝ้าแผ่นดิน โดยมากสัตว์เห็นปานนี้ย่อมไม่มีการออกไปจากภพ แม้ชนพวกวัสสะและภัญญะก็ได้เป็นเช่นนี้.

บทว่า นินฺทาพฺยาโรสอุปารมฺภภยา ความว่า เพราะกลัวตนจะถูกนินทา ถูกกระทบกระทั่ง และถูกว่าร้าย. คําที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถามหาจัตตารีสกสูตรที่ ๗