๙. มหาสาโรปมสูตร
โดย บ้านธัมมะ  27 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 36033

[เล่มที่ 18] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 546

๙. มหาสาโรปมสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 18]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 546

๙. มหาสาโรปมสูตร

[๓๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ กรุงราชคฤห์ เมื่อพระเทวทัตหลีกไปไม่นาน ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภพระเทวทัต ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชด้วยศรัทธา ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสครอบงํา ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทําที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้วยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขามีความยินดี มีความดําริเต็มเปียมด้วยลาภสักการะ และความสรรเสริญนั้น. เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีลาภสักการะและความสรรเสริญส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ไม่ปรากฏ มีศักดาน้อย. เขาย่อมมัวเมา ถึงความประมาทเพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้วย่อมอยู่เป็นทุกข์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นยืนต้นอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือก ละเลยสะเก็ดไปเสีย ตัดเอากิ่งและใบถือไป สําคัญว่าแก่น บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่นไม้ ไม่รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จักสะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือก ละเลยสะเก็ดไปเสีย ตัด


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 547

เอากิ่งและใบถือไป สําคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทําด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สําเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชด้วยศรัทธา ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงําแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทําที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขามีความยินดี มีความดําริเต็มเปียม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น. เพราะลาภสักการะ และความสรรเสริญอันนั้นเขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีสักการะ และความสรรเสริญ ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ไม่ปรากฏ [หรือมีคนรู้จักน้อย] มีศักดาน้อย. เขาย่อมมัวเมา ถึงความประมาทเพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้วย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า ได้ถือเอากิ่งและใบของพรหมจรรย์ และถึงที่สุดแค่กิ่งและใบนั้น.

ว่าด้วยสะเก็ดของพรหมจรรย์

[๓๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชด้วยศรัทธา ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงําแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทําที่สุดแห่งทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังมีลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความดําริยังไม่เต็มเปียม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาทเพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สําเร็จ. เขามีความยินดีมีความดําริเต็มเปียม ด้วย


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 548

ความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น. เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีศีลมีกัลยาณธรรม ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้เป็นผู้ทุศีลมีบาปธรรม. เขาย่อมมัวเมา ถึงความประมาทเพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือกไปเสีย ถากเอาสะเก็ดถือไป สําคัญว่าแก่น บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่นไม้ ไม่รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จักสะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ละเลยแก่น ละเลยกะพี้ ละเลยเปลือกไปเสีย ถากเอาสะเก็ดถือไป สําคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงด้วยไม้แก่นของเขาจักไม่สําเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชด้วยศรัทธา ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงําแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทําที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนี้แล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความดําริยังไม่เต็มเปียมด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและสรรเสริญอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมาไม่ถึงความประมาท เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สําเร็จ. เขามีความดําริเต็มเปียมด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น. เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีศีล มีกัลยาณธรรม ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ เป็นผู้ทุศีล


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 549

มีบาปธรรม เขาย่อมมัวเมา ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า ได้ถือเอาสะเก็ดของพรหมจรรย์ และถึงที่สุดแค่สะเก็ดนั้น.

ว่าด้วยเปลือกของพรหมจรรย์

[๓๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชด้วยศรัทธา ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงําแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทําที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความดําริยังไม่เต็มเปียม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาทเพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สําเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความดําริยังไม่เต็มเปียม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สําเร็จ เขามีความยินดี มีความดําริเต็มเปียม ด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น. เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิดแล้ว. เขาย่อมมัวเมาถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ไปเสีย ถากเอาเปลือกถือไป สําคัญ


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 550

ว่าแก่น บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จักสะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ไปเสีย ถากเอาเปลือกถือไป สําคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทําด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สําเร็จประโยชน์แก่เขาฉันใด กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวช ด้วยศรัทธา ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงําแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทําที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความดําริยังไม่เต็มเปียมด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาทเพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สําเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้นแต่มีความดําริยังไม่เต็มเปียม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สําเร็จ. เขามีความยินดี มีความดําริเต็มเปียม ด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิดแล้ว เขาย่อมมัวเมา ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว ย่อมอยู่


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 551

เป็นทุกข์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า ได้ถือเอาเปลือกแห่งพรหมจรรย์ และถึงที่สุดแค่เปลือกนั้น.

ว่าด้วยกระพี้แห่งพรหมจรรย์

[๓๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชด้วยศรัทธา ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงําแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทําที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความดําริยังไม่เต็มเปียม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สําเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความดําริยังไม่เต็มเปียม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สําเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น แต่มีความดําริยังไม่เต็มเปียม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น.เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังญาณทัสสนะให้สําเร็จ. เขามีความยินดีมีความดําริเต็มเปียมแล้วด้วยญาณทัสสนะนั้น. เพราะญาณทัสสนะอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรารู้เราเห็นอยู่ ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ไม่รู้ ไม่เห็นอยู่. เขาย่อมมัวเมา ถึงความประมาท เพราะญาณทัสสนะนั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มี


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 552

ความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่นไปเสีย ถากเอากระพี้ถือไป สําคัญว่าแก่น. บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จักสะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้มีความต้องการแก่นไม้อยู่ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่นไปเสีย ถากเอากระพี้ถือไป สําคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทําด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สําเร็จประโยชน์แก่เขาฉันใด กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชด้วยศรัทธา ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงําแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทําที่สุดแห่งกองทุกข์ ทั้งมวลนี้จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความดําริยังไม่เต็มเปียม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สําเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความดําริยังไม่เต็มเปียม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สําเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น แต่มีความดําริยังไม่เต็มเปียม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมาไม่ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาท


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 553

แล้ว ย่อมยังญาณทัสสนะให้สําเร็จ. เขามีความยินดี มีความดําริเต็มเปียมแล้วด้วยญาณทัสสนะนั้น. เพราะญาณทัสสนะอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มขู่ผู้อื่นว่า เรารู้เราเห็นอยู่ ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ไม่รู้ไม่เห็นอยู่ เขาย่อมมัวเมา ถึงความประมาท เพราะญาณทัสสนะนั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว. ย่อมอยู่เป็นทุกข์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า ได้ถือเอากระพี้แห่งพรหมจรรย์ และถึงที่สุดแค่กระพี้นั้นแล.

ว่าด้วยแก่นของพรหมจรรย์

[๓๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชด้วยศรัทธา ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้ถูกชาติชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงําแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทําที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความดําริยังไม่เต็มเปียม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สําเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความดําริยังไม่เต็มเปียม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สําเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น แต่มีความดําริยังไม่เต็มเปียม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้นเขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้นเมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังญาณทัสสนะให้สําเร็จ. เขามีความยินดีด้วย


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 554

ญาณทัสสนะนั้น แต่มีความดําริยังไม่เต็มเปียม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเพราะญาณทัสสนะนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะญาณทัสสนะนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังสมยวิโมกข์ให้สําเร็จ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุนั้นจะพึงเสื่อมจากสมยวิมุตตินั้น เป็นฐานะที่จะมีได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ถากเอาแก่นถือไปรู้จักว่าแก่น บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้รู้จักแก่น รู้จักกระพี้ รู้จักเปลือก รู้จักสะเก็ด รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ถากเอาแก่นถือไป รู้จักว่าแก่น และกิจที่จะพึงทําด้วยไม้แก่นของเขา จักสําเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด กุลบุตรบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชด้วยศัทธา ด้วยคิดว่าเราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสครอบงําแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทําที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้วยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความดําริยังไม่เต็มเปียม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมาไม่ถึงความประมาท เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สําเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความดําริยังไม่เต็มเปียม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยัง


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 555

ความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สําเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น แต่มีความดําริยังไม่เต็มเปียม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังญาณทัสสนะให้สําเร็จ. เขามีความยินดีด้วยญาณทัสสนะนั้น แต่มีความดําริยังไม่เต็มเปียม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะญาณทัสสนะนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะญาณทัสสนะนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังอสมยวิโมกข์ให้สําเร็จ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุนั้นจะพึงเสื่อมจากอสมยวิมุตตินั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้.

ว่าด้วยที่สุดของพรหมจรรย์

[๓๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดังพรรณนามาฉะนี้ พรหมจรรย์นี้จึงมิใช่มีลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งสมาธิเป็นอานิสงส์ มิใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ แต่พรหมจรรย์นี้มีเจโตวิมุตติอันไม่กําเริบ เป็นประโยชน์ เป็นแก่น เป็นที่สุด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.

จบ มหาสาโรปมสูตรที่ ๙


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 556

อรรถกถามหาสาโรปสูตร

มหาสาโรปมสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

พึงทราบวินิจฉัยในมหาสาโรปมสูตรนั้นดังต่อไปนี้ บทว่า อจิรปกฺกนฺเต ความว่า เมื่อพระเทวทัตทําลายสงฆ์ ทําโลหิตุปบาทกรรม ทําพระโลหิตให้ห้อ หลีกไปไม่นาน พาพรรคพวกแยกไปโดยเพศเดิมของตน. ในคําว่า อิธ ภิกฺขเว เอกจฺโจ กุลปุตฺโต ท่านมิได้กําหนดว่ากุลบุตรชื่อโน้นก็จริง ถึงอย่างนั้น คํานี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าวหมายเฉพาะพระเทวทัตเท่านั้น. จริงอยู่ พระเทวทัต ชื่อว่า เป็นกุลบุตรโดยชาติ เพราะเกิดในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช ตามเชื้อสายมหาสมบัติราชที่ไม่ระคนวงศ์อื่น. บทว่า โอติฺโณ ได้แก่ชาติของผู้ใดอยู่ภายใน ผู้นั้นชื่อว่าผู้ถูกชาติครอบงําแล้ว. แม้ในชราเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ปัจจัย ๔ ชื่อว่าลาภในคําว่าลาภและสักการะเป็นต้น. บทว่า สกฺกาโร ได้แก่ ปัจจัย ๔ เหล่านั้นที่เขาจัดไว้ดีแล้ว. บทว่า สิโลโก ได้แก่ การพูดสรรเสริญ. บทว่า อภินิพฺพตฺเตติ ได้แก่ ให้เกิด. บทว่า อปฺาตา ความว่า ไม่ปรากฏในสถานที่ชนทั้ง ๒ ดํารงอยู่ ย่อมไม่ได้แม้เพียงอาหารและเครื่องนุ่งห่ม. บทว่า อปฺเปสกฺขา ได้แก่ พวกที่ไม่มีบริวาร ไม่ได้คนแวดล้อมไปข้างหน้าหรือข้างหลัง. บทว่า สาเรน สารกรณียํ ได้แก่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีเพลา ล้อ แอก และไถเป็นต้นที่จะพึงทําด้วยไม้แก่น. บทว่า สาขาปลาสํ อคฺคเหสิ พฺรหฺมจริยสฺส ความว่า ปัจจัย ๔ ชื่อว่ากิ่งไม้ใบสด ของศาสนพรหมจรรย์อันมีมรรคผลเป็นสาระ ได้ถือเอาแต่กิ่งไม้ใบสดนั้น. บทว่า เตน จ โวสานํ อาปาทิ ความว่าก็ด้วยเหตุนั้นแล พระเทวทัตนั้น จึงหยุดด้วยเข้าใจว่า พอแค่นี้ เราพบสาระ


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 557

แล้ว. บทว่า าณทสฺสนํ อภินิพฺพตฺเตติ ความว่า พระเทวทัตได้อภิญญา ๕ ก็ทิพยจักษุอยู่สุดท้ายของอภิญญา ๕ ทิพยจักษุนั้น ท่านกล่าวว่าญาณทัสสนะในพระสูตรนี้. บทว่า อชานํ อปสฺสํ วิหรนฺติ ความว่า ภิกษุทั้งหลาย ไม่รู้สุขุมรูปไรๆ โดยที่สุด แม้ปีศาจคลุกฝุ่นก็ไม่เห็นอยู่. บทว่า อสมยวิโมกฺขํ อาราเธติ ความว่า กุลบุตรย่อมยินดี ย่อมให้ถึงพร้อม ย่อมได้โลกุตตรธรรม ๙ ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ อสมยวิโมกข์ เป็นไฉน คือ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ นิพพาน ๑ นี้ ชื่อว่า อสมยวิโมกข์. จริงอยู่ สมาบัติที่เป็นโลกิยะ ย่อมพ้นจากธรรมที่เป็นข้าศึกในขณะที่ถึงอัปปนานั้นเอง เพราะฉะนั้น โลกิยสมาบัตินั้น ท่านจึงกล่าวว่าเป็นสมยวิโมกข์ อย่างนี้ว่า สมยวิโมกข์เป็นไฉน คือ รูปาวจรสมาบัติ ๔ อรูปาวจรสมาบัติ ๔ นี้ เรียกว่า สมยวิโมกข์ ส่วนโลกุตตธรรม ย่อนพ้นได้ทุกกาล จริงอยู่ มรรคจิตและผลจิตที่พ้นคราวเดียว ก็เป็นอันพ้นไปเลย นิพพานก็พ้นแล้วเด็ดขาดจริงจากสรรพกิเลสส่วนเดียว เพราะฉะนั้น ธรรม ๙ เหล่านี้ ท่านจึงกล่าวว่า อสมยวิโมกข์. บทว่า อกุปฺปา เจโตวิมุตฺติ ได้แก่ วิมุตติสัมปยุตด้วยอรหัตตผล. ประโยชน์นี้ ของพรหมจรรย์ นั้น มีอยู่เพราะเหตุนั้น พรหมจรรย์นั้น จึงชื่อว่า เอตทัตถะ คือพรหมจรรย์นี้ มีพระอรหัตตผลนั้นเป็นประโยชน์ ท่านอธิบายว่า นี้เป็นประโยชน์ของพรหมจรรย์นั้น. บทว่า เอตํ สารํ ความว่า อรหัตตมรรคและอรหัตตผลนี้เป็นสาระแห่งพรหมจรรย์. บทว่า เอตํ ปริโยสานํ ความว่า อรหัตตผลนี้ เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ นี้เป็นสุดท้าย ไม่มีผลที่จะพึงบรรลุยิ่งขึ้นไปกว่านี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงจบเทศนาตามอนุสนธิดังนี้แล.

จบ อรรถกถามหาสาโรปมสูตรที่ ๙