การแสดงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เป็นการแสดงเทศนาโดยนัยอย่างไร และเพื่อให้เข้าใจว่าอย่างไร ดูเหมือนองค์ธรรมเหมือนๆ กัน
โพธิปักขิยธรรมคือธรรมที่เป็นฝักฝ่ายของการตรัสรู้ มีทั้งหมด ๓๗ ประการ ได้แก่
สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ และอริยมรรค ๘ รวมสภาพธรรม ๓๗ ประการ การแสดงโพธิปักขิยธรรมทรงแสดง เทศนาตามอุปนิสัยของเวนัยสัตว์ เช่น ในบางสูตรทรงแสดงสติปัฏฐาน ๔ เมื่ออบรม เจริญย่อมถึงการรู้แจ้งอริยสัจจธรรมเช่นกัน บางสูตรแสดงอินทรีย์ ๕ เมื่อบุคคลอบรม อินทรีย์ ๕ ย่อมรู้แจ้งอริยสัจจ์เช่นกัน บางครั้งแสดงโพชฌงค์ บางครั้งทรงแสดงอริย มรรคมีองค์๘ เพื่อการรู้แจ้งอริยสัจจธรรมเช่นกัน แต่สติปัฏฐานที่มีกำลังย่อมเป็นใหญ่ (อินทรีย์) มีกำลัง (พละ) เป็นโพชฌงค์ใกล้ต่อการตรัสรู้ธรรม มรรคมีองค์ ๘ เกิดพร้อม เมื่อโลกุตตรจิตเกิดขึ้น
สัมมัปปธาน ๔ คือ วิริยเจตสิก สามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้อย่างไร
วิริยเจตสิกเป็นหนึ่งในองค์มรรค๘ คือ สัมมาวายามะ ถ้าขาดวิริยะ การตรัสรู้ธรรมย่อม มีไม่ได้ แต่เพราะมีวิริยะ จึงตรัสรู้ธรรมและล่วงพ้นจากวัฏฏทุกข์นี้ได้ ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ แปลว่า บุคคลล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร
สัมมาวายามะ เพียรชอบ คือเพียรใน ๔ สถาน ได้แก่ ๑. สังวรปธาน ๒. ปหานปธาน ๓. ภาวนาปธาน ๔. อนุรักขนาปธาน และในสัมมัปปธาน ก็มี ๔ สถานเช่นเดียวกัน อยากทราบว่าต่างกันอย่างไร และในขณะแห่งมรรคจะพร้อมกันทั้ง ๔ หมายความถึงอย่างไร กราบขอบพระคุณท่านวิทยากรค่ะ
สัมมาวายามะ และ สัมมัปปธาน คือวิริยเจตสิก กระทำกิจเดียวกัน อรรถกถาท่านแก้ไว้ ว่า ในขณะที่สัมมัปปธานทั้ง ๔ เกิดร่วมกับโลกียจิต ทำกิจต่างกัน และไม่พร้อมกันทั้ง ๔ แต่ขณะโลกุตตรจิตเกิดพร้อมกันทั้ง ๔ ในขณะจิตเดียวกัน
สาธุครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
อนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ