อย่างไรจึงเข้าข่ายพูดเพ้อเจ้อ
โดย kirin_kal  21 ม.ค. 2550
หัวข้อหมายเลข 2682

ในชีวิตประจำวัน ย่อมมีการไต่ถามสารทุกข์สุกดิบ การพูดคุยหนังละคร การจับกลุ่มนินทา และการพูดเรื่องไร้สาระซึ่งไม่มีประโยชน์ในทางธรรม ดังกล่าวถือว่าเป็นการพูดเพ้อเจ้อหรือไม่ เมื่อได้ยินเสียงดังกล่าวให้ระลึกว่าเสียงที่ได้ยินเป็นเพียงรูปธรรม และการได้ยินเสียงเหล่านั้น เป็นเพียงนามธรรม ถูกต้องหรือไม่ อย่างไร



ความคิดเห็น 1    โดย study  วันที่ 22 ม.ค. 2550

การไต่ถามสุขทุกข์ด้วยเมตตาจิตไม่ใช่การพูดเพ้อเจ้อ แต่การพูดถึงเรื่องที่ไม่มีสาระประโยชน์ในทางโลกและทางธรรม ชื่อว่าการพูดเพ้อเจ้อ แต่จะเป็นการล่วงอกุศลกรรมบถหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ส่วนเสียงเป็นรูปธรรม การได้ยินเป็นนามธรรม การกล่าวเตือนให้ระลึกถึงความจริงที่ปรากฏในขณะนั้น เป็นสิ่งที่ดี แต่ไม่ใช่การเจาะจงเฉพาะสิ่งเดียว องค์แห่งสัมผัปปาลาปโปรดอ่านข้อความจากอรรถกถา


ความคิดเห็น 2    โดย study  วันที่ 22 ม.ค. 2550

เชิญคลิกอ่านที่นี่ ....

สัมผัปปลาปวาจา [พรหมชาลสูตร]


ความคิดเห็น 3    โดย คนรักหนัง  วันที่ 22 ม.ค. 2550

แต่ถ้าเป็นการพูดคุยกันเรื่องภาพยนต์ และ คู่สนทนาของเรา ก็เข้าใจว่า มันเป็นเรื่องในภาพยนต์เท่านั้นกรรมบถก็ยังไม่ขาด ครับ

ถ้าในกรณีที่บุคคลที่ ๓ได้ยินเข้า และถือ เอาว่าเป็นเรื่องจริง โดยเราก็ไม่รู้ว่ามีบุคคลที่ ๓ ถื่อเอาเป็นเรื่องจริง อย่างนี้ กรรมบถ ขาด หรือไม่ครับ


ความคิดเห็น 4    โดย devout  วันที่ 22 ม.ค. 2550

กรรมอยู่ที่เจตนาไม่ใช่หรือคะ การที่บุคคลที่ ๓ ได้ยินแล้วเกิดอกุศล ก็เป็นอกุศลของบุคคลนั้นเอง เพราะขาดมนสิการที่ดี ประกอบกับได้สะสมอกุศลธรรมที่ทำให้มีความคิดโน้มเอียงไปในทางอกุศล นี่แหละค่ะ คือ ผู้ที่ไม่ฉลาดในสภาพจิตของตน


ความคิดเห็น 5    โดย wannee.s  วันที่ 22 ม.ค. 2550

ถ้าเราไม่ได้พูดเรื่องธรรมะ เป็นเรื่องเพ้อเจ้อหมดเลย เช่น ชมว่าคนนั้นสวยจัง เลย ก็เป็นเพ้อเจ้อ แต่บอกว่าคนนั้นสวยเพราะเขาเคยให้ทานรักษาศีล อย่างนี้ไม่ เป็นเดรัจฉานคาถา เป็นต้น


ความคิดเห็น 6    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 22 ม.ค. 2550

ขึ้นอยู่กับสภาพจิตเป็นสำคัญ ไม่ได้หมายถึงเรื่องราวที่พูด เมื่อจิตเป็นกุศลเรื่องที่พูด เป็นอารมณ์ของจิตเท่านั้น (บัญญัติ) แต่เมื่อจิตเป็นกุศล จะเป็นการพูดเพ้อเจ้อได้อย่างไร พระพุทธเจ้า ก็ถามถึงสารทุกข์ สุขดิบ ของคนที่เข้ามาเฝ้าพระองค์ เป็นเพ้อเจ้อหรือเปล่าครับ ไม่แน่นอน เป็นกิริยาจิตด้วย เพราะพระองค์ดับกิเลสแล้ว พระพุทธองค์ทรงปรารภถึงพระเจ้าพิมพิสาร (เรื่องพระราชา) เป็นเพ้อเจ้อหรือเปล่า ก็ไม่ครับ ดังนั้น ขึ้นอยู่กับจิตนะครับ ว่าจะเป็นเพ้อเจ้อหรือไม่ เพ้อเจ้อต้องเป็นอกุศลเท่านั้นครับ

แม้การกล่าวถึงเรื่อง พระราชา โจร บ้านเมือง แต่พูดโดยความไม่เที่ยง เช่น พระราชาองค์นี้สวรรคตแล้ว สังขารไม่เที่ยงจริงๆ ก็ไม่ใช่เพ้อเจ้อหรือเพื่อประโยชน์ในการแสดงธรรม ก็ไม่ใช่เพ้อเจ้อครับเพราะมุ่งกล่าวเพื่อประโยชน์ ดูได้จากองค์ ๒ ของสัมผัปลาบ ข้อแรก คือ มุ่งกล่าวถ้อยคำไร้ประโยชน์ นั่นคือมีเจตนากล่าวสิ่งที่ไร้ประโยชน์ครับ ขอยกข้อความในพระไตรปิฎก เรื่องที่ต้องเป็นอกุศลเจตนาเท่านั้นถึงเป็นเพ้อเจ้อ ถ้าเป็นกุศลไม่ใช่เพ้อเจ้อ ลองอ่านดูครับ

ข้อความบางตอนจาก

อรรถกถา สัมมาทิฏฐิสูตร

แก้สัมผัปปลาปะ

ความจงใจที่เป็นอกุศล ที่เป็นสมุฏฐานแห่งกายประโยคและวจี ประโยคที่ยังผู้อื่นให้เข้าใจคำพูดที่ไร้ประโยชน์ ชื่อว่า สัมผัปปลาป


ความคิดเห็น 7    โดย devout  วันที่ 22 ม.ค. 2550

ก็ต้องเป็นไปตามอัธยาศัยนะคะ ตามการสะสม ผู้ที่เข้าใจธรรม จะไม่ทำตัวให้ผิดจากปกติ มิฉะนั้นจะไม่รู้จักตัวเองตามความเป็นจริง เมื่อสภาพธรรมนั้นเกิดปรากฎ เพราะเมื่อไม่รู้ก็ละคลายไม่ได้


ความคิดเห็น 10    โดย unknown  วันที่ 3 ก.พ. 2550
ขณะใดพูดด้วยอกุศลจิตและเป็นการพูดในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ขณะนั้นเพ้อเจ้อ

ความคิดเห็น 11    โดย เซจาน้อย  วันที่ 15 มิ.ย. 2551
ขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 12    โดย Komsan  วันที่ 16 มิ.ย. 2551
ขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 13    โดย Chalee  วันที่ 28 มี.ค. 2558

สาธุ


ความคิดเห็น 14    โดย chatchai.k  วันที่ 6 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 15    โดย Jarunee.A  วันที่ 14 ธ.ค. 2566

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ