พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 58
ภารวรรคที่ ๓
๑. ภารสูตร ว่าด้วยขันธ์ ๕ เป็นภาระ
[๔๙] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราจักแสดงภาระ ผู้แบกภาระ การถือภาระ และการวางภาระแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภาระเป็นไฉน พึงกล่าวว่า ภาระ คืออุปาทานขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน คือ อุปาทานขันธ์ คือ รูปอุปาทานขันธ์ คือ เวทนา อุปาทานขันธ์ คือสัญญา อุปาทานขันธ์ คือสังขาร และ อุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าภาระ.
[๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้แบกภาระเป็นไฉน พึงกล่าวว่าบุคคลบุคคลนี้นั้น คือ ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่า ผู้แบกภาระ.
[๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การถือภาระเป็นไฉน ตัณหานี้ใดนำให้เกิดภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน มีปกติเพลิดเพลินยิ่งในภพหรืออารมณ์นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการถือภาระ.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 59
[๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การวางภาระเป็นไฉน ความที่ตัณหานั่นแล ดับไปด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความสละคืน ความพ้นความไม่อาลัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการวางภาระ
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกในภายหลังว่า
[๕๓] ขันธ์ ๕ ชื่อว่าภาระแล และผู้แบกภาระ คือบุคคล การถือภาระเป็นเหตุนำมาซึ่งความทุกข์ในโลก การวางภาระเสียได้เป็นสุข บุคคลวางภาระหนักเสียได้แล้ว ไม่ถือภาระอื่น ถอนตัณหาพร้อมทั้งมูลรากแล้วเป็นผู้หายหิว ดับรอบแล้วดังนี้.
จบ ภารสูตรที่ ๑
ทั้งๆ ที่รู้ว่าอุปทานขันธ์ ๕ เป็นภาระที่หนัก แต่ปัญญายังไม่พอ จึงแบกอยู่ ยังไม่วาง
ยังแบกอยู่เต็มๆ เลยค่ะ ทุกวันนี้กำลังศึกษาและพยายามสะสมพลกำลัง (เหตุปัจจัย) อยู่เพื่อจะได้มีหนทางให้ยอมวางภาระลงเสียได้ในสักวันหนึ่ง (ซึ่งกว่าจะถึงก็คงอีกน้าน...นาน...) ขออนุโมทนาค่ะ
คงอีกน้าน...นานเหมือนกันค่ะ
.....แต่ยังไงก็จะไม่ท้อถอย
อย่าหวังอะไรทั้งสิ้นแม้แด่น้อย เพราะหวังเป็นโลภะยี่งหวังยี่งกั้น ยี่งเนี่นช้า โลภะเกิด ปัญญาก็เกิดไม่ได้ ครับ