ขอเรียนถามเรื่องที่มาของประเพณีลอยกระทง เป็นการบูชารอยพระพุทธบาทมีความเป็นมาอย่างไร ครับ
ประเพณีลอยกระทงในประเทศไทย สมัยสุโขทัย ตามที่แสดงไว้ มิได้กล่าวถึง การบูชาพระจุฬามณีและรอยพระบาท เพราะความจริงแล้ว ประเพณีลอยโคม กระทง เป็นประเพณีดั้งเดิมของพราหมณ์ไม่ใช่ศาสนาพุทธ จึงไม่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาแต่อย่างใด เพียงแต่สันนิษฐานเอา ให้เข้ากับพระพุทธศาสนาว่า บูชารอยพระพุทธบาทและจุฬามณี ซึ่งในสมัยอดีตกาล ไม่ได้มีการบูชาด้วยการลอยกระทง ไม่มีแสดงไว้ในพระไตรปิฎก แม้แต่เรื่องนาคบูชา พระจุฬามณีด้วยการลอยกระทง เพราะฉะนั้น ประเพณีการลอยกระทง จึงไม่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา แต่มาโยง สันนิษฐานให้เข้ากันเอง ครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น[เล่มที่ 23]
[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒- หน้าที่ ๔๔๙
... ในระหว่างทางมีแม่น้ำชื่อ นัมมทา พระศาสดาได้เสด็จไปถึงฝั่งของแม่น้ำนั้น.นัมมทานาคราชถวายการต้อนรับพระศาสดา ทูลเสด็จเข้าสู่ภพนาค ได้กระทำสักการะพระรัตนตรัยแล้ว. พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่นาคราชนั้นแล้ว ก็เสด็จออกจากภพนาค. นาคราชนั้นกราบทูลขอว่าได้โปรดประทานสิ่งที่พึงบำเรอแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงปทเจดีย์ รอยพระบาท ไว้ที่ฝั่งแม่น้ำนิมมทา รอยพระบาทนั้น เมื่อคลื่นซัดมาก็ถูกปิด เมื่อคลื่นเลยไปแล้วก็ถูกเปิด. กลายเป็นรอยพระบาทที่ถึงสักการะอย่างใหญ่ ...
พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากพระธรรม ก็มีการน้อมบูชาในพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เท่าที่จะเป็นไปได้ทั้งด้วยวัตถุสิ่งของตามที่สมควร การน้อมบูชาด้วยวัตถุสิ่งของที่สมควร นั้น จะด้วยการจัดดอกไม้บูชา บูชาด้วยของหอม หรือแม้แต่จะประดิษฐ์กระทง เพื่อน้อมบูชาในพระคุณอันประเสริฐก็จะย่อมกระทำได้ และไม่ได้จำกัดเฉพาะในวันใดวันหนึ่งเท่านั้น ขึ้นอยู่กับกุศลจิตเป็นสำคัญ กุศลจิตนั่นเองที่ทำการบูชา ซึ่งไม่ใช่เพื่ออย่างอื่น ไม่ใช่เพื่อการขอลาภสิ่งที่ต้องการ เป็นต้น แต่เพื่อน้อมบูชาในพระคุณอันประเสริฐ และ ที่สำคัญ คือ น้อมบูชาด้วยการฟังพระธรรมศึกษาพระธรรม น้อมประพฤติตามพระธรรม ประโยชน์จึงอยู่ที่การมีโอกาสได้ฟังพระธรรมศึกษาพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ความดีทั้งหลายจะเจริญขึ้นคล้อยตามความเข้าใจพระธรรมที่จะเจริญขึ้น กระทำในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ไม่ไปทำอะไรตามๆ กันด้วยความไม่รู้ ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
การบูชามี ๒ อย่าง
๑. อามิสบูชา บูชาด้วย ดอกไม้ ของหอม ฯลฯ
๒. การปฏิบัติบูชา พระพุทธเจ้าตรัสว่าการปฏิบัติบูชาเลิศกว่าค่ะ
กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ ครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ