พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 106
[๕๕] เทวดานั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ข้าพระองค์ทราบเนื้อความ
แห่งธรรมนี้ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยย่อให้ได้ความโดยพิสดารอย่างนี้ว่า
ไม่ควรทำบาปด้วยวาจา ด้วยใจ
และด้วยกาย อย่างไหนๆ ในโลกทั้งปวง
ควรละกามทั้งหลายเสียแล้ว มีสติ มี
สัมปชัญญะ ไม่ควรเสพทุกข์อันประกอบ
ด้วยโทษ ไม่เป็นประโยชน์.
จบนันทวรรคที่ ๒
.............................................
ข้อความนี้พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อ แต่ดีมาก
การไม่ทำบาปด้วยกาย วาจา ใจ
คือ สุจริต ๓ ที่เป็นอาหารของ สติปัฏฐาน ๔
ละกามทั้งหลายนี่ยากที่สุด คือละตัณหา
มีสติ มีสัมปชัญญะ คือการเจริญมรรค
ไม่ควรเสพทุกข์อันประกอบด้วยโทษ ไม่เป็นประโยชน์ คือนิโรธ
ขณะเดียวกันก็เป็นการกำหนดรู้ทุกข์ไปด้วย
การกำหนดรู้ทุกข์ ละตัณหา นิโรธ มรรค เกืดพร้อมกัน เวลาตรัสรู้ ครับ
ถ้าผู้ที่มั่นคง เชื่อกรรมและผลของกรรม จะไม่ทำบาปแม้ในที่ลับค่ะ
คิดดี ทำดี พูดดี เป็นคนดี ไม่เบียดเบียนใคร ไม่คิดไม่ดีกับใคร ตั้งอยู่ใน กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต