เรียนถาม
ในขณะที่มีการสนทนาธรรม มีการตั้งข้อสงสัย สอบถามกันไปมา
เพื่อให้ได้ความกระจ่างและความเข้าใจ เช่นนี้ เรียกว่า วิจิกิจฉา หรือไม่
ขอบพระคุณอย่างสูง
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย วิจิกิจฉา มีลักษณะที่สงสัย ลังเลใจ ตัดสินใจไม่ได้ในเรื่องของสภาพธรรม มี
ความคิดเห็นเป็น ๒ อย่าง อุปมาเหมือนทาง ๒ แพร่ง เช่น พระพุทธพระธรรม พระ
สงฆ์ มีคุณจริงหรือไม่ นรก สวรรค์ ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ บาปบุญมีจริงหรือไม่ และ
ผลของบาปบุญให้ผลได้จริงหรือไม่ วิจิกิจฉาเจตสิกเกิดกับอกุศลจิตประเภทโมหมูลจิต
วิจิกิจฉาสัมปยุตต์เพียงดวงเดียวเท่านั้น
วิจิกิจฉา โดยทั่วไป จึงมุ่งหมายถึง ความลังเลสงสัย ในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระ
สงฆ์ในสิกขา สงสัยในขันธ์ที่เป็นอดีต สงสัยในขันธ์ที่เป็นอนาคต สงสัยในขันธ์ที่เป็น
อดีตและอนาคต สงสัยในปฏิจจสมุปบาท ดังนั้นจึงมุ่งหมายถึง ความลังสงสัยในเรื่อง
สภาพธรรมด้วยเป็นสำคัญ แต่ถ้าสงสัยในเรื่องทั่วๆ ไป เช่น เรื่อราวทางโลก ที่ไม่เกี่ยว
กับสภาพธรรม เช่น สงสัยว่า 4 บวก 5 เป็นเท่าไหร่ ความสงสัยนี้ไม่ใช่วิจิกิจฉาครับ
ซึ่งจากคำถาม ในเรื่องการสนทนาธรรมและมีการสงสัยในเรื่องของธรรม ถ้าเป็นไปใน
เรื่องธรรมที่เป็นสภาพธรรม ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง สงสัยว่าจริงหรือไม่ ถุกต้อง
หรือเปล่า ตัดสินใจไมได้เพราะสงสัยในเรื่องสภาพธรรม ในขณที่สนทนาธรรม เป็น
วิจิกิจฉาครับ ซึ่งก็อยู่ในส่วนของ ความลังเลสงสัยใน สิกขา สิกขา หมายถึง อธิศีล
สิกขา อธิจิตสิกขาและอธิปัญญาสิกขา คือ การศึกษาในพระพุทธศาสนาที่เป็นไปเพื่อ
ดับกิเลสครับ
ความสงสัยในพระธรรมในข้อใดข้อหนึ่ง ทำให้ตัดสินใจไม่ได้ ลังเลสงสัยก็เป็น
วิจิกิจฉาตามที่กล่าวมา ซึ่งสามารถเกิดได้ในชีวิตประจำวันแม้ไม่ได้สนทนาธรรม เมื่อ
นึกคิดขึ้นมา หรือ ขณที่ฟังพระธรรม หรือ สนทนาธรรมก็สามารถเกิดวิจิกิจฉาได้ครับ
ผู้ที่จะดับวิจิกิจฉาได้หมด ไม่มีความลังเลสงสัยเกิดขึ้นอีกเลย คือ พระโสดาบันครับ
ซึ่งขณะที่ค่อยๆ ฟังพระธรรมและปัญญาเจริญขึ้น ขณะนั้นก็ค่อยๆ ละความลังเลสงสัย
ไปทีละน้อย จนปัญญาสมบูรณ์ ถึงความเป็นพระโสดาบันก็ไม่มีความลังเลอีกเลย ไม่
สงสัยว่าพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์มีจริง เพราะท่านประจักษ์ความจริงตามที่พระ
พุทธเจ้าทรงแสดง จึงมั่นคง เชื่อในพระปัญญาตรัสรู้ มั่นคง เชือ่ในพระธรรม เพราะท่าน
ประจักษในพระธรรมด้วยตัวท่านเอง และไม่สงสัในพระสงฆ์ เพราะผู้ที่ปฏิบัติตาม บรรลุ
ตามมี นั่นคือ แม้ตัวท่านเองครับ และไม่สงสัยในขันธ์ ที่เป็นสภาพธรรมที่เกิดดับ และ
ไม่สงสัยในสภาพธรรมที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยกันที่เป็นปฏิจจสมุปบาทครับ แต่แม้ท่านจะ
ละความลังเลสงสัยได้ แต่เรื่องทางโลกมากมายท่านก็ไม่รู้ เพราะเรื่องราวทางโลกที่ไม่
ใช่สภาพธรรม ที่ไม่รู้และสงสัย ไม่ใช่วิจิกิจฉาครับ หนทางในการละวิจิกิจฉาคือการฟัง
พระธรรม ศึกษาพระธรรมครับ ขออนุโมทนา
เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ...วิจิกิจฉา ๘ อย่าง
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
เรียนถาม
เพื่อนบอกว่า วิจิกิจฉา อยู่ในนิวรณ์ เป็นเครื่องกั้นความดี เพราะฉะนั้นอย่าสงสัยมาก
ดิฉันไม่เข้าใจค่ะ เพราะ ความสงสัยของดิฉันก็ยังคงมีอยู่ แต่มิใช่ว่า ไม่เชื่อในพระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์ แต่เป็นความไม่ข้าใจในพระธรรมที่กำลังศึกษามากกว่า ในขณะที่
สนทนาธรรมกัน ก็ต้องมีความสงสัยเป็นธรรมดา ถ้าเช่นนั้น จะเป็นเครื่องกั้นความดี
อย่างไร กรุณาอธิบายด้วยค่ะ
เรียนความเห็นที่ 2 ครับ
นิวรณ์ หมายถึง สภาพธรรมที่กั้นความดี ปิดกั้นจิตจากกุศล คือ ไม่ให้เป็นกุศลและ
นิวรณ์ ยังหมายถึง สภาพธรรมที่ทอนกำลังปัญญา คือ เมื่อนิวรณ์ เกิด ปัญญาย่อมไม่
เกิดในขณะนั้น ซึ่ง นิวรณ์ มี 5 ประการคือ กามฉันทะ ๑ พยาปาทะ ๑ ถีนะมิทธะ ๑
อุทธัทจกุกกุจจะ ๑ วิจิกิจฉา ๑
ซึ่งในความเป็นจริง สภาพธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ตราบใดที่ยังเป็นปุถุชน ก็ย่อม
มีกิเลสกิดขึ้นเป็นธรรมดา แม้ความลังเลสงสัยก็เกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา ตราบใดที่ยัง
ไม่ใช่พระโสดาบัน เพราะยังมีปัญญาไม่มากก็ย่อมสงสัยในพระธรรมที่พระพุทธเจ้า
ทรงแสดง จึงไม่ใช่จะมีการบังคับไม่ให้สงสัย เป็นไปไมได้ และเมื่อความลังเลสงสัย
เกิดขึ้น ก็เป็นนิวรณ์ในขณะนั้น กางกั้นความดีในขณะจิตนั้น คือ ไม่ให้เป็นอกุศลใน
ขณะนั้นครับ ปิดกั้นจิต ไม่ให้เป็นกุศล และทอนกำลังปัญญา คือ ปัญญาไม่เกิดใน
ขณะที่ลังเลสงสัย ซึ่งก็เป็นธรรมดาอีกเช่นกัน และหากเข้าใจความละเอียด ตามที่ผู้ถาม
ได้เสนอเรื่องนี้ แม้จะไม่สงสัย แต่กิเลสตัวอื่นที่เป็นนิวรณ์เช่นกันก็เกิดเป็นปกติ มากกว่า
ความลังเลสงสัยเสียอีก เป็นปกติในขณะนี้ คือ กามฉันทะนิวรณ์ ความยินดี พอใจใน
รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่กระทบสัมผัส เป็นปกติในขณะนี้และเกิดมากมายในชีวิตประจำ
วัน ซึ่งขณะที่เกิดความยินดี แม้เพียงเล้กน้อยก็เป็นนิวรณ์แล้ว และก็กั้นความดีด้วย
ปัญญาไม่เกิดในขณะนั้น
ซึ่งการอบรมปัญญาที่ถูกต้องไมใช่การห้ามไม่ให้ วิจิกิจฉาเกิด หรือห้ามอกุศลอื่นๆ เกิด
เพราะเกิดแล้ว เป็นธรรมและอนัตตา แต่หนทางที่ถูก คือ เข้าใจในสิ่งทีเกิดแล้ว เข้าใจ
ความจริง แม้ความลังเลสงสัยก็เป็นธรรม เป็นอนัตตา ไม่ใช่เร า การค่อยๆ เข้าใจแบบนี้
ก็จะทำให้สามารถละกิเลสได้ อันเป็นหทางที่ถูกต้องครับ ขออนุโมทนา
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตราบใดที่ยังไม่ได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมถึงความเป็นพระอริยบุคคล ความลังเลสงสัยในสภาพธรรม ก็ยังมีอยู่ ความลังเลสงสัย เป็นกิเลสที่กางกั้นไม่ให้กุศลจิตเกิด คือ เป็นนิวรณ์ หรือกล่าวได้ว่า อกุศลทุกประเภทเป็นนิวรณ์ ก็ได้ เพราะในขณะที่กิเลสเกิดขึ้น นั้น กุศล เกิดไม่ได้เลย และหนทางที่จะเป็นไปเพื่อละคลายความสงสัยรวมไปถึงกิเลสอกุศลธรรมประการต่างๆ ด้วย นั้น คือ การอบรมเจริญปัญญา เพราะขณะที่ฟังพระธรรมเข้าใจ ขณะนั้น ก็ละคลายความสงสัย ละคลายความไม่รู้ แล้ว จนกว่าจะดับได้อย่างหมดสิ้น เมื่อถึงความเป็นพระอริยบุคคล การเป็นพระอริยบุคคลได้นั้น ก็ต้องดำเินินตามทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ คือ การอบรมเจริญปัญญา จะขาดปัญญา ไม่ได้เลย ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่่านครับ...
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
เรียนท่านเจ้าของกระทู้และท่านวิทยากร ตามที่ดิฉันทราบและเข้าใจ วิจิกิจฉา เป็นองค์ธรรมที่เราพบในจิต อุเปกขาสหคตัง วิจิกิจฉา สัมปยุตตัง อสังขาริกัง กามาวจร อกุสล โมหมูลจิตตัง ซึ่งจิต นี้ เป็น 1 ใน 12อกุสลจิต มีเจตสิกฝ่ายอกุสล มาร่วมทำงานด้วย
องค์ธรรมที่จะประกอบมาเป็นวิจิกิจฉา คือกังคติ 8ประการ และการกำจัดกังคติ 8ประการ
นี้ก็คือการควบคุม ปหาน กังคติ ทั้ง 8นี้ 3ข้อแรกของการกำจัดกังคติ 8 ประการ คือการ
สิกขาเรื่องของพระพุทธเจ้า สิกขาพระธรรม 84000 พระธรรมขันธ์ สิกขา ประวัติของ
พระอริยสงฆ์สาวกและพระสงฆ์ เป็นต้น ไม่ทราบว่าผิดถูกประการใด จึงขอคำชี้แนะ
เพิ่มเติมด้วยค่ะ
เรียนความเห็นที่ ๗
ความจริงการศึกษาพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตลอด ๔๕
พรรษา นั้น ก็ช่วยบรรเทาความสงสัยได้ระดับหนึ่ง แต่จะปหานไม่ให้ความสงสัยเกิด
ขึ้นอีกเลยต้องอบรมเจริญปัญญาจนบรรลุพระโสดาบันขึ้นไป จึงจะดับโดยไม่มีเหลือ
แต่ปุถุชนทั้งหลายแม้มีการศึกษามากก็ยังดับความสงสัยเป็นสมุทเฉทไม่ได้ครับ
วิจิกิจฉา เป็นอกุศลเจตสิก เป็นเจตสิกที่เกิดร่วมกับ โมหมูลจิตสัมปยุตต์ด้วย
วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาไม่ใช่อยู่ในตำราแต่มีอยู่ในชีวิตประจำวันขณะที่มีความลังเลสงสัย
ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ก็จะไม่มีใครสามารถรู้ได้
การอบรมเจริญปัญญา ให้เกิดความเห็น ถูกเข้าใจถูก ในลักษณะสภาพธรรมที่กำลัง
ปรากฏว่าเป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่งไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่สิ่ง
ต่างๆ แม้ความลังเลสงสัยเกิดขึ้นก็เป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง จนกว่าปัญญาคม
กล้าบรรลุโสดาปัตติมรรคปหานความเห็นผิดและวิจิกิจฉาได้เป็นสมุจเฉท
เพราะฉะนั้น การที่จะปหานวิจิกิจฉาเป็นสมุจเฉทได้นั้น ก็ต้องเริ่มจากการฟังพระ-
ธรรมให้เข้าใจจริงๆ ว่า สิ่งที่กำลังปรากฏ เป็นเพียงสภาพธรรม แต่ละอย่างที่เกิดขึ้น
ตามเหตุปัจจัย ไม่ใช่เรา
...กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนา อ. ประเชิญ และ อ. วิทยากรทุกท่าน...
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านด้วยค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ