อ.คำปั่น: ภาวนาซึ่งเป็นการอบรมเจริญกุศลอบรมคุณความดี ประการต่อมา ก็คือนิรันตรภาวนา อบรมเจริญกุศลต่อเนื่อง หรือว่าติดต่อกันไป ความละเอียดคืออย่างไรครับท่านอาจารย์ อันนี้ก็ค่อนข้างที่จะเข้าใจยากทีเดียวครับ?
ท่านอาจารย์: ฟังธรรมเพื่ออะไร?
อ.คำปั่น: เพื่อเข้าใจครับ
ท่านอาจารย์: มั่นคงนะ?
อ.คำปั่น: ครับ
ท่านอาจารย์: จนกว่าจะต่อเนื่องไม่เว้นว่า เพื่อเข้าใจ
อ.คำปั่น: แม้ว่า ในขณะที่มีการฟังธรรมมีการไตร่ตรอง มีการได้สะสมความเข้าใจก็เป็นขณะหนึ่ง แต่ขณะที่เป็นอกุศลก็มีมาก จะต่ออย่างไรครับ?
ท่านอาจารย์: ขณะนั้นไม่พอใช่ไหมที่ได้ฟังมาแล้ว ที่จะมีกำลังที่จะเกิด เพราะฉะนั้น อกุศลจึงเกิดได้บ่อย แต่เมื่อมีความเข้าใจแล้ว ต้องไม่ลืม ต้องต่อเนื่อง ธรรมเป็นธรรม ทั้งหมดไม่ว่าจะฟังอะไรก็ตาม ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตาทุกอย่างหมด เพื่อนำไปสู่การค่อยๆ ละความเป็นตัวตนซึ่งหนาแน่นมากด้วยอวิชชา และกิเลสต่างๆ ที่สะสมมาพร้อมที่จะเกิด
เพราะฉะนั้น การฟังแต่ละขณะ เพิ่มความมั่นคงในความเป็นธรรมที่เป็นอนัตตาใช่ไหม?
อ.คำปั่น: ใช่ครับ
ท่านอาจารย์: ไม่ใช่พอฟังแล้วต้องการอย่างอื่น ทำอย่างนี้ๆ ๆ แล้วจะได้เงินทองทรัพย์สมบัติ เห็นไหม? ต่อเนื่องได้อย่างไร?
อ.คำปั่น: อกุศลแทรกครับ
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น กว่าจะมั่นคงเพื่อที่จะนำไปสู่การประจักษ์แจ้งว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ไม่มีเหตุ แต่เหตุ คือค่อยๆ สะสมความเข้าใจนำไปสู่ความเข้าใจธรรม และอนัตตาเพิ่มขึ้นตามลำดับ ต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาที่เป็นกุศล และเข้าใจธรรม ไม่เป็นอย่างอื่น ไม่เข้าใจว่าเพื่อเรา ทำอย่างนี้เป็นภาวนา ทำอย่างนี้ได้บรรลุมรรคผล นั่นเราไม่ใช่หรือ? ต่อเนื่องไหมกับคำว่า ธรรม ต่อเนื่องไหมกับคำว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
อ.คำปั่น: เป็นคำที่ไพเราะมากครับ ไม่เคยได้ฟังไม่เคยได้ยินมาก่อนเลยครับในความละเอียดอย่างนี้
ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ฟังธรรม คิดว่าเป็นธรรมดา หมดแล้วๆ จบแล้ว อนัตตาแล้ว นั่นไม่ใช่ ทั้งหมดต้องต่อเนื่องที่จะประจักษ์แจ้งในความเป็นอนัตตา
ขอเชิญอ่านได้ที่..
ภาวนาในโพธิสมภารมึ ๔ อย่าง
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ
กราบยินดีในกุศลจิตของ อ.คำปั่น ด้วยความเคารพค่ะ
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ ด้วยความเคารพยิ่ง
ยินดีในกุศลจิตครับ