๑๐. นฬปานชาดก ว่าด้วยการพิจารณา
โดย บ้านธัมมะ  4 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 35219

[เล่มที่ 55] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 274

๑๐. นฬปานชาดก

ว่าด้วยการพิจารณา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 55]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 274

๑๐. นฬปานชาดก

ว่าด้วยการพิจารณา

[๒๐] พระยากระบี่ไม่เห็นรอยเท้าขึ้น เห็นแต่รอยเท้าลง จึงกล่าวว่า เราจักดื่มน้ำด้วยไม้อ้อ ท่านก็จักฆ่า เราไม่ได้.

จบนฬปานชาดกที่ ๑๐

จบศีลวรรคที่ ๒

๑๐. อรรถกถานฬปานชาดก

พระศาสดาเมื่อเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท ถึงบ้าน นฬกปานคาม ประทับอยู่ในเกตกวัน ใกล้นฬกปานโบกขรณี ทรงปรารภท่อนไม้อ้อทั้งหลาย จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ทิสฺวา ปทมนุตฺติณฺณํ ดังนี้.

ได้ยินว่า ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายอาบน้ำในสระโบกขรณีชื่อว่า นฬกปานะ แล้วให้พวกสามเณรเอาท่อนไม้อ้อนาเพื่อต้องการทำกล่องเข็ม เห็นท่อนไม้อ้อเหล่านั้นทะลุตลอด จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ให้ถือเอาท่อนไม้อ้อทั้งหลายมา เพื่อ ต้องการทำกล่องเข็ม ท่อนไม้อ้อเหล่านั้นเป็นรูทะลุตลอด ตั้งแต่โคนจนถึงปลาย นี่เหตุอะไรหนอ พระเจ้าข้า? พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นการอธิษฐานเดิมของเรา แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 275

ได้ยินว่า ในอดีตกาลแม้ในกาลก่อน ป่าชัฏนั้นเป็นป่า มีผีเสื้อน้ำตนหนึ่งเคี้ยวกินคนผู้ลงไปๆ ในสระโบกขรณีแม้นั้น ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพระยากระบี่มีขนาดเท่าเนื้อละมั่ง แวดล้อมด้วยหมู่วานรแปดหมื่นตัว บริหารฝูงอยู่ในป่านั้น พระยากระบี่นั้น ได้ให้โอวาทแก่หมู่วานรว่า พ่อทั้งหลายในป่า นี้มีต้นไม้พิษบ้าง สระโบกขรณีที่เกิดเองอันอมนุษย์หวงแหนบ้าง มีอยู่ในป่านั้นนั่นแหละ ท่านทั้งหลายเมื่อจะเคี้ยวกินผลไม้น้อยใหญ่ที่ยังไม่เคยเคี้ยวกิน หรือเมื่อจะดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม ต้องสอบถามเราก่อน หมู่วานรเหล่านั้นรับคำแล้ว วันหนึ่งไปถึงที่ที่ไม่เคยไป เที่ยวไปในที่นั้นหลายวันทีเดียวเมื่อจะแสวงหาน้ำดื่มเห็นสระโบกขรณีสระหนึ่ง ยังไม่ดื่มน้ำ นั่งคอยการมาของพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์มาถึงแล้วจึงกล่าวว่า พ่อทั้งหลาย ทำไมจึงยังไม่ดื่มน้ำ พวกวานรกล่าวว่า พวกข้าพเจ้าคอยการมาของท่าน พระโพธิสัตว์กล่าวว่า พ่อทั้งหลาย พวกท่านทำดีแล้ว จึงเดินวนเวียนสระโบกขรณีนั้น กำหนดรอยเท้า เห็นแต่รอยเท้าลงไม่เห็นรอยเท้าขึ้น พระโพธิสัตว์นั้นรู้ว่า สระโบกขรณีเนี้อมนุษย์หวงแหนโดยไม่ต้องสงสัยจึงกล่าวว่า พ่อทั้งหลาย ท่านทั้งหลายไม่ดื่มน้ำ ทำดีแล้ว สระโบกขรณีนี้อมนุษย์หวงแล้ว. ฝ่ายผีเสื้อน้ำรู้ว่า วานรเหล่านั้นไม่ลง จึงแปลงเป็นผู้มีท้องเขียว หน้าเหลือง มือเท้าแดงเข้ม รูปร่างน่ากลัว ดูน่าเกลียด แยกน้ำออกมากล่าวว่า เพราะเหตุไร พวกท่านจึงนั่งอยู่ จงลงสระโบกขรณีนี้ดื่มน้ำเถิด. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ถามผีเสื้อน้ำ นั้นว่า ท่านเป็นผีเสื้อน้ำเกิดอยู่ในสระนี้หรือ? ผีเสื้อน้ำกล่าวว่า เออ เราเป็นผู้เกิดแล้ว พระโพธิสัตว์ถามว่า ท่านย่อมได้คนที่ลงไปๆ ยังสระโบกขรณีหรือ? ผีเสื้อน้ำกล่าวว่า เออ เราได้ เราไม่ปล่อยใครๆ จนชั้นที่สุดนกที่ลงในสระ โบกขรณีนี้ แม้ท่านทั้งหมดเราก็จักกิน. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า พวกเราจักไม่ให้ท่านกินตัวเรา. ผีเสื้อน้ำกล่าวว่า ก็ท่านทั้งหลายจักดื่มน้ำมิใช่หรือ? พระ


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 276

โพธิสัตว์กล่าวว่า เออ พวกเราจักดื่มน้ำ และจักไม่ตกอยู่ในอำนาจของท่าน ผีเสื้อน้ำกล่าวว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกท่านจักดื่มน้ำอย่างไร พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ก็ท่านย่อมสำคัญหรือว่า จักลงไปดื่ม ด้วยว่าพวกเราจะไม่ลงไป เป็นวานรทั้งแปดหมื่น ถือท่อนไม้อ้อคนละท่อน จักดื่มน้ำในสระโบกขรณีของ ท่านเหมือนดื่มน้ำด้วยก้านบัว เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านจักไม่อาจกินพวกเรา. พระศาสดาครั้นทรงรู้แจ้งความนี้ เป็นพระอภิสัมพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้พร้อมยิ่ง ได้ตรัส ๒ บทแรกแห่งคาถานี้ว่า

พระยากระบี่ไม่เห็นรอยเท้าขึ้น เห็นแต่รอยเท้าลง จึงกล่าวว่า พวกเราจักดื่มน้ำด้วยไม้อ้อ ท่านจักฆ่าเราไม่ได้.

เนื้อความแห่งคำอันเป็นคาถานั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระยากระบี่นั้นเป็นมหาบุรุษไม่ได้เห็นรอยเท้าขึ้นแม้แต่รอยเดียวในลระโบกขรณีนั้น ได้เห็นแต่รอยเท้าลงเท่านั้น ครั้นเห็นอย่างนั้นคือไม่เห็นรอยเท้าขึ้น เห็นแต่รอยเท้าลง จึงรู้ว่า สระโบกขรณีนี้ อมนุษย์หวงแหนแน่แท้ เมื่อจะเจรจากับผีเสื้อน้ำนั้นจึงกล่าวว่า พวกเราจักดื่มน้ำด้วยไม้อ้อ อธิบายความของคำนั้นว่า พวกเราจักดื่มน้ำในสระโบกขรณีของท่านด้วยไม้อ้อ พระมหาสัตว์กล่าวสืบไปว่า ท่านจักฆ่าเราไม่ได้ อธิบายว่า เราพร้อมทั้งบริษัทดื่มน้ำด้วยไม้อ้ออย่างนี้ แม้ท่านก็จักฆ่าไม่ได้.

ก็พระโพธิสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วจึงให้นำท่อนไม้อ้อมาท่อนหนึ่ง รำพึงถึงบารมีทั้งหลายแล้วกระทำสัจจกิริยาเอาปากเป่า ไม้อ้อได้เป็นโพรงตลอดไป ไม่เหลือปล้องอะไรๆ ไว้ภายใน พระโพธิสัตว์ให้นำท่อนไม้อ้อแม้ท่อนอื่นมาแล้วได้เป่าให้ไปโดยทำนองนี้ ก็เมื่อเป็นดังกล่าวมาฉะนี้ ไม่อาจให้เสร็จลงได้ เพราะฉะนั้น ไม่ควรเชื่ออย่างนั้น ฝ่ายพระโพธิสัตว์ได้อธิษฐานว่า


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 277

ไม้อ้อแม้ทั้งหมดที่เกิดรอบสระโบกขรณีนี้ จงเป็นรูตลอด ก็เพราะอุปจารแห่งประโยชน์ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเป็นสภาพยิ่งใหญ่ การอธิษฐานย่อมสำเร็จตั้งแต่นั้นมา ไม้อ้อที่เกิดรอบสระโบกขรณีแม้ทุกต้นเกิดเป็นรูเดียวตลอด.

จริงอยู่ ในกัปนี้ ชื่อว่าปาฏิหาริย์อันตั้งอยู่ตลอดกัปมี ๔ ประการเป็นไฉน? เครื่องหมายกระต่ายบนดวงจันทร์จักตั้งอยู่ตลอดกัปนี้แม้ทั้งสิ้น ๑ ที่ที่ไฟดับในวัฏฏกชาดกไฟจักไม่ไหม้ตลอดกัปนี้แม้ทั้งสิ้น ๑ สถานที่เป็นที่อยู่ของฆฏีการช่างหม้อ ฝนไม่รั่วรดจักตั้งอยู่ตลอดกัปนี้แม้ทั้งสิ้น ๑ ไม้อ้อที่ดังอยู่รอบสระ โบกขรณีนี้จักเป็นรูเดียว (ไม่มีข้อ) ตลอดกัปนี้แม้ทั้งสิ้น ๑ ชื่อว่าปาฏิหาริย์อัน ตั้งอยู่ชั่วกัป ๔ ประการนี้ ดังพรรณนามาฉะนี้.

พระโพธิสัตว์ครั้นอธิษฐานอย่างนี้แล้ว จึงนั่งถือไม้อ้อลำหนึ่ง ฝ่ายวานรแปดหมื่นตัวแม้เหล่านั้น ก็ถือไม้อ้อลำหนึ่งๆ นั่งล้อมสระโบกขรณี ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เอาไม้อ้อสูบน้ำมาดื่ม วานรแม้เหล่านั้น ทั้งหมดนั่งอยู่ ที่ฝั่งนั่นแล้วดื่มน้ำแล้ว เมื่อวานรเหล่านั้นดื่มน้ำอย่างนี้ ผีเสื้อน้ำไม่ได้วานรตัวไรๆ ก็เสียใจ จึงไปยังนิเวศน์ของตนนั่งเอง ฝ่ายพระโพธิสัตว์พร้อมทั้ง บริวารก็เข้าป่าไปเหมือนกัน.

ส่วนพระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าความที่ไม้อ้อทั้ง หลายเหล่านี้เป็นไม้มีรูเดียวนั่น เป็นการอธิษฐานอันมีในกาลก่อนของเราเอง ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาสืบต่ออนุสนธิแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า ผีเสื้อน้ำในครั้งนั้น ได้เป็นพระเทวทัต ในบัดนี้วานรแปดหมื่นในครั้งนั้น ได้เป็นพุทธบริษัทในบัดนี้ ส่วนพระยากระบี่ผู้ฉลาดใน อุบายในครั้งนั้น ได้เป็นเราแล.

จบนฬปานชาดกที่ ๑๐

จบศีลวรรคที่ ๒


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 278

รวมชาดกที่มีในวรรคที่ คือ

๑. ลักขณชาดก ๒. นิโครธมิคชาดก ๓. กัณฑินชาดก ๔. วาตมิคชาดก ๕. ขราทิยชาดก ๖. ติปัลลัตถมิคชาดก ๗. มาลุตชาดก ๘. มตกภัตตชาดก ๙. อายาจิตภัตตชาดก ๑๐. นฬปานชาดก