[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 356
สมจิตตวรรคที่ ๔
สูตรที่ ๑
ว่าด้วยภูมิของอสัตบุรุษและสัตบุรุษ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 356
สมจิตตวรรคที่ ๔
สูตรที่ ๑
ว่าด้วยภูมิของอสัตบุรุษและสัตบุรุษ
[๒๗๗] ๓๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภูมิอสัตบุรุษและสัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุทั้งหลายนั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภูมิอสัตบุรุษเป็นไฉน อสัตบุรุษย่อมเป็นคนอกตัญญูอกตเวที ก็ความเป็นคนอกตัญญูอกตเวทีนี้ อสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคนอกตัญญูอกตเวทีนี้ เป็นภูมิอสัตบุรุษทั้งสิ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษย่อมเป็นคนกตัญญูกตเวที ก็ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีนี้ สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีทั้งหมดนี้ เป็นภูมิสัตบุรุษ.
จบสูตรที่ ๑
สมจิตตวรรคที่ ๔
อรรถกถาสูตรที่ ๑
สมจิตตวรรค สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อสปฺปุริสภูมึ ได้แก่ ฐานะที่ดำรงอยู่ของพวกอสัตบุรุษ. แม้ในภูมิของสัตบุรุษ ก็นัยนี้แหละ. บทว่า อกตญฺญู ได้แก่ ไม่รู้บุญคุณ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 357
ที่ผู้อื่นกระทำแก่ตน. บทว่า อกตเวที ได้แก่ ไม่รู้บุญคุณที่ผู้อื่นกระทำแก่ตนโดยทำให้ปรากฏ. บทว่า อุปญฺญาตํ แปลว่า ยกย่อง ชมเชย สรรเสริญ. บทว่า ยทิทํ แปลว่า นี้ใด (หมายความว่า คือ). บทว่า อกตญฺุตา อกตเวทิตา ได้แก่ ความไม่รู้อุปการะที่ผู้อื่นกระทำ และความไม่รู้อุปการะที่ผู้อื่นการทำโดยทำให้ปรากฏ (ไม่ตอบแทนคุณเขา). บทว่า เกวลา แปลว่า ทั้งสิ้น. แม้ในธรรมฝ่ายขาว ก็พึงทราบเนื้อความตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑