[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 523
๑๐. อินทริยภาวนาสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 23]
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 523
๑๐. อินทริยภาวนาสูตร
[๘๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ป่าไผ่ ในนิคมชื่อกัชชังคลา ครั้งนั้นแล อุตตรมาณพ ศิษย์พราหมณ์ปาราสิริยะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ แล้วทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
[๘๕๔] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามดังนี้ว่าอุตตระ ปาราสิริยพราหมณ์แสดงการเจริญอินทรีย์แก่สาวกหรือเปล่า
อุ. แสดง พระโคดมผู้เจริญ.
พ. อุตตระ แสดงอย่างใด ด้วยประการใด.
อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ท่านปาราสิริยพราหมณ์แสดงการเจริญอินทรีย์แก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า อย่าเห็นรูปด้วยจักษุ อย่าได้ยินเสียงด้วยโสต.
พ. อุตตระ เมื่อเป็นเช่นนี้ คนที่เจริญอินทรีย์แล้วตามคําของปาราสิริยพราหมณ์ต้องเป็นคนตาบอด ต้องเป็นคนหูหนวก เพราะคนตาบอดไม่เห็นรูปด้วยจักษุ คนหูหนวกไม่ได้ยินเสียงด้วยโสต เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ อุตตรมาณพ ศิษย์ปาราสิริยพราหมณ์ นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ.
[๘๕๕] ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า อุตตรมาณพศิษย์ปาราสิริยพราหมณ์ นั่งนิ่ง คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ จึงรับสั่งกะท่านพระอานนที่ว่า อานนท์ ปาราสิริยพราหมณ์ ย่อมแสดงการเจริญ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 524
อินทรีย์ แก่สาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง ส่วนการเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ย่อมเป็นอีกอย่างหนึ่ง.
ท่านพระอานนท์ที่ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคต เป็นการสมควรแล้ว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดงการเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่า ในวินัยของพระอริยะ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จักทรงจําไว้.
พ. อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ท่านพระอานนที่ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.
[๘๕๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า อานนท์ ก็การเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ เป็นอย่างไร อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบอาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคือ อุเบกขาเธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดํารงมั่น อานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลําบากเหมือนอย่างบุรุษมีตาดีกระพริบตา ฉะนั้นอุเบกขาย่อมดํารงมั่น อานนท์นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ.
[๘๕๗] อานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 525
ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยการเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดํารงมั่น อานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลําบาก เหมือนอย่างบุรุษมีกําลัง ดีดนิ้วมือโดยไม่ลําบาก ฉะนั้น อานนท์นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ.
ว่าด้วยการเจริญอินทรีย์
[๘๕๘] อานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดํารงมั่นอานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลําบาก เหมือนอย่างหยาดน้ำกลิ้งไปบนใบบัว ย่อมไม่ติดในที่ที่กลิ้งไปสักน้อยหนึ่ง ฉะนั้นอานนท์ เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ. อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ.
[๘๕๙] อานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา เธอรู้ชัด
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 526
อย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั้น คืออุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดํารงมั่น อานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที เคยไม่ลําบาก เหมือนอย่างบุรุษมีกําลังตล่อมก้อนเขฬะไว้ตรงปลายลิ้น แล้วถ่มไปโดยไม่ลําบากฉะนั้น อานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ.
[๘๖๐] อานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายเธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้นยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั้นคืออุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดํารงมั่น อานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้โดยเร็วพลันทันที โดยไม่ลําบาก เหมือนอย่างบุรุษมีกําลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียดโดยไม่ลําบาก ฉะนั้น อานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ.
[๘๖๑] อานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 527
และไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้นยังมีสิ่งละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดํารงมั่น อานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลําบากอย่างนี้ เหมือนบุรุษมีกําลัง หยดหยาดน้ำสองหรือสามหยาดลงในกะทะเหล็กที่ร้อนจัดตลอดวัน ความหยดลงแห่งหยาดน้ำยังช้า ทันทีนั้น หยาดน้ำนั้นจะถึงความสิ้นไป แห้งไปเร็วทีเดียว ฉะนั้น อานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโนอย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัย ของพระอริยะ.
อานนท์ อย่างนี้แลเป็นการเจริญอินทรีย์อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ.
[๘๖๒] ดูก่อนอานนท์ ก็พระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่เป็นอย่างไร ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ เธอย่อมอึดอัด เบื่อหน่ายเกลียดชังความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้น เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต... เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ... เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา... เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย... เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน... เธอย่อมอึดอัด เบื่อหน่ายเกลียดชังความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้น ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าพระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 528
[๘๖๓] ดูก่อนอานนท์ ก็พระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว เป็นอย่างไรดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ เธอถ้าหวังว่าจะมีความสําคัญในสิ่งปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสําคัญ ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะมีความสําคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสําคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะมีความสําคัญในสิ่งทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลว่า เป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ก็ย่อมเป็นผู้มีความสําคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะมีความสําคัญในสิ่งทั้งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสําคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะวางเฉยเว้นเสียซึ่งสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลทั้งสองนั้น อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะ ก็ย่อมเป็นผู้วางเฉยในสิ่งนั้นๆ อยู่อย่างนี้สติสัมปชัญญะได้.
[๘๖๘] ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต... เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ... เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา... เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย... เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน เธอ ถ้าหวังว่าจะมีความสําคัญในสิ่งปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสําคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะมีความสําคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสําคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะมีความสําคัญในสิ่งทั้งปฎิกูลและไม่ปฎิกูลว่าเป็นของไม่ปฎิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสําคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะมีความสําคัญในสิ่งทั้งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสําคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะวางเฉยเว้นเสียซึ่งสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลทั้งสองนั้น อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะ ก็ย่อมเป็นผู้วางเฉยในสิ่งนั้นๆ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 529
อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะได้ ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าพระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว.
[๘๖๕] ดูก่อนอานนท์ เราแสดงการเจริญอินทรีย์อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ แสดงพระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่ แสดงพระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว ด้วยประการฉะนี้แล ดูก่อนอานนท์ กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ อาศัยความอนุเคราะห์พึงทําแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราได้ทําแล้วแก่พวกเธอ ดูก่อนอานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าได้ประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นคําพร่ําสอนของเราแก่พวกเธอ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนที่จึงชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าฉะนี้แล.
จบ อินทรียภาวนาสูตร ที่ ๑๐
จบ สฬายตนวรรค ที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 530
อรรถกถาอินทริยภานาสูตร
อินทริยภาวนาสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
ในพระสูตรนั้น คําว่า ใน ชังกลา (๑) คือในจังหวัดมีชื่ออย่างนั้น.คําว่า ที่ป่าไผ่ ได้แก่ต้นไม้ชนิดหนึ่งชื่อเวฬุ (คือต้นไผ่). มีชัฎป่าใหญ่ที่ต้นเวฬุเหล่านั้นปกคลุมแล้ว ประทับอยู่ในราวป่านั้น. คําว่า ไม่เห็นรูปด้วยจักษุ ไม่ยินเสียงด้วยโสต ท่านกล่าวอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงอย่างนี้ว่า ไม่พึงดูรูปด้วยตา ไม่พึงฟังเสียงด้วยหู. พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงแสดงการอบรมอินทรีย์ที่ไม่เหมือนในศาสนาของพระองค์จึงได้ทรงทําอาลัยด้วยบทนี้ว่า ในวินัยของพระอริยเจ้าเป็นอย่างอื่น. ท่านพระอานนที่คิดว่า พระศาสดาทรงแสดงอาลัย เอาละเราจะขอให้ทรงกระทําถ้อยคําเกี่ยวกับการอบรมอินทรีย์ แก่หมู่ภิกษุในบริษัทนี้แล้ว เมื่อจะทูลขอร้องพระศาสดาจึงได้กล่าวคําเป็นต้นว่า เอตสฺส ภควา. ลําดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดงการอบรมอินทรีย์แก่ท่าน จึงตรัสคําเป็นต้นว่า ถ้าอย่างนั้นอานนท์. ในพระสูตรนั้น คําว่า นี้คืออุเบกขา คือ ชื่อว่าวิปัสสนูเปกขานี้ใด วิปัสสนูเปกขานี้สงบระงับ วิปัสสนูเปกขานี้ประณีต อธิบายว่า ไม่ทําให้เดือดร้อน. ภิกษุนี้ ไม่ให้จิตพอใจในอารมณ์ที่น่าปรารถนาในรูปารมณ์ในจักษุทวาร ไม่พอใจในอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา และพอใจไม่พอใจในอารมณ์กลางๆ ไม่ให้เพื่อกําหนัด เพื่อประทุษร้าย หรือเพื่อหลงใหลแก่จิตนั้นกําหนดเอาแล้ว ตั้งวิปัสสนาในความเป็นกลาง. คําว่า ผู้มีดวงตา คือมีจักษุสมบูรณ์ มีดวงเนตรหมดจด. จริงอยู่ ผู้ที่เจ็บตาจะลืมหรือหลับตาไปข้างบน
(๑) บาลี กชฺชงฺคา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 531
ไม่ได้. เพราะฉะนั้นจึงไม่ถือเอาคนนั้น. คําว่า อีสกโปเณ คือ ชูขึ้นตั้งอยู่เหมือนงอนรถ.
ในคําว่า เป็นผู้มีความสําคัญในสิ่งน่าเกลียดว่าไม่น่าเกลียด เป็นต้น ด้วยการแผ่เมตตาหรือด้วยการเอาธาตุมาเทียบเคียงกัน ในสิ่งที่น่าเกลียด ก็ย่อมเป็นผู้มีความสําคัญว่าไม่น่าเกลียดได้. ด้วยการแผ่ความไม่งาม หรือด้วยการน้อมเข้าไปด้วยความเป็นของไม่เที่ยง ในสิ่งที่ไม่น่าเกลียดก็จะเป็นผู้มีความสําคัญ ว่าน่าเกลียดได้. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้แล. เมื่อเว้นสิ่งทั้งสองส่วนนั้นได้เด็ดขาดอย่างยิ่งแล้ว เป็นผู้วางตัวเป็นกลาง ใคร่เพื่อจะอยู่ทําอะไร. เมื่อสิ่งน่าปรารถนา และสิ่งไม่น่าปรารถนามาสู่คลอง ก็จะกลายเป็นผู้ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย. สมจริงดังพระพุทธดํารัสที่ตรัสว่า
ภิกษุผู้มีความสําคัญ ในสิ่งที่น่าเกลียดว่าไม่น่าเกลียดอย่างไร คือ ภิกษุย่อมแผ่เมตตา หรือน้อมเข้าไปโดยเป็นธาตุในวัตถุที่ไม่น่าปรารถนา ภิกษุย่อมเป็นผู้มีความสําคัญในสิ่งที่น่าเกลียดว่าไม่น่าเกลียดอย่างนี้. ภิกษุมีความสําคัญในสิ่งที่ไม่น่าเกลียดว่าน่าเกลียดอย่างไร คือ ภิกษุแผ่ไปด้วยอสุภ หรือน้อมนําเข้าไปโดยความไม่เที่ยง ในวัตถุที่น่าปรารถนา ภิกษุย่อมมีความสําคัญในสิ่งที่ไม่น่าเกลียดว่า น่าเกลียดอย่างนี้. ภิกษุเป็นผู้มีความสําคัญทั้งในสิ่งที่น่าเกลียดและไม่น่าเกลียดว่า ไม่น่าเกลียดอย่างไร คือภิกษุย่อมแผ่เมตตาไป หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นธาตุ ทั้งในวัตถุที่ไม่น่าปรารถนาและน่าปรารถนา อย่างนี้ชื่อว่าเป็นผู้มีความสําคัญ ในสิ่งที่น่าเกลียด และไม่น่าเกลียดว่า ไม่น่าเกลียด.อย่างไร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีความมีสําคัญ ในสิ่งที่ไม่น่าเกลียดและน่าเกลียดว่าน่าเกลียด คือภิกษุแผ่อสุภไปหรือน้อมนําไปโดยความเป็นของไม่เที่ยง ในวัตถุที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนาอย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้มีความสําคัญ ในสิ่งไม่น่าเกลียดและน่าเกลียดว่าน่าเกลียด. อย่างไรชื่อว่าภิกษุเป็นผู้วางเฉย มีสติสัม-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 532
ปชัญญะ เว้นสิ่งที่น่าเกลียดไม่น่าเกลียดและสิ่งทั้งสองอย่างนั้น ได้อย่างเด็ดขาดเป็นอย่างยิ่ง. คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยตาไม่ยินดี ไม่ยินร้าย เป็นผู้เฉยๆ มีสติสัมปชัญญะ ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ ก็ไม่ยินดี ไม่ยินร้ายเป็นผู้เฉยๆ มีสติสัมปชัญญะ อย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้เว้น สิ่งน่าเกลียดไม่น่าเกลียดและสิ่งทั้งสองอย่างนั้นได้เด็ดขาดอย่างยิ่ง เป็นผู้เฉยๆ มีสติสัมปชัญญะอยู่.
ก็แหละความเศร้าหมองคือความพอใจไม่พอใจทั้งพอใจและไม่พอใจย่อมใช้ได้ในนัยแรกในบรรดานัยทั้ง ๓ เหล่านี้ ความไม่เศร้าหมองก็ย่อมใช้ได้.ในนัยที่ ๒ สังกิเลสย่อมใช้ได้. ในนัยที่ ๓ ความเศร้าหมองย่อมใช้ได้. มีคําที่ท่านกล่าวไว้อีกว่า ความเศร้าหมองที่หนึ่งย่อมใช้ได้ ความเศร้าหมองและความไม่เศร้าหมองที่สองก็ใช้ได้ ความไม่เศร้าหมองที่สาม เท่านั้นจึงใช้ได้.คําที่เหลือในที่ทั้งปวงตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอินทริยภาวนาสูตรที่ ๑๐
จบวรรคที่ ๕
จบอรรถกถาอปุริปัณณาสกสูตรในอรรถกถาปัชฌิมนิกาย ชื่อปปัญจสูทนี
จบทวิปัณณาสกสุตตันตสังคหัฏฐกถา อันประดับด้วย ๕ วรรค
ก็แลมัชฌิมนิกายที่เรียกว่า ชื่อว่ามหาวิปัสสนานี้ มีความงามสามอย่างคือ ชื่อว่ามีความงามในเบื้องต้น เพราะความที่ทรงเริ่มว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงบรรยายรากเง่าของธรรมทั้งปวงแก่ท่านทั้งหลาย ในท่ามกลาง ชื่อว่ามีความงามในท่ามกลาง เพราะคําว่า สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะคาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ ชื่อว่างามในที่สุดเพราะคําว่า พระอริยะผู้มีอินทรีย์ที่อบรมแล้ว อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วนี้ใด มัชฌิมนิกายนั้น เป็นอันจบสมบูรณ์ด้วยอํานาจการขยายความแล้ว
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 533
คําลงท้าย
แล้วก็ด้วยถ้อยคํามีประมาณเท่านี้ ข้าพเจ้า อันพระคุณท่านพุทธมิตรเถระ. ผู้มีความรู้ดี เคยอยู่ด้วยกันมาที่ท่ามยูรสูตร ขอร้องแล้ว ได้เริ่มทําอรรถกถาชื่อปปัญจสูทนี แห่งมัชฌิมนิกายอันประเสริฐ สําหรับกําจัดวาทะของผู้อื่น ก็แลปปัญจสูทนีนั้น ถือเอาสาระจากมหาอรรถกถาจบลงแล้ว.
ก็อรรถกถาชื่อว่า ปปัญจสูทนีนั่น จบลงแล้วด้วยภาณวารทั้งหลายแห่งบาลีประมาณ ๑๐๗. แม้วิสุทธิมรรคอันมีประมาณ ๕๙ อันข้าพเจ้ารจนาคัมภีร์ไว้ ก็เพื่อประโยชน์แห่งการประกาศเนื้อความ โดยภาณวารทั้งหลายเพราะเหตุนั้น อรรถกถานี้พร้อมทั้งวิสุทธิมรรคนั้น ด้วยนัยแห่งการนับคาถาพึงรู้ว่ามี ๑๖๖ คาถา ว่าโดยภาณวารมีประมาณ ๑๖๖ ภาณวาร ด้วยประการฉะนี้. ข้าพเจ้าถือเอาสาระในมูลอรรถกถา อันประกาศลัทธิแห่งพระเถระผู้อยู่ในมหาวิหารรจนาอรรถกถานี้ ได้เข้าไปก่อบุญใดไว้ ด้วยบุญนั้น ขอชาวโลกจงมีสุขทุกเมื่อเถิด.
อรรถกถามัชฌิมนิกาย ชื่อปปัญจสูทนีนี้ อันพระเถระ ผู้ประดับประดาด้วยความเชื่อ ความรู้และความเพียรที่หมดจดอย่างยิ่ง ผู้อันเหตุให้เกิดขึ้นพร้อมแห่งคุณ มีศีล อาจาระ ความซื่อตรง และความอ่อนโยนเป็นต้นให้เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ผู้สามารถหยั่งลงในรกชัฏ คือลัทธิของคนและลัทธิของผู้อื่น ผู้ประกอบด้วยความรู้แจ่มแจ้งและความเฉลียวฉลาด ผู้มีประภาพแห่งความรู้ที่ไม่มีอะไรหรือใครมาขัดขวางได้ ในศาสนาของพระศาสดา พร้อมทั้งอรรถกถาที่แตกต่างด้วยการเล่าเรียนปิฎกสาม เป็นนักไวยากรณ์ผู้ยิ่งใหญ่ผู้ประกอบด้วยความเพริดพริ้งแห่งคําพูดที่เปล่งมาไพเราะหวาน ให้เกิดความสุข
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 534
ด้วยการถึงพร้อมแห่งการกระทํา ผู้มีวาทะที่เปล่งอย่างถูกต้อง ผู้ประเสริฐกว่าพวกนักพูด เป็นมหากวี ผู้เป็นเครื่องประดับวงศ์ แห่งพวกชาวมหาวิหารผู้เป็นเถระดวงประทีปแห่งเถรวงศ์ ผู้มีความรู้ที่ตั้งมั่นดีแล้ว ในอุตตริมนุสสธรรม ที่ประดับประดาด้วยคุณต่างด้วยอภิญญาหกเป็นต้น มีปัญญาเครื่องแตกฉานเฉพาะที่แตกฉานแล้วเป็นบริวาร ผู้มีความรู้หมดจดกว้างขวางผู้มีนามไธยอันพวกครูถือเอาแล้วว่า พุทธโฆษะ ไค้กระทํา (แต่ง) ไว้แล้ว.
แม้พระนามว่า พุทธะ ของพระพุทธเจ้า ผู้มีพระหฤทัยสะอาด ผู้คงที่ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ยังเป็นไปในโลกอยู่ตราบใด ขอปปัญจสูทนีนี้ แสดงนัยแต่ง ความหมดจดแห่งความเห็น ของพวกกุลบุตรผู้แสวงหาคุณ เครื่องรื้อถอนไปจากโลก จงดํารงอยู่ในโลกตราบนั้น.
ขออรรถกถาชื่อปปัญจสูทนีนี้ เข้าถึงสถานอันบริสุทธิ์ปราศจากอันตราย ขอความดําริทั้งหลายอันอาศัยธรรมของเหล่าสัตว์ จงสําเร็จอย่างนั้น เทอญ.
จบ อรรถกถามัชฌิมนิกาย ชื่อ ปปัญจสูทนี
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 535
รวมพระสูตรในสฬายตนวรรคนี้
๑. อนาถบิณฑิโกวาทสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
๒. ฉันโนวาทสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
๓. ปุณโณวาทสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
๔. นันทโกวาทสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
๕. จูฬราหุโลวาทสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
๖. ฉฉักกสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
๗. สฬายตนวิภังคสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
๘. นครวินเทยยสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
๑๐. อินทริยภาวนาสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา