๒. โกสัมพิยชาดก ว่าด้วยอยู่คนเดียวดีกว่าร่วมกับคนพาล
โดย บ้านธัมมะ  25 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 35890

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 614

๒. โกสัมพิยชาดก

ว่าด้วยอยู่คนเดียว ดีกว่าร่วมกับคนพาล


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 614

๒. โกสัมพิยชาดก

ว่าด้วยอยู่คนเดียว ดีกว่าร่วมกับคนพาล

[๑๒๑๖] คนพาลมีเรื่องอื้ออึงเหมือนกันหมด แต่สักคนหนึ่ง ก็ไม่รู้สึกตนว่าเป็นคนพาล เมื่อสงฆ์แตกกัน ก็ไม่รู้เหตุอื่นโดยยิ่งว่า สงฆ์แตกกันเพราะเรา.

[๑๒๑๗] เพราะเป็นคนมีสติหลงลืม แต่ยังพูดว่า ตนเป็นบัณฑิต มีวาจาเป็นอารมณ์ช่างพูด ย่อมปรารถนา จะให้เสียงออกจากปาก อยู่เพียงใด ก็พูดไปเพียงนั้น เขาถูกการทะเลาะ นำไปแล้ว ยังไม่รู้ว่า การทะเลาะนั้น เป็นโทษ.

[๑๒๑๘] ก็ชนเหล่าใด เข้าไปผูกความโกรธนั้นไว้ว่า คนโน้นได้ด่าเรา คนโน้นได้ตีเรา คนโน้นได้ชนะเรา คนโน้นได้ลักของของเรา เวรของชนเหล่านั้น ย่อมไม่ระงับได้.

[๑๒๑๙] ส่วนชนเหล่าใด ไม่เข้าไปผูกความโกรธนั้นไว้ว่า คนโน้นได้ด่าเรา คนโน้นได้ตีเรา


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 615

คนโน้นได้ชนะเรา คนโน้นได้ลักของของเรา เวรของชนเหล่านั้น ย่อมระงับไปได้.

[๑๒๒๐] แต่ไหนแต่ไรมา ในโลกนี้ เวรย่อมไม่ระงับด้วยเวร แต่ย่อมระงับได้ ด้วยการไม่จองเวร ธรรมนี้เป็นของเก่า.

[๑๒๒๑] ก็ชนเหล่าอื่น ย่อมไม่รู้สึกว่า พวกเราจะพากันยุบยับ ในท่ามกลางสงฆ์นี้ ส่วนชนเหล่าใดในหมู่นั้น ย่อมรู้สึกได้ ความหมายมั่นกัน ย่อมสงบระงับไป เพราะการทำไว้ในใจ โดยแยบคาย ของชนเหล่านั้น.

[๑๒๒๒] คนที่ปล้นแว่นแคว้น ชิงทรัพย์สมบัติกัน จนถึงปลงชีวิต ลิดกระดูกกันแล้ว ก็ยังกลับสามัคคีกันได้ เหตุไรพวกเธอ จึงไม่สามัคคีกันเล่า.

[๑๒๒๓] ถ้าจะพึงได้สหายผู้มีปัญญา เป็นนักปราชญ์ ไปไหนไปด้วยกัน อยู่ด้วยช่วยทำประโยชน์ให้สำเร็จ ควรชื่นชม มีสติเที่ยวไปกับสหายนั้น จะครอบงำอันตรายทั้งปวงได้.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 616

[๑๒๒๔] ถ้าไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญา เป็นนักปราชญ์ ไปไหนไปด้วยกัน อยู่ด้วยช่วยทำประโยชน์ ให้สำเร็จ พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว เหมือนพระราชา ทรงสละแว่นแคว้น เสด็จไปแต่พระองค์เดียว ฉะนั้น หรือเหมือนช้างมาตังคะ เที่ยวไปในป่าแต่ผู้เดียว ฉะนั้น.

[๑๒๒๕] การเที่ยวไปผู้เดียว ประเสริฐกว่า เพราะคุณ คือ ความเป็นสหาย ย่อมไม่มีในคนพาล ควรเที่ยวไปผู้เดียวแล ไม่ควรทำบาป เหมือนช้างมาตังคะ มีความขวนขวายน้อย เที่ยวไปในป่าแต่ผู้เดียวแล ไม่ทำบาป ฉะนั้น.

จบ โกสัมพิยชาดกที่ ๒

อรรถกถาโกสัมพิยชาดกที่ ๒

พระศาสดา เมื่อทรงอาศัยเมืองโกสัมพี ประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ทรงปรารภเหล่าภิกษุ ที่ทะเลาะกัน ในเมืองโกสัมพี ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ปุถุสทฺโท ดังนี้. เนื้อเรื่องมีมาแล้ว ในโกสัมพิกขันธกะ สำหรับในที่นี้ มีความย่อ ดังต่อไปนี้.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 617

ได้ยินว่า คราวนั้นภิกษุสองรูป คือ พระวินัยธรหนึ่ง พระธรรมกถึกหนึ่ง อยู่ในอาวาสเดียวกัน ในสองรูปนั้น วันหนึ่งพระธรรมกถึกถ่ายอุจจาระ เหลือน้ำชำระไว้ ในภาชนะในซุ้มน้ำ ออกไป พระวินัยธร เข้าไปในที่นั้นทีหลัง เห็นน้ำนั้นเข้า ออกมาถามพระธรรมกถึกว่า อาวุโส ท่านเหลือน้ำไว้หรือ? พระธรรมกถึกตอบว่า ขอรับผมเหลือไว้ พระวินัยธรถามว่า ท่านไม่รู้ว่า เป็นอาบัติในข้อนี้หรือ? พระธรรมกถึกตอบว่า ขอรับผมไม่รู้ พระวินัยธรกล่าวว่า อาวุโส การที่ท่านเหลือน้ำไว้ในภาชนะนั้น เป็นอาบัติ พระธรรมกถึกกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ผมจักปลงอาบัติ พระวินัยธรกล่าวว่า อาวุโส ถ้าท่านไม่แกล้งทำไป โดยไม่มีสติ ก็ไม่เป็นอาบัติ พระธรรมกถึกนั้น เข้าใจอาบัตินั้นว่า ไม่เป็นอาบัติ พระวินัยธรได้ บอกศิษย์ของตนว่า พระธรรมกถึกนี้ แม้ต้องอาบัติก็ไม่รู้ พวกศิษย์ของ พระวินัยธร เห็นพวกศิษย์ของพระธรรมกถึกเข้า กล่าวว่า อุปัชฌาย์ของพวกท่าน ต้องอาบัติแล้ว ยังไม่รู้ว่า เป็นอาบัติ พวกศิษย์ของพระธรรมกถึก ได้พากันไปบอกแก่อุปัชฌาย์ของตน พระธรรมกถึกกล่าวอย่างนี้ว่า พระวินัยธรนี้ ทีแรกบอกว่า ไม่เป็นอาบัติ บัดนี้ว่า เป็นอาบัติ ท่านนี้พูดเท็จ พวกศิษย์พระธรรมกถึก พากันไปกล่าวว่า อุปัชฌาย์ของพวกท่านพูดเท็จ แล้วได้ทะเลาะกัน ด้วยประการอย่างนี้ ต่อแต่นั้น พระวินัยธรได้ช่อง จึงทำอุกเขปนียกรรม ยกโทษ ในการไม่เห็นอาบัตินั้น ตั้งแต่นั้นมา อุบาสก อุบาสิกา ผู้ถวายปัจจัยแก่ภิกษุเหล่านั้น ได้แบ่งเป็นสองพวก ภิกษุณีผู้รับโอวาทก็ดี อารักขเทวดาก็ดี อากาสัฏฐกเทวดา ที่เคยเห็น เคยคบกับ


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 618

อารักขเทวดาก็ดี ตลอดถึงพรหมโลก บรรดาที่เป็นปุถุชน ได้แยกกันเป็นสองพวก ได้เกิดโกลาหล ไปถึงภพชั้นอกนิษฐ์

ในอดีตกาล ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระตถาคต กราบทูล ลัทธิของพวกภิกษุ ผู้ยกโทษว่า พระธรรมกถึกนี้ พวกเรายกโทษด้วยกรรม อันเป็นธรรมทีเดียว และลัทธิของพวกภิกษุ ผู้ประพฤติตามพระธรรมกถึก ผู้ถูกยกโทษว่า อาจารย์ของพวกเรา ถูกยกโทษ ด้วยกรรมอันไม่เป็นธรรม และภาวะที่พวกภิกษุเหล่านั้น แม้พวกภิกษุผู้ยกโทษห้ามอยู่ ก็ยังเที่ยวตามแวดล้อม พระธรรมกถึกนั้น ให้พระศาสดาทรงทราบ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงส่งภิกษุไปสองครั้ง โดยมีพระพุทธดำรัสไปว่า ขอสงฆ์จงสามัคคีกันเถิด ทรงทราบว่า ภิกษุเหล่านั้น ไม่ปรารถนาจะสามัคคีกัน พระเจ้าข้า ในครั้งที่ ๓ ทรงทราบว่า ภิกษุสงฆ์แตกกันแล้ว ภิกษุสงฆ์แตกกันแล้ว จึงเสด็จไปยังสำนักของภิกษุเหล่านั้น ตรัสโทษ ในการยกโทษ ของพวกภิกษุผู้ยกโทษ และในการไม่เห็นอาบัติ ของพวกภิกษุนอกนี้แล้ว เสด็จหลีกไป พระศาสดาทรงบัญญัติวัตร ในโรงภัตว่า พึงนั่งในอาสนะ ที่มีอาสนะอื่นคั่นในระหว่าง แก่ภิกษุเหล่านั้น ผู้ทำอุโบสถกรรม เป็นต้น ในสีมาเดียวกัน ณ โฆสิตาราม นั่นแหละ แล้วเกิดร้าวรานกันอีก ในโรงภัต เป็นต้น ได้ทรงสดับว่า บัดนี้ ภิกษุเหล่านั้น ยังร้าวรานกันอยู่ จึงเสด็จไปตรัสเตือนว่า อย่าเลยภิกษุทั้งหลาย อย่าร้าวรานกันเลย ดังนี้เป็นต้น เมื่อพระธรรมวาทีรูปหนึ่ง ซึ่งไม่ปรารถนาจะให้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงลำบาก กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 619

ผู้ธรรมสามีจงยับยั้ง มีความขวนขวายน้อย อยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมเถิด พวกข้าพระองค์จักปรากฏ ด้วยการร้าวราน บาดหมาง ทะเลาะวิวาทกัน จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ในเมืองพาราณสี ได้มีพระราชา ครองแคว้นกาสี มีพระนามว่า พรหมทัต ดังนี้ แล้วตรัสเรื่องที่ พระเจ้าพรหมทัต ชิงราชสมบัติของพระเจ้าทีฆีติโกศล จับพระเจ้าทีฆีติโกศล ซึ่งปลอมพระองค์ซ่อนอยู่ ให้ปลงพระชนม์เสีย และเรื่องที่ทีฆาวุกุมาร ถวายชีวิตแก่พระเจ้าพรหมทัต แล้วสองกษัตริย์สามัคคีกัน แต่นั้นมา ตรัสสอนว่า ภิกษุทั้งหลาย พระราชาผู้ทรงมีอาชญา มีศัสตรา ยังมีขันติโสรัจจะถึงเพียงนี้ พวกเธอบวชในธรรมวินัย ที่เราตถาคตกล่าวดีแล้วอย่างนี้ พึงมีขันติและโสรัจจะ ข้อนี้จะเป็นความงาม ในธรรมวินัยนี้ แท้แล ตรัสห้ามถึงสองครั้ง สามครั้งว่า อย่าเลยภิกษุทั้งหลาย อย่าร้าวรานกันเลย ทรงเห็นว่า ไม่ลดละกันได้ จึงทรงดำริว่า พวกโมฆบุรุษเหล่านี้ ถูกกิเลสหุ้มห่อ ยากที่จะรู้สำนึก จึงเสด็จหลีกไป วันรุ่งขึ้น พระองค์เสด็จกลับจากบิณฑบาต ทรงพักในพระคันธกุฎีหน่อยหนึ่ง ทรงเก็บเสนาสนะ ทรงบาตร และจีวรของพระองค์ ประทับในอากาศ ท่ามกลางสงฆ์ ตรัสพระคาถาทั้งหลาย นี้ว่า :-

คนพาลมีเสียงอื้ออึง เหมือนกันหมด แต่สักคนหนึ่ง ก็ไม่รู้สึกตนว่า เป็นคนพาล เมื่อ


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 620

สงฆ์แตกกัน ก็ไม่รู้เหตุ อันโดยยิ่งว่า สงฆ์แตกกันเพราะเรา.

เพราะเป็นคนมีสติหลงลืม แต่ยังพูดว่า ตนเป็นบัณฑิต มีวาจาเป็นอารมณ์ ช่างพูด ย่อมปรารถนา จะให้เสียงออกจากปาก อยู่เพียงใด ก็พูดไปเพียงนั้น เขาถูกการทะเลาะนำไปแล้ว ยังไม่รู้ว่าการทะเลาะนั้น เป็นโทษ.

ก็ชนเหล่าใด เข้าไปผูกความโกรธนั้นไว้ว่า คนโน้นได้ด่าเรา คนโน้นได้ตีเรา คนโน้นได้ชนะเรา คนโน้นได้ลักของของเรา เวรของชนเหล่านั้น ย่อมไม่ระงับได้.

ส่วนชนเหล่าใด ไม่เข้าไปผูกความโกรธนั้นไว้ว่า คนโน้นได้ด่าเรา คนโน้นได้ตีเรา คนโน้นได้ชนะเรา คนโน้นได้ลักของของเรา เวรของชนเหล่านั้น ย่อมระงับไปได้.


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 621

แต่ไหนแต่ไรมา ในโลกนี้ เวรย่อมไม่ระงับด้วยเวร แต่ย่อมระงับได้ ด้วยการไม่จองเวร ธรรมนี้เป็นของเก่า.

ก็ชนเหล่าอื่น ย่อมไม่รู้สึกว่า พวกเราจะพากันยุบยับ ในท่ามกลางสงฆ์นี้ ส่วนชนเหล่าใด ในหมู่นั้น ย่อมรู้สึกได้ ความหมายมั่นกัน ย่อมสงบระงับไป เพราะการทำไว้ในใจ โดยแยบคาย ของชนเหล่านั้น.

คนที่ปล้นแว่นแคว้น ชิงทรัพย์สมบัติกัน จนถึงปลงชีวิตลิดกระดูกกัน แล้วก็ยังกลับสามัคคีกันได้ เหตุไรพวกเธอ จึงไม่สามัคคีกันเล่า.

ถ้าจะพึงได้สหายผู้มีปัญญา เป็นนักปราชญ์ ไปไหนไปด้วยกัน อยู่ด้วยช่วยทำประโยชน์ให้สำเร็จ ควรชื่นชม มีสติเที่ยวไปกับสหายนั้น จะครอบงำอันตรายทั้งปวงได้.

ถ้าไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญา เป็นนักปราชญ์ ไปไหนไปด้วยกัน อยู่ด้วยช่วยทำ


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 622

ประโยชน์ให้สำเร็จ พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว เหมือนพระราชา ทรงสละแว่นแคว้น เสด็จไป แต่พระองค์เดียว ฉะนั้น หรือเหมือนช้างมาตังคะ เที่ยวไปในป่าแต่ผู้เดียว ฉะนั้น.

การเที่ยวไปผู้เดียวประเสริฐกว่า เพราะคุณ คือ ความเป็นสหาย ย่อมไม่มีในคนพาล ควรเที่ยวไปผู้เดียว แลไม่ควรทำบาป เหมือนช้างมาตังคะ มีความขวนขวายน้อย เที่ยวไปในป่าแต่ผู้เดียวแล ไม่ทำบาป ฉะนั้น.

ในพระคาถานั้น คนพาล ชื่อว่า มีเรื่องอื้ออึง เพราะวิเคราะห์ว่า มีเรื่องอึกทึก คือ ดังลั่น. บทว่า สมชฺโน คือ เป็นคนที่เช่นเดียวกันหมด มีคำที่ท่านอธิบายไว้ว่า คนที่ทำการทะเลาะกันนี้ทั้งหมดเทียว มีทั้งเสียงอื้ออึง และเสมอเหมือนกัน เพราะเปล่งเสียงโดยรอบ

บทพระคาถาว่า น พาโล โกจิ มญฺถ ความว่า บรรดาคนพาลเหล่านั้น ใครๆ แม้สักคนหนึ่ง ก็ไม่รู้สึกว่า ตนเป็นคนพาล ทั้งหมดล้วนสำคัญตนว่า เป็นบัณฑิตทั้งนั้น. อธิบายว่า คนผู้ทำการทะเลาะกันนี้ทั้งหมด นั่นแหละ ย่อมไม่รู้สึกว่า ตนเป็นคนพาล. บทว่า นาญฺํ ภิยฺโย อมญฺรุํ ความว่า ใครๆ แม้สักคนหนึ่ง ก็ไม่รู้สึกว่า ตนเป็น


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 623

คนพาล แลเมื่อสงฆ์แตกกัน ผู้อื่นแม้สักคนหนึ่ง ก็ไม่รู้เหตุนี้โดยยิ่งว่า สงฆ์แตกกัน เพราะเหตุแห่งเรา. บทว่า ปริมุฏฺา คือ เป็นคนมีสติหลงลืม. บทว่า ปณฺฑิตาภาสา ความว่า ชื่อว่า เป็นเช่นกับด้วยบัณฑิต เพราะสำคัญตนว่า เป็นบัณฑิต ท่านอาเทศราอักษรให้เป็นรัสสะ ว่า วาจาโคจร ภาณิโน ดังนี้ อธิบายว่า มีวาจาเป็นอารมณ์ ไม่มีอริยธรรม มีสติปัฏฐาน เป็นต้น เป็นอารมณ์ และเป็นคนช่างพูด คือ ช่างเจรจาถ้อยคำ. บทว่า ยาวิจฺฉนฺติ มุขายามํ ความว่า ย่อมปรารถนาจะให้เสียง ออกจากปากอยู่เพียงใด ก็ยืนเขย่งเท้า พูดตะโกนออกไปเพียงนั้น อธิบายว่า แม้สักคนหนึ่ง ก็ไม่กระทำการหุบปาก เพราะเคารพในสงฆ์ บทว่า เยน นีตา ความว่า เขาถูกการทะเลาะใด นำไปแล้ว สู่ความเป็นผู้ไม่มีความละอายนี้. บทว่า น ตํ วิทู ความว่า เขายังไม่รู้การทะเลาะนั้นว่า การทะเลาะนี้ มีโทษอย่างนี้. บทว่า เย จตํ อุปนยฺหนฺติ ความว่า ชนเหล่าใด เข้าไปผูกความโกรธนั้น คือ ที่มีอาการว่า คนโน้นได้ด่าเรา ดังนี้ เป็นต้น. บทว่า สนนฺตโน แปลว่า เป็นของเก่า. บทว่า ปเร เป็นต้น ความว่า คนที่ทำการทะเลาะกัน นอกจากพวกบัณฑิต คือ พวกอื่นๆ นอกจากพวกบัณฑิตนั้น ชื่อว่า ปเร. ปเรชนเหล่านั้น ก่อความวุ่นวายขึ้น ในท่ามกลางสงฆ์นี้ ย่อมไม่รู้สึกว่า พวกเราจะพากันยุบยับ จะพากันย่อยยับ คือ พวกเราจะพากันฉิบหาย ได้แก่ พวกเราจะพากันไปสู่ที่ใกล้ คือ สู่สำนักแห่งมัจจุราชเนืองๆ. บทว่า เย จ ตตฺถ วิชานนฺติ ความว่า ส่วนชนเหล่าใด ในหมู่นั้น ผู้เป็นบัณฑิต ย่อมรู้สึกได้ว่า พวกเราจะพากันไปสู่


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 624

ที่ใกล้แห่งมัจจุราช. บทว่า ตโต สมฺมนฺติ เมธคา ความว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็ชนเหล่านั้น เมื่อรู้อย่างนี้ ยังการทำไว้ในใจ โดยอุบายอันแยบคาย ให้เกิดขึ้นแล้ว. ย่อมปฏิบัติเพื่อความเข้าไปสงบ แห่งความหมายมั่น แห่งการทะเลาะกันได้. บทว่า อฏฺิจฺฉินฺนา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพระคาถานี้ ทรงหมายถึง พระเจ้าพรหมทัต และทีฆาวุกุมาร แม้ทั้งสองพระองค์นั้น ก็ยังกลับสามัคคีกันได้ เหตุไรพวกเธอ ไม่ได้ตัดกระดูกของมารดาบิดา ไม่ได้ปลงชีวิตกัน ไม่ได้ชิงทรัพย์สมบัติกัน จึงไม่สามัคคีกันเล่า.

ข้อนี้มีพระบรมพุทธาธิบายว่า ภิกษุทั้งหลาย พระราชา ผู้ทรงถืออาชญาสิทธิ์ ยังสามัคคีกัน สมาคมกัน ทำสัมพันธไมตรีกัน ด้วยอาวาห และวิวาหมงคล แล้วทรงดื่ม และทรงเสวยร่วมกันได้ ถึงเพียงนี้ พวกเธอบวช ในศาสนาเห็นปานนี้ ย่อมไม่อาจ เพื่อสลัดแม้สักว่า เวรของตนออกได้ อะไรเป็นภาวะ แห่งภิกษุของพวกเธอเล่า.

พระคาถาว่า สเจ ลเภถ ดังนี้เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ เพื่อทรงแสดงถึง คุณของสหาย ผู้เป็นบัณฑิต และโทษของสหาย ผู้เป็นคนพาล. บทว่า อภิภุยฺย สพฺพานิ ปริสฺสยานิ ความว่า ควรชื่นชม มีสติเที่ยวไปกับสหายนั้น จะครอบงำอันตรายที่ปรากฏ และอันตรายที่ปิดบังทั้งปวงได้. บทว่า ราชาว รฏฺํ วิชิตํ ความว่า พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนพระราชามหาชนก และอรินทมราชา ทรงสละแว่น


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 625

แคว้นของพระองค์ เสด็จไปแต่พระองค์เดียว ฉะนั้น. บทว่า มาตงฺครญฺเว นาโค ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกช้างว่า มาตังคะ คำว่า นาคะนั้น เป็นชื่อแห่งช้างใหญ่ ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ควรเที่ยวไปผู้เดียว และไม่ควรทำบาป เหมือนช้างมาตังคะ ผู้เลี้ยงดูมารดา เหมือน ช้างสีลวหัตถี และเหมือนช้างปาริไลยกะ เที่ยวไปในป่าผู้เดียว และไม่ทำบาป ฉะนั้น.

พระศาสดาแม้ตรัสอย่างนี้แล้ว เมื่อยังไม่อาจให้ภิกษุเหล่านั้น ปรองดองกันได้ จึงเสด็จไปยังพาลกโลณการามคาม ทรงแสดงอานิสงส์ ในความเป็นผู้อยู่ผู้เดียวแก่ พระภัคคุเถระ จากที่นั้นเสด็จไปถึงที่อยู่ ของกุลบุตรสามคน ทรงแสดงอานิสงส์ ในสามัคคีรสแก่กุลบุตรเหล่านั้น ต่อจากนั้น เสด็จไปถึงปาริไลยกไพรสณฑ์ ประทับอยู่ ณ ที่นั้นตลอด ๓ เดือน ไม่เสด็จมาเมืองโกสัมพีอีก เสด็จไปเมืองสาวัตถีเลย.

พวกอุบาสก ชาวเมืองโกสัมพี ปรึกษากันว่า พระผู้เป็นเจ้าเหล่าภิกษุชาวโกสัมพีนี้ ทำความเสียหาย ให้แก่พวกเรามาก พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงระอาภิกษุเหล่านี้ จึงหลีกไปเสีย พวกเราจักไม่กระทำสามีจิกรรม มีการกราบ เป็นต้น แก่ภิกษุเหล่านี้เลย จักไม่ถวายบิณฑบาต แก่ท่านที่เข้ามาบิณฑบาต เมื่อทำเช่นนี้ ภิกษุเหล่านี้ จักหลีกไปบ้าง จักให้พระผู้มีพระภาคเจ้า เลื่อมใสบ้าง ดังนี้แล้ว ก็ทำตามที่ปรึกษากัน


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 626

นั้น ภิกษุเหล่านั้น ถูกพวกอุบาสก ลงทัณฑกรรมเช่นนั้น จึงพากันไปเมืองสาวัตถี กราบทูลขอขมาโทษต่อ พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า พระราชบิดาในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระเจ้าสุทโธทนมหาราชในบัดนี้ พระราชมารดาในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระมหามายาในบัดนี้ ทีฆาวุกุมารในครั้งนั้น ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบอรรถกถา โกสัมพิยชาดกที่ ๒