นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
••• ... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ... ..•••
... สนทนาธรรมที่ ...
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)
พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ วันเสาร์ที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๙ คือ
คัทรภสูตร
... จาก ...
[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ ๔๔๘
[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ ๔๔๘
คัทรภสูตร (ภิกษุไร้ไตรสิกขาเปรียบเหมือนลาในฝูงโค)
[๕๒๒] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ลาเดินตามฝูงโคไป แม้จะร้องว่า เรา เป็นโค เรา เป็นโค แต่สีของมันไม่เหมือนโค เสียงก็ไม่เหมือน รอยเท้าก็ไม่เหมือน มันได้แต่เดินตามฝูงโค ร้องไปว่า เรา เป็นโค เรา เป็นโค เท่านั้น ฉันใด ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูป ในพระธรรมวินัยนี้ เดินตามหมู่ภิกษุ แม้ประกาศไปว่า เรา เป็นภิกษุ เรา เป็นภิกษุ แต่ฉันทะในการสมาทานอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา ของภิกษุรูปนั้น ไม่มี เหมือนภิกษุอื่นๆ ภิกษุนั้น ก็ได้แต่เดินตามหมู่ภิกษุประกาศไปว่า เรา เป็นภิกษุ เรา เป็นภิกษุ เท่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน
เพราะเหตุนั้น เธอ ทั้งหลาย พึงสำเหนียกในข้อนี้ว่า ฉันทะ ของเราจักมีอย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เธอ ทั้งหลาย พึงสำเหนียกอย่างนี้แล.
จบคัทรภสูตรที่ ๒
อรรถกถาคัทรภสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในคัทรภสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปิฏฺฐิโต ปิฏฺฐิโต แปลว่า ข้างหลังๆ . บทว่า อหมฺปิ อมฺหา อหมฺปิ อมฺหา ความว่า แม่วัวร้องอยู่ว่า อหมฺปิ อมฺหา ฉันใด ลา ก็ร้องว่า อหมฺปิ คาวี (แม้เราก็เป็นแม่วัว) ฉันนั้น. บทว่า เสยฺยถาปิ คุนฺนํ ความว่า ของแม่โคทั้งหลาย เป็นฉันใด จริงอยู่ โคทั้งหลาย มีสีดำบ้าง มีสีแดงบ้าง มีสีขาวเป็นต้นบ้าง แต่ว่า ลา ไม่มีสีเช่นนั้น และสีเป็นฉันใด เสียงก็ดี รอยเท้าก็ดี ก็เหมือนกัน ฉันนั้นนั่นแหละ.
บทที่เหลือมีความหมายง่ายทั้งนั้น แม้ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ตรัสสิกขา ๓ ไว้คละกันแล.
จบอรรถกถาคัทรภสูตรที่ ๒
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ข้อความโดยสรุป
คัทรภสูตร
(ภิกษุไร้ไตรสิกขาเปรียบเหมือนลาในฝูงโค)
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ว่า ภิกษุบางรูป เมื่อบวชเป็นพระภิกษุแล้ว แต่ไม่ได้มีฉันทะ (ความพอใจ) ที่จะสมาทานศึกษาในศีลสิกขา จิตตสิกขา และปัญญาสิกขา ย่อมไม่ใช่พระภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ แม้ว่าจะเดินตามหลังพระภิกษุรูปอื่นๆ แล้วบอกว่าตนเองเป็นพระภิกษุ ก็ตาม เปรียบเหมือนกับลาที่เดินตามหลังโค ปากร้องว่า เราเป็นโคๆ แต่แท้ที่จริงแล้ว ไม่ใช่โค เพราะสี เสียง และรอยเท้า ไม่เหมือนอย่างโคแต่เป็นลา นั่นเอง เพราะฉะนั้นแล้ว จึงควรอย่างยิ่งที่จะได้สมาทานศึกษาในศีลสิกขา จิตตสิกขา และ ปัญญาสิกขา
ขอเชิญศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
ไตรสิกขา
ทาน ศีล ภาวนา และ ศีล สมาธิ ปัญญา
พระภิกษุในพระธรรมวินัย
การเจริญสติปัฏฐานเป็นไตรสิกขา
ไตรสิกขา และ ความสำคัญของปัญญา
... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาคะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ