1. จิตที่ทำหน้าที่สะสมกรรมในทุกชาติภพคือขันธ์ใดในขันธ์ห้าครับ ใช่ขันธ์ที่ 5 คือวิญญาณหรือไม่
2. วิถีจิตและภวังคจิตก็อยู่รวมกันในขันธ์ 5 หรือไม่
3. ความรู้สึกเก่าๆ ในอดีตที่เราไม่เคยลืม อยู่ในขันธ์ใด สัญญาหรือเวทนา
4. สังขารขันธ์ ถ้าจะอธิบายให้คนทั่วไปเข้าใจง่ายๆ ว่าอย่างไร ขอความกรุณายก ตัวอย่างของสังขารที่เห็นชัดๆ ทั้งกาย วาจาและใจ
5. เมื่อชีวิตจบสิ้นลง ขันธ์ดับหมดทุกขันธ์หรือไม่ เพราะยังมีจิตสุดท้ายที่เปลี่ยนเป็น จุติจิตแล้วทำให้เกิดปฏิสนธิจิต
6. จุติจิตส่งมอบอะไรต่อให้ปฏิสนธิจิต กรรมทั้งหลายที่เก็บไว้ในจิตใช่ไหม สิ่งเหล่านี้ ที่ส่งต่อเราเรียกว่าสัญญาหรือไม่ ในนั้นรวมเวทนาเก่าๆ ด้วยหรือไม่
ขอบพระคุณครับ
ภก.พงศ์ปกรณ์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ก่อนอื่นขอกล่าวถึงคำศัพท์ที่ปรากฏในคำถาม ดังต่อไปนี้
-ขันธ์ หมายถึง สภาพธรรมที่ทรงไว้ซึ่งความว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์เป็นบุคคล, เป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป ขันธ์ มี ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่มีจริงแต่ละหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น เพียงแค่เห็นขณะ เดียว (จักขุวิญญาณ เกิดขึ้น) มีขันธ์ ๕ ครบเลย กล่าวคือ สิ่งที่ปรากฏทางตา (สี) กับ จักขุปสาทะ (ตา) เป็นรูปขันธ์ เวทนาที่เกิดร่วมกับจิตเห็น เป็นเวทนาขันธ์ สัญญาที่เกิดกับจิตเห็น เป็นสัญญาขันธ์ เจตสิกอีก ๕ (ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ และมนสิการะ) เป็นสังขารขันธ์ จิตเห็น เป็นวิญญาณขันธ์
-วิญญาณ แปลว่า สภาพธรรมที่รู้แจ้งซึ่งอารมณ์ วิญญาณ เป็นอีกชื่อหนึ่งของ จิต ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งซึ่งอารมณ์
-สังขารขันธ์ หมายถึง ขันธ์ที่เป็นสภาพธรรมที่ปรุ่งแต่งให้จิตเป็นกุศลบ้าง อกุศล บ้าง วิบากบ้าง และ กิริยา บ้าง ได้แก่ เจตสิก ๕๐ ประเภท นอกเหนือไปจากเวทนา และ สัญญา
-วิถีจิต หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นโดยอาศัยทวารหนึ่งทวารใดใน ๖ ทวาร (คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ในการรู้แจ้งอารมณ์ เช่น จิตเห็น เป็นวิถีจิต จิตได้ยิน เป็นวิถีจิต กุศลจิตเป็นวิถีจิต เป็นต้น
-ภวังคจิต หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นทำกิจ ดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนี้ไว้
-จุติจิต หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่เคลื่อนจากความเป็นบุคคลนี้ในชาตินี้ จุติ ไม่ได้หมายถึง เกิด แต่หมายถึง การเคลื่อนจากความเป็นบุคคลนั้นในชาตินั้น [หรือที่ เข้าใจกัน คือ ตาย]
-ปฏิสนธิจิต หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นทำกิจสืบต่อเฉพาะต่อจากจุติจิตของชาติที่แล้ว
-อรรถหนึ่งของจิต คือ เป็นธรรมชาติสะสมสันดานของตนด้วยสามารถแห่งชวนวิถี สะสมในขณะที่เป็นกุศล หรือ เป็นอกุศล เช่น ขณะใดที่โกรธ ก็สะสมความโกรธ ขณะ ที่มีเมตตาเป็นมิตรเป็นเพื่อนกับผู้อื่น ก็สะสมในสิ่งที่ดี เป็นต้น แต่ละขณะที่เกิดขึ้นแล้ว ดับไป นั้น เป็นปัจจัยสะสมสืบต่อในจิตขณะต่อไป เพราะเหตุว่าเมื่อจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้น แล้วดับไป การดับไปของจิตดวงก่อนก็เป็นปัจจัยให้จิตดวงต่อไปเกิดขึ้นสืบต่อทันที เพราะฉะนั้น จิตดวงที่เกิดต่อจึงมีสภาพธรรมที่ซึ่งจิตดวงก่อนสะสมไว้แล้วสืบต่อไปใน จิตดวงหลังๆ ที่เกิดต่อๆ ไปอีกเรื่อยๆ แต่ละบุคคลที่มีอัธยาศัยแตกต่างกัน ก็เพราะ การสะสมของจิตแต่ละขณะซึ่งเกิดดับสืบต่อกัน
และอรรถหนึ่งของจิต คือ เป็นธรรมชาติอันกรรมกิเลส สะสมวิบาก ซึ่งจะทำให้ เข้าใจถึงสภาพที่เป็นสังสารวัฏฏ์ คือ การเกิดขึ้นวนเวียนไป ของกิเลส กรรมและวิบาก เพราะมีกิเลสจึงทำให้มีการทำกรรม ที่เป็นบุญบ้าง บาป บ้าง และ เมื่อสำเร็จเป็นกรรม แล้วก็สะสมสืบต่ออยู่ในจิต และเป็นปัจจัยให้วิบากเกิดต่อไปได้ กุศล อกุศลที่สะสมไว้ จึงเป็นเปัจจัยให้เกิดวิบากได้ แล้วสะสมสืบต่ออยู่ที่ไหน ก็สะสมสืบต่ออยู่ในจิต จิต นั่นเอง เป็นวิญญาณขันธ์
-จิต ไม่ว่าจะเป็นจิตขณะใด เป็นวิถีจิต หรือ ไม่ใช่วิถีจิต ก็คือ วิญญาณขันธ์
-ความรู้สึกเกิดกับจิตทุกขณะ เกิดแล้วดับแล้ว ไม่กลับมาอีกเลย สัญญาเป็นสัญญา จะเป็นสภาพธรรมอื่นไม่ได้ แต่ที่ไม่ลืมก็เพราะมีการตรึกนึกถึง ซึ่งก็คือ ความเกิดขึ้น เป็นไปของธรรมที่เป็นนามธรรม คือ จิตและเจตสิก รวมถึงสัญญาเจตสิกที่เกิดกับจิต ขณะนั้นด้วย
-สังขารขันธ์ เป็นเจตสิก ๕๐ ประเภท ที่เกิดขึ้นปรุงแต่งจิต ธรรมเป็นสิ่งที่ไม่ง่าย แต่มีความละเอียดลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่ง แสดงถึงความเป็นจริงของธรรมที่มีจริงแต่ละหนึ่ง โดยไม่ปะปนกัน ตัวอย่างของสังขารขันธ์ เช่น โลภะ ความติดข้องต้องการ เมื่อเกิด ขึ้นก็ปรุงแต่งจิตเป็นอกุศลให้ติดข้องต้องการ โทสะ ความโกรธ ความขุ่นเคืองใจ ปรุงแต่งจิตให้เป็นอกุศล ทำให้ไม่พอใจในสิ่งที่กำลังปรากฏ ถ้าเป็นสังขารขันธ์ฝ่ายดี เช่น ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ เป็นต้น ก็ปรุงแต่งให้จิตนั้นเป็นจิตที่ดีงาม เป็นกุศล น้อม ไปในทางที่ถูกที่ควร ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจ บังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น เมื่อกุศล อกุศล เกิดขึ้นเป็นไปก็ทำให้กาย วาจา ไหวไป ด้วยอำนาจของกุศล และ อกุศล กล่าวคือ เพราะกุศลจิตเกิดขึ้น ประกอบด้วยโสภณ เจตสิกประการต่างๆ ความประพฤติเป็นไปทางกาย ทางวาจา ก็คล้อยไปตามกุศลจิต มีการช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นต้น ในทางตรงกัน ข้าม ถ้าอกุศลจิตเกิดขึ้นแล้ว กาย วาจา ก็เป็นไปในทางที่ไม่ดี ไม่ถูกไม่ควร ซึ่งทั้งหมด ก็คือธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ไม่ได้เกิดขึ้นมาเองลอยๆ โดยปราศจากเหตุปัจจัย -เมื่อว่าโดยความเป็นจริงของธรรมที่เป็นขันธ์ แล้ว คือ สภาพธรรมที่เกิดแล้วดับไป ทรงไว้ซึ่งความว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล ชีวิตของแต่ละคน แต่ละท่านก็ไม่พ้นไปจากความเกิดขึ้นเป็นไปของขันธ์แต่ละขันธ์เลย ทั้งที่เป็นรูปขันธ์ และนามขันธ์ ขันธ์ เมื่อเกิดแล้วก็ต้องดับไป จิตขณะสุดท้ายของภพนี้ชาตินี้คือ จุติจิต เกิดขึ้นเป็นไป จุติจติ (พร้อมกับเจตสิกที่เกิดร่วมกับจุติจิต) เกิดแล้วก็ดับไป รูปที่เกิด เพราะกรรมก็ดับพร้อมกับจุติจิต เมื่อจุติจิตดับไปแล้วก็เป็นปัจจัยให้มีจิตขณะต่อไป คือ ปฏิสนธิจิตเกิดในภพใหม่สืบต่อทันที มีจิต เจตสิก รูป ซึ่งเป็นขันธ์ เกิดขึ้นเป็นไปอีก จึงกล่าวได้ว่า สำหรับผู้ที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ เมื่อตายแล้ว เกิดทันที มีขันธ์เกิดต่ออีก ยังไม่สิ้นสุดการเกิดของขันธ์ ส่วนผู้ที่เป็นพระอรหันต์ เมื่อดับขันธปรินิพพานแล้ว ไม่มี การเกิดอีก ไม่มีสภาพธรรมใดๆ ที่เป็นขันธ์เกิดอีกเลย
-ความเป็นจริงของสภาพธรรมไม่เคยเปลี่ยน เป็นจริงอย่างไรก็เป็นจริงอย่างนั้น จุติจิต ไม่ได้มีการส่งมอบต่อให้ปฏิสนธิ แต่เป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยไม่อยู่ในอำนาจ บังคับบัญขาของใครทั้งสิ้น จิตขณะหนึ่งดับไป เป็นไปปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดสืบ ต่อทันที สิ่งที่สะสมไว้ ไม่สูญหายไปไหน ทั้งส่วนที่ดีและส่วนที่ไม่ดี และทุกขณะ ที่จิตเกิดขึ้นเป็นไปนั้นก็มีเจตสิกธรรมเกิดร่วมด้วย ตามควรแก่จิตประเภทในั้นๆ อย่าง เช่นถ้าเป็นอกุศลจิต ก็มีอกุศลเจตสิกประการต่างๆ เกิดร่วมด้วย ถ้าเป็นกุศลจิต ก็มี โสภณเจตสิกประการต่างๆ เกิดร่วมด้วย เป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ไม่อยู่ใน อำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ใครก็ทำหรือบังคับให้สภาพธรรมเกิดขึ้เป็นไปไม่ได้ เลย
เมื่อได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ก็จะเป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกว่า ทุกขณะ มีแต่ธรรมเท่านั้นที่เกิดขึ้นเป็นไป กล่าวคือ เป็นความเกิดขึ้นเป็นไปของ ขันธ์แต่ละขันธ์เท่านั้น ไม่ใช่เรา ซึ่งจะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลโดยตลอด ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
1. จิตที่ทำหน้าที่สะสมกรรมในทุกชาติภพคือขันธ์ใดในขันธ์ห้าครับ ใช่ขันธ์ที่ 5 คือวิญญาณหรือไม่
- จิตเป็นสภาพธรรมที่มีจริง ทำหน้าที่รู้อารมณ์ ซึ่ง จิต มีอรรถหลายอย่าง ดังนี้ จิต มีอรรถหลายอย่าง ครับ
1. จิตเป็นสภาพธรรม ที่รู้อารมณ์ คือ เป็นใหญ่ในการรู้
2. จิตเป็นสภาพธรรมที่คิด
3. จิตเป็นสภาพธรรมที่สะสมสันดาน
4. จิตเป็นสภาพธรรมที่วิจิตร มีหลากหลาย
จิตจึงทำหน้าที่หลายอย่าง และ ทำหน้าที่ สะสม สันดาน และ สะสมกรรมที่จะเป็น เหตุปัจจัยให้เกิดวิบากในอนาคต ด้วยครับ ซึ่งก็เป็นวิญญาณขันธ์ แต่ ก็ต้องละเอียด อีกครับว่า วิญญาณขันธ์ ไม่ใช่ทั้งหมดที่จะทำหน้าที่สะสม ที่ทำให้เกิดวิบาก หาก เป็นจิตชาติวิบากที่เป็นวิญญาณขันธ์ ก็ไม่ได้ทำหน้าที่สะสมสันดาน สะสมให้เกิด วิบาก
เชิญคลิกฟังคำบรรยายท่านอาจารย์สุจินต์ที่นี่ครับ
ที่ชื่อว่าจิตเพราะอรรถว่าคิด อธิบายว่ารู้แจ้งอารมณ์
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 228
อธิบายคำว่าจิต พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า จิตฺตํ สภาวะที่ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า ย่อมคิด คือว่า ย่อมรู้แจ้งซึ่งอารมณ์ อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า จิต นี้ ทั่วไป แก่จิตทั้งปวง เพราะฉะนั้น ในบทว่า จิตฺตํ นี้ จิตใดที่เป็นกุศลฝ่ายโลกีย์ อกุศลและมหากิริยาจิต จิตนั้นชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า ย่อมสั่งสมสันดาน ของตนด้วยสามารถแห่งชวนวิถี. ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า เป็นธรรมชาติ อันกรรมและกิเลสทั้งหลายสั่งสมวิบาก. อีกอย่างหนึ่ง แม้ทั้งหมด ชื่อว่า จิต เพราะความเป็นธรรมชาติวิจิตรตามสมควร. ชื่อว่า จิต เพราะการทำให้วิจิตร พึงทราบเนื้อความในบทว่า จิตฺตํ นี้ ดังพรรณนามาฉะนี้.
2. วิถีจิตและภวังคจิตก็อยู่รวมกันในขันธ์ 5 หรือไม่ ถูกต้องครับ สภาพธรรมที่เกิดขึ้น ที่เกิดวิถีจิตทั้งทาง ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ก็ไม่พ้นจากสภาธรรมที่มีจริงที่เป็นจิต เจตสิก รูปที่เป็นสภาพธรรมที่เป็นขันธ์ห้า ครับ
3. ความรู้สึกเก่าๆ ในอดีตที่เราไม่เคยลืมอยู่ในขันธ์ใด
สัญญาหรือเวทนา - สภาพธรรมทั้ง สัญญา และ เวทนา เกิดร่วมกัน แต่ ทำหน้าที่ต่างกันไป เวทนา ทำหน้าที่รู้สึก สุข ทุกข์ สัญญา ทำหน้าที่จำ ไม่ได้รู้สึก แต่เพราะอาศัยสัญญา ความจำจึงทำให้นึกขึ้นได้ ด้วย กุศล หรือ อกุศล นึกขึ้นได้ เพราะ อาศัย สติเจตสิก นึกขึ้นได้ด้วยจิตอกุศล ด้วย วิตกเจตสิก ครับ
4. สังขารขันธ์ถ้าจะอธิบายให้คนทั่วไปเข้าใจง่ายๆ ว่าอย่างไร ขอความกรุณายก ตัวอย่างของสังขารที่เห็นชัดๆ ทั้งกาย วาจาและใจ
- สังขารขันธ์ คือ สภาพธรรมที่ปรุงแต่ง ปรุงแต่งจิต ซึ่ง ง่ายๆ ก็คือ เกิดขึ้น เป็นไป ในชีวิตประจำวัน ก็อาศัยจิต และ สังขารขันธ์ ที่เป็นเจตสิกต่างๆ เช่น ที่โกรธ ก็ เพราะ อาศัย จิต และ สังขารขันธ์ ปรุงแต่งให้โกรธ คือ โทสเจตสิก ทำให้โกรธ ในใจ ก็เป็น โทสเจตสิกที่เป็นสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นในใจ ทางใจ และ เมื่อโกรธแล้ว ก็การว่าร้าย ทางวาจาก็เป็น สังขารขันธ์ที่ปรุงแต่งเกิดขึ้นทางวาจา และเมื่อมีกำลัง มากก็ แสดงออกทางวาจา เอาไม้ อาวุธ ทำร้ายกัน เพราะอาศัย สังขารขันธ์ มีโทสะ เจตสิกเกิดขึ้น ปรุงแต่งให้แสดงออกทางทางกาย ครับ
5. เมื่อชีวิตจบสิ้นลง ขันธ์ดับหมดทุกขันธ์หรือไม่ เพราะยังมีจิตสุดท้ายที่เปลี่ยนเป็น จุติจิตแล้วทำให้เกิดปฏิสนธิจิต
- จิตเมื่อเกิดขึ้นและดับไปไม่เหลือเลย รวมทั้ง เจตสิก และ รูปทั้งหลาย ก็เชนกัน เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปไม่เหลือเลย หากแต่ว่า จิต เจตสิก รูปที่เป็นขันธ์ เมื่อดับไปแล้ว ก็ไม่กลับมาอีก แต่ ก็เป็นปัจจัย ให้จิตอื่น เจตสิก อื่นๆ เกิดต่อได้ ตราบใดที่ยังมีกิเลส ยังไม่ใช่จุติจิตของพระอรหันต์ ก็ยังมีการเกิดขึ้นสืบต่อของขันธ์ ต่อไปครับ
6. จุติจิตส่งมอบอะไรต่อให้ปฏิสนธิจิต กรรมทั้งหลายที่เก็บไว้ในจิตใช่ไหม สิ่งเหล่านี้ ที่ส่งต่อเราเรียกว่าสัญญาหรือไม่ ในนั้นรวมเวทนาเก่าๆ ด้วยหรือไม่
- จุติจิตของบุคคลที่ไม่ใช่พระอรหันต์ ก็ยังมีการเกิดขึ้นของขันธ์ต่อไป และเป็น ปัจจัยให้จิตดวงใหม่เกิดขึ้นย่อม สะสม ส่งต่อไปคือ ทั้งสภาพธรรมที่เป็นอนุสัยกิเลส ประการต่างๆ และ วาสนา ที่เป็นการสะสมสิ่งที่ดี และ ไม่ดี เช่น สะสมปัญญาที่เคย อบรมมาต่อไป สะสม ความไม่ดี เช่น ความโกรธที่เคยเกิดขึ้นแล้วต่อไป และ สะสม ทำให้เกิดวิบากที่เคยทำกรรมมาด้วย ครับ ส่วน สัญญาเก่า เวทนาเก่าๆ ดับไปแล้ว ไม่เหลือเลย ครับ แต่สามารถสะสมต่อไปในสัญญาที่เคยจำในเองอะไรได้ เช่น อัตตสัญญา จำว่ามีตัวตน อนัตตสัญญา จำว่าไม่มีตัวตนก็ได้ ครับ
ขออนุโมทนา
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอเชิญทุกท่านร่วมสนทนา
ขออนุโมทนาครับ ผมขอถามต่อนะครับว่า
1. เวทนาขันธ์คือความรู้สึกของปัจจุบันขณะใช่หรือไม่ครับ เวลาที่เราคิดถึงเหตุการณ์ เก่าๆ และเกิดความรู้สึกต่างๆ ขึ้นมาอีกครั้ง หมายความว่าความทรงจำเรื่องเก่าๆ กระตุ้น ให้เกิดความรู้สึกขึ้นมาในใปัจจุบันขณะ ไม่ใช่ความรู้สึกเก่าผุดขึ้นมาอีกใช่ไหมครับ
2. จิตที่สะสมกรรมต่างๆ แบบข้ามภพข้ามชาติ สิ่งที่สะสมเหล่านี้ไม่ใช่สัญญาขันธ์หรือ ครับ และสิ่งที่สะสมในจิตเหล่านี้มีเรื่องของเวทนาเก่าๆ สะสมด้วยหรือไม่ครับ
เรียนความเห็นที่ 4 ครับ
1. เวทนาขันธ์คือความรู้สึกของปัจจุบันขณะใช่หรือไม่ครับ เวลาที่เราคิดถึงเหตุการณ์ เก่าๆ และเกิดความรู้สึกต่างๆ ขึ้นมาอีกครั้ง หมายความว่าความทรงจำเรื่องเก่าๆ กระตุ้น ให้เกิดความรู้สึกขึ้นมาในใปัจจุบันขณะ ไม่ใช่ความรู้สึกเก่าผุดขึ้นมาอีกใช่ไหมครับ
เวทนา คือ ความรู้สึก ที่เป็นเวทนาเจตสิก เกิดกับจิตทุกประเภท ขณะที่เกิดขึ้นใน ปัจจุบัน ย่อมเป็นความรู้สึกในปัจจุบันขณะ ไม่ใช่ ความรู้สึกเก่าที่กกลับมาได้ ยกตัวอย่างเช่น นึกถึงเรื่องในอดีต ที่เศร้าโศกเสียใจ ที่เคยร้องไห้ มานานแล้ว ขณะที่นึกถึง ก็อาจมีความรู้สึกเฉยๆ ก็ได้ ที่เป็นอุเบกขาเวทนา ที่ไม่ใช่ ความรู้สึก ที่เป็น โทมนัสเวทนาที่โศกเศร้าเสียใจ เป็นความรู้สึกในปัจจุบันขณะ เป็นสำคัญ ไม่ใช่ ความรู้สึกที่เป็นเวทนาเก่า กลับมาได้ ครับ
2. จิตที่สะสมกรรมต่างๆ แบบข้ามภพข้ามชาติ สิ่งที่สะสมเหล่านี้ไม่ใช่สัญญาขันธ์ หรือครับ และสิ่งที่สะสมในจิตเหล่านี้มีเรื่องของเวทนาเก่าๆ สะสมด้วยหรือไม่ครับ
ไม่ใช่เพียง สัญญาขันธ์ที่เป็นความทรงจำเท่านั้น ครับ จิต สะสมทั้งสภาพธรรม อื่นๆ ที่เป็นเจตสิกอื่นๆ เป็น วาสนา เป็นอนุสัยด้วย ยกตัวอย่างเช่น เพราะ เคยเกิด ความโกรธเกิดขึ้นบ่อยๆ พอเกิดมาในชาติปัจจุบัน โทสมูลจิตที่มีโทสเจตสิกเกิด ร่วมด้วย ในอดีต ก็เป็นปัจจัยให้คนนี้ เป็นผู้มักโกรธ โกรธง่ายกว่าคนอื่นๆ ทำให้เห็น ว่า แต่ละคนทำไมเป็นผู้มีอุปนิสัยแตกต่างกัน บางคนขี้เหนียวมากๆ ก็เพราะ เคยเกิด ความตระหนี่บ่อยๆ ในอดีต บางคนให้ทานง่าย ก็เพราะ เคยให้บ่อยๆ ในอดีต เป็นต้น บางคนมีความเข้าใจธรรมมากกว่าคนอื่น ก็เพราะ เคยสะสมปัญญามามากแล้วในอดีต นั่นเอง ดังนั้น ก็สะสมทั้งฝ่ายดี ฝ่ายไม่ดี ที่เป็น สังขารขันธ์ต่างๆ ไม่ใช่เฉพาะ สัญญา ขันธ์เท่านั้น ครับ
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนาครับ
ผมขอเรียนถามว่า
1. ปุถุชนทั่วไปสามารถล่วงรู้อดีตชาติของตนเองได้หรือไม่ ถ้าได้ต้องทำด้วยวิธีใด
2. ศาสตร์การสะกดจิตของชาวตะวันตกที่สามารถดึงเรื่องราวในอดีตชาติกลับมาให้เรา ได้รับรู้อีกครั้งเป็นเรื่องที่น่าเชื่อถือหรือไม่ครับ
เรียนความเห็นที่ 6 ครับ
1. ปุถุชนทั่วไปสามารถล่วงรู้อดีตชาติของตนเองได้หรือไม่ ถ้าได้ต้องทำด้วย วิธีใดบุคคลที่จะระลึกชาติในหนหลังได้ต้องมีจิตพิเศษ (อภิญญาจิต) จึงจะระลึกได้
อธิบายว่าผู้ที่มีปัญญาอบรม ความสงบของจิตจนถึง รูปฌานและอรูปฌานและ อบรมอภิญญา (ปุพเพนิวาสานุสติญาณ) ให้เกิดขึ้น จึงระลึกชาติหนหลังได้
เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ
มีผู้ใดบ้างที่สามารถระลึกอดีตชาติรู้จุติและปฏิสนธิของสัตว์ได้
การหยั่งรู้อดีตชาติ
2. ศาสตร์การสะกดจิตของชาวตะวันตกที่สามารถดึงเรื่องราวในอดีต ชาติกลับมาให้เราได้รับรู้อีกครั้ง เป็นเรื่องที่น่าเชื่อถือหรือไม่ครับ
เป็นไปไม่ได้เลย เพราะไม่ได้อบรมเหต คือ การเจริญสมถภาวนาที่จะ ทำให้ระลึกชาติได้ ครับ เพราะฉะนั้นก็เป็นการคิดนึกเดาเอาเอง ครับ
ขออนุโมทนา
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ ผมขออนุญาตนำคำถามและคำตอบที่ได้ไป เผยแพร่ในเว็บของชมรมจิตวิทยาสมาธิของผมนะครับ
พระธรรมยิ่งเผยแพร่ยิ่งรุ่งเรือง
ขออนุโมทนาเช่นกัน ครับ
กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขันธ์ 5 หมายถึง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวของกิเลส ค่ะ
ขออนุโมทนาครับ