กัมมขันธกะ - ตัชชนียกรรม ที่ ๑
โดย บ้านธัมมะ  13 มี.ค. 2565
หัวข้อหมายเลข 42823

[เล่มที่ 8] พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑

พระวินัยปิฏก เล่ม ๖

จุลวรรค ปฐมภาค

กัมมขันธกะ

ตัชชนียกรรม ที่ ๑

เรื่องภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะเริ่มก่ออธิกรณ์ 1/1

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม 2/2

ทรงติเตียน 3

ทรงแสดงโทษและคุณแล้วให้ทําตัชชนียกรรม 3/4

วิธีทําตัชชนียกรรม 4

กรรมวาจาทําตัชชนียกรรม 5

ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด 4/8

ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด 16/12

ข้อที่สงฆ์จํานง ๖ หมวด 28/15

วัตร ๑๘ ข้อในตัชชนียกรรม 34/17

วัตรที่ควรระงับและไม่ควรระงับ 35/18

วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด 36/19

วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด 39/21

วิธีระดับตัชชนียกรรม 42/22

คําขอระงับตัชชนียกรรม 23

กรรมวาจาระงับตัชชนียกรรม 23


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 8]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 1

พระวินัยปิฏก

เล่ม ๖

จุลวรรค ปฐมภาค

กัมมขันธกะ

ตัชชนียกรรมที่ ๑

เรื่องภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ

เริ่มก่ออธิกรณ์

[๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นภิกษุพวก พระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ด้วยตนเอง ได้เข้าไป หาภิกษุพวกอื่นที่ร่วมก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยกัน แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ทั้งหลาย ผู้นั้นอย่าได้ชนะพวกท่าน พวกท่านจงโต้ตอบถ้อยคำให้แข็งแรง เพราะพวกท่านเป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม คงแก่เรียน และสามารถกว่าเขา อย่ากลัวเขาเลย แม้พวกผมก็จักเป็นฝักฝ่ายของพวกท่าน โดยวิธีนั้น ความ บาดหมางที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความ


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 2

เพิ่มพูน แผ่กว้างออกไป บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความ ละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนา ว่า ไฉนภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ จึงได้เป็นผู้ก่อความ บาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ใน สงฆ์ด้วยตนเอง ได้เข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ร่วมก่อความบาดหมาง ก่อการ ทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยกัน แล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผู้นั้นอย่าได้ชนะพวกท่าน พวกท่านจง โต้ตอบถ้อยคำให้แข็งแรง เพราะพวกท่านเป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม คง แก่เรียน และสามารถกว่าเขา อย่ากลัวเขาเลย แม้พวกผมก็จักเป็นฝักฝ่าย ของพวกท่าน โดยวิธีนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และ ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเพิ่มพูน แผ่กว้างออกไปเล่า ครั้นแล้ว กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

[๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ใน เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและ พระโลหิตกะ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อ ความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยตนเอง ได้เข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ร่วม ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ ในสงฆ์ด้วยกัน แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผู้นั้นอย่าได้ชนะพวกท่าน


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 3

พวกท่านจงโต้ตอบถ้อยคำให้แข็งแรง เพราะพวกท่านเป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม คงแก่เรียน และสามารถกว่าเขา อย่ากลัวเขาเลย แม้พวกผมก็จัก เป็นฝักฝ่ายของพวกท่าน โดยวิธีนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดย่อมเกิด ขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเพิ่มพูน แผ่กว้างออกไป จริงหรือ?

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ กระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของ สมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ด้วย ตนเอง ได้เข้าไปหาภิกษุผู้อื่นที่ร่วมก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยกัน แล้วกล่าว อย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผู้นั้นอย่าได้ชนะพวกท่าน พวกท่านจงโต้ตอบ ถ้อยคำให้แข็งแรง เพราะพวกท่านเป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม คงแก่เรียน และสามารถกว่าเขา อย่ากลัวเขาเลย แม้พวกผมก็จักเป็นฝักฝ่ายของพวก ท่าน โดยวิธีนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเพิ่มพูน แผ่กว้างออกไปเล่า การกระทำของโมฆบุรุษ เหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือ


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 4

เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้การกระทำของ โมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของคนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.

ทรงแสดงโทษและคุณแล้วให้ทำตัชชนียกรรม

[๓] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงติเตียนภิกษุพวกพระปัณฑุกะ และพระโลหิตกะ โดยอเนกปริยายแล้ว จึงตรัสโทษแห่งความเป็นคน เลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่ สันโดษ ความคลุกคลีความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความ กำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารถนาความเพียร โดย อเนกปริยาย แล้วทรงทำธรรมมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่ เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระ ปัณฑุกะและพระโลหิตกะ.

วิธีทำตัชชนียกรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลวิธีทำตัชชนียกรรม พึงทำอย่างนี้ คือ ชั้นต้นพึงโจทภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ครั้นแล้ว พึงให้พวก เธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึง ประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 5

กรรมวาจาทำตัชชนียกรรม

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระ ปัณฑุกะและพระโลหิตกะนี้ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ ในสงฆ์ ด้วยตนเอง ได้เข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ร่วมก่อ ความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความ อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยกัน แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผู้นั้นอย่าได้ชนะพวกท่าน พวกท่านจง โต้ตอบถ้อยคำให้แข็งแรง เพราะพวกท่านเป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม คงแก่เรียน และสามารถกว่าเขา อย่ากลัว เขาเลย แม้พวกผมก็จักเป็นฝักฝ่ายของพวกท่าน โดยวิธี นั้น ความบาดหมางที่ยังไม้เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้น แล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเพิ่มพูน แผ่กว้างออกไป ถ้าความ พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำตัชชนียกรรมแก่ ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ นี่เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวก พระปัณฑุกะและพระโลหิตกะนี้ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ... ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ด้วยตนเอง ได้เข้าไปหาภิกษุพวกอื่น ที่ร่วมกันก่อความบาดหมาง ... ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยกัน แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผู้นั้นอย่าได้ชนะพวก ท่าน พวกท่านจงโต้ตอบถ้อยคำให้แข็งแรง เพราะพวก


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 6

ท่านเป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม คงแก่เรียนและสามารถกว่า เขาอย่ากลัวเขาเลย แม้พวกผมก็จักเป็นฝักฝ่ายของพวกท่าน โดยวิธีนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเพิ่มพูนแผ่กว้างออกไป สงฆ์ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะ และ พระโลหิตกะ การทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็น ผู้นิ่งไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะนี้เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ... ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยตนเอง ได้เข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ร่วมก่อความบาดหมาง ... อธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยกัน แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผู้นั้นอย่าได้ชนะพวกท่าน พวกท่านจงโต้ตอบ ถ้อยคำให้แข็งแรง เพราะพวกท่านเป็นผู้ฉลาด เฉียบ แหลม คงแก่เรียน และสามารถกว่าเขา อย่ากลัวเขาเลย แม้พวกผมก็จักเป็นฝักฝ่ายของพวกท่าน โดยวิธีนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อม เป็นไปเพื่อความเพิ่มพูน แผ่กว้างออกไป สงฆ์ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ การทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 7

ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด. ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะนี้ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ... ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ด้วยตนเอง ได้เข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ร่วมก่อความบาดหมาง ... ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยกัน แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ผู้นั้นอย่าได้ชนะพวกท่าน พวกท่านจงโต้ตอบถ้อย คำให้แข็งแรง เพราะพวกท่านเป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม คงแก่เรียน และสามารถว่าเขา อย่ากลัวเขาเลย แม้พวกผมจักเป็นฝักฝ่ายของพวกท่าน โดยวิธีนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเพิ่มพูนแผ่กว้างออกไป สงฆ์ทำตัชชนียกรรม แก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ การทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู่นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

ตัชชนียกรรม สงฆ์ทำแล้วแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า ทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 8

ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด

หมวดที่ ๑

[๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำลับหลัง ๑ ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ทำตามปฏิญาณ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.

หมวดที่ ๒

[๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำ เพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติมิใช่เทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติ ที่แสดงแล้ว ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.

หมวดที่ ๓

[๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ โจทก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ปรับอาบัติแล้ว ทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 9

หมวดที่ ๔

[๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำ ลับหลัง ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี

หมวดที่ ๕

[๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.

หมวดที่ ๖

[๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ ทำตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 10

หมวดที่ ๗

[๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำ เพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ธรรมโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับ แล้วไม่ดี.

หมวดที่ ๘

[๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำ เพราะอาบัติ มิใช่เทสนาคามินี ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรค ทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.

หมวดที่ ๙

[๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำ เพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 11

หมวดที่ ๑๐

[๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.

หมวดที่ ๑๑

[๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.

หมวดที่ ๑๒

[๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.

ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด จบ


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 12

ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด

หมวดที่ ๑

[๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑ สอบ ถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำตามปฏิญาณ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.

หมวดที่ ๒

[๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะ ต้องอาบัติ ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติยังไม่ได้ แสดง ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.

หมวดที่ ๓

[๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจทก่อน แล้วทำ ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แลเป็น กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 13

หมวดที่ ๔

[๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.

หมวดที่ ๕

[๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ สอบถาม ก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.

หมวดที่ ๖

[๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำตาม ปฏิญาณ ๑ ทำโดยธรรม สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว

หมวดที่ ๗

[๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะ ต้องอาบัติ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 14

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.

หมวดที่ ๘

[๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะ อาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.

หมวดที่ ๙

[๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือทำเพราะ อาบัติยังไม่ได้แสดง ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.

หมวดที่ ๑๐

[๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจทก่อน แล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 15

หมวดที่ ๑๑

[๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ให้จำเลย ให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเหiรียงกันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.

หมวดที่ ๑๒

[๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ปรับ อาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.

ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด จบ

ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด

หมวดที่ ๑

[๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ เมื่อสงฆ์ จำนงจะพึงลงตัชชนียกรรมก็ได้ คือ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการ ทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วย การคลุกคลีอันไม่สมควร ๑


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 16

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์ จำนงจะพึงลงตัชชนียกรรมก็ได้.

หมวดที่ ๒

[๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลงตัชชนียกรรมก็ได้ คือ เป็นผู้มีศีลวิบัติ ใน อธิศีล ๑ เป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร ๑ เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏฐิ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลงตัชชนียกรรมก็ได้.

หมวดที่ ๓

[๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงตัชชนียกรรมก็ได้ คือ กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๑ กล่าวติเตียนพระธรรม ๑ กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลงตัชชนียกรรมก็ได้.

หมวดที่ ๔

[๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปคือ รูปหนึ่งเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ รูปหนึ่งเป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติ มาก มีมารยาทไม่สมควร รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุก คลีอันไม่สมควร ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปนี้แล.


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 17

หมวดที่ ๕

[๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงตัชชนียกรรมแก่ ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่งเป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล ๑ รูป หนึ่งเป็นผู้มีอาจารวิบัติในอัธยาจาร ๑ รูปหนึ่งเป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปนี้แล.

หมวดที่ ๖

[๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงตัชชนียกรรมแก่ ภิกษุ ๓ รูปแม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๑ รูปหนึ่ง กล่าวติเตียนพระธรรม ๑ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปนี้แล.

ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด จบ

วัตร ๑๘ ข้อ ในตัชชนียกรรม

[๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ต้องประพฤติโดยชอบ

วิธีประพฤติเคยชอบในตัชชนียกรรมนั้น ดังต่อไปนี้ :-

๑. ไม่พึงให้อุปสมบท

๒. ไม่พึงให้นิสัย

๓. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก

๔. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 18

๕. แม้ได้รับสมมติไว้แล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี

๖. ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมเพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น

๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน

๘. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น

๙. ไม่พึงติกรรม

๑๐. ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม

๑๑. ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัดตะภิกษุ

๑๒. ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ

๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน

๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์

๑๕. ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส

๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น

๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ

๑๘. ไม่พึงช่วยภิกษุต่อภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.

วัตร ๑๘ ข้อ ในตัชชนียกรรม จบ

วัตรที่ควรระงับและไม่ควรระงับ

[๓๕] ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะ และพระโลหิตกะแล้ว พวกนั้นถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดย ชอบหายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ เข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วกล่าวอย่าง นี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกผมถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ได้ประพฤติ


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 19

โดยชอบหายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ พวกผมจะพึงปฏิบัติอย่างไรต่อ ไป ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์ จงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกปัณฑุกะและโลหิตกะ.

วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด

หมวดที่ ๑

[๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ:-

๑. ให้อุปสมบท

๒. ให้นิสัย

๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก

๔. รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี

๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ยังสั่งสอนภิกษุณี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง ระงับตัชชนียกรรม.

หมวดที่ ๒

[๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ ประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก คือ:-

๑. ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมเพราะอาบัติใด ต้องอาบัตินั้น

๒. ต้องอาบัติอื่นลันเช่นกัน


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 20

๓. ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น

๔. ติกรรม

๕. ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง ระงับตัชชนียกรรม.

หมวดที่ ๓

[๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ :-

๑. ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ

๒. ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ

๓. ทำการไต่สวน

๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์

๕. ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส

๖. โจทภิกษุอื่น

๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ

๘. ช่วยภิกษุต่อภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์ไม่พึง ระงับตัชชนียกรรม.

วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด จบ


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 21

วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด

หมวดที่ ๑

[๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ :-

๑. ไม่ให้อุปสมบท

๒. ไม่ให้นิสัย

๓. ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก

๔. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี

๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล้ว สงฆ์พึงระงับ ตัชชนียกรรม.

หมวดที่ ๒

[๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ :-

๑. ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมเพราะอาบัติใด ไม่ต้องอาบัตินั้น

๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน

๓. ไม่ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น

๔. ไม่ติกรรม

๕. ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ ตัชชนียกรรม.


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 22

หมวดที่ ๓

[๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ :-

๑. ไม่ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ

๒. ไม่ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ

๓. ไม่ทำการไต่สวน

๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์

๕. ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส

๖. ไม่โจทภิกษุอื่น

๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ

๘. ไม่ช่วยภิกษุต่อภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์พึงระงับ ตัชชนียกรรม.

วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด จบ

วิธีระงับตัชชนียกรรม

[๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมอย่างนี้ คือภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ห่มผ้าอุตรา สงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุทั้งหลายผู้แก่พรรษากว่านั่งกระโหย่งประคอง อัญชลีกล่าวคำขอระงับกรรมนั้นอย่างนี้ ว่าดังนี้.


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 23

คำขอระงับตัชชนียกรรม

ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าทั้งหลาย ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วได้ประพฤติ โดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอระงับ ตัชชนียกรรม

พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรม วาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาระงับตัชชนียกรรม

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับตัชชนียกรรม ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่ แล้ว สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรม แก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะ และพระโลหิตกะ นี่เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะนี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบหายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับตัชชนียกรรม สงฆ์ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ พวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ การระงับตัชชนีย-


ความคิดเห็น 24    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 13 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 24

กรรมแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ... การระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ พวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง พูด.

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะนี้ สงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับตัชชนียกรรม สงฆ์ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระ - โลหิตกะ การระงับตัชชนียกรรม แก่ภิกษุพวกพระ ปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

ตัชชนียกรรมอันสงฆ์ระงับแล้ว แก่ภิกษุพวกพระ ปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนิไว้ด้วยอย่างนี้.

ตัชชนียกรรม ที่ ๑ จบ