ถ้ามีวาจาที่ประกอบด้วยข้อความ ซี่งไม่เป็นประโยชน์ แม้ตั้งพัน ข้อความที่เป็นประโยชน์ บทเดืยว ที่ฟังแล้วสงบระงับได้ ประเสริฐกว่า
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
[เล่มที่ 41] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 424
๑. สหสฺสมปิ เจ วาจา อนตฺถปทสญฺหิตา เอก อตฺถปท เสยฺโย ย สุตฺวา อุปสมฺมติ. "หากวาจาแม้ตั้งพัน ไม่ประกอบด้วยบทที่เป็น ประโยชน์ไซร้, บทที่เป็นประโยชน์ บทเดียว ซึ่ง บุคคลฟังแล้วสงบระงับได้ ประเสริฐกว่า."
ปรารภเรื่อง ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสพระคาถานี้ เรื่องมีอยู่ว่า บุรุษผู้ฆ่าโจรมีเคราแดง ได้ฆ่าโจรตามคำสั่งพระราชามอบหมายไว้ให้เป็นเพชรฆาต ทำปาณาติบาตคือการฆ่า โจรอย่างนี้เป็นเวลาถึง 55 ปี ครั้นเมื่อแก่ไม่ค่อยมีแรงในการฆ่าโจร จึงถูกปลดออกจาก ตำแหน่ง เมื่อถูกปลดแล้ว เขาก็ได้อาหารอย่างดีเพื่อจะเป็นผู้บริโภคอาหารนี้เอง ครั้งนั้น พระสารีบุตรออกจากสมาบัติ คิดว่าเราจะสงเคราะห์ใคร คือ ใครที่จะถวายอาหารกับเรา ประโยชน์ก็จะเกิดกับผู้ถวายนั้น เห็นบุรุษผู้ฆ่าโจรมีเคราแดงอยู่ในบุคคลที่จะสงเคราะห์ ได้ ท่านจึงไปที่หน้าเรือนของเขา เขาเห็นพระเถระแล้วเกิดจิตเลื่อมใส จึงตั้งใจถวาย อาหารที่ได้อย่างดีมา พระเถระรับและฉันเสร็จ เริ่มที่แสดงธรรม แต่บุรุษผู้ฆ่าโจรเครา แดง จิตฟุ้งซ่านเพราะนึกถึงกรรมที่ตัวเองทำเอาไว้ว่าเป็นกรรมหยาบช้า พระสารีบุตรจึง อธิบายให้เขาเข้าใจและมีจิตสงบ พระสารีบุตรท่านจึงแสดงธรรม เขาเมื่อฟังธรรมอยู่ บรรลุวิปัสสนาญาณขั้นสูงและไม่นาน แม่โคก็ขวิดเขาตายไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต พวกภิกษุทั้งหลายก็สนทนากันว่าเขาทำบาปมามากเขาจะเกิดที่ไหน พระพุทธเจ้า ตรัสตอบว่าเขาเกิดที่สวรรค์ชั้นดุสิต พวกภิกษุจึงถามว่าเขาทำบาปขนาดนี้เกิดที่สวรรค์ ชั้นดุสิตได้อย่างไร
พระพุทธองค์ทรงแสดงคุณของความเป็นผู้มีมิตรดีเพราะอาศัยพระสารีบุตร ทำให้ได้ฟังธรรม เมื่อฟังธรรมก็บรรลุได้ และพระพุทธเจ้าจึงตรัสต่อไปว่า เธออย่าสำคัญว่า ธรรมที่เราแสดงจะน้อยเลย บุคคลแม้คำฟังแม้เพียงน้อยแต่เป็นถ้อยคำที่ประเสริฐก็สามารถทำให้เขาบรรลุได้
พระพุทธเจ้าจึงตรัวพระคาถาว่า
"หากวาจาแม้ตั้งพัน ไม่ประกอบด้วยบทที่เป็นประโยชน์ไซร้, บทที่เป็นประโยชน์ บทเดียว ซึ่งบุคคลฟังแล้วสงบระงับได้ ประเสริฐกว่า."
อธิบายพระคาถา
วาจาใดที่จะมีแม้มากคือจะพูดมากอย่างไรก็ตาม แต่เป็นวาจาที่ไม่ประกอบด้วย
ประโยชน์ เป็นวาจาที่ไม่ให้กุศลจิต เป็นวาจาที่ไม่ให้ปัญญาเจริญ อันเป็นเดรัจฉานกถา
วาจาเหล่านั้นแม้จะมากเพียงใดก็ตามไม่ประเสริฐเลย เพราะไม่สามารถทำให้ผู้ฟังจิต
สงบด้วยกุศล และทำให้ปัญญาเกิดจนสามารถดับกิเลสได้ แต่วาจาใดแม้จะน้อยเพียง
คำสั้นๆ แต่สามารถทำให้ผู้ฟังสงบจากกิเลส เกิดกุศลจิตและที่สำคัญทำให้ผู้ฟังเข้าใจ
ความจริงของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ด้วยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แม้
คำเพียงสั้นๆ แต่ปัญญาเกิดได้ วาจานั้นเป็นวาจาประเสริฐเพราะสามารถทำให้ปัญญา
เจริญขึ้นได้จนสามารถบรรลุได้นั่นเอง
จำนวนของคำจึงไม่เป็นประมาณในการตัดสินว่าสิ่งใดประเสริฐหรือไม่ประเสริฐ แต่
คำใดจะมากหรือน้อยทำให้ผู้ฟังสงบจากกิเลส ปัญญาเกิดได้ถ้อยคำนั้นประเสริฐ ดั่งคำ
สอนอันเป็นพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นถ้อยคำประเสริฐเพราะสามารถทำให้
หมู่สัตว์รู้ตามความเป็นจริงของสภาพธรรมและสามารถดับกิเลสได้ครับ
ป.ล.เรื่องนี้เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสพระคาถาจบ ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น วาจา (ถ้อยคำ,คำพูด) ที่เลิศหรือประเสริฐกว่าวาจาทั้งหลาย คือ พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เพราะเหตุว่า สิ่งที่พระองค์ตรัสนั้น เป็นความจริง เป็นพระวาจาที่เป็นไปเพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูก ของผู้ที่ได้ยินได้ฟัง เกิดปัญญาเป็นของตนเอง เป็นไปเพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ในที่สุด ถ้อยคำอย่างอื่นที่ไม่เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญาและกุศลธรรมประการอื่นๆ ถึงแม้จะมีมากมาย ก็ไม่ประเสริฐ พระธรรม เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ได้สะสมเหตุที่ดีมา ได้ฟัง มีความเข้าใจถูก เห็นถูก เท่านั้น ไม่ได้เป็นประโยชน์สำหรับทุกคน ซึ่งจะเห็นได้ว่า ผู้ที่ได้ฟังพระธรรมในแนวทางที่ถูกต้อง มีน้อยมาก เมื่อเทียบ กับผู้ที่ไม่ได้ศึกษา (หรือศึกษาในแนวทางที่ไม่ถูกต้อง) ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอ,คุณผเดิม และ ทุกๆ ท่านครับ...
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 119
ข้อความบางตอนจาก โพธิราชกุมารสูตร
ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้เป็นธรรมลึก ยากที่จะเห็นได้ สัตว์อื่นจะตรัสรู้
ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบระงับ ประณีต ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงได้ด้วย
ความตรึก เป็นธรรมละเอียด อันบัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง.
...ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่...
ธรรมบทเดียวฟังแล้วสงบระงับ [พระกุณฑลเกสีเถรี]
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของ อ.คำปั่น, คุณผเดิม
และคุณหมอ ด้วยค่ะ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตทุกท่านครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
คำพูดใด ไม่ว่าจะมากหรือน้อย ถ้าพูดแล้วทำให้คนฟังเข้าใจธรรมะ ขัดเกลากิเลสได้
คำพูดนั้นประเสริฐ เป็นประโยชน์ และต้องรู้จักกาละที่จะพูด จึงเป็นวาจาสุภาษิตค่ะ
ชีวิตฆราวาสของผู้ที่เป็นปุถุชนนั้น พูดมาก และส่วนใหญ่พร่ำพูดแต่ทุพภาษิต คือ พูดคำที่ไม่สมควรด้วยอำนาจของกิเลสประการต่างๆ เพราะเหตุว่ายังไม่ได้รับการขัดเกลาในวินัยของพระอริยะอย่างเพียงพอ แต่พระธรรมของพระผู้มีพระภาคนั้น แม้ทรงกล่าวไว้น้อย แต่ผู้ฟัง ฟังแล้วสามารถที่จะบรรลุอริยสัจธรรมขั้นสูงสุดถึงความเป็นพระอรหันต์ได้ พระธรรมที่ทรงแสดงจึงเป็นยอดแห่งการกล่าววาจาในบรรดาวจีสุจริตทั้งหมด เพราะสามารถที่จะทำให้บุคคลระงับคำพูดที่ไม่ดีได้เป็นสมุจเฉท ตามระดับของปัญญาที่ดับกิเลสอันยังวจีทุจริตให้เกิดได้ ไม่ใช่ให้เพียงเว้นไม่กล่าว แต่ให้ถึงการที่จะไม่มีการกล่าววจีทุจริตนั้นๆ อีกต่อไปครับ
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอและทุกๆ ท่านครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาทุกท่านครับ