[เล่มที่ 72] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 566
เถรีอปทาน
เอกกุโปสถวรรคที่ ๒
เขมาเถรีอปทานที่ ๘ (๑๘)
ว่าด้วยบุพจริยาของพระเขมาเถรี
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 72]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 566
เขมาเถรีอปทานที่ ๘ (๑๘)
ว่าด้วยบุพจริยาของพระเขมาเถรี
[๑๕๘] พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระมีพระญาณจักษุในสรรพธรรม เป็นพระโลก นายกเสด็จอุบัติในที่แสนแต่กัปนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 567
ครั้งนั้น ดิฉันเกิดในสกุลเศรษฐีมีความ รุ่งเรืองด้วยรัตนะต่างๆ ในเมืองหังสวดี เป็นผู้ เพียบพร้อมไปด้วยความสุขมาก
ดิฉันเข้าไปเฝ้าพระพุทธมหาวีระพระองค์ นั้นแล้ว ได้ฟังธรรมเทศนา เกิดความเลื่อมใส ในพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ได้ถึงพระองค์เป็น สรณะ
ฉันขออนุญาตมารดาบิดาได้แล้ว นิมนต์ พระพุทธเจ้าผู้นำชั้นพิเศษให้เสวย พร้อมด้วย พระสงฆ์สาวก ตลอดสัปดาห์หนึ่ง เมื่อสัปดาห์ หนึ่งล่วงไปแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นสารถี ฝึกนระ ทรงตั้งภิกษุณีองค์หนึ่ง ซึ่งอุดมกว่าพวก ภิกษุณีฝ่ายที่มีปัญญามาก ในตำแหน่งเอตทัคคะ ดิฉันได้ฟังเรื่องนั้นแล้ว ความยินดีทำ สักการะแด่พระพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณใหญ่พระองค์นั้นอีก แล้วหมอบลงปรารถนาตำแหน่งนั้น.
ในทันใดนั้น พระพิชิตมารพระองค์นั้น ตรัสกะดิฉันว่า ความปรารถนาของเธอจักสำเร็จ สักการะที่เธอทำแล้วแก่เรา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ มีผลมาก
ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระศาสดาพระ นามว่าโคดม ทรงสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกาก-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 568
ราชจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก หญิงนี้จักได้เป็น ภิกษุณีชื่อเขมา ผู้เป็นธรรมทายาทของพระศาสดา พระองค์นั้น เป็นโอรสอันธรรมนิรมิต จักถึง ตำแหน่งเอตทัคคะ.
ด้วยกรรมที่ทำดีแล้วนั้น และด้วยการตั้ง เจตน์จํานงไว้ ดิฉันละร่างกายมนุษย์แล้ว ได้ เป็นผู้เข้าถึงสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์
จุติจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แล้ว ไปชั้น ยามา จุติจากชั้นยามาแล้วไปชั้นดุสิต จุติจากชั้น ดุสิตแล้ว ไปชั้นนิมมานรดี จุติจากชั้นนิมมานรดีแล้ว ไปชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
เพราะอำนาจบุญกรรมนั้น ดิฉันเกิดใน ภพใดๆ ได้เป็นพระอัครมเหสีของพระราชาใน ภพนั้นๆ
ดิฉันจุติจากภพนั้นแล้วมาเกิดเป็นมนุษย์ ได้เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ และ เป็นมเหสีของพระเจ้าเอกราช
เสวยทิพยสมบัติและมนุษย์สมบัติ มีความ สุขทุกภพ ท่องเที่ยวไปในกัปเป็นอเนก.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ พระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เป็นนายกของโลก งดงามน่าดู ยิ่งนัก ทรงเห็นแจ่มแจ้งในสรรพธรรม เสด็จ อุบัติขึ้นแล้วในโลก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 569
ดิฉันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ซึ่ง เป็นนายกของโลก เพราะได้ฟังธรรมอันประณีต ได้ออกบวชเป็นบรรพชิตในพระศาสนาของพระวีรเจ้าพระองค์นั้นอยู่หมื่นปี ประพฤติพรมจรรย์ ประกอบความเพียร เป็นพหูสูต
ฉลาดในปัจจัย มีความคล่องแคล่วใน จตุราริยสัจ มีปัญญาละเอียด แสดงธรรมไพเราะ ปฏิบัติตามสัตถุศาสน์อยู่หมื่นปี
ด้วยผลแห่งพรหมจรรย์ ดิฉันจุติจากภพ นั้นแล้วเข้าถึงสวรรค์ชั้นดุสิต เป็นผู้มียศ เสวย สมบัติในภพนั้นและภพอื่น
ดิฉันเกิดในภพใดๆ ก็เป็นผู้มีสมบัติมาก มีทรัพย์มาก มีปัญญา มีรูปงาม มีบริวารชนก็ว่า ง่าย
ด้วยบุญกรรมและความเพียรในศาสนา ของพระพิชิตมารนั้น สมบัติทุกอย่างดิฉันหาได้ ง่าย เป็นที่รักแห่งใจ
ด้วยผลแห่งความปฏิบัติของดิฉัน เมื่อ ดิฉันเดินไป ณ ที่ใดๆ ภัสดาของดิฉันและใครๆ ย่อมไม่ดูหมิ่นดิฉัน.
ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าพระนามว่า โกนาคมนะ ผู้เป็นพงศ์พันธุ์แห่งพรหม มียศมาก ประเสริฐกว่าพวกบัณฑิต เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 570
ในครั้งนั้นแหละกุลธิดาที่มั่งคั่งดีในเมือง พาราณสี ชื่อธนัญชานี ๑ สุเมธา ๑ สุเมธา ๑ ดิฉัน ๑ รวม ๓ คนด้วยกัน ได้ถวายสังฆารามแก่พระมุนี หลายพัน และได้สร้างวิหารอุทิศแด่พระพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระสาวกสงฆ์
เราทั้งหมดด้วยกันจุติจากภพนั้นแล้วไป สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยยศกว่า เทพธิดาและกุลธิดาในมนุษย์.
ในกัทรกัปนี้แหละ พระพุทธเจ้าพระนาม ว่ากัสสปะ ผู้เป็นพงศ์พันธุ์แห่งพรหม มียศมาก ประเสริฐกว่าพวกบัณฑิต เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
ในครั้งนั้น พระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกี ในพระนครพาราณสีอันอุดม เป็นอิสระแห่ง ประชาชน เป็นอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าผู้แสวง หาคุณอันยิ่งใหญ่
ดิฉันเป็นพระธิดาคนใหญ่ของท้าวเธอ มี นามปรากฏว่าสมณี ได้ฟังธรรมของพระพิชิตมาร ผู้เลิศแล้ว พอใจบรรพชา
แต่พระชนกนาถไม่ทรงอนุญาตแก่เราทั้ง หลาย เมื่ออยู่ในอาคารสถานในครั้งนั้น เรา ทั้งหลายผู้เป็นราบกัญญามิได้เกียจคร้าน ประพฤติ พรหมจรรย์ตั้งแต่เป็นกุมารี ดำรงอยู่ในสุขสมบัติ สองหมื่นปี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 571
พระราชธิดาทั้ง ๗ องค์ล้วนพอใจยินดีใน การบำรุงพระพุทธเจ้า พระราชธิดาทั้ง ๗ นั้น คือ นางสมณี ๑ นางสมณคุตตา ๑ นางภิกษุณี ๑ นางภิกขุทาสิกา ๑ นางธรรมา ๑ นาสุธรรมา ๑ และนางสังฆทาสิกาเป็นที่ ๗
พระราชธิดาทั้ง ๗ นั้น ได้มาเป็นดิฉัน เป็นพระอุบลวรรณาเถรี เป็นพระปฏาจาราเถรี เป็นพระกุณฑลเกสีเถรี เป็นพระกิสาโคตมีเถรี เป็นพระธรรมทินาเสถรี เป็นนางวิสาขา อาสิกา เป็นที่ ๗
บางครั้ง พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้เป็น ดังว่าดวงอาทิตย์ของนรชน ทรงแสดงธรรมเป็น อัศจรรย์ ดิฉันได้ฟังมหานิทานสูตรแล้วเล่าเรียน อยู่
เพราะกรรมที่ได้ทำไว้ดีแล้วนั้น และ เพราะการตั้งเจตน์จำนงไว้ ดิฉันละร่างกายมนุษย์ แล้ว ได้ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์.
ในภพหลังครั้งนี้ ดิฉันเป็นพระธิดาที่พอ พระทัยกรุณาโปรดปรานของพระเจ้ามัททราช ใน สากลนครอันอุดม
พร้อมกับเมื่อดิฉันเกิด พระนครนั้นได้มี ความเกษมสุข โดยคุณนิรมิตนั้น ชื่อดิฉันปรากฏ ว่า เขมา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 572
เมื่อใด ดิฉันเจริญวัยโตเป็นสาว มีรูป และผิวพรรณงาม เมื่อนั้น พระราชบิดาก็โปรด ปรานประทานดิฉันแก่พระเจ้าพิมพิสาร
ดิฉันเป็นที่โปรดปรานของพระราชสวามี ยินดีแต่ในการบำรุงรูป ไม่พอใจคนที่กล่าวโทษ รูปเป็นอันมาก.
ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารโปรดให้นัก ขับร้อง ขับเพลงพรรณาพระมหาวิหารเวฬุวัน ด้วยพระประสงค์จะทรงอนุเคราะห์ดิฉัน
ดิฉันสำคัญว่าพระมหาวิหารเวฬุวันอัน เป็นที่ประทับแห่งพระสุคตเจ้าเป็นที่รื่นรมย์ ผู้ ใดยังมิได้เห็นก็จัดว่าผู้นั้นยังไม่เห็นนันทวัน
พระมหาวิหารเวฬุวันเป็นดังว่านันทวัน อันเป็นที่เพลิดเพลินของนรชน ผู้ใดได้เห็นแล้ว นับว่าผู้นั้นเห็นซึ่งนันทวันดีแล้ว อันเป็นที่เพลิด เพลินของท้าวอมรินทร์
สักกเทาวราชทวยเทพละนันทวันแล้วลงมา ที่พื้นดิน เห็นพระมหาวิหารเวฬุวันอันน่ารื่นรมย์ เข้าแล้ว ก็อัศจรรย์ใจเพลินชมมิได้เบื่อ
พระมหาวิหารเวฬุวันเกิดขึ้นเพราะบุญ ของพระราชา อันบุญญานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ประดับแล้ว ใครเล่าจะกล่าวถึงความเจริญด้วย คุณแห่งพระมหาวิหารเวฬุวันให้จบได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 573
ครั้งนั้น ดิฉันได้ฟังความสำเร็จแห่ง พระมหาวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่ชอบโสตและชอบ ใจแล้ว ประสงค์จะเห็น ดิฉันจึงได้กราบทูล พระราชา.
ครั้งนั้น ท้าวมหิบดีจึงโปรดสั่งดิฉันผู้มุ่ง จะชมพระมหาวิหารเวฬุวัน พร้อมด้วยบริวารเป็น อันมาก ด้วยพระดำรัสว่า พระนางผู้มีสมบัติมาก เชิญเสด็จไปชม พระมหาวิหารเวฬุวัน อันเป็น ที่เย็นตา เปล่งปลั่งด้วยพระรัศมีแห่งพระสุคตเจ้า งามด้วยสิริทุกสมัย
ดิฉันทูลว่า เมื่อใด พระพุทธมุนีเสด็จ เข้ามาทรงบาตรในพระนครราชคฤห์อันอุดม เมื่อ นั้น หม่อมฉันจะเข้าไปชมพระมหาวิหารเวฬุวัน
เวลานั้น พระมหาวิหารเวฬุวันมีสวน ดอกไม้กำลังแย้มบาน หึ่งๆ ไปด้วยเสียงบิน ของภมรต่างชนิด และมีเสียงนกดุเหว่าร่ำร้องดัง เพลงขับ ทั้งมีเหล่านกยูงฟ้อนรำ
มีเสียงเบาไม่พลุกพล่านประดับไปด้วยที่ จงกรมต่างๆ สะพรั่งไปด้วยกุฎีและมณฑปที่ พระโยคีชอบปรารภบำเพ็ญเพียร
เมื่อดิฉันเที่ยวไปได้รู้สึกว่านัยน์ตาของ เรามีผล ครั้งนั้น ดิฉันได้เห็นภิกษุรูปหนึ่งประกอบ กิจอยู่ แล้วคิดไปว่า ภิกษุนี้ตั้งอยู่ในปฐมวัย มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 574
รูปน่าปรารถนา ปฏิบัติอยู่ในป่าที่น่ารื่นรมย์เช่น นี้ เหมือนคนอยู่ในที่มืด ภิกษุนี้ศีรษะโล้น คลุม สังฆาฏิ นั่งอยู่ที่โคนต้นไม้ ละความยินดีที่เกิดแต่ อารมณ์เจริญฌานอยู่ ธรรมดาคฤหัสถ์ควรจะบริ- โภคกามตามความสุข แก่แล้วจึงควรจะประพฤติ ธรรมอันเจริญงามนี้ในภายหลัง
ดิฉันสำคัญว่า พระคันธกุฏีที่ประทับแห่ง พระพิชิตมารว่างเปล่าจึงเข้าไป ได้เห็นพระพิชิตมารดังดวงอาทิตย์แรกอุทัย ประทับสำราญ พระองค์เดียว มีหญิงสาวสวยถวายการพัดอยู่ ครั้นแล้วดิฉันดำริผิดว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้องอาจกว่า นรชนพระองค์นี้มิได้เศร้าหมอง
หญิงสาวคนนั้น มีรัศมีเปล่งปลั่งดัง ทองคำ มีดวงตางามเช่นดอกบัว ริมฝีปากแดง ดังผลมะพลับสุก ชำเลืองแต่น้อยเป็นที่ยินดีแห่ง ใจและนัยน์ตา
มีลำแขนเหมือนทองคำ วงหน้าสวย ถัน ทั้งคู่เต่งตั้งดังดอกบัวตูม มีเอวกลมกล่อม ตะโพก ผึ่งผาย ลำขาน่ายินดี มีเครื่องตกแต่งงาม
เครื่องประดับสีแดงแวววาว นุ่งผ้าเนื้อ เกลี้ยงสีเขียว มีรูปสมบัติชมไม่เบื่อ ประดับด้วย สรรพาภรณ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 575
ดิฉันเห็นหญิงสาวนั้นเข้าแล้วคิดว่า โอ หญิงสาวคนนี้รูปงามเหลือเกิน เราไม่เคยเห็นด้วย นัยน์ตาในครั้งไหนๆ เลย
ขณะนั้น หญิงสาวคนนั้นถูกชราย่ำยี มี ผิวพรรณแปลกไป หน้าเหี่ยว ฟันหัก ผมหงอก น้ำลายไหล หน้าไม่สะอาด ใบหูแข็งกระด้าง นัยน์ตาขาว นมยานไม่งาม ตัวตกกระทั่วไป ร่างกายสั่นตลอดศีรษะ
หลังขด มีไม้เท้าเป็นคู่เดิน ร่างกาย ซูบผอมลีบไป ตัวสั่นงก ล้มลงแล้วหายใจถี่ๆ
ลำดับนั้น ความสังเวชอันไม่เคยเป็น ทำให้ขนลุกชูชัน ได้มีแก่ดิฉันว่า น่าตำหนิรูป อันไม่สะอาดที่พวกคนพาลยินดีกัน.
ขณะนั้น พระพุทธเจ้าผู้ทรงพระกรุณา มาก มีพระทัยปีติโสมนัส ทอดพระเนตรเห็น ดิฉันผู้มีใจสังเวชแล้ว ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า
ดูก่อนพระนางเขมา เชิญดูร่างกายอัน กระสับกระส่าย ไม่สะอาด โสโครก ไหลเข้า ถ่ายออก ที่พวกพาลชนยินดีกัน
ท่านจงอบรมจิตให้เป็นสมาธิมีอารมณ์ เดียวด้วยอสุภารมณ์เถิด ท่านจงมีกายคตาสติมาก ไปด้วยความเบื่อหน่ายเถิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 576
รูปหญิงนี้ ฉันใด รูปของท่านนั้นก็ฉัน นั้น รูปของท่านฉันใด รูปหญิงนี้ก็เป็นฉันนั้น ท่านจงคลายความพอใจในกายทั้งภายในภายนอก เสียเถิด.
จงอบรมอนิมิตตวิโมกข์ จงละมานานุสัย เสีย ท่านจักเป็นผู้สงบประพฤติไปเพราะละมานานุสัยนั้นได้. ชนเหล่าใด กำหนัดด้วยราคะเกาะกระแส อยู่ เหมือนแมลงมุมเกาะใยตรงกลางที่ทำไว้เอง
ชนเหล่านั้นตัดราคะนั้นเสีย ไม่มีความอาลัย ละกามสุขไป ย่อมละเว้นได้.
ขณะนั้น พระบรมศาสดาผู้เป็นสารถี ฝึกนรชน ทรงทราบดิฉันว่ามีจิตควรแล้ว จึงทรง แสดงมหานิทานสูตรเพื่อจะทรงแนะนำดิฉัน
ดิฉันได้ฟังพระสูตรอันประเสริฐนั้นแล้ว จึงระลึกถึงสัญญาในกาลก่อนได้ ดำรงอยู่ใน สัญญานั้นแล้ว ชำระธรรมจักษุให้หมดจด ทันใด นั้น ดิฉันหมอบลงแทบพระบาทยุคลแห่งพระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เพื่อประสงค์จะ แสดงโทษ จึงได้กราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเห็นแจ้งธรรมทั้งปวง หม่อมฉันขอถวายนมัสการแด่พระองค์ ข้าแต่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 577
พระองค์ผู้มีพระกรุณาเป็นที่อยู่ หม่อมฉันขอ ถวายนมัสการแด่พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เสด็จ ข้ามสงสารแล้ว หม่อมฉันขอถวายนมัสการแด่ พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้ประทานอมตธรรม หม่อมฉันขอถวายนมัสการแด่พระองค์
หม่อมฉันแล่นไปแล้วสู่ทิฏฐิอันรกชัฏ หลงใหลเพราะกามราคะ พระองค์ทรงแนะนำด้วย อุบายที่ชอบ เป็นผู้ยินดีแล้วในธรรมที่ทรงแนะนำ
สัตว์ทั้งหลายเหินห่างจากการเห็นท่านผู้ แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่เช่นพระองค์ ย่อมประสบ มหันตทุกข์ในสังสารสาคร
เมื่อใดหม่อมฉันยังมิได้มาเฝ้าพระองค์ผู้ เป็นสรณะแห่งสัตว์โลก ไม่เป็นศัตรูแก่สัตว์โลก เสด็จถึงที่สุดแห่งมรณะ มีธรรมเป็นประโยชน์ อย่างดี หม่อมฉันขอแสดงโทษนั้น
หม่อมฉันมัวยินดีในรูป ระแวงว่าพระองค์ไม่เกื้อกูล จึงมิได้มาเฝ้าพระองค์ผู้ทรง เกื้อกูลมาก ทรงประทานธรรมอันประเสริฐ หม่อม ฉันขอแสดงโทษนั้น.
ครั้งนั้น พระองค์ผู้ทรงพระมหากรุณา มีพระกระแสเสียงอันไพเราะ เมื่อทรงเอาน้ำอมฤต รดดิฉัน ได้ตรัสว่า ดูก่อนพระนางเขมา หยุด อยู่เถิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 578
ครั้งนั้น ดิฉันประนมนมัสการด้วยเศียร เกล้า ทำประทักษิณพระองค์แล้ว กลับไปเฝ้า พระราชสวามีผู้เป็นนรบดี แล้วกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงทรมานข้าศึก น่า ชมอุบายอย่างดีนั้น ที่พระองค์ทรงดำริแล้ว พระมุนีเจ้าผู้ไม่มีกิเลสให้อยากได้ หม่อมฉันผู้ปรารถนา จะชมพระมหาวิหารเวฬุวันได้เฝ้าแล้ว
ถ้าพระมหาราชจะทรงพระกรุณาโปรด หม่อมฉันผู้เบื่อหน่ายในรูปตามที่พระพุทธมุนีตรัส สอน จักบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้คงที่ พระองค์นั้น.
จบทุติยภาณวาร
ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น ทรงประนมกรอัญชลีตรัสว่า ดูก่อนพระน้องนาง พี่อนุญาตแก่พระน้อง บรรพชาจงสำเร็จแก่พระน้องเถิด
ครั้งนั้น ดิฉันบวชมาแล้วได้เจ็ดเดือน เห็นประทีปสว่างขึ้นและดับไป มีใจสังเวช
เบื่อหน่ายในสรรพสังขาร ฉลาดใน ปัจจยาการ ข้ามพ้นโอฆะ ๔ แล้ว ได้บรรลุ อรหัต เป็นผู้ชำนาญในฤทธิ์ ในทิพโสตธาตุและ เจโตปริยญาณ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 579
รู้ชัดปุพเพนิวาสญาณชำระทิพยจักษุให้ บริสุทธิ์ มีอาสวะทั้งปวงหมดสิ้นแล้ว บัดนี้ภพ ใหม่ไม่มีอีก
ญาณอันบริสุทธิ์ของดิฉัน ในอรรถะ ธรรมะ นิรุตติ และปฏิภาณ เกิดขึ้นแล้วใน พระพุทธศาสนา
ดิฉันเป็นผู้ฉลาดในวิสุทธิทั้งหลาย คล่อง แคล่วในกถาวัตถุ รู้จักนัยแห่งอภิธรรม ถึงความ ชำนาญในศาสนา
ภายหลัง พระราชสวามีผู้ฉลาด ตรัส ถามปัญหาละเอียดในโตรณวัตถุ ดิฉันได้วิสัชนา โดยควรแก่กถา
ครั้งนั้น พระราชาเสด็จเข้าเฝ้าพระสุคตเจ้าแล้ว ทูลสอบถามปัญหาเหล่านั้น พระพุทธเจ้า ทรงพยากรณ์เป็นอย่างเดียวกันกับที่ดิฉันวิสัชนา แล้ว
พระพิชิตมารผู้อุดมกว่านรชน ทรงพอ พระทัยในคุณสมบัตินั้น จึงทรงตั้งดิฉันไว้ใน ตำแหน่งเอตทัคคะว่า เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาภิกษุณี ผู้มีปัญญามาก
ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... คำสอน ของพระพุทธเจ้าดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 580
ทราบว่า ท่านพระเขมาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้แล.
จบเขมาเถรีอปทาน