การบรรลุธรรม ถ้าไม่เอาชีวิตเข้าแลก จะไม่ถึงใช่ไหมครับ
โดย คนบ้านดอน  14 ต.ค. 2554
หัวข้อหมายเลข 19898

ผมอ่านประวัติพระสายป่า ท่านสู้กับกิเลสดุเดือดมากครับ แต่ละรูป

บางรูปเข้าป่าธุดง เดินจงกรมเจอเสือมาครางครือๆ อยู่ข้างๆ ก็ไม่ได้หวั่นไหว ภาวนาเอาชีวิตเข้าแรก ถ้าเป็นกรรมเก่าที่ทำกับเสือไว้ก็จะยอมตาย

หรือแม้แต่ไม่มีใครไส่บาตร ก็ไม่ยอมเด็ดของป่า หรือหุงหาปรุงอาหารกินเอง ถ้าไม่มีก็ยอมตายมันเสียเดี๋ยวนั้น จนเทวดาต้องลงมาทำกายหยาบ เพื่อไส่ข้าวทิพย์ก็มี

ดังนั้นคนที่จะบรรลุเข้าสู่ขั้นโสดาบันได้ จิตใจต้องแกร่งดั่งเหล็ก เอาชีวิตเข้าแรก แม้จะเจออันตรายต่างๆ หรือแม้แต่ไม่มีข้าวกินก็ไม่ยอมผิดวินัย ยอมตายเสียดีกว่า

คนที่จะเข้าถึงอริยะได้ชีวิตนี้มอบให้แด่พระธรรม ดังนั้นผมจึงไม่แปลกใจที่พระโสดาบันจะหลุดจากการลงนรกภูมิ เพราะจิตท่านแน่นแน่ ชีวิตมอบให้แด่ศาสนา ไม่ได้ยึดถือชีวิตเลือดเนื้อ ไปแล้ว



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 14 ต.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

พระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของปัญญา เพราะเป็นเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ตาม

ความเป็นจริง การบรรลุธรรม เห็นสัจจะตามความเป็นจริง ก็ด้วย ปัญญา ไม่ใช่อย่างอื่นหากไม่มีปัญญา แม้จะตั้งใจ พยายามสักเพียงใด แต่เป็นความพยายามที่ไม่ถูกต้อง คือ

วิริยะที่ไม่ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิที่เป็นปัญญา ความเพียรนั้นก็ไม่สามารถที่จะทำให้

บุคคลนั้นบรรลุได้เลย พระพุทธเจ้าได้แสดงถึงเรื่องความเพียรไว้ว่า พระองค์ไม่ได้สรรเสริญ การปรารภ

ความเพียรทั้งหมด และไม่ได้ติเตียนการปรารภความเพียรทั้งหมด สิ่งใดที่เพียรแล้ว ทำ

ให้อกุศลลอดน้อยลง กุศลเจริญขึ้น พระองค์ทรงสรรเสริญ ส่วนความเพียรใดที่เมื่อ

กระทำแล้ว ทำให้อกุศลมากขึ้น กุศลน้อยลง ความเพียรนั้น พระองค์ไม่สรรเสริญ ดังนั้น

อกุศลจะน้อยลงและกุศลจะเจริญขึ้นก็เพราะมีปัญญา ความเห็นถูกเป็นสำคัญ หนทางในการบรรลุธรรม คือ มัชฌิมาปฏฺปทา คือ หนทางสายกลาง คือ ข้ามทางสุด

โต่งสองอย่าง ที่เป็นการทรมานตนและความยินดีพอใจในสิ่งต่างๆ ทางสายกลาง คือ

การอบรมเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 หรือ การเจริญสติปัฏฐาน นั่นก็คือ การรู้ลักษณะของ

สภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ดังนั้นธรรมมีอยู่แล้วเป็นปกติ ขาดแต่

เพียงปัญญาที่จะไปรู้สภาพธรรมที่มีในขณะนี้ ซึ่งหนทางให้ปัญญาเจริญคือ การฟังพระ

ธรรม ศึกษาพระธรรม เมื่อปัญญาเจริญขึ้น ก็สามารถรู้ความจริงในขณะนี้ โดยที่ไม่ต้อง

ทำตนให้ลำบาก แต่เป็นผู้มีปกติเจริญสติปัฏฐาน เพียงแต่อาศัยการฟังพระธรรม ศึกษา

พระธรรม ไม่ต้องหลีกเร้น ไม่ต้องเอาชีวิตเข้าแลก เพราะถ้าแลกด้วยควาไม่เข้าใจ ชีวิต

นั้นก็สูญเปล่า พระอริยสาวกในสมัยพุทธกาลมากมาย เป็นผู้มีปกติเจริญสติปัฏฐาน ท่านก็สามารถ

บรรลุธรรมได้ในชีวิตประจำวัน เพียงอาศัยการฟังพระธรรมจากพระพุทธเจ้า โดยไม่ต้อง

ทำตนให้ลำบาก หรือ เอาชีวิตเข้าแลกถึงจะบรรลุธรรมครับ เพราะหากเป็นชีวิต คือ จิต

และเจตสิกที่ไม่มีปัญญา ชีวิตที่แลกนั้นก็ไม่ได้ปัญญา เพราะขาดปัญญา ต่างจากผู้ที่

สะสมปัญญา แม้ขณะมีชีวิต ก็สามารถอบรมปัญญาได้ และบรรลุธรรมได้ในชีวิตประจำ

วัน เพราะการบรรลุธรรมก็้ดวยปัญญาเท่านั้น ไม่ใช่อย่างอื่นเลยครับ

คำว่า สาวก จึงหมายถึง ผู้ที่สำเร็จด้วยการฟัง คือ บรรลุเพราะอาศัยการฟัง การ

ศึกษา ผู้ที่ไม่ศึกษา ไม่ฟังพระธรรม จากพระพุทธเจ้าแล้วบรรลุ มีแต่พระปัจเจกพุทธเจ้า

และพระพุทธเจ้า ดังนั้นเมื่อเป็นสาวกก็ต้องอาศัยการฟัง ศึกษาพระธรรม ปัญญาจะ

ค่อยๆ เจริญขึ้นเป็นไปตามลำดับ จนถึงการปฏิบัติ ที่เป็นทางสายกลาง คือ การรู้ความ

จริงในสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใข่เราครับ จะสู้กิเลสได้ด้วยธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส คือ ปัญญา ไม่ใช่ชีวิตของตนครับ

ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 2    โดย daris  วันที่ 14 ต.ค. 2554

"จะสู้กิเลสได้ด้วยธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส คือ ปัญญา ไม่ใช่ชีวิตของตน"

ข้อความนี้ไพเราะจับใจที่สุด ชอบมากครับ

ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ผเดิมที่ให้ข้อคิดเตือนสติดีๆ ครับ


ความคิดเห็น 3    โดย khampan.a  วันที่ 14 ต.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระพุทธศาสนา เป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นบุคคลผู้เลิศที่สุด ประเสริฐที่สุดในโลก พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีพระมหากรุณาต่อสัตว์โลกทั้งปวง เมื่อพระองค์ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงแสดงพระธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้โปรดเวไนยสัตว์ ตลอดระยะเวลา ๔๕ พรรษา ทรงแสดงสัจจธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริง บ่อยๆ เนืองๆ ก็เพื่อให้ผู้ฟังมีความเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง พร้อมทั้งน้อมประพฤติปฏิบัติตาม จนกระทั่งถึงความเป็นผู้หมดจดจากกิเลสได้ในที่สุด จึงเห็นได้ว่า สิ่งที่เป็นที่พึ่งที่แท้จริงในชีวิตคือความเข้าใจพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ได้ฟังได้ศึกษา มีความเข้าใจตามความเป็นจริง เป็นไปเพื่อการเจริญขึ้นของปัญญา เพื่อขัดเกลากิเลสจนหมดสิ้น ถ้าไม่ได้อาศัยพระธรรม ไม่มีการอบรมเจริญปัญญาแล้ว สังสารวัฏฏ์ก็จะดำเนินไปอย่างไม่มีวันจบสิ้น ไม่ว่าพระองค์จะทรงแสดงธรรมโดยนัยใด ทั้งพระสูตร พระวินัย และ พระอภิธรรม ก็ไม่พ้นไปจากให้พุทธบริษัทได้เข้าใจธรรมตามความเป็นจริง เป็นปัญญาของตนเอง ไม่ได้ทรงสอนให้ผู้หนึ่งผู้ใด ไปทำอะไรที่ผิดปกติ แต่ทรงแสดงธรรมให้เข้าใจสิ่งที่มีจริง กำลังมีกำลังปรากฏในขณะนี้ ตามความเป็นจริง สำหรับผู้ที่ได้ฟัง ได้ศึกษา สะสมควมเข้าใจถูกเห็นถูกแล้ว มีความเข้าใจไปตามลำดับ เพียรก็เพียรถูก เพียรในการอบรมเจริญปัญญาเพื่อรู้ลักษณะของสภาพธรรม ทุกอย่างย่อมถูกหมด เพราะคล้อยตามความเข้าใจถูกเห็นถูกที่ค่อยๆ เจริญขึ้นนั่นเอง หนทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงค้นพบและทรงแสดงที่จะทำให้สัตว์โลกถึงความบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลส คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น ไม่ใช่ให้ไปทำอะไรด้วยความเป็นตัวตน หรือ ด้วยความไม่รู้ เพราะถ้าเริ่มต้นด้วยความไม่รู้ แล้ว จะเพียร (ผิด) ไปเท่าไหร่ ก็ไม่มีทางบรรลุธรรมได้ นอกจากจะเพิ่มกิเลสให้ตนเอง อย่างเดียว ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 4    โดย คนบ้านดอน  วันที่ 14 ต.ค. 2554

ปัญญาผมก็เข้าใจครับ คือ เริ่มด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา

เห็นไหม ถ้าเปรียบเหมือนบ้านคือที่ฐานราก เสาเข็ม ถ้าไม่แน่วแน่ เอาชีวิตเข้าแลกแล้ว ฐานรากที่ไม่แน่น แข็งแกร่งแล้่ว จะไปต่อที่โครงสร้าง หรือ หลังคา ก็เปล่าประโยชน์ เพราะจะล้มเครือ เอาง่ายๆ

ดังนั้นการเอาชีวิตเข้าแรก คือการสร้างฐานรากที่แข็งแกร่ง ถ้าบอกว่า มัชชิมา ถือทางสายกลาง ต้องถามว่ากลางแบบใหน กลางแบบยืนอยู่กลางถนน หรือไม่ จะไปข้างใหนก็ไม่ไปยึกๆ ยักๆ รถมันก็ชนตายเสีย

ฐานรากคือศีล ศีลไปอบรมสมาธิ สมาธิไปอบรมปัญญา ถ้าศีล=ฐานรากไม่สู้รักษาไว้ด้วยชีวิต แล้ว ศีลแผ่วเบา ไปอบรมสมาธิ สมาธิก็แผ่นเบา ไปอบรมปัญญา ปัญญาก็แผ่วเบา

แล้วปัญญาที่แผ่นเบา ไปอบรมสมาธิ สมาธิ ก็แผ่วเบา ไปอบรมศีล ศีลก็แผ่วเบา

ผมจึงเห็นว่า ความเพียรและใจเด็ด คือพื้นฐานสำคัญมากถ้าไม่แลกชีวิต ไม่มีวันไปถึงจิตใจโสดาบัน เพราะถ้าเจอปัญหาร้ายแรงถึงขั้นต้องแลกชีวิต จิตก็จะหลุดๆ ๆ เข้าๆ ธรรมะ ได้ครับ

เหมือนกล้องวงจรปิด ไม่เคยได้สัมผัสเหตุการณ์จริง ได้แต่เฝ้าดู


ความคิดเห็น 5    โดย chatchai.k  วันที่ 14 ต.ค. 2554

การบรรลุธรรมด้วยปัญญา มีตัวอย่างมากมายในพระไตรปิฎก เช่น นายเขมกะ ซึ่งเป็น

หลานชายของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เคยล่วงศีลมาก่อน แต่เมื่อได้ฟังธรรมจาก

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อบรมปัญญา ก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔-

หน้าที่ 205

๔. เรื่องบุตรเศรษฐีชื่อเขมกะ [๒๒๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภบุตรเศรษฐี

ชื่อเขมกะ ซึ่งเป็นหลานของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ตรัสพระธรรมเทศนา

นี้ว่า " จตฺตาริ านานิ " เป็นต้น.

เขมกะเป็นนักเลงเจ้าชู้ ถูกจับถึง ๓ ครั้ง

ดังได้สดับมา นายเขมกะนั้นเป็นผู้มีรูปสวย. โดยมากหญิงทั้งหลาย

เห็นเขาแล้ว ถูกราคะครอบงำ ไม่สามารถจะดำรงอยู่ตามภาวะของตนได้.

แม้เขาก็ได้เป็นผู้ยินดียิ่งในปรทารกรรม (กรรมคือการคบหาซึ่งภรรยาของ

ผู้อื่น) เหมือนกัน.

ต่อมาในเวลากลางคืน พวกราชบุรุษจับเขานำไปแสดงแด่พระราชา.

พระราชามิได้ตรัสอะไรกะเขา ด้วยทรงดำริว่า " เราละอายต่อมหาเศรษฐี "

แล้วรับสั่งให้ปล่อยไป. ฝ่ายนายเขมกะนั้นก็มิได้งดเว้นเลย. ต่อมา (อีก)

พวกราชบุรุษก็จับเขาแล้วแสดงแต่พระราชาถึงครั้งที่ ๒ ที่ ๓. พระราชา

ก็รับสั่งให้ปล่อยเช่นเคย. มหาเศรษฐีทราบเรื่องนั้นแล้ว พาเขาไปสำนัก

พระศาสดา กราบทูลเรื่องนั้นแล้วทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ

พระองค์โปรดแสดงธรรมแก่นายเขมกะนี้ "

พระศาสดาทรงแสดงโทษแห่งปรทารกรรม

พระศาสดาตรัสสังเวคกถาแก่เขาแล้ว เมื่อจะทรงแสดงโทษในการ

เสพภรรยาของคนอื่น ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

" นระผู้ประมาทชอบเสพภรรยาของคนอื่น ย่อม

ถึงฐานะ ๔ อย่าง คือ: การได้สิ่งที่มิใช่บุญ เป็นที่ ๑

การนอนไม่ได้ตามความปรารถนา เป็นที่ ๒ การ

นินทา เป็นที่ ๓ นรก เป็นที่ ๔. การได้สิ่งมิใช่บุญ

อย่างหนึ่ง, คติลามกอย่างหนึ่ง, ความยินดีของบุรุษผู้

กลัวกับด้วยหญิงผู้กลัว มีประมาณน้อยอย่างหนึ่ง,

พระราชาย่อมลงอาชญาอันหนักอย่างหนึ่ง, เพราะ-

ฉะนั้น นระไม่ควรเสพภรรยาของคนอื่น "

ในกาลจบเทศนา นายเขมกะดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว.


ความคิดเห็น 6    โดย kinder  วันที่ 14 ต.ค. 2554
การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด ขออนุโมทนา

ความคิดเห็น 7    โดย jaturong  วันที่ 17 ต.ค. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 8    โดย เซจาน้อย  วันที่ 8 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 9    โดย ผู้ร่วมเดินทาง  วันที่ 8 พ.ย. 2554

ขออนุญาตร่วมสนทนาด้วยนะครับ มีคำกล่าวที่เคยได้มีการสนทนาธรรมกันในกระดานสนทนา ซึ่งแสดงนัยของอุปนิสัยของบุคคลไว้ว่า จะรู้ว่าผู้ใดมีศีล ต้องอยู่ด้วยกันใกล้ชิด จะรู้ว่าผู้ใดสะอาด ต้องสังเกตที่วาจาถ้อยคำ จะรู้ว่าผู้ใดมีกำลังใจ ต้องสังเกตเมื่อยามอยู่ในอันตราย และจะรู้ว่าผู้ใดมีปัญญา ต้องสนทนากัน จากกระทู้ที่ตั้งประเด็นสนทนาว่า "การบรรลุธรรมะ ต้องเอาชีวิตเข้าแลก" อันเป็นการแสดงถึงความไม่ใส่ใจในชีวิตแม้จะต้องตกตายไปก็เพื่อพระธรรม ซึ่งผมก็เคยได้ยินได้ฟังมาจากพระที่เรียกว่าพระป่าเช่นกันว่า "นิพพานอยู่ฝากฝังตาย" อันมีความหมายว่า ต้องไม่คิดถึงชีวิตเลยจึงจะถึงฝังพระนิพพาน แต่ถ้อยคำดังกล่าวแสดงให้เห็นได้เพียงแค่กำลังใจของผู้นั้นเท่านั้น ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงปัญญาที่จะเอาชนะกิเลส หากจับแต่เฉพาะใจความนี้ ก็จะเข้าใจไปได้ว่า จะบรรลุธรรมต้องไม่กลัวตาย แต่ความไม่กลัวตายโดยไม่เข้าใจธรรมะที่ลึกซึ้งเลย ก็ไม่ต่างอะไรไปจากไก่ชนที่สู้กันในสนามจนตัวตาย พิสูจน์ได้แค่ความใจเด็ดเท่านั้น การยอมตายเพื่อศีลหรือสมาธิ เพื่อไปอบรมปัญญาทีหลัง ก็น่าสงสัยเนื่องจากยังไม่เข้าใจว่าศีล สมาธิ มีความสัมพันธ์กับปัญญาอย่างไร แต่ที่สำคัญกว่านั้น คือ อย่าพึ่งยอมตายเพื่อแลกกับสิ่งใดๆ แม้แต่พระธรรม จนกว่าจะเข้าใจอย่างแท้จริงว่า ยอมตายเพื่อแลกกับสิ่งนั้นได้จริงๆ หรือเปล่า? ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของการสนทนาของทุกท่านครับ