อรรถกถาสูตรที่ ๑ ประวัติพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี
โดย บ้านธัมมะ  16 ต.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 38382

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 3

เถริบาลี

อรรถกถาวรรคที่ ๕

อรรถกถาสูตรที่ ๑

ประวัติพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 3

เถริบาลี

อรรถกถาวรรคที่ ๕

อรรถกถาสูตรที่ ๑

๑. ประวัติพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี

ในสูตรที่ ๑ นั้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ด้วยบทว่า ยทิทํ มหาปชาปตี โคตมี ท่านแสดงว่า พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้รู้ราตรีนาน ในปัญหากรรมของท่าน มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ ดังนี้:-

ได้ยินว่า พระมหาปชาบดีโคตมีนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ถือปฏิสนธิในเรือนสกุล กรุงหังสวดี สมัยต่อมา กำลังฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้รู้ราตรีนาน ก็ทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. นางถวายทานรักษาศีลจนตลอดชีวิต จุติจากภพนั้นแล้วบังเกิดในเทวโลก จุติจากเทวโลกในพุทธันดรหนึ่งอีก ไปบังเกิดเป็นหัวหน้าทาสีในจำนวนทาสี ๕๐๐ คน ในกรุงพาราณสี. ครั้งนั้น สมัยเข้าพรรษา พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ ลงจากเงื้อมเขานันทมูลกะ ไปที่ป่าอิสิปตนะ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงแล้วกลับมาป่าอิสิปตนะ ดำริว่า ควรเราจักขอหัตถกรรมงานช่างฝีมือเพื่อทำกุฎีสำหรับเข้าจำพรรษา. เพราะเหตุไร. เพราะผู้จะเข้าอยู่จำพรรษาในฤดูฝน ทั้งปฏิบัตินาลกปฏิปทา จำต้องเข้าอยู่ในเสนาสนะประจำที่มุงบังด้วยเครื่องมุงบัง ๕ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง. สมจริง


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 4

ดังพระพุทธดำรัสนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่มีเสนาสนะไม่พึงเข้าอยู่จำพรรษา ภิกษุใดฝ่าฝืน ต้องอาบัติทุกกฏ ดังนี้. เพราะเหตุนั้น เมื่อใกล้ฤดูฝน [เข้าพรรษา] ถ้าได้เสนาสนะนั่นก็บุญละ ถ้าไม่ได้ ก็จำต้องแสวงหาหัตถกรรมทำ เมื่อไม่ได้หัตถกรรม ก็พึงทำเสียเอง. ภิกษุไม่มีเสนาสนะไม่ควรเข้าอยู่จำพรรษา. นี้เป็นธรรมดาประเพณี. เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นคิดว่า เราจำจักต้องขอหัตถกรรม จึงห่มจีวรเข้าไปสู่พระนครเวลาเย็น ยืนอยู่ที่ประตูเรือนของเศรษฐี. นางทาสีหัวหน้า ถือหม้อน้ำกำลังเดินไปท่าน้ำ เห็นเหล่าพระปัจเจกพุทธเจ้าเดินเข้าพระนคร เศรษฐีรู้เหตุที่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นมาแล้วก็กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่มีเวลา โปรดไปเถิด. ลำดับนั้น ทาสีหัวหน้า ถือหม้อน้ำจะเข้าไป เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นกาลังเดินจากพระนคร จึงลดหม้อน้ำลง ไหว้อย่างนอบน้อม เผยปากถามว่า ทำไมหนอ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายพอเข้าไปแล้วก็ออกไป. ท่านตอบว่า เราพากันมาก็เพื่อขอหัตถกรรมงานสร้างกุฎีสำหรับอยู่จำพรรษา. นางจึงถามว่า ได้ไหมล่ะเจ้าข้า. ตอบว่า ไม่ได้ดอก อุบาสิกา. นางถามว่า จำเป็นหรือที่คนใหญ่ๆ เท่านั้นจึงจะทำกุฎีนั้นได้ หรือแม้คนยากจนก็ทำได้. ท่านตอบว่า ใครๆ ก็ทำได้. นางจึงกล่าวว่า ดีละเจ้าข้า พวกดิฉันจักช่วยกันทำ ขอโปรดรับอาหารของดิฉันในวันพรุ่งนี้ นิมนต์แล้วก็ถือหม้อน้ำพักไว้ที่ทางท่าน้ำที่มาแล้ว กล่าวกับนางทาสีทั้งหลายว่า พวกเจ้าจงอยู่ตรงนี้กันนะ เวลาที่ทาสีเหล่านั้นมาก็กล่าวว่า พวกเจ้าทั้งหลาย พวกเราจักทำงานเป็นทาสีสำหรับคนอื่นกันตลอดไปหรือ หรือว่า อยากจะพ้นจากการเป็นทาสีเขา. เหล่าทาสีก็ตอบว่า พวกเราอยากพ้นเสียวันนี้นี่แหละ แม่เจ้า. นาง


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 5

จึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น เหล่าพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ ที่ยังไม่ได้หัตถกรรม เราก็นิมนต์ให้ฉันในวันพรุ่งนี้แล้ว พวกเจ้าจงให้สามีของพวกเจ้า ให้งานหัตถกรรมเสียวันหนึ่ง. เหล่าทาสีก็รับว่า ดีละ แล้วบอกพวกสามีเวลาที่เขาออกมาจากดงเวลาเย็น. สามีเหล่านั้นรับปากแล้วมาประชุมกันที่ประตูเรือนทาสีหัวหน้า ครั้งนั้น ทาสีหัวหน้าจึงกล่าวว่า พ่อทั้งหลาย พรุ่งนี้พวกเจ้าจงถวายหัตถกรรมแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายด้วย แล้วบอกอานิสงส์ ขู่คนที่ไม่อยากจะทำด้วยโอวาทอันหนักหน่วงให้ทุกคนยอมรับ. รุ่งขึ้น นางถวายอาหารแก่เหล่าพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วให้การนัดหมายแก่ลูกทาสทุกคน. ทันใดนั้นเอง ลูกทาสเหล่านั้นก็พากันเข้าป่า รวบรวมทัพพสัมภาระแล้ว สร้างกุฎีทีละหลังเป็นร้อยๆ หลัง จัดบริเวณมีที่จงกรมเป็นต้น วางเตียง ตั่ง น้ำฉัน น้ำใช้เป็นต้นไว้ ให้พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายรับปฏิญญาที่จะอยู่จำพรรษา ณ ที่นั้นตลอดไตรมาส ให้จัดเวรถวายอาหาร. ทาสีผู้ใดไม่อาจถวายในวันเวรของตนได้ ทาสีหัวหน้าก็นำอาหารจากเรือนตนถวายแทนทาสีผู้นั้น. ทาสีหัวหน้าบำรุงมาตลอดไตรมาสอย่างนี้ ให้ทาสีคนหนึ่งๆ จัดผ้าสาฎกคนละผืน. รวมเป็นผ้าสาฎกเนื้อหยาบ ๕๐๐ ผืน. นางให้เปลี่ยนแปสงผ้าสาฎกเนื้อหยาบเหล่านั้น ทำเป็นไตรจีวรถวายพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายไปสู่เขาคันธมาทน์ทางอากาศทั้งที่ทาสีเหล่านั้นเห็นอยู่นั่นแล.

ทาสีเหล่านั้นทุกคนทำกุศลจนตลอดชีวิต ก็บังเกิดในเทวโลก. บรรดาทาสีเหล่านั้น ทาสีหัวหน้าจุติจากภพนั้นแล้ว บังเกิดในเรือนของหัวหน้าช่างทอหูก ไม่ไกลกรุงพาราณสี. ต่อมาวันหนึ่ง พระปัจเจกพุทธ-


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 6

เจ้า ๕๐๐ องค์ บุตรนางปทุมวดี ที่พระเจ้ากรุงพาราณสีนิมนต์ไว้ มาถึงประตูพระราชนิเวศน์ ไม่พบคนใดๆ ที่จะดูแล จึงกลับออกไปทางประตูกรุง ไปยังหมู่บ้านช่างทอหูกนั้น. หญิงผู้นั้นเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย นึกเอ็นดู ก็ไหว้หมดทุกองค์ แล้วถวายอาหาร. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายฉันอาหารเสร็จแล้ว ก็ไปสู่เขาคันธมาทน์อย่างเดิม.

แม้หญิงผู้นั้นทำกุศลจนตลอดชีวิต ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์ แล้วถือปฏิสนธิในเรือนของเจ้ามหาสุปปพุทธะ กรุงเทวทหะ ก่อนพระศาสดาของเราบังเกิด. พระประยูรญาติถวายพระนามของท่านว่า โคตมี เป็นกนิษฐภคินีของพระนางมหามายา [พระพุทธมารดา]. เหล่าพราหมณ์ผู้ชำนาญมนต์ตรวจดูพระลักษณะแล้วพยากรณ์ว่า ทารกที่อยู่ในพระครรภ์ของพระนางทั้งสองพระองค์ จักเป็นจักรพรรดิ. พระเจ้าสุทโธทนมหาราชทรงมงคลอภิเษกกับพระนางทั้งสองพระองค์ เวลาที่ทรงเจริญวัยแล้วทรงนำไปอยู่พระราชนิเวศน์ของพระองค์. ต่อมา พระโพธิสัตว์ของเราจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางมหามายาเทวี. ในวันที่ ๗ ตั้งแต่วันที่พระโพธิสัตว์ประสูติแล้ว พระนางมหามายาเทวีก็สวรรคต บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต. พระเจ้าสุทโธทนมหาราชก็ทรงสถาปนาพระนางมหาปชาบดีโคตมี พระมาตุจฉา [พระน้านาง] ของพระมหาสัตว์ไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี. เวลานั้น นันทกุมารก็ประสูติ. พระมหาปชาบดีนี้ ทรงมอบพระนันทกุมารแก่พระพี่เลี้ยงนางนม ทรงประคบประหงมบำรุงพระโพธิสัตว์ด้วยพระองค์เอง. สมัยต่อมา พระโพธิสัตว์เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ทรง


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 7

อนุเคราะห์โลก เสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร. ครั้งนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราชพุทธบิดา ทรงสดับธรรมกถา ณ ระหว่างถนน เป็นพระโสดาบัน. ครั้นวันที่ ๒ พระนันทกุมาร ก็ทรงผนวช. วันที่ ๗ พระราหุลก็ทรงผนวช. ต่อมา พระศาสดาทรงอาศัยกรุงเวสาลีประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา. สมัยนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราชทรงทำให้แจ้งพระอรหัตแล้วปรินิพพานภายใต้พระมหาเศวตฉัตร.

ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีเกิดว้าเหว่พระหฤทัยจะทรงผนวช. แต่นั้น นางปาทปริจาริกาของพระกุมาร ๕๐๐ พระองค์ ผู้ซึ่งเสด็จออกทรงผนวชเมื่อจบกลหวิวาทสูตร ริมฝั่งแม่น้ำโรหิณี ทุกคนมีจิตเป็นอันเดียวกันว่า พวกเราจักเข้าไปเฝ้าพระนางมหาปชาบดีแล้วบวชในสำนักพระศาสดาหมดทุกคน จึงให้พระนางมหาปชาบดีเป็นหัวหน้า ประสงค์จะไปเฝ้าพระศาสดา. ก็พระนางมหาปชาบดีนี้ ทรงทูลขอบรรพชากะพระศาสดาครั้งเดียวครั้งแรกเท่านั้น ก็ไม่ได้. เพราะเหตุนั้น พระนางจึงรับสั่งเรียกช่างกัลบกมาแล้วให้ตัดพระเกศา ทรงครองผ้ากาสายะ [ผ้าย้อมน้ำฝาด] ทรงพาเหล่าสากิยานีทั้งหมดนั้น เสด็จถึงกรุงเวสาลี ให้ท่านพระอานนทเถระทูลอ้อนวอนพระทศพล ก็ทรงได้บรรพชาอุปสมบทด้วยครุธรรม ๘ ประการ. ส่วนเหล่าสากิยานีทั้งหมด ก็ได้อุปสมบทพร้อมกัน. นี้เป็นความสังเขปในเรื่องนี้. ส่วนเรื่องนี้โดยพิสดารมาแล้วในพระบาลี. ก็พระนางมหาปชาบดีครั้นทรงอุปสมบทอย่างนี้แล้ว เข้าเฝ้าพระศาสดาถวายบังคมแล้ว ประทับยืน ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง เวลานั้นพระศาสดาทรงแสดงธรรมโปรดพระนาง พระนางรับกรรมฐานในสำนักพระศาสดาก็บรรลุพระอรหัต. ภิกษุณี ๕๐๐ รูปนอกนั้น ก็บรรลุพระอรหัต


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 8

เมื่อจบนันทโกวาทสูตร. เรื่องนี้เกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้. ต่อมาภายหลัง พระศาสดาประทับนั่ง ณ พระเชตวันวิหาร เมื่อทรงสถาปนาภิกษุณีทั้งหลายไว้ในตำแหน่งเอคทัคคะหลายตำแหน่ง จึงทรงสถาปนาพระมหาปชาบดีไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกา ผู้เป็นรัตตัญญู รู้ราตรีนาน แล.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑