ปัจจยวิภังควาระ (ปัฏฐาน ภาคที่ ๑)
โดย บ้านธัมมะ  20 ก.พ. 2565
หัวข้อหมายเลข 42187

[เล่มที่ 85] พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑

พระอภิธรรมปิฎก

เล่มที่ ๗

ปัฏฐาน ภาคที่ ๑

ปัจจยวิภังควาระ

เหตุปัจจัย 2/30

วรรณนานิทเทสแห่งเหตุปัจจัย 30

อารัมมณปัจจัย 3/38

วรรณนานิทเทสแห่งอารัมมณปัจจัย 39

อธิปติปัจจัย 4/43

วรรณนานิทเทสแห่งอธิปติปัจจัย 44

อนันตรปัจจัย 5/48

วรรณนานิทเทสแห่งอนันตรปัจจัย 50

สมนันตรปัจจัย 6/54

วรรณนานิทเทสแห่งสมนันตรปัจจัย 56

สหชาตปัจจัย 7/57

วรรณนานิทเทสแห่งสหชาตปัจจัย 57

อัญญมัญญปัจจัย 8/60

วรรณนานิทเทสแห่งอัญญมัญญปัจจัย 61

นิสสยปัจจัย 9/62

วรรณนานิทเทสแห่งนิสสยปัจจัย 63

อุปนิสสยปัจจัย 10/65

วรรณนานิทเทสแห่งอุปนิสสยปัจจัย 66

ปุเรชาตปัจจัย 11/71

วรรณนานิทเทสแห่งปุเรชาตปัจจัย 73

ปัจฉาชาตปัจจัย 12/75

วรรณนานิทเทสแห่งปัจฉาชาตปัจจัย 75

อาเสวนปัจจัย 13/76

วรรณนานิทเทสแห่งอาเสวนปัจจัย 77

กัมมปัจจัย 14/80

วรรณนานิทเทสแห่งกัมมปัจจัย 80

วิปากปัจจัย 15/83

วรรณนานิทเทสแห่งวิปากปัจจัย 83

อาหารปัจจัย 16/85

วรรณนานิทเทสแห่งอาหารปัจจัย 85

อินทริยปัจจัย 17/87

วรรณนานิทเทสแห่งอินทริยปัจจัย 88

ฌานปัจจัย 18/91

วรรณนานิทเทสแห่งฌานปัจจัย 91

มัคคปัจจัย 19/93

วรรณนานิทเทสแห่งมัคคปัจจัย 93

สัมปยุตตปัจจัย 20/94

วรรณนานิทเทสห่งสัมปยุตตปัจจัย 94

วิปปยุตตปัจจัย 21/95

วรรณนานิทเทสแห่งวิปปยุตตปัจจัย 96

อัตถิปัจจัย 22/99

วรรณนานิทเทสแห่งอัตถิปัจจัย 101

นัตถิปัจจัย 23/105

วรรณนานิทเทสแห่งนัตถิปัจจัย 106

วิคตปัจจัย 24/107

วรรณนานิทเทสแห่งวิคตปัจจัย 107

อวิคตปัจจัย 25/107

วรรณนานิทเทสแห่งอวิคตปัจจัย 109

วรรณนาปัจจยนิทเทสวาระ 110


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 85]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 30

ปัจจยวิภังควาระ (๑)

[๒] เหตุปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นเหตุ กล่าวคือ

เหตุเป็นปัจจัย แก่ธรรมที่ประกอบกับเหตุ และแก่รูปทั้งหลายที่ เหตุและธรรมที่ประกอบกับเหตุนั้น เป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของ เหตุปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งเหตุปัจจัย

บัดนี้ เพื่อจะแสดงขยายความปัจจัยเหล่านี้ทั้งหมด ตามลำดับปัจจัยที่ได้ยกขึ้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำมีอาทิว่า ชื่อว่า เหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุ เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ และแก่รูปที่มีเหตุและ ธรรมที่สัมปยุตกับเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย. บรรดา ปัจจัย ๒๔ เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกเหตุปัจจัยนี้ขึ้นแสดงก่อนกว่าปัจจัยทั้งหมด แล้วก็ทรงจำแนกไปตามลำดับที่ทรงตั้งไว้. แม้ใน ปัจจัยที่เหลือ ผู้ศึกษาพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกบทที่ควรจำแนกขึ้นก่อน และทำการวิสัชนาโดยนัยนี้เหมือนกัน. ส่วนสัมพันธ์บท (บทที่เกี่ยวข้องกัน) ในอธิการนี้ ปัจจัยใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้น ในอุทเทสแห่งปัจจัยว่า "เหตุปจฺจโย" ปัจจัยนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบ โดย นิทเทส อย่างนี้ว่า เหตุ เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ และแก่รูปที่มีเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจเหตุปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบสัมพันธ์กับการวิสัชนาบทที่ควรจำแนกด้วยปัจจัยทั้งหมด โดยอุบายนี้.


(๑) เรียกว่า ปัจจัยนิทเทส ก็ได้.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 31

บัดนี้ มีคำถามว่า ในคำว่า เหตุ เหตุสมฺปยุตฺตกานํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสว่า เหตุสมฺปยุตฺตกานํ แต่ตรัสว่า เหตุ เหตุสมฺปยุติกานํ ดังนี้ เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะเป็นการกำหนดปัจจัยและปัจจยุบบัน. จริงอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหตุสมฺปยุตฺตกานํ การกำหนดปัจจัยว่า ธรรมชื่อโน้นเป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยเหตุ ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย ดังนี้ ใครๆ ก็ทราบ ไม่ได้. อีกอย่างหนึ่ง เพราะไม่ถือเอาเนื้อความว่า ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยเหตุ ชื่อว่า เหตุสัมปยุตตกานํ ใจความพึงมีว่า เหตุเป็นปัจจัยแก่ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่สัมปยุตกัน ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย. เมื่อเป็นเช่นนั้น แม้จักขุวิญญาณจิต เป็นต้น ที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ ก็ชื่อว่า สมฺปยุตฺตกา (ประกอบกัน) เหมือนกัน ทั้งธรรมมีกุศลเป็นต้น ที่ประกอบด้วยเหตุ ก็ชื่อว่า สมฺปยุตฺตกา ด้วย. บรรดาปัจจยุบบันเหล่านั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหตุนี้ เป็นปัจจัยแก่ธรรมชื่อโน้นซึ่งสัมปยุตกัน การกำหนดธรรมที่เป็นปัจจยุบบันใครๆ ก็รู้ไม่ได้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงกำหนดทั้งปัจจัยและปัจจยุบบัน จึงตรัสว่า เหตุ เหตุสมฺปยุตฺตกานํ (เหตุเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ).

ข้อนั้นมีอธิบายว่า เหตุที่สัมปยุต เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลาย มีกุศลเป็นต้นที่สัมปยุตด้วยเหตุ ด้วยอำนาจเหตุปัจจัย. แม้ในคำนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ตรัสว่า ปจฺจโย อย่างเดียวตรัสว่า เหตุปจฺเยน ด้วย เพื่อปฏิเสธความที่เหตุเป็นปัจจัยโดยประการอื่น. จริงอยู่ เหตุนี้เป็น ปัจจัยด้วยอำนาจของเหตุปัจจัยก็ได้ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัยเป็นต้น


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 32

ก็ได้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า เหตุปจฺจเยน ไว้ในอธิการนั้น ก็เพื่อ ปฏิเสธความที่เหตุนี้เป็นปัจจัยโดยประการอื่น มีสหชาตปัจจัยเป็นต้น.

ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ ตรัสว่า ตํสมฺปยุตฺตกานํ มาตรัสว่า เหตุสมฺปยุตฺตกานํ.

ตอบว่า เพราะปัจจัยที่จะอธิบายยังไม่ปรากฏ.

จริงอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ตํสมฺยุตฺตกานํ ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น จะชื่อว่า ตํสมฺปยุตฺตถา ด้วยธรรมที่เป็นเหตุอันใด ธรรมที่เป็นเหตุอันนั้นซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าก็พึงทรงชี้แจงว่า ธรรม ชื่อนี้ ยังไม่ปรากฏ เพราะข้อที่ธรรมนั้นยังไม่ปรากฏ บัณฑิตจะเรียกธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุอันใดนั้นว่า ตํสมฺปยุตฺตกานํ ดังนี้ เพื่อจะแสดงเหตุ อันนั้นโดยย่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เหตุสมฺปยุตฺตกานํ.

ส่วนในคำว่า ตํสมุฏฺานานํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงใช้ศัพท์ว่า ตํ นั้น เพราะปัจจัยที่ควรอธิบายปรากฏแล้ว. จริงอยู่ ในอธิการนี้ มีเนื้อความดังนี้ว่า เหตุเหล่านั้นด้วย ธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุด้วย เป็นสมุฏฐานแห่งรูปเหล่านั้น เพราะฉะนั้น รูปเหล่านั้นจึงชื่อว่า มีเหตุและธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุเป็นสมุฏฐาน เหตุเป็นปัจจัยแก่รูปเหล่านั้น อันมี เหตุและธรรมอันสัมปยุตด้วยเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน อธิบายว่า แก่รูปอันเกิดจากเหตุและธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ. ทรงถือเอารูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ด้วยคำนี้. ถามว่า ก็รูปนั้นย่อมเกิดขึ้น แม้ด้วยธรรมอื่นจากจิตก็ได้หรือ ตอบว่า เกิดขึ้นได้. จริงอยู่ จิตและเจตสิกแม้ทั้งหมดเกิดพร้อมกันแล้ว จึงให้รูปเกิดขึ้นได้ (เว้นจากจิต คือเจตสิก) แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดย โลกียธรรมเทศนาว่า รูปอันมีจิตเป็นสมุฏฐานตามวิธีนั้น เพราะความที่จิต


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 33

เป็นใหญ่. เพราะเหตุนั้นเองพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ธรรมคือจิตและเจตสิก เป็นปัจจัยแก่รูปซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐานด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย ถามว่า ถ้าอย่างนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในอธิการนี้ว่า ตํสมุฏฺานานํ ไม่ตรัสว่า จิตฺตสมุฏานานํ ดังนี้ เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะสงเคราะห์ รูปที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเข้ามาด้วย. จริงอยู่ ในปัญหาวาระมีอาคตสถานว่า เหตุที่เป็นวิปากาพยากตะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยเหตุ และแก่กัมมชรูปในขณะปฏิสนธิ ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย. พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ตรัสว่า จิตฺตสมุฏฺานานํ แต่ตรัสว่า ตํสมุฏฺานานํ ไว้ในอธิการนี้ ก็เพื่อจะสงเคราะห์กัมมชรูปนั้นไว้ด้วย.

บทนั้นมีใจความว่า เหตุเหล่านั้นและธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ แม้จะไม่ได้ยังจิตตชรูปให้เกิดได้ แต่ก็จัดเป็นสมุฏฐานแห่งรูปเหล่านั้น ด้วยอำนาจสหชาตปัจจัยเป็นต้น เพราะเหตุนั้น รูปเหล่านั้นจึงชื่อว่า มีเหตุและธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน. เหตุเป็นปัจจัยแก่กัมมชรูปเหล่านั้น ซึ่งมีเหตุและธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน. เหตุเป็นปัจจัยแก่จิตตชรูปในปวัตติกาล และแก่กัมมชรูปในปฏิสนธิกาลด้วยอำนาจ ของเหตุปัจจัย. แม้อรรถในอาคตสถานว่า ตํสมุฏฺานานํ ในบทอื่นๆ ผู้ศึกษาก็พึงทราบอธิบายโดยอุบายนี้.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร เหตุนี้จึงเป็นเหตุปัจจัยแก่กัมมชรูปในปฏิสนธิกาลอย่างเดียว ไม่เป็นเหตุปัจจัยในปวัตติกาลด้วย.

ตอบว่า เพราะว่ากัมมชรูปมีความเป็นไปเกี่ยวเนื่องกับจิตในปฏิสนธิกาล. จริงอยู่ ในปฏิสนธิกาล กัมมชรูปมีความเป็นไปเกี่ยวเนื่องกับจิต คือย่อมเกิดขึ้นและตั้งอยู่ได้ด้วยอำนาจของจิต. เพราะ


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 34

ว่าในขณะนั้นจิตไม่สามารถจะยังจิตตชรูปให้เกิดขึ้นได้. รูปแม้เหล่านั้นเว้นจิตเสียย่อมไม่สามารถจะเกิดขึ้นและตั้งอยู่ได้. เพราะเหตุนั้นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า นามและรูปย่อมเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เมื่อวิญญาณนั้นยังดำรงอยู่ นามและรูปจึงเกิด ขึ้นได้.

แต่ในปวัตติกาล กัมมชรูปเหล่านั้น แม้จิตจะยังมีอยู่ ก็มีความเป็นไปเกี่ยวเนื่องด้วยกรรมเท่านั้น หาเกี่ยวเนื่องด้วยจิตไม่. อนึ่งสำหรับบุคคลผู้เข้านิโรธ แม้ไม่มีจิตเกิด กัมมชรูปก็ยังเกิดได้.

ถามว่า เพราะเหตุไร ในปฏิสนธิขณะจิตจึงไม่สามารถให้ จิตตชรูปเกิดขึ้นได้

ตอบว่า เพราะมีกำลังอ่อน ด้วยถูกกำลังกรรมซัดไป และยังไม่มีที่อาศัยอันมั่นคง. จริงอยู่ในปฏิสนธิกาล จิตนั้นถูกกำลังกรรมซัดไป และชื่อว่ายังไม่มีที่อาศัยอันมั่นคง เพราะยังไม่มีวัตถุรูปที่เป็นปุเรชาต-ปัจจัย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มีกำลังอ่อน.

เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิจิตจึงไม่สามารถให้รูปเกิดขึ้นได้ เหมือนคนที่พอตกลงไปในเหวไม่สามารถจะแสดงศิลปใดๆ ได้. ก็กัมมชรูปเท่านั้นตั้งอยู่ในฐานแห่งรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานสำหรับบุคคลนั้น. และจิตนั้นก็ตั้งอยู่ในฐานะเป็นพืชแห่งกัมมชรูปเท่านั้น. ส่วนกรรมเปรียบเหมือนที่นา กิเลสเปรียบเหมือนน้ำ สำหรับกัมมชรูปนั้น เพราะฉะนั้น ใน ขณะปฏิสนธิ รูปกายย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยอานุภาพของจิต เปรียบเหมือนเมื่อมีที่นาและน้ำ ต้นไม้ย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยอานุภาพแห่งเมล็ดพืชในคราวเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก. แม้เว้นจากจิต กัมมชรูปก็ย่อมเป็นไปได้เพราะกรรม


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 35

เปรียบเหมือนเมล็ดพืชหมดแล้ว ต้นไม้ก็เจริญเติบโตขึ้นได้ด้วยอานุภาพแห่งดินและน้ำนั่นเอง. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า กรรมเปรียบเหมือนที่นา วิญญาณเปรียบเหมือนพืช ตัณหาเปรียบเหมือนยาง.

ก็แลเนื้อความนี้ผู้ศึกษาพึงถือเอาด้วยอำนาจแห่งโอกาส (ภูมิ) เท่านั้น จริงอยู่ โอกาสมี ๓ คือโอกาสแห่งนาม โอกาสแห่งรูป โอกาสแห่งนามและรูป.

บรรดาโอกาสทั้ง ๓ นั้น อรูปภพ ชื่อว่า โอกาสแห่งนาม. เพราะ ชื่อว่าในอรูปภพนั้น อรูปธรรมเท่านั้นย่อมเกิดขึ้นโดยเว้นซึ่งรูปเป็นปัจจัย แม้เพียงหทัยวัตถุ.

อสัญญภพ ชื่อว่า โอกาสแห่งรูป เพราะว่าในอสัญญภพนั้น รูปธรรมย่อมเกิดขึ้นโดยเว้นซึ่งนามเป็นปัจจัย แม้เพียงปฏิสนธิจิต.

ปัญจโวการภพ ชื่อว่า โอกาสแห่งนามและรูป เพราะว่าใน ปัญจโวการภพนั้น ในปฏิสนธิกาลเว้นแม้เพียงวัตถุรูป นามธรรมย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ และเว้นปฏิสนธิจิตเสีย รูปธรรมที่เกิดจากกรรมย่อมเกิดขึ้นไม่ได้เหมือนกัน ทั้งรูปธรรมและนามธรรมย่อมเกิดขึ้นคู่กัน.

เหมือนอย่างว่า ในเรือนหลวงที่มีเจ้าหน้าที่ มีคนเฝ้าประตูเว้นคำสั่ง ของพระราชาเสีย ใครจะเข้าไปก่อนไม่ได้ แต่ภายหลังจากได้รับอนุญาต แม้จะเว้นคำสั่งก็เข้าไปได้ ด้วยอานุภาพและคำสั่งคราวก่อน ฉันใดในปัญจโวการภพ เว้นปฏิสนธิวิญญาณ อันมีสหชาตปัจจัยเป็นต้น เป็นปัจจัย รูปที่จะเกิดครั้งแรก ด้วยสามารถปฏิสนธิไม่มี แต่ภายหลัง ปฏิสนธิกาล แม้จะเว้นปฏิสนธิวิญญาณ ซึ่งมีอานุภาพแห่งสหชาตปัจจัย เป็นต้นเป็นปัจจัย รูปที่เกิดด้วยอำนาจกรรมในก่อน ย่อมเป็นไปได้


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 36

เพราะกรรมนั่นแล ฉันนั้น. ส่วนอสัญญภพย่อมไม่เป็นโอกาสแห่งอรูป เพราะฉะนั้น ในอสัญญภพนั้น เว้นนามที่เป็นปัจจัยเสีย รูปก็ย่อมเป็นไปได้ เพราะเป็นภูมิ (ที่เกิด) ของสัตว์ที่ไม่มีสัญญา เปรียบเหมือนในเรือนว่างที่ไม่มีเจ้าของ หรือในเรือนของตน ตนย่อมเข้าไปได้ฉะนั้น. แม้อรูปภพ ย่อมไม่เป็นโอกาสแห่งรูป เพราะฉะนั้น ในอรูปภพนั้นเว้นรูปที่เป็นปัจจัยเสีย นามธรรมย่อมเป็นไปได้ เพราะเป็นภูมิของสัตว์ผู้รู้แจ้ง. ก็ปัญจโวการภพเป็นโอกาสแห่งรูปและนาม เพราะฉะนั้น ในปฏิสนธิกาลในปัญจโวการภพนี้ เว้นนามที่เป็นปัจจัยแล้ว รูปจะเกิดขึ้นได้ย่อมไม่มีแล. เหตุนี้ปฏิสนธิจิตจึงเป็นปัจจัยแก่กัมมชรูปในปฏิสนธิกาล เท่านั้น หาเป็นในปวัตติกาลไม่ ดังพรรณนามาแล้ว แล.

ถามว่า ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหตุเป็นปัจจัยแก่ธรรม ที่เกิดขึ้นพร้อมกับเหตุ ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย เนื้อความนี้ทั้งหมด ทรงถือเอาแล้วมิใช่หรือ เมื่อเป็นอย่างนั้น คำนี้ว่า เหตุเป็นปัจจัยแก่ธรรม ที่สัมปยุตด้วยเหตุ และแก่รูปที่มีเหตุนั้นเป็นสมุฏฐานดังนี้ พระองค์ทรงถือเอาอีกเพราะเหตุไร.

ตอบว่า เพราะทรงปฏิเสธความเป็นปัจจัยแก่กัมมชรูปเป็นต้น ในปวัตติกาล. จริงอยู่ เมื่อเป็นเช่นนั้น กัมมชรูปและรูปที่มีอุตุและอาหารเป็นสมุฏฐานเหล่าใด เกิดขึ้นในขณะเดียวกับเหตุในปวัตติกาล เหตุต้องเป็นเหตุปัจจัยแก่รูปเหล่านั้นได้ แต่ว่าเหตุหาได้เป็นปัจจัยแก่รูปเหล่านั้นไม่ เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาคำนั้นด้วย ก็เพื่อจะปฏิเสธความที่เหตุเป็นปัจจัย แก่กัมมชรูปเป็นต้นนั้น (ในปวัตติกาล).


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 37

บัดนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยในเหตุปัจจัยนี้ ด้วยอำนาจแห่งบทเหล่านี้ว่า นานปฺปการเภทโต (โดยการจำแนกโดยประการต่างๆ) ปจฺจยุปฺปนฺนโต (โดยปัจจยุบบัน) ต่อไป.

บทว่า นานปฺปการเภทโต มีอธิบายว่า ชื่อว่าเหตุนี้โดยชาติ มี ๔ อย่าง คือกุศลชาติ อกุศลชาติ วิปากชาติ และกิริยาชาติ. บรรดาชาติ ๔ อย่างนั้น กุศลเหตุ ว่าโดยลำดับแห่งภูมิมี ๔ โดยแจกเป็นกามาวจรภูมิเป็นต้น. อกุศลเหตุ เป็นกามาวจรอย่างเดียว. วิปากเหตุมี ๔ อย่าง โดยจำแนกเป็นกามาวจรเป็นต้น. กิริยาเหตุมี ๓ คือกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร. บรรดาเหตุเหล่านั้น กามาวจรกุศลเหตุ ว่าโดยชื่อมี ๓ ด้วยอำนาจอโลภเหตุเป็นต้น. แม้ในรูปาวจรกุศลเหตุเป็นต้น ก็นัยนี้ เหมือนกัน. อกุศลเหตุมี ๓ ด้วยอำนาจโลภเหตุเป็นต้น. ส่วนวิปากเหตุ กิริยาเหตุ มีอย่างละ ๓ ด้วยอำนาจอโลภเหตุเป็นต้น. ส่วนการจำแนก เหตุนั้นๆ โดยประการต่างๆ ย่อมมีด้วยอำนาจการประกอบกับจิต นั้นๆ นั่นแหละ. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยประการต่างๆ ในเหตุนี้ เท่านี้ก่อน.

บทว่า ปจฺจยุปฺปนฺนโต มีเนื้อความว่า ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย อย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นเพราะปัจจัยนี้ เหตุนี้ ปัจจัยนี้จึงชื่อว่า เป็นปัจจัยแก่นามธรรมเหล่านี้. บรรดาปัจจัยเหล่านั้นพึงทราบวินิจฉัยในเหตุปัจจัยนี้ก่อน.

กามาวจรกุศลเหตุ เป็นเหตุปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในกามภพ และรูปภพทั้งหลาย. ในอรูปภพเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น.


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 38

รูปาวจรกุศลเหตุ เป็นเหตุปัจจัย แก่ธรรมที่สัมปยุต และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในกามภพ และรูปภพเท่านั้น.

อรูปาวจรกุศลเหตุ เหมือนกับกามาวจรกุศลเหตุนั่นเอง.

โลกุตตรกุศลเหตุ และอกุศลเหตุก็เหมือนกัน.

ส่วนกามาวจรวิบากเหตุ เป็นเหตุปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน เฉพาะในกามภพเท่านั้น เป็นเหตุปัจจัยแก่กัมมชรูปในปฏิสนธิกาล และเป็นปัจจัยแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปวัตติกาล.

รูปาวจรวิบากเหตุ เป็นเหตุปัจจัยแก่ธรรมมีประการดังกล่าวแล้ว ในรูปภพนั้นเอง. อรูปาวจรวิบากเหตุ เป็นเหตุปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น ในอรูปภพ. โลกุตตรวิบากเหตุ เป็นเหตุปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ในกามภพและรูปภพ เป็นเหตุปัจจัยแก่ อรูปธรรมเท่านั้นในอรูปภพ. ส่วนใน กิริยาเหตุ มีนัยแห่งการเป็นปัจจัยเหมือนกับกุศลเหตุในภูมิทั้ง ๓ ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย แม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในเหตุปัจจัยนี้ ดังพรรณนามาฉะนี้ แล.

วรรณนานิทเทสแห่งเหตุปัจจัย จบ

[๓] อารัมมณปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็น อารมณ์ กล่าวคือ

๑. รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลาย ที่ประกอบกับจักขุวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 39

๒. สัททายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลาย ที่ประกอบกับโสตวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

๓. คันธายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลาย ที่ประกอบกับฆานวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

๔. รสายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลาย ที่ประกอบกับชิวหาวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

๕. โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลาย ที่ประกอบกับกายวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

๖. รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ ๓ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

๗. ธรรมเหล่าใดๆ คือจิตและเจตสิกทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น เพราะปรารภธรรมเหล่าใดๆ ธรรมเหล่านั้นๆ เป็นปัจจัยแก่ธรรมเหล่านั้นๆ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

วรรณานิทเทสแห่งอารัมมณปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย ในนิทเทสแห่งอารัมมณปัจจัยต่อไป.

บทว่า รูปายตนํ ได้แก่ อายตนะ กล่าวคือ รูป. แม้ในธรรมที่


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 40

เหลือก็นัยนี้แหละ. บทว่า จกฺขุวิญญาณธาตุยา แปลว่า แก่ธาตุ คือจักขุวิญญาณ. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ตํ สมฺปยฺตฺตกานํ แปลว่า แก่ขันธ์ ๓ ที่สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั้น. อธิบายว่า รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๔ ที่อาศัยจักขุประสาท แม้ทั้งหมดด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย. ในธรรมอื่นจากนี้ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า มโนธาตุยา ความว่า อายตนะ ๕ มีรูปายตนะเป็นต้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุทั้ง ๓ พร้อมทั้งธรรมที่สัมปยุต ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย แต่ไม่ได้เป็นไปในขณะเดียวกัน. สองบทว่า สพฺเพ ธมฺมา ความว่า อายตนะ ๕ มี รูปายตนะเป็นต้นเหล่านี้ด้วย ไญยธรรมทั้งหมดที่เหลือด้วย เป็นปัจจัยแก่มโน-วิญญาณธาตุ พร้อมทั้งธรรมที่สัมปยุตที่เหลือ เว้นธาตุ ๖ เหล่านี้ (๑) ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

ด้วยคำว่า ยํ ยํ ธมฺมํ อารพฺภ เป็นต้นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ธรรมเหล่าใดที่ตรัสว่าเป็นอารมณ์แห่งวิญญาณธาตุ ๗ เหล่านี้ ธรรมเหล่านั้นเป็นอารัมมณปัจจัยแก่ธาตุเหล่านั้น ในขณะที่ทำให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น. ถึงแม้ว่าธรรมเหล่านั้นจะเป็นอย่างนั้นก็จริง แต่ก็หาได้ เป็นอารัมมณปัจจัยในคราวเดียวกันไม่ เพราะว่าธรรมเหล่าใดๆ ปรารภธรรมเหล่าใดๆ เกิดขึ้น ธรรมเหล่านั้นๆ เป็นอารัมมณปัจจัยแก่ธรรมเหล่านั้นๆ เฉพาะอย่างๆ เท่านั้น.

บทว่า อุปฺปชฺชติ ผู้ศึกษาพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เหมือนคำว่า น้ำย่อมไหลไป ภูเขาย่อมตั้งอยู่ อันพระองค์ตรัสด้วยอำนาจ การพูดคลุมไปถึงกาลทั้งหมด. ด้วยบทนั้นย่อมสำเร็จใจความว่า ธรรม


๑. ได้แก่ เว้นวิญญาณธาตุ ๖ คือ จักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ.


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 41

เหล่าใดปรารภธรรมเหล่าใดเกิดขึ้นแล้ว ธรรมเหล่าใดปรารภธรรม เหล่าใดจักเกิดขึ้น ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดเกิดขึ้นแล้ว แล้วจักเกิดขึ้นด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัยเท่านั้น. คำว่า จิตฺตเจตสิกา ธมฺมา นี้ เป็นการ อธิบายโดยย่อซึ่งธรรมที่พระองค์ตรัสไว้ว่า เย เย ธมฺมา (ธรรมเหล่าใดๆ). คำว่า เต เต ธมฺมา

คือ ธรรมที่เป็นอารมณ์เหล่านั้นๆ. สองบทว่า เตสํ เตสํ ได้แก่ ธรรม คือจิตและเจตสิกเหล่านั้นๆ. พรรณนาบาลีในอธิการนี้เพียงเท่านี้.

ก็ชื่อว่า อารมณ์นี้ว่าโดยเป็นส่วนๆ แล้ว มี ๖ อย่าง

คือ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ และธัมมารมณ์. บรรดาอารมณ์เหล่านั้น อารมณ์ที่เหลือเว้นบัญญัติ ว่าโดยภูมิมี ๔

คือ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และโลกุตตรภูมิ. บรรดาอารมณ์ ที่นับเนื่องในภูมิ ๔ เหล่านั้น อารมณ์ที่เป็นกามาวจรมี ๕ อย่าง โดย จำแนกเป็นกุศล อกุศล วิบาก กิริยา และรูป. อารมณ์ที่เป็นรูปาวจร และอรูปาจร มีอย่างละ ๓ โดยเป็นกุศล วิบาก และกิริยา. อารมณ์ที่ เป็นโลกุตตรภูมิมี ๓ อย่าง ด้วยอำนาจเป็นกุศล วิบาก และนิพพาน. อีกอย่างหนึ่ง อารมณ์นี้ทั้งหมดมี ๗ อย่าง โดยจำแนกเป็นกุศล อกุศล วิบาก กิริยา รูป นิพพาน และบัญญัติ. บรรดาอารมณ์ ๗ อย่างนั้น เมื่อว่าโดยภูมิ อารมณ์ที่เป็นกุศลมี ๔ อารมณ์ ที่เป็นอกุศลเป็นกามาวจรอย่างเดียว อารมณ์ที่เป็นวิบากเป็นไปในภูมิ ๔ อารมณ์ที่เป็นกิริยาเป็นไปในภูมิ ๓ รูปเป็นไปในภูมิเดียว คือเป็นกามาวจรเท่านั้น แม้นิพพาน ก็เป็นไปในภูมิเดียว คือเป็นโลกุตระเท่านั้น บัญญัติพ้นจากภูมิแล.


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 42

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกโดยประการต่างๆ ในอารัมมณปัจจัยนี้ ดังพรรณนามานี้.

ก็ในอารมณ์นี้ซึ่งแตกต่างกันอย่างนี้ อารมณ์อันเป็นกามาวจรกุศล เป็นอารัมมณปัจจัยแก่ธรรม ๖ หมวดเหล่านี้

คือ กามาวจรกุศล รูปาวจรกุศล อกุศล กามาวจรวิบาก กามาวจรกิริยา รูปาวจรกิริยา. อารมณ์อันเป็นรูปาวจรกุศล เป็นอารัมมณปัจจัย แก่ธรรม ๖ หมวดเหล่านั้น เพียง ๕ หมวด

คือ เว้นกามาวจรวิบาก อารมณ์ที่เป็นโลกุตตระ เป็น อารัมมณปัจจัยเฉพาะแก่กุศลและกิริยาเท่านั้น โดยที่กุศล และกิริยานั้น เป็นกามาวจร และรูปาวจร. อารมณ์ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่ธรรม ๖ หมวด เหล่านี้

คือ กามาวจรกุศล รูปาวจรกุศล อกุศล กามาวจรวิบาก กามาวจรกิริยา และรูปาวจรกิริยา. อารมณ์ที่เป็นกามาวจรวิบาก เป็น อารัมมณปัจจัยแก่ธรรม ๖ หมวดเหล่านั้น

คือ กามาวจรกุศล รูปาวจรกุศล อกุศล กามาวจรวิบาก กามาวจรกิริยา รูปาวจรกิริยา อารมณ์ที่เป็น รูปาวจรวิบาก เป็นอารัมมณปัจจัยแก่ธรรม ๕ หมวดเหล่านี้

คือ กามาวจรกุศล รูปาวจรกุศล อกุศล กามาวจรกิริยา และรูปาวจรกิริยา. แม้อารมณ์ที่เป็นอรูปาวจรวิบาก ก็เป็นอารัมมณปัจจัยแก่ธรรม ๕ หมวด เหล่านี้เหมือนกัน. อารมณ์ที่เป็นโลกุตตรวิบาก เป็นอารัมมณปัจจัย เฉพาะแก่กุศล และกิริยาเท่านั้น โดยกุศลและกิริยานั้นเป็นกามาวจร และรูปาวจร. อารมณ์ที่เป็นกามาวจรกิริยา เป็นอารัมมณปัจจัยแก่ ธรรม ๖ หมวดเหล่านี้

คือ กามาวจรกุศล รูปาวจรกุศล อกุศล กามาวจรวิบาก กามาวจรกิริยา และรูปาวจรกิริยา. บรรดาธรรม ๖ หมวด เหล่านี้ อารมณ์ที่เป็นรูปาวจรกิริยา เป็นอารัมมณปัจจัยแก่ธรรม ๕


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 43

หมวด เว้นกามาวจรวิบาก. อารมณ์ที่เป็นอรูปาวจรกิริยา เป็นอารัมมณปัจจัยแก่ธรรม ๖ หมวดเหล่านี้

คือ ๕ หมวดเหล่านั้น และอรูปาวจรกิริยา. อารมณ์คือรูป กล่าวคือรูปขันธ์ที่มีสมุฏฐาน ๔ เป็นอารัมมณปัจจัยแก่ธรรม ๖ หมวดเหล่านั้น

คือ กามาวจรกุศล รูปาวจรกุศล อกุศล กามาวจรวิบาก กามาวจรกิริยา และรูปาวจรกิริยา. อารมณ์คือนิพพาน เป็นอารัมมณปัจจัยแก่ธรรม ๖ หมวดเหล่านี้

คือ กามาวจรกุศล รูปาวจรกุศล โลกุตตรกุศล โลกุตตรวิบาก กามาวจรกิริยา และรูปาวจรกิริยา. อาจารย์บางพวกไม่เอารูปาวจรกุศล และรูปาวจรกิริยา คำนั้น ผู้ศึกษา พึงพิจารณาโดยที่ถูกที่ควร. ส่วนอารมณ์ที่เป็นบัญญัติซึ่งมีประการต่างๆ เป็นอารัมมณปัจจัยแก่ธรรม ๙ หมวดเหล่านี้

คือ กุศลที่เป็นไปในภูมิทั้ง ๓ อกุศล รูปาวจรวิบาก อรูปาวจรวิบาก และกิริยาที่เป็นไปในภูมิทั้ง ๓. บรรดาอารมณ์เหล่านั้น อารมณ์ใดๆ เป็นปัจจัยแก่ธรรมใดๆ ธรรม นั้นๆ ชื่อว่าเป็นปัจจยุบบันแห่งอารมณ์นั้นๆ. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในอารัมมณปัจจัย ดังพรรณนามานี้ แล.

วรรณนานิทเทสแห่งอารัมมณปัจจัย จบ

[๔] อธิปติปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอธิบดี กล่าวคือ

๑. อธิบดี

คือ ฉันทะ เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับฉันทะ และแก่รูปทั้งหลายที่มีฉันทะ และธรรมที่ประกอบกับฉันทะนั้น เป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 44

๒. อธิบดี

คือ วิริยะ เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับวิริยะ และแก่รูปทั้งหลายที่มีวิริยะ และธรรมที่ประกอบกับวิริยะ นั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

๓. อธิบดี

คือ จิต เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับจิต และแก่รูปทั้งหลายที่มีจิต และธรรมที่ประกอบกับจิตนั้นเป็น สมุฏฐาน ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

๔. อธิบดี

คือ วิมังสา เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับวิมังสา และแก่รูปทั้งหลายที่มีวิมังสา และธรรมที่ประกอบกับวิมังสา นั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

๕. ธรรมทั้งหลายเหล่าใดๆ เกิดขึ้นเพราะกระทำกรรมใดๆ ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นๆ เป็นปัจจัย แก่ธรรมนั้นๆ ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งอธิปติปัจจัย

พึงทราบวินิจฉัยในอธิปติปัจจัยนิทเทสต่อไป. บทว่า ฉนฺทาธิปติ ได้แก่ อธิบดี คือฉันทะ. คำว่า ฉันทาธิปตินั้น เป็นชื่อแห่งกัตตุกัมยตาฉันทะ. (ฉันทะคือความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ) ที่เกิดขึ้นในเวลาจิตทำฉันทะ ให้หนัก ให้เป็นใหญ่เกิดขึ้น. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.

ถามว่า เพราะเหตุไรในนิทเทสแห่งอธิปติปัจจัยนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า อธิบดีเป็นปัจจัยแก่กรรมที่สัมปยุตด้วยอธิบดี เหมือนในนิทเทสแห่งเหตุปัจจัย ซึ่งตรัสไว้ว่า เหตุเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 45

ด้วยเหตุ (แต่) ทรงแสดงเทศนาโดยนัยเป็นต้นว่า ฉันทาธิปติเป็นปัจจัย แก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยฉันทะ. ตอบว่า เพราะอธิบดีไม่มีในขณะเดียวกันจริงอยู่ ในนัยก่อน เหตุสองหรือสาม เป็นเหตุปัจจัยในขณะเดียวกันได้ เพราะไม่ละภาวะที่อุปการะ โดยอรรถว่า เป็นมูลราก. แต่อธิบดีเป็นอุปการะ. โดยอรรถว่า เป็นใหญ่ และธรรมเป็นอันมากจะชื่อว่าเป็นใหญ่ ในขณะเดียวกันหาได้ไม่ เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น แม้เกิดขึ้นคราว เดียวกัน จะเป็นอธิปติปัจจัยในขณะเดียวกันย่อมไม่ได้ เพราะภาวะที่อธิปติปัจจัยไม่มีในขณะเดียวกันนั้น. ในนิทเทสแห่งอธิปติปัจจัยนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงเทศนาดังที่กล่าวมาแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงสหชาตธิปติอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงอารัมมณาธิปติ จึงทรงเริ่มคำว่า ยํ ยํ ธมฺมํ ครุํ กตฺวา เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า ยํ ยํ ธมฺมํ

คือ ซึ่งธรรมที่เป็น อารมณ์ใดๆ. สองบทว่า ครุํ กตฺวา ได้แก่ ทำให้หนัก คือให้หนักแน่น ให้เป็นธรรมชาติที่ควรได้ ไม่ควรทอดทิ้ง ไม่ควรดูหมิ่น ด้วยอำนาจการ เคารพและยำเกรง หรือด้วยอำนาจการพอใจ. คำว่า เต เต ธมฺมา

คือ ธรรมที่ควรทำให้หนักนั้นๆ. คำว่า เตสํ เตสํ คือธรรมที่ทำให้หนัก เหล่านั้นๆ. ทว่า อธิปติปจฺจเยน

คือ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจอารัมมณาธิปติปัจจัย. พรรณนาบาลีในอธิการนี้เพียงเท่านี้.

ก็ชื่อว่า อธิบดีนี้ มี ๒ อย่าง

คือ สหชาตธิปติ และอารัมมณาธิปติ ในอธิบดี ๒ อย่างนั้น สหชาตาธิปติมี ๔ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งฉันทะเป็นต้น. ใน ๔ อย่างนั้น แต่ละอธิบดีเมื่อว่าโดยภูมิมีอย่างละ ๔ คือเป็นกามาวจรเป็นต้น. บรรดาอธิบดีที่เป็นกามาวจรเป็นต้นนั้น อธิบดี


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 46

ที่เป็นกามาวจรมี ๓ อย่าง

คือ กุศล อกุศล และกิริยา แต่ครั้นถึงอกุศล ย่อมไม่ได้วิมังสาธิปติ. อธิบดีที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร มีอย่างละสอง

คือ เป็นกุศลและกิริยา. อธิบดีที่เป็นโลกุตตระมี ๒ อย่าง

คือ เป็นกุศลและวิบาก แต่เมื่อว่าโดยชาติ อารัมมณาอธิปติมี ๖ อย่าง

คือ กุศล อกุศล วิบาก กิริยา รูป และนิพพาน. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนก โดยประการต่างๆ ในอธิการนี้ ดังพรรณนามานี้.

ก็ในสหชาตาธิปตินี้ซึ่งแตกต่างกัน ดังพรรณนามาแล้วนี้ อธิบดี กล่าว

คือ กามาวจรกุศลและกิริยา ก่อน เป็นอธิปติปัจจัยแก่ธรรมที่ สัมปยุตกับตน และรูปซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน ในเวลาที่สหชาตธรรมทำอธิบดีอื่นมีฉันทะเป็นต้น ให้เป็นใหญ่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่ประกอบด้วย เหตุ ๒ และเหตุ ๓. แม้ในอธิบดี กล่าว

คือ รูปาวจรกุศลและกิริยา ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ในอธิการนี้ ได้เฉพาะอธิบดีที่เป็นรูปาวจรกุศลและกิริยาเท่านั้น เพราะว่าธรรมเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นโดยไม่พรากจากสหชาตาธิปติ. ส่วนอธิบดี กล่าว

คือ อรูปาวจรกุศลและกิริยา เหมือนกับอธิบดี ที่เป็นรูปาวจรในปัญจโวการภพ. แต่ในจตุโวการภพ ย่อมเป็นอธิปติปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น. อธิบดีที่เป็นกามาวจรทั้งหมด ที่เกิดขึ้นในจตุโวการภพนั้นก็เหมือนกัน. อธิบดีที่เป็นโลกุตตระทั้งฝ่ายกุศลและวิบาก ย่อมเป็นอธิปติปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานอย่างเดียว ในปัญจโวการภพ. ในจตุโวการภพ เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปธรรมเท่านั้น.

อกุศลเป็นอธิปติปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตโดยแน่นอน ในมิจฉัตตนิยตจิต และแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในกามภพ.


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 47

อกุศลที่เป็นอนิยตธรรม (ให้ผลไม่แน่นอนในลำดับจุติจิต) เป็นอธิปติปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเหล่านั้น ในเวลาที่ตนเป็นอธิบดี ในกามภพ และรูปภพ. เป็นอธิปติปัจจัยเฉพาะแก่อรูปธรรมเท่านั้น ในอรูปภพ. นี้เป็นนัยในสหชาตาธิปติปัจจัยก่อน.

ส่วนในอารัมมณาธิปติปัจจัย มีอธิบายดังต่อไปนี้

กามาวจรกุศล เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยแก่ธรรมสองหมวดเหล่านี้

คือ กามาวจรกุศล และอกุศลที่สหรคตด้วยโลภะ. นัยในอารัมมณาธิปติปัจจัยที่เป็นกุศล แม้ในรูปาวจร และอรูปาวจร ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ส่วนอารัมมณาธิปติที่เป็นโลกุตตรกุศล เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย แก่กุศลญาณสัมปยุต และกิริยาญาณสัมปยุต ที่เป็นกามาวจร.

ก็ชื่อว่า อารัมมณาธิปติที่เป็นอกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ จิตตุปบาทนั้น เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยเฉพาะแก่อกุศลที่สหรคตด้วยโลภะเท่านั้น.

ฝ่ายอารัมมณาธิปติฝ่ายวิบากที่เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยเฉพาะแก่อกุศลที่สหรคตด้วยโลภะเท่านั้น.

อารัมมณาธิปติที่เป็นโลกุตตรวิบาก เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยแก่ มหากุศลญาณสัมปยุต และมหากิริยาญาณสัมปยุตเท่านั้น.

ก็เมื่อว่าโดยประเภทที่เป็นกามาวจร เป็นต้น อารัมมณาธิปติที่เป็นกิริยาทั้ง ๓ เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยแก่อกุศลที่สหรคตด้วยโลภะเท่านั้น. อารัมมณาธิปติที่เป็นรูปขันธ์ กล่าวคือรูปที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยแก่อกุศลที่สหรคตด้วยโลภะเท่านั้น. นิพพานเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยแก่ธรรม ๔ หมวดเหล่านั้น

คือ มหากุศลญาณสัมปยุต


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 48

มหากิริยาสัมปยุต อันเป็นกามาวจร โลกุตตรกุศล และโลกุตตรวิบาก. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย โดยปัจจยุบบันในอารัมณาธิปติปัจจัยนี้ อย่างนี้แล.

วรรณนานิทเทสแห่งอธิปติปัจจัย จบ

[๕] อนันตรปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความติดต่อกัน ไม่มีระหว่างคั่น กล่าวคือ

๑. จักขุวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับจักขุวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ ประกอบกับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

๒. มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุ เป็น ปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

๓. โสตวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับโสตวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ ประกอบกับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

๔. มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับ มโนวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

๕. ฆานวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกับฆาน-


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 49

วิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบ กับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

๖. มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนวิญญาณธาตุนั่น ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

๗. ชิวหาวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับชิวหา วิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ ประกอบกับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

๘. มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

๙. กายวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับกาย วิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ ประกอบกับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

๑๐. มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับ มโนวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

๑๑. กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ทั้งหลายที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

๑๒. กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากต. ธรรมทั้งหลายที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 50

๑๓. อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

๑๔. อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

๑๕. อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

๑๖. อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

๑๗. อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

๑๘. ธรรมทั้งหลายเหล่าใดๆ เกิดขึ้นในลำดับแห่งธรรมทั้งหลายเหล่าใด ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นๆ เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งอนันตรปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน อนันตรปัจจัยนิทเทส ต่อไป. บทว่า มโนธาตุยา

คือ แก่วิบากมโนธาตุ. บทว่า มโนวิญญาณธาตุยา

คือ แก่ อเหตุวิบากมโนวิญญาณธาตุ ที่ทำหน้าที่สันตีรณกิจ คือพิจารณาอารมณ์. ก็ต่อจากนั้นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงมโนวิญญาณธาตุ ที่ทำหน้าที่ โวฏฐัพพนะ ชวนะ ตทารัมมณะ และภวังค์ พระองค์จึงทรงย่อเทศนา โดยแสดงนัยไว้ว่า ธาตุเหล่านั้น แม้จะไม่ได้ตรัสไว้ก็จริง แต่ผู้ศึกษา พึงทราบได้โดยนัยนี้. แก่ธาตุเหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย่อเข้า


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 51

ในนัยที่ ๖ มีอาทิว่า ปุริมา ปุริมา กุสลา ธมฺมา ผู้ศึกษาพึงทราบว่า พระองค์ไม่ตรัสในอธิการนี้อีก.

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ปุริมา ปุริมา ผู้ศึกษาพึงทราบธรรม คือกุศลชวนะที่ดับไปโดยไม่มีระหว่างคั่น ในทวารทั้ง ๖.

สองบทว่า ปจฺฉิมานํ ปจฺฉิมานํ ได้แก่ ธรรมคือกุศลชวนะ ที่เกิด ขึ้นติดต่อกันไปนั่นเอง.

บทว่า กุสลานํ ได้แก่ กุศลจิตชนิดเดียวกัน. ส่วนบทว่า อพฺยากตานํ นี้ ได้แก่ อัพยากตะ อันเป็นอนันตรปัจจัยแก่กุศลนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจของตทาลัมพนะ ภวังค์ และผลสมาบัติที่เกิดขึ้นลำดับแห่งกุศล. บทว่า อพฺยากตานํ ใน อกุศลมูลกะ ได้แก่ อัพยากตะ อันเป็นตทาลัมพนะ และภวังค์เท่านั้น.

บทว่า อพฺยากตานํ ในอัพยากตมูลกะ ได้แก่อัพยากตะ อันเป็นกิริยา และวิบาก อันเป็นไปด้วยอำนาจแห่งอาวัชชนะ และชวนะ หรือว่าด้วย อำนาจแห่งภวังค์. นัยนี้ย่อมใช้ได้แม้ในวิถีจิตที่เป็นไปตั้งแต่กิริยามโนธาตุ ที่ทำหน้าที่โวฏฐัพพนะ จนถึงมโนวิญญาณธาตุทีเดียว.

บทว่า กุสลานํ ได้แก่ กุศลชวนะดวงที่หนึ่ง ที่เกิดต่อจากโวฏฐัพพนะจิตในปัญจทวาร และที่เกิดต่อจากอาวัชชนจิตในมโนทวาร. แม้ ในบทว่า อกุสลานํ ก็นัยนี้ เหมือนกัน.

บทว่า เยสํ เยสํ น เป็นเครื่องกำหนดโดยย่อ ซึ่งธรรมที่เป็น อนันตรปัจจัยทั้งหมด. พรรณนาบาลีในนิทเทสแห่งอนันตรปัจจัยนี้เท่านี้ ก่อน.


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 52

ก็ชื่อว่าอนันตรปัจจัยนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ได้แก่ หมวดแห่ง อรูปธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๔ เว้นนิพพาน. อนันตรปัจจัยนั้นจำแนกด้วยสามารถแห่งชาติได้ ๔ ชาติ คือเป็นกุศล อกุศล วิบากและกิริยา. ใน ๔ ชาตินั้น อนันตรปัจจัยที่เป็นกุศลมี ๔ อย่าง คือเป็นประเภทแห่งกามาวจรเป็นต้น. อกุศลเป็นกามาวจรอย่างเดียว. วิบากเป็นไปในภูมิทั้ง ๔. ส่วนอนันตรปัจจัยที่เป็นกิริยาเป็นไปในภูมิ ๓. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกโดยประการต่างๆ ในอนันตรปัจจัยนี้ ดังพรรณนา มาแล้ว.

ก็ในอนันตรปัจจัยนี้ ซึ่งจำแนกได้ดังแสดงมาแล้ว กามาวจรกุศล เป็นอนันตรปัจจัยแก่กามาวจรกุศล ที่เหมือนกันกับตนเท่านั้น ส่วนกามาวจรกุศลที่เป็นญาณสัมปยุต เป็นอนันตรปัจจัย แก่ธรรมสามหมวด เหล่านี้ คือรูปาวจรกุศล อรูปาวจรกุศล และโลกุตตรกุศล.

กามาวจรกุศล เป็นอนันตรปัจจัยแก่ธรรม ๔ หมวดเหล่านี้

คือ กามาวจรวิบาก รูปาวจรวิบาก อรูปาวจรวิบาก และโลกุตตรวิบาก.

รูปาวจรกุศล เป็นอนันตรปัจจัย แก่ธรรม ๓ หมวดเหล่านี้

คือ รูปาวจรกุศล กามาวจรวิบากญาณสัมปยุต และรูปาวจรวิบาก.

อรูปาวจรกุศล เป็นอนันตรปัจจัยแก่ธรรม ๔ หมวดเหล่านี้ โดยไม่แปลกกัน คือวิบาก (๑) ทั้งสองเหล่านั้น และกุศล (๒) และวิบากของตน. ก็ใน อธิการนี้ เมื่อว่าโดยพิเศษ เนวสัญญานาสัญญายตนกุศล เป็นอนันตรปัจจัยแก่โลกุตตรวิบาก กล่าวคืออนาคามิผล.

โลกุตตรกุศล เป็นอนันตรปัจจัยเฉพาะแก่โลกุตตรวิบากเท่านั้น.


(๑) คือ กามวิบาก รูปวิบาก.

(๒) อรูปกุศล อรูปวิบาก.


ความคิดเห็น 24    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 53

อกุศล เป็นอนันตรปัจจัยแก่อกุศล กุศลวิบาก และอกุศลวิบาก โดยไม่แปลกกัน. ก็เมื่อว่าโดยแปลกกันในอธิการนี้ อกุศลที่สัมปยุตด้วย สุขเวทนาและอุเบกขาเวทนา เป็นอนันตรปัจจัยแก่ธรรม ๔ หมวดเหล่านี้ คือกุศลวิบาก อกุศลวิบาก และรูปาวจรวิบาก อรูปาวจรวิบาก

กามาวจรวิบาก เป็นอนันตรปัจจัยแก่กามาวจรวิบาก. วิบากญาณสัมปยุต หรือญาณวิปปยุต เป็นอนันตรปัจัยแก่กามาวจรกิริยาอาวัชชนจิต.

อนึ่ง ในอนันตรปัจจัยนี้ มหาวิบากญาณสัมปยุต เป็นอนันตรปัจจัยแก่ธรรม หมวดเหล่านี้

คือ กามาวจรวิบาก อาวัชชนจิต และรูปาวจรวิบาก อรูปาวจรวิบากที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจปฏิสนธิ.

รูปาวจรวิบาก เป็นอนันตรปัจจัยแก่ธรรม ๔ หมวดเหล่านี้

คือ สเหตุกกามาวจรวิบาก รูปาวจรวิบาก อรูปาวจรวิบาก และกามาวจรกิริยา อาวัชชนจิต.

อรูปาวจรวิบาก เป็นอนันตรปัจจัยแก่ธรรม ๓ หมวดเหล่านั้น

คือ ติเหตุกกามาวจรวิบาก อรูปาวจรวิบาก และกิริยาอาวัชชนจิตที่เป็น กามาวจร.

โลกุตรวิบาก เป็นอนันตรปัจจัยแก่ธรรม ๔ หมวดเหล่านี้

คือ ติเหตุกกามาวจรวิบาก รูปาวจรวิบาก อรูปาวจรวิบาก และโลกุตตรวิบาก.

กามาวจรกิริยา เป็นอนันตรปัจจัยแก่ธรรม ๙ หมวดเหล่านั้น

คือ กามาวจรกุศล อกุศล วิบากจิตทั้ง ๔ ภูมิ และกิริยาจิตทั้ง ๓ ภูมิ.

รูปาวจรกิริยา เป็นอนันตรปัจจัยแก่ธรรม ๓ หมวดเหล่านี้

คือ ติเหตุกกามาวจรวิบาก รูปาวจรวิบาก และรูปาวจรกิริยา.


ความคิดเห็น 25    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 54

อรูปาวจรกิริยา เป็นอนันตรปัจจัยแก่ธรรม ๕ หมวดเหล่านั้น

คือ ติเหตุกกามาวจรวิบาก รูปาวจรวิบาก อรูปาวจรวิบาก โลกุตตรวิบาก และอรูปาวจรกิริยา. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบัน ในอนันตรปัจจัยนี้ อย่างนี้แล.

วรรณนานิทเทสแห่งอนันตรปัจจัย จบ

[๖] สมนันตรปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความติดต่อ กันไม่มีระหว่างคั่นด้วย กล่าว

คือ

๑. จักขุวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับจักขุวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบ กับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

๒. มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

๓. โสตวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับโสตวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

๔. มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย


ความคิดเห็น 26    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 55

๕. ฆานวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับฆานวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

๖. มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

๗. ชิวหาวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับชิวหาวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย.

๘. มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

๙. กายวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับกายวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

๑๐. มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

๑๑. กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

๑๒. กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย


ความคิดเห็น 27    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 56

๑๓. อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

๑๔. อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

๑๕. อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

๑๖. อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

๑๗. อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย

๑๘. ธรรมทั้งหลายเหล่าใดๆ

คือ จิตและเจตสิก เกิดขึ้นในลำดับแห่งธรรมทั้งหลายเหล่าใดๆ ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นๆ เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นๆ ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งสมนันตรปัจจัย

นิทเทสแห่งสมนันตรปัจจัย เหมือนกับอนันตรปัจจัยนี้เอง. ก็ปัจจัยทั้งสองนี้กว้างขวางมาก เพราะฉะนั้น พึงกำหนดถือเอาความพิสดาร แห่งปัจจัยทั้งสองนั้น ด้วยอำนาจการเกิดขึ้นของจิตทั้งหมด.

วรรณนานิทเทสแห่งสมนันตรปัจจัย จบ


ความคิดเห็น 28    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 57

[๗] สหชาตปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดพร้อมกัน กล่าว

คือ

๑. นามขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย

๒. มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย

๓. ในปฏิสนธิขณะ นามและรูปเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย

๔. จิตและเจตสิกธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่รูปทั้งหลายที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย

๕. มหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย

๖. รูปธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่อรูปธรรมทั้งหลายในกาลบางครั้ง ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย

๗. รูปธรรมทั้งหลาย ไม่เป็นปัจจัยแก่อรูปธรรมทั้งหลายในกาลบางครั้ง ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งสหชาตปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน สหชาตปัจจัยนิทเทส ต่อไป.

บทว่า อญฺมญฺํ แปลว่า ซึ่งกันและกัน. ด้วยบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นปัจจัยและปัจจยุบบัน ในขณะเดียวกัน. บทว่า โอกฺกนฺติกฺขเณ

คือ ในขณะปฏิสนธิในปัญจ-


ความคิดเห็น 29    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 58

โวการภพ. จริงอยู่ ในขณะนั้นนามและรูปเกิดขึ้นเหมือนก้าวลง คือเหมือนแล่นไป ได้แก่ เหมือนมาจากโลกอื่นแล้วเข้ามาสู่โลกนี้ เพราะฉะนั้น ขณะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า โอกกันติกขณะ (ขณะก้าวลง). ก็ในอธิการนี้ คำว่า รูป พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาหทัยวัตถุเท่านั้น. จริงอยู่ หทัยวัตถุนั้น ย่อมอำนวยประโยชน์เพื่อเป็นสหชาตปัจจัยซึ่งกันและกันแก่นาม และนามก็อำนวยประโยชน์เพื่อเป็นสหชาตปัจจัยซึ่งกันและกันแก่หทัยวัตถุนั้น. บทว่า จิตฺตเจตสิกา

คือ ขันธ์ ๔ ในปวัตติกาล. ในบทว่า สหชาตปจฺจเยน นี้ รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ย่อมไม่อำนวยประโยชน์เพื่อเป็นปัจจัยแก่จิตและเจตสิก เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า อญฺมญฺํ. อุปาทายรูป ก็ไม่อำนวยประโยชน์เพื่อเป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูปเหมือนกัน. คำว่า รูปธรรมเป็น ปัจจัยแก่อรูปธรรม คือหทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่นามขันธ์ ๔. สองบทว่า กิญฺจิ กาเล

คือ ในกาลบางคราว. บทว่า สหชาตปจฺจเยน ตรัสหมายถึง ปฏิสนธิกาล. บทว่า น สหชาตปจฺจเยน ตรัสหมายถึงปวัตติกาล.

ก็สหชาตปัจจัยนี้ตั้งไว้ด้วยส่วน ๖ ส่วนดังนี้

คือ นามขันธ์ ๔ เป็น ปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัยเป็นต้น. ใน ๖ ส่วนนั้น ๓ ส่วนตรัสด้วยอำนาจการเป็นสหชาตปัจจัยซึ่งกันและกัน อีก ๓ ส่วน ไม่ได้ตรัสด้วยอำนาจการเป็นสหชาตปัจจัยซึ่งกันและกัน.

บรรดาสหชาตปัจจัย ๖ ส่วนนั้น อรูปธรรมเท่านั้น เป็นทั้งปัจจัย และปัจจยุบบันในส่วนที่ ๑.

เฉพาะรูปธรรมอย่างเดียว เป็นทั้งปัจจัยและปัจจยุบบันในส่วน ที่ ๒.


ความคิดเห็น 30    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 59

นามและรูปเป็นปัจจัยและปัจจยุบบันในส่วนที่ ๓.

อรูปเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันในส่วนที่ ๔.

รูปเท่านั้นเป็นทั้งปัจจัยและปัจจยุบบันในส่วนที่ ๕.

รูปเป็นปัจจัย อรูปเป็นปัจจยุบบันในส่วนที่ ๖.

พรรณนาบาลีในสหชาตปัจจัยนิทเทสเท่านี้ก่อน.

ก็สหชาตปัจจัยนี้ จำแนกโดยชาติได้ ๕ ชาติ คือกุศลชาติ อกุศลชาติ วิบากชาติ กิริยาชาติ และรูปชาติ. ในชาติทั้ง ๕ นั้น กุศล จัตตามภูมิได้ ๔ ภูมิ อกุศลได้ภูมิเดียว วิบากได้ ๘ ภูมิ กิริยาได้ ๓ ภูมิ รูปได้กามาวจรภูมิภูมิเดียวเท่านั้น ฉะนั้น พึงทราบวินิจฉัยในสหชาตปัจจัยนี้ โดยการจำแนกเป็นประการต่างๆ เพียงเท่านี้.

ก็ในสหชาตปัจจัยที่จำแนกแล้วนี้ อย่างนี้ กุศลแม้เป็นไปได้ ภูมิ เป็นสหชาตปัจจัย แก่ธรรมอันสัมปยุตกับตนนั่นเทียว และแก่รูปอันมีจิต เป็นสมุฏฐาน. อกุศลก็เช่นเดียวกัน. ก็ในสหชาตปัจจัยนี้ จิตใดเกิดใน อรูปภูมิ จิตนั้นเป็นสหชาตปัจจัยแก่อรูปธรรมเท่านั้น. กามาวจรวิบาก รูปาวจรวิบาก เป็นสหชาตปัจจัยแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานนั้นเทียว และ แก่ธรรมที่สัมปยุต. ก็ในสหชาตปัจจัยนี้ จิตใดให้รูปเกิดไม่ได้ จิตนั้น เป็นสหชาตปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น. จิตใดเกิดขึ้นในปฏิสนธิกาล จิตนั้นเป็นสหชาตปัจจัยแก่กัมมชรูปด้วย. อรูปวิบาก เป็นสหชาตปัจจัย แก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น.

โลกุตตรวิบาก เป็นสหชาตปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปัญจโวการภพ. เป็นปัจจัยแก่อรูปธรรมเท่านั้น ในจตุโวการภพ. กามาวจรกิริยา และอรูปาวจรกิริยา เป็นสหชาตปัจจัยแก่


ความคิดเห็น 31    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 60

ธรรมที่สัมปยุต และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปัญจโวการภพ. ในจตุโวการภพ เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปธรรมเท่านั้น. รูปาวจรกิริยา เป็นสหชาตปัจจัยโดยส่วนเดียว แก่ธรรมที่สัมปยุตและรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน. สำหรับรูปที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ ในรูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน มหาภูต รูป ๑ เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัยแก่มหาภูตรูปหนึ่ง มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่อุปาทานรูปด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย. ในขณะปฏิสนธิของกามาวจรและรูปาวจร วัตถุรูปเป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย. ส่วนใน บรรดารูปที่มีอุตุ จิตและอาหารเป็นสมุฏฐาน มหาภูตรูปเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน และแก่อุปาทายรูปด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย แม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในสหชาตปัจจัยนี้ อย่างนี้แล.

วรรณนาแห่งสหชาตปัจจัยนิทเทส จบ

[๘] อัญญมัญญปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยตามอาศัยกันและกัน กล่าวคือ

๑. นามขันธ์ ๔ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย

๒. มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย

๓. ในปฏิสนธิขณะ นามรูปเป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย.


ความคิดเห็น 32    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 61

วรรณนานิทเทสแห่งอัญญมัญญปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน อัญญมัญญปัจจัยนิทเทส ต่อไป.

บาลีมาแล้วด้วยอำนาจส่วนสามข้างต้น แห่งสหชาตปัจจัยนิทเทส การพรรณนาบาลีนั้น เหมือนกับที่กล่าวแล้วในสหชาตปัจจัยนิทเทส นั้นเอง เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ถือเอาอีก.

ก็อัญญมัญญปัจจัยนี้ ว่าด้วยอำนาจแห่งชาติ จำแนกออกได้ ๕ ชาติ

คือ กุศล อกุศล วิบาก กิริยา และรูป. ใน ๕ ชาตินั้น กุศลว่าโดย ภูมิมี ๔ อย่าง. อธิบายทั้งหมดเหมือนกับสหชาตปัจจัยหนหลัง. ผู้ศึกษา พึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกโดยประการต่างๆ ในอัญญมัญญปัจจัย นิทเทสนี้ ดังพรรณนามาแล้ว.

ก็ในอัญญมัญญปัจจัยนี้ ที่จำแนกแล้วอย่างนี้ กุศลที่เป็นไปในภูมิ ๔ ทั้งหมด เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย. อกุศลก็เหมือนกัน. ส่วนในวิบาก กามาวจรวิบาก และ รูปาวจรวิบาก เป็นอัญญมัญญปัจจัยแก่วัตถุรูปในปฏิสนธิกาล เป็นอัญญมัญญปัจจัยแก่สัมปยุตธรรมในปวัตติกาล. อรูปาวจรวิบาก และโลกุตตรวิบาก เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตนเท่านั้น ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย. กิริยาจิตแม้ทั้งหมดเป็นอัญญมัญญปัจจัยเฉพาะแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น สำหรับรูปที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ ในรูปที่เกิดจากกรรม มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย. มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒ ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย. ในขณะปฏิสนธิของกามาวจร และรูปาวจร วัตถุรูปเป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ ด้วย


ความคิดเห็น 33    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 62

อำนาจของอัญญมัญญปัจจัย. ในบรรดารูปที่มีอุตุ จิต และอาหารเป็นสมุฏฐาน เฉพาะมหาภูตรูปเท่านั้นเป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย แม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในอัญญมัญญปัจจัยนี้ อย่างนี้แล.

วรรณนานิทเทสแห่งอัญญมัญญปัจจัย จบ

[๙] นิสสยปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นที่อาศัยกล่าว

คือ

๑. ในนามขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย

๒. มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย

๓. ในปฏิสนธิขณะ นามรูปเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย

๔. จิตและเจตสิกธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่รูปทั้งหลายที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย

๕. มหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย

๖. จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับจักขุวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย


ความคิดเห็น 34    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 63

๗. โสตายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับโสตวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย

๘. ฆานายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับฆานวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย

๙. ชิวหายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม ทั้งหลายที่ประกอบกับชิวหาวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย

๑๐. กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และแก่กรรม ทั้งหลายที่ประกอบกับกายวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย

๑๑. มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ อาศัยรูปใดเป็นไป รูปนั้นเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ แก่มโนวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลาย ที่ประกอบกับมโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งนิสสยปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน นิสสยปัจจัยนิทเทส ต่อไป.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงนัยแห่งสหชาตนิสสยปัจจัยด้วย อำนาจแห่งส่วนที่ ๕ ข้างต้น แห่งสหชาตปัจจัยนิทเทสแล้ว เพื่อจะทรง แสดงนัยแห่งปุเรชาตนิสสยปัจจัย ด้วยส่วนที่ ๖ อีก จึงทรงเริ่มคำว่า จกฺขายตนํ จกฺขุวิญฺาณธาตุยา เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า ยํ รูปํ นิสฺสาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึง วัตถุรูป. จริงอยู่ จิต ๗๕


ความคิดเห็น 35    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 64

เหล่านั้น คือมโนธาตุ ๓ มโนวิญญาณธาตุ ๗๒ เว้นอรูปวิบาก อาศัยหทัยวัตถุนั้นเป็นไป. พรรณนาบาลีในอธิการนี้เพียงเท่านี้.

นิสสยปัจจัยว่าด้วยอำนาจชาติ จำแนกออกเป็น ๕ ชาติ โดยเป็นกุศล เป็นต้น. ใน ๕ อย่างนั้น กุศลว่าโดยภูมิมี ๔ ภูมิ อกุศลมีภูมิเดียว เท่านั้น วิบากมี ๔ ภูมิ กิริยามี ๓ ภูมิ รูปมีภูมิเดียวเท่านั้น. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกโดยประการต่างๆ ในนิสสยปัจจัยนี้ ดัง พรรณนามานี้.

ในนิสสยปัจจัยซึ่งจำแนกแล้วอย่างนี้ กุศลที่เป็นไปในภูมิ ๔ เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตและรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปัญจโวการภพ ด้วย อำนาจของนิสสยปัจจัย. อกุศลก็เหมือนกัน. ในนิสสยปัจจัยนี้ จิตใดเกิดขึ้นในอรูปภพ จิตนั้นเป็นนิสสยปัจจัยแก่อรูปธรรมเท่านั้น.

กามาวจรวิบาก และ รูปาจรวิบาก เป็นนิสสยปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปวัตติกาล เป็นนิสสยปัจจัยแก่กัมมชรูปในปฏิสนธิกาล. อรูปาวจรวิบาก เป็นนิสสยปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น. โลกุตตรวิบาก เป็นนิสสยปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปัญจโวการภพ เป็นนิสสยปัจจัยแก่อรูปธรรม เท่านั้นในจตุโวการภพ.

กามาวจรกิริยา และ อรูปาวจรกิริยา เป็นนิสสยปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปัญจโวการภพ. เป็นปัจจัยแก่ อรูปธรรมเท่านั้นในจตุโวการภพ. รูปาวจรกิริยา เป็นนิสสยปัจจัย โดยส่วนเดียว แก่ธรรมที่สัมปยุตและรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปัญจโวการภพ.


ความคิดเห็น 36    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 65

สำหรับรูปที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ ในรูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน มหาภูตรูป ๑ เป็นนิสสยปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ มหาภูตรูป ๓ เป็น นิสสยปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑ มหาภูตรูป ๒ เป็นนิสสยปัจจัยแก่มหาภูต รูป ๒ มหาภูตรูปเป็นนิสสยปัจจัยแก่อุปาทารูป ในปัญจโวการภพวัตถุรูปเป็นนิสสยปัจจัยแก่ธรรม ๔ หมวดเหล่านี้ คือแก่กุศลในภูมิทั้ง ๔ แก่อกุศล แก่วิบากในภูมิสามที่เหลือ เว้นอรูปวิบาก และทวิปัญจวิญญาณจิต และแก่กิริยาในภูมิสาม.

อายตนะ ๕ มีจักขายตนะเป็นต้น เป็นนิสสยปัจจัยแก่วิญญาณ ๕ มีจักขุวิญญาณเป็นต้น พร้อมทั้งสัมปยุตตธรรม. ส่วนในบรรดารูปที่มีอุตุ จิตและอาหารเป็นสมุฏฐาน มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป และเป็นปัจจัยแก่อุปาทารูป ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในนิสสยปัจจัยนี้ อย่างนี้แล.

วรรณนานิทเทสแห่งนิสสยปัจจัย จบ

[๑๐] อุปนิสสยปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นที่ อาศัยที่มีกำลังมาก กล่าว

คือ

๑. กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ทั้งหลายที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

๒. กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ทั้งหลายที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัยบางอย่าง


ความคิดเห็น 37    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 66

๓. กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

๔. อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ทั้งหลายที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

๕. อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ทั้งหลายที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัยบางอย่าง

๖. อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

๗. อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

๘. อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

๙. อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

๑๐. แม้อุตุและโภชนะ ก็เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

๑๑. แม้ บุคคล ก็เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

๑๒. แม้ เสนาสนะ ก็เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งอุปนิสสยปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน อุปนิสสยปัจจัยนิทเทส ต่อไป.

คำว่า ปุริมา ปุรมา เกิดก่อนๆ ความว่า ย่อมได้ธรรมที่ดับไป


ความคิดเห็น 38    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 67

โดยลำดับด้วยดี ในอนันตรูปนิสสยปัจจัย. ธรรมที่เกิดก่อนกว่า ย่อมได้ ด้วยอำนาจแห่งวิถีต่างกัน ในอารัมมณูปนิสสยปัจจัย และปกตูปนิสสยปัจจัย. หมวดสามเหล่านั้น (คืออุปนิสสยะทั้งหลาย) ย่อมได้ในกุศลบท กับกุศลบท. ส่วน ธรรมที่ดับไปในลำดับด้วยดี ย่อมไม่ได้ในอกุศลบทกับกุศลบท. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า กุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัยบางอย่าง. จริงอยู่ คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงนัยนี้ว่า กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย. คืออารัมมณูปนิสสยปัจจัย และปกตูปนิสสยปัจจัย.

ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ย่อมยินดี เพลิดเพลินอย่างแรงกล้า ครั้นยินดีเพลิดเพลินอย่างแรงกล้าแล้ว ความกำหนัดย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิย่อมเกิดขึ้น, ย่อมยินดี เพลิดเพลินซึ่งกรรมที่เคยประพฤติมาก่อน ครั้นยินดีเพลิดเพลินอย่างแรงกล้าแล้ว ความกำหนัดย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิย่อมเกิดขึ้น, บุคคลออกจากฌาน ย่อมยินดีเพลิดเพลินฌานนั้นอย่างหนัก ครั้นยินดีเพลิดเพลิน อย่างหนัก ราคะย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิย่อมเกิดขึ้น.

ที่เป็น ปกตูปนิสสยปัจจัย ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธา ยังมานะให้เกิดขึ้น ยึดมั่นซึ่งทิฏฐิ, อาศัยศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ยังมานะ ให้เกิดขึ้น ยึดมั่นซึ่งทิฏฐิ, ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เป็นปัจจัยแก่ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ และความปรารถนา ด้วยอำนาจ ของอุปนิสสยปัจจัย. ธรรมหมวดสามย่อมได้ในอัพยากตบทกับกุศลบท ใน อกุศลบทกับอกุศลบทก็เหมือนกัน. แต่ธรรมที่ดับไปโดยไม่มีระหว่างคั่น


ความคิดเห็น 39    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 68

ด้วยดี ย่อมไม่ได้ในกุศลบทกับอกุศลบท. เพราะเหตุนั้นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัยบางอย่าง. จริงอยู่ คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงเฉพาะ ปกตูปนิสสยปัจจัยเท่านั้น อันมาแล้วในปัญหาวาระโดยนัยเป็นต้นว่า อกุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย ที่เป็น ปกตูปนิสสยปัจจัย ได้แก่ บุคคลอาศัยราคะย่อมให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ยังฌาน วิปัสสนา มรรค อภิญญา สมาบัติให้เกิดขึ้น. เข้าไปอาศัยโทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนาย่อมให้ทาน ฯลฯ ย่อมให้สมาบัติเกิดขึ้น. ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความ ปรารถนาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ด้วยอำนาจของ อุปนิสสยปัจจัย, บุคคลครั้นฆ่าสัตว์แล้วย่อมให้ทานเพื่อลบล้างกรรมนั้น.

แต่อกุศล ย่อมไม่เป็นอารัมมณูปนิสสยปัจจัยแก่กุศล. ถามว่า เพราะ เหตุไร? ตอบว่า เพราะความที่แห่งกุศลนั้น จะทำอกุศลนั้นให้มีกำลังแรงกล้า แล้วให้เป็นไปย่อมไม่ได้ (กุศลจะทำอกุศลให้เป็นอธิบดีอารมณ์ไม่ได้). ในอธิการนี้ผู้ศึกษาพึงทราบว่า อนันตรูปนิสสยปัจจัยย่อมไม่ได้เหมือนแม้อารัมมณูปนิสสยปัจจัย. ในอัพยากตบทกับอกุศลบท ย่อมไม่ได้เฉพาะ อารัมมณูปนิสสยปัจจัยเท่านั้น. เพราะว่าอัพยากตธรรมย่อมไม่ทำอกุศลให้เป็นอารมณ์อย่างหนัก. ก็เพราะความเป็นอนันตรปัจจัยย่อมมีได้ ฉะนั้นใน อธิการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า เกสญฺจิ. แต่อุปนิสสยปัจจัยทั้งสาม ย่อมได้ในนัยสามคือในอัพยากตบทกับอัพยากตบท กุศลบทกับอัพยากตบท อกุศลบทกับอัพยากตบท. สองบทนี้

คือ ปุคฺคโลปิ เสนาสนมฺปิ กล่าว

คือ บุคคลก็ดี เสนาสนะก็ดี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส


ความคิดเห็น 40    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 69

ด้วยอำนาจปกตูปนิสสยปัจจัย. จริงอยู่ บุคคลและเสนาสนะทั้งสองนี้เป็น ปัจจัยที่มีกำลังแก่ความเป็นไปแห่งกุศลและอกุศล. ก็แล ความที่บุคคล และเสนาสนะoyhoเป็นเป็นปัจจัยในอธิการนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบด้วยอำนาจการ เป็นปัจจัยโดยอ้อมๆ. พรรณนาบาลีในอุปนิสสยปัจจัยนี้เท่านี้ก่อน.

ก็ชื่อว่า อุปนิสสยปัจจัย ได้แก่ ธรรมอันเป็นไปในภูมิทั้ง ๔ ทั้ง หมด พร้อมกับบัญญัติบางอย่าง. แต่เมื่อว่าโดยวิภาคมี ๓ อย่างด้วย อำนาจแห่งอารัมมณูปนิสสยปัจจัยเป็นต้น. บรรดาอุปนิสสยปัจจัย ๓ อย่างนั้น อารัมมณูปนิสสยปัจจัย ไม่แตกต่างจากอารัมมณาธิปติปัจจัย เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงถือเอาโดยการจำแนกโดยประการต่างๆ ตามนัย ที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลัง. อนันตรรูปนิสสยปัจจัย ไม่แตกต่างจาก อนันตรปัจจัย แม้อนันตรูปนิสสยปัจจัยนั้น ผู้ศึกษาก็พึงถือเอาโดยการ จำแนกโดยประการต่างๆ ตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลังเหมือน กัน ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันแห่งปัจจัย ทั้งสองนั้น ตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว ในอธิปติปัจจัยและอนันตรปัจจัย เหล่านั้น.

ก็เมื่อว่า ด้วยอำนาจแห่งชาติ ปกตูปนิสสยปัจจัยมี ๕ อย่าง โดย จำแนกเป็นกุศล อกุศล วิบาก กิริยา และรูป. ก็แลปกตูปนิสสยปัจจัย ที่จำแนกโดยอำนาจแห่งชาติ มีกุศลเป็นต้น ว่าโดยประเภทแห่งธรรม ที่เกิดในภูมิต่างๆ แล้วมีมากมาย. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนก โดยประการต่างๆ ในอุปนิสสยปัจจัยนี้อย่างนี้ก่อน.

ก็ใน ปกตูปนิสสยปัจจัย ที่จำแนกได้ ดังข้าพเจ้ากล่าวมาแล้วนี้ กุศลอันเป็นไปในภูมิสาม เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยแก่ธรรม ๔ หมวดเหล่านี้


ความคิดเห็น 41    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 70

คือแก่กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบาก และกิริยา. โลกุตตรธรรมไม่เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยแก่อกุศลธรรมย่างเดียว. แต่เป็นปัจจัยแก่อกุศลของคนอื่นได้โดยนัยเป็นต้นว่า โลกุตตรธรรม อันอาจารย์ของข้าพเจ้าให้เกิดขึ้นแล้ว หรือโดยนัยนี้ว่า โลกุตตรธรรมจักเกิดขึ้นแก่บุคคลใด เพราะยังความริษยาให้เกิดขึ้นในวิโมกข์อันยอดเยี่ยมของบุคคลนั้น อกุศลธรรมเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยแก่ขันธ์อันเป็นไปในภูมิ ๔ ทั้งหมด อนึ่ง วิบากอันเป็นไปในภูมิสามก็เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย แก่ขันธ์อันเป็นไปในภูมิเหมือนกัน. ในโลกุตตรวิบาก ผลเบื้องต่ำสามไม่เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยแก่อกุศลเท่านั้น. ผลเบื้องสูงคืออรหัตตผลไม่เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย แม้แก่กุศล. ก็ตามนัยก่อนนั่นเอง โลกุตตธรรมอันเกิดแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง โลกุตตรวิบากทั้งหมดในสันดานของบุคคลนั้น เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยแก่อรูปขันธ์มีกุศลเป็นต้นทั้งหมด. ปกตูปนิสสยะ กล่าวคือกิริยาเป็นปัจจัยแก่ขันธ์มีอกุศลเป็นต้น อันเป็นไปในภูมิ ๔. ปกตูปนิสสยะคือรูปก็เหมือนกัน. แต่ รูป เองย่อมไม่ได้ความเป็นอุปนิสปัจจัย ตามนัยอันมาแล้วในมหาปกรณ์ ชื่อว่า ปัฏฐานนี้. จะกล่าวว่าได้โดยปริยายที่มาแล้วในพระสูตรก็ควร. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในอุปนิสสยปัจจัยนี้ ดังพรรณนามาแล้ว.

วรรณนานิทเทสแห่งอุปนิสสยปัจจัย จบ


ความคิดเห็น 42    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 71

[๑๑] ปุเรชาตปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดก่อน กล่าว

คือ

๑. จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับจักขุวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

๒. โสตายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับโสตวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

๓. ฆานายตนะ ก็เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับฆานวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

๔. ชิวหายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับชิวหาวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

๕. ฆายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับกายวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

๖. รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบจักขุวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย


ความคิดเห็น 43    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 72

. สัททายตนะ ก็เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับโสตวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

๘. คันธายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับฆานวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

๙. รสายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับชิวหาวิญญาณธาตุนั่น ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

๑๐. โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับกายวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

๑๑. รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

๑๒. มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ อาศัยรูปใดเป็นไป รูปนั้นเห็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย, เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย ในกาลบางคราว ไม่เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย ในกาลบางคราว.


ความคิดเห็น 44    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 73

วรรณนานิทเทสแห่งปุเรชาตปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน ปุเรชาตปัจจัยนิทเทส ต่อไป.

ชื่อว่า ปุเรชาตะ ในคำว่า ปุเรชาตปจฺจโย นี้ เป็นปัจจัยแก่ธรรมใด ต้องเกิดก่อนกว่าธรรมนั้น คือล่วงเลยอุปาทขณะไปถึงฐีติขณะแล้ว.

คำว่า จกฺขฺวายตนํ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจวัตถุปุเรชาตปัจจัย. คำว่า รูปายตนํ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจอารัมมณปุเรชาตปัจจัย. คำว่า กิญฺจิ กาลํ ปุเรชาตปจฺจเยน (บางคราวเป็นปัจจัยด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย) พระองค์ตรัสหมายถึง ปวัตติกาล. คำว่า กิญฺจิ กาลํ น ปุเรชาตปจฺจเยน (บางคราวก็ไม่เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย) ตรัสหมายเอาปฏิสนธิกาล. บาลีนี้มา แล้วด้วยอำนาจวัตถุและอารมณ์ในปัญจทวารทั้งหมด ไม่ได้มาด้วยอำนาจวัตถุในมโนทวาร. แต่ในปัญหาวาระ ได้อารัมมณปุเรชาตปัจจัยแม้ในมโนทวารด้วย เพราะบาลีมาแล้วว่า พระเสกขะหรือปุถุชน ย่อมเห็น แจ้งซึ่งจักษุอันเป็นอารมณ์ที่เกิดก่อน โดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา. ส่วนในที่นี้ ทรงแสดงเทศนาด้วยอำนาจธรรมที่มีส่วนเหลือ. พรรณนาบาลีในปุเรชาตปัจจัยนิทเทสเพียงเท่านี้.

ก็ปุเรชาตปัจจัยนี้ มีแต่รูปล้วนๆ. ก็แลรูปนั้น ได้แก่รูปรูป (๑) ๑๘ เท่านั้น (รูปที่แตกสลายเพราะปัจจัยที่เป็นข้าศึก มีเย็น ร้อน เป็นต้น) ที่เลยอุปาทขณะแล้วถึงฐีติขณะ. รูปทั้งหมดมี ๒ อย่าง คือเป็นวัตถุ-


(๑) รูปรูป หมายถึง นิปผันนรูป ๑๘.


ความคิดเห็น 45    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 74

ปุเรชาตปัจจัย และอารัมมณปุเรชาตปัจจัย. ในสองอย่างนั้น รูปนี้

คือ จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ วัตถุรูป ชื่อว่า วัตถุปุเรชาตะ รูปที่ เหลือ ๑๒ ทั้งที่มาและไม่ได้มาในบาลี

คือ สี เสียง กลิ่น รส ธาตุ ๔ อินทรีย์ ๓ (คือ ภาวรูป ๒ ชิวิตรูป ๑) กพฬีการาหาร ๑ ชื่อว่า อารัมมณปุเรชาตะ. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกโดยประการ ต่างๆ ในปุเรชาตปัจจัยนี้ ดังพรรณนามาแล้ว

ก็ในปุเรชาตปัจจัยซึ่งจำแนกได้ดังที่ข้าพเจ้าแสดงมาแล้วนี้ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณจิต ๒ ดวง ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย อายตนะ ๔ นอกจากนี้ก็เหมือนกัน คือเป็นปุเรชาตปัจจัยแก่โสตวิญญาณจิต ๒ ดวง เป็นต้น. วัตถุรูปเป็นปุเรชาตปัจจัยแก่จิตและเจตสิก ทั้งที่เป็น กุศล อกุศล และอัพยากตะ อันเป็นไปในภูมิ ๔ ทั้งหมดที่เหลือ เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต และอรูปวิบาก ๔ ก็อารมณ์ ๕ มีรูปเป็นต้น เป็น ปุเรชาตปัจจัยโดยส่วนเดียว แก่ทวิปัญจวิญญาณจิตด้วย และแก่มโนธาตุ ๓ ด้วย. ก็รูปรูปทั้ง ๑๘ อย่างนั้น เป็นปุเรชาตปัจจัยแก่ธรรม ๖ หมวด เหล่านี้

คือ กามาวจรกุศล อภิญญากุศลที่เกิดจากรูปาวจร อกุศล กามาวจรวิบากที่เกิดขึ้นโดยเป็นตทารัมมณะ กามาวจรกิริยา และอภิญญากิริยา ที่เกิดจากรูปาวจร. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในปุเรชาตปัจจัยนี้ อย่างนี้แล.

วรรณนานิทเทสแห่งปุเรชาตปัจจัย จบ


ความคิดเห็น 46    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 75

[๑๒] ปัจฉาชาตปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดภายหลัง กล่าว

คือ

จิตและเจตสิกธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งปัจฉาชาตปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน ปัจฉาชาตปัจจัยนิทเทส ต่อไป.

บทว่า ปจฺฉาชาตา ความว่า ธรรมที่เกิดภายหลังจะเป็นปัจจัยแก่กายใด จะต้องเกิดขึ้น ในเมื่อกายนั้นเกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่. บทว่า ปุเรชาตสฺส

คือ เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เกิดก่อนกว่า อุปาทขณะของปัจจัยธรรมเหล่านั้นล่วงเลยขณะเกิดไปถึงขณะตั้งอยู่. สองบทว่า อิมสฺส กายสฺส

คือ เป็นปัจจัยแก่กายนี้ กล่าวคือมหาภูตรูปและอุปาทายรูป ที่เกิดจากสมุฏฐาน ๔ และสมุฏฐาน ๓. ก็ในข้อนี้ คำว่า กายที่เกิดจากสมุฏฐาน ๓ ผู้ศึกษาพึงทราบกายแห่งพรหมปาริสัชชา เป็นต้น เพราะไม่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน. นี้เป็นการอธิบายบาลีในอธิการนี้.

ก็ชื่อว่า ปัจฉาชาตปัจจัย นี้ ว่าโดยสังเขป ได้แก่ อรูปขันธ์ใน ๔ ภูมิที่เหลือ เว้นอรูปวิบาก. ปัจฉาชาตปัจจัยนั้น ว่าด้วยอำนาจแห่งชาติ มี ๔ ชาติ โดยแจกเป็นกุศล อกุศล วิบาก และกิริยา. ผู้ศึกษาพึงทราบ วินิจฉัยโดยการจำแนกด้วยประการต่างๆ ในปัจฉาชาตปัจจัยนี้ ดังแสดง มาแล้ว.

ในปัจฉาชาตปัจจัยที่จำแนกได้ ดังข้าพเจ้าได้แสดงมาแล้วนี้ กุศล ที่เกิดขึ้นในภูมิ ๔ และอกุศลในปัญจโวการภพ เป็นปัจฉาชาตปัจจัยแก่


ความคิดเห็น 47    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 76

รูปกายที่มีสมุฏฐาน ๔ และสมุฏฐาน ๓ อันล่วงเลยอุปาทขณะ มาถึงฐีติขณะ. แม้ในฝ่ายวิบาก กามาวจรวิบาก และรูปาวจรวิบากที่เหลือ เว้นวิบากที่ทำหน้าที่ปฏิสนธิ เป็นปัจฉาชาตปัจจัยโดยส่วนเดียวแก่รูปที่มี สมุฏฐาน ๔ และสมุฏฐาน ๓ นั้นเอง. แม้โลกุตตรวิบากที่เกิดขึ้นในปัญจโวการภพ ก็เป็นปัจฉาชาตปัจจัยแก่รูปกายนั้นเหมือนกัน. กิริยาจิต ที่เป็นไปในภูมิ ๓ เฉพาะที่เกิดขึ้นในปัญจโวการภพเท่านั้น เป็นปัจฉาชาตปัจจัยแก่กาย มีประการดังกล่าวแล้ว. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้โดยธรรมที่เป็นปัจจัยยุบบันในปัจฉาชาตปัจจัยนี้ ดังพรรณนามาแล้วแล.

วรรณนานิทเทสแห่งปัจฉาชาตปัจจัย จบ

[๑๓] อาเสวนปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเสพบ่อยๆ กล่าว

คือ

๑. กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย

๒. อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย

๓. กิริยาพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กิริยาพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.


ความคิดเห็น 48    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 77

วรรณนานิทเทสแห่งอาเสวนปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน อาเสวนปัจจัยนิทเทส ต่อไป.

ในนัยทั้งหมดว่า ปุริมา ปุริมา ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ได้แก่ ธรรมที่ดับไปโดยลำดับด้วยดี.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไรในอธิการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงทำนิทเทสพร้อมกับธรรมที่มีชาติแตกต่างกัน โดยนัยเป็นต้นว่า กุศลธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมที่เกิดหลังๆ เหมือนในอนันตรปัจจัยเล่า.

ตอบว่า เพราะธรรมทั้งหลายไม่สามารถให้ธรรมเหล่าอื่น ถือเอาคติของตนได้. จริงอยู่ ธรรมที่มีชาติแตกต่างกัน เมื่อจะให้ะรรมที่มีชาติแตกต่างกัน สำเร็จความเป็นธรรมคล่องแคล่ว และมีกำลังด้วยคุณ

คือ อาเสวนะ ย่อมไม่อาจให้ธรรมเหล่านั้นถือเอาคติของตน กล่าว

คือ ความ เป็นกุศลเป็นต้นได้. เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงทำนิทเทสพร้อมกับธรรมที่มีชาติต่างกันเหล่านั้น ทรงทำนิทเทส ร่วมกับธรรมที่มีชาติเหมือนกัน กับธรรมที่สามารถให้ธรรมอื่นถือเอาคติของตน กล่าว

คือ ความเป็นกุศลเป็นต้น ที่พิเศษออกไปโดยภาวะที่มีกำลังมากกว่า คล่องแคล่วกว่า เพราะอาเสวนะ กล่าวคือการสั่งสม เอาไว้.

ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรจึงไม่ทรงถือเอาวิปากาพยากตะด้วยเล่า.

ตอบว่า เพราะไม่มีอาเสวนะ.


ความคิดเห็น 49    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 78

จริงอยู่ วิบากคือภาวะที่สุกงอม ด้วยอำนาจแห่งกรรม เป็นสภาพที่ถูกกรรมทำให้แปรปรวนไป ย่อมเป็นไปอย่างไร้ความพยายาม (ในการให้ผล) และขาดกำลัง วิบากนั้น จึงไม่สามารถให้วิบากอื่นถือเอา คือรับเอาสภาพของตน แล้วเกิดขึ้นด้วยคุณ คืออาเสวนะได้ ทั้งวิบาก (ใหม่) ก็หาได้ถือเอาอนุภาพของวิบากเก่าเกิดขึ้นไม่ แต่วิบากถูกกำลังกรรมซัดไป ย่อมเกิดขึ้นประหนึ่งว่าตกไป เพราะเหตุนั้นในวิบากทั้งหมดจึงไม่มีอาเสวนะ เพราะข้อที่วิบากไม่มีอาเสวนะ ดังกล่าวมาแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงถือเอา (ในอธิการแห่ง อาเสวนปัจจัยนี้).

ก็วิบากนี้ แม้จะเกิดในลำดับแห่งกุศล อกุศล และกิริยา ก็ย่อม ไม่ได้รับคุณ คืออาเสวนะ เพราะมีความเป็นไปเนื่องด้วยกรรม เพราะฉะนั้น ธรรมมีกุศลเป็นต้น จึงไม่เป็นอาเสวนปัจจัยแก่วิบากนั้น. อีกอย่าง หนึ่ง ที่กุศลเป็นต้นเหล่านี้ ไม่เป็นอาเสวนปัจจัยแก่วิบาก เพราะมีชาติต่างกันก็ได้. ก็เมื่อว่าโดยภูมิ หรืออารมณ์แล้ว ธรรมทั้งหลายชื่อว่ามี ชาติต่างกันย่อมไม่มี. เพราะฉะนั้น กามาวจรกุศลและกิริยา จึงเป็นอาเสวนปัจจัยแก่มหัคคตกุศล และมหัคคตกิริยา และอนุโลมกุศล ซึ่งมีสังขารเป็นอารมณ์ และแก่โคตรภูกุศลที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ได้ พรรณนาบาลีในนิทเทสแห่งอาเสวนปัจจัยเท่านี้ก่อน.

ก็อาเสวนปัจจัยนี้ โดยชาติมี ๓ เท่านั้น

คือ กุศล อกุศล กิริยาพยากตะ. ใน ๓ อย่างนั้น กุศลว่าโดยภูมิมี ๓ ภูมิ คือกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร. อกุศลเป็นกามาวจรเท่านั้น. กิริยาพยากตะมี ๓ ภูมิ คือกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร. ชื่อว่า อาเสวนปัจจัยที่เป็นโลกุตตระ


ความคิดเห็น 50    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 79

ย่อมไม่มี. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกโดยประการต่างๆ ใน อาเสวนปัจจัยนี้ดังกล่าวมาแล้ว.

ก็ในอาเสวนปัจจัย ที่จำแนกได้ดังกล่าวมานี้ กามาวจรกุศลเป็น อาเสวนปัจจัยแก่กามาวจรกุศลที่เกิดในลำดับแห่งตน. ในอาเสวนปัจจัย กามาวจรกุศลที่เป็นญาณสัมปยุต เป็นอาเสวนปัจจัยแก่หมวดธรรม เหล่านี้ คือรูปาวจรกุศีล อรูปาวจรกุศล โลกุตตรกุศล ซึ่งมีเวทนาเหมือนกันกับตน. ส่วนรูปาวจรกุศลเป็นอาเสวนปัจจัยเฉพาะแก่รูปาวจรกุศลเท่านั้น. อรูปาวจรกุศลเป็นอาเสวนปัจจัยแก่อรูปาวจรกุศลเท่านั้น.

อกุศลเป็นอาเสวนปัจจัยแก่อกุศลเท่านั้นเหมือนกัน.

ฝ่ายกิริยาธรรม กล่าวคือกามาวจรกิริยา เป็นอาเสวนปัจจัยแก่กามาวจรกิริยาก่อน. ธรรมกล่าวคือกามาวจรกิริยาใด เป็นญาณสัมปยุต ธรรมนั้นเป็นอาเสวนปัจจัยแก่หมวดธรรมเหล่านี้

คือ รูปาวจรกิริยา อรูปาวจรกิริยาที่มีเวทนาเหมือนกับตน. รูปาวจรกิริยาเป็นอาเสวนปัจจัยแก่ รูปาวจรกิริยาเท่านั้น. อรูปาวจรกิริยาเป็นอาเสวนปัจจัยแก่อรูปาวจรกิริยาเท่านั้น. ส่วนวิบากจะเป็นอาเสวนปัจจัยแก่ธรรมอย่างหนึ่ง หรือธรรมอะไรจะเป็นอาเสวนปัจจัยแก่วิบากย่อมไม่มี ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย แม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในอาเสวนปัจจัยนี้ ดังกล่าวมาฉะนี้.

วรรณนานิทเทสแห่งอาสเสวนปัจจัย จบ


ความคิดเห็น 51    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 80

[๑๔] กัมมปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการโดยความปรุงแต่งเพื่อ ให้กิจต่างๆ สำเร็จลง กล่าว

คือ

๑. กุศลธรรมและอกุศลกรรม ก็เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ทั้งหลาย และกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

๒. สภาวธรรมคือเจตนาทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลาย ที่ประกอบกับเจตนา และแก่รูปทั้งหลายที่มีเจตนา และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับเจตนานั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งกัมมปัจจัย

พึงทราบวินิจฉัยใน กัมมปัจจัยนิทเทส ต่อไป.

บทว่า กมฺมํ ได้แก่ เจตนากรรม. สองบทว่า กฏตฺตา จ รูปานํ แปลว่า รูปที่เกิดขึ้นเพราะถูกกรรมทำ (กรรมสร้าง). บทว่า กมฺมปจฺจเยน ความว่า ด้วยอำนาจของนานากขณิกกัมมปัจจัย ที่สามารถให้ผลของตน เกิดขึ้นได้ในที่สุดแห่งโกฏิกัปป์ มิใช่น้อย.

จริงอยู่ กุศลกรรมและอกุศลกรรม ย่อมไม่ให้ผลในขณะที่ตนเป็นไป ถ้าจะพึงให้ผล (ในขณะนั้น) ไซร้ คนทำกุศลกรรมที่เป็นเหตุให้เข้าถึงเทวโลกอันใดไว้ ก็จะพึงกลายเป็นเทวดาในขณะนั้นทีเดียว ด้วยอานุภาพแห่งกรรมนั้น.

ก็กรรมนั้นที่บุคคลทำไว้ในขณะใด แม้จะไม่มีอยู่ในขณะอื่นจากนั้น ย่อมยังผลให้เกิดขึ้นในกาลที่บุคคลพึงเข้าถึงปัจจุบัน หรือต่อจากนั้น ในเมื่อมีการประกอบพร้อมแห่งปัจจัยที่เหลือ เพราะเป็นสภาพที่กรรมทำไว้เสร็จแล้ว เปรียบเหมือนการหัดทำศิลปะครั้งแรก


ความคิดเห็น 52    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 81

แม้จะสิ้นสุดไปแล้ว ก็ให้เกิดการทำศิลปะครั้งหลังๆ ในกาลอื่นได้ เพราะ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า นานากขณิกกัมมปัจจัย.

สองบทว่า เจตนาสมฺปยุตฺตกานํ ธมฺมานํ ความว่า เจตนาอย่างใด อย่างหนึ่ง เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน. ด้วยบทว่า ตํ สมุฏฺานานํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอากัมมชรูปในปฏิสนธิขณะด้วย. คำว่า กมฺมปจฺจเยน นี้ ตรัสหมายถึงเจตนาที่เกิดพร้อมกัน. จริงอยู่บรรดาธรรมมีกุศลธรรมเป็นต้น เจตนาอย่างใดอย่างหนึ่งช่วยอุปการะ แก่ธรรมที่เหลือโดยความเป็นกิริยา กล่าว

คือ ความพยายามแห่งจิต เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า สหชาตกัมมปัจจัย. พรรณนา บาลีในกัมมปัจจัยนี้เท่านี้ก่อน.

ก็กัมมปัจจัยนี้ โดยอรรถได้แก่ เจตนาที่เป็นไปในภูมิ ๔ เจตนานั้น ว่าโดยประเภทแห่งชาติ จำแนกออกเป็น ๔ ชาติ คือกุศล อกุศล วิบาก และกิริยา. ใน ๔ ชาตินั้น กุศลว่าโดยภูมิมี ๔ ภูมิ ด้วยอำนาจกามาวจรภูมิเป็นต้น. อกุศลมี ๑ ภูมิเท่านั้น วิบากมี ๔ ภูมิ กิริยามี ๓ ภูมิ. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกด้วยประการต่างๆ ในกัมมปัจจัย ดังกล่าวมาแล้ว.

ก็ใน กัมมปัจจัย มีจำแนกได้ดังกล่าวมาแล้ว กามาวจรกุศลเจตนาที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ในปัญจโวการภพ, ในจตุโวการภพ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตกับตนอย่างเดียวเท่านั้น ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย.

ส่วนเจตนาที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ของตน


ความคิดเห็น 53    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 82

และกัมมชรูปโดยนานากขณิกกัมมปัจจัย. ก็แลเจตนานั้นเป็นปัจจัยเฉพาะ ในปัญจโวการภพเท่านั้น หาเป็นในภพอื่นไม่.

รูปาวจรกุศลเจตนาที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน และแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัยโดยส่วนเดียว. แต่ รูปาวจรกุศลเจตนาที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัย แก่วิบากของตนและกัมมชรูป ด้วยอำนาจของนานากขณิกกัมมปัจจัย.

อรูปาวจรกุศลเจตนา และ โลกุตตรกุศลเจตนาที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน และแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปัญจโวการภพ, ในจตุโวการภพ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตกับตนอย่างเดียว ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย.

และเจตนาทั้งสองนั้นที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ของตนๆ ด้วยอำนาจของนานากขณิกกัมมปัจจัย. อกุศลเจตนาที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตกับตน และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ในปัญจโวการภพ, ในจตุโวการภพ เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปขันธ์เท่านั้น ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย.

อกุศลเจตนานั้นที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์และกัมมชรูป ด้วยอำนาจของนานากขณิกกัมมปัจจัย.

วิบากเจตนาฝ่ายกามาวจรและรูปาวจร เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน และเป็นปัจจัยแก่จิตตชรูปในปวัตติกาล แก่กัมมชรูปในปฏิสนธิกาล ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย.

อรูปาวจรวิบากเจตนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตนอย่าง


ความคิดเห็น 54    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 83

เดียว ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย. โลกุตตรวิบากเจตนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ในปัญจโวการภพ, ในจตุโวการภพ เป็นปัจจัยแก่อรูปธรรมเท่านั้น ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย.

กิริยาเจตนา ที่เกิดในภูมิทั้งสาม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตและจิตตชรูป ในปัญจโวการภพ ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย. ก็กิริยาเจตนาที่เกิดในอรูปภพ เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปธรรมเท่านั้น ด้วยอำนาจ ของสหชาตกัมมปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในกัมมปัจจัยนี้ ดังกล่าวมาแล้วแล.

วรรณนานิทเทสแห่งกัมมปัจจัย จบ

[๑๕] วิปากปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นวิบาก คือถึงความสุก และหมดกำลังลง กล่าว

คือ นามขันธ์ ๔ ที่เป็นวิบาก เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งวิปากปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน วิปากปัจจัยนิทเทส ต่อไป.

เพราะรูปแม้จะเกิดจากกรรม ก็ไม่ชื่อว่าวิบาก ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า วิปากา แล้วตรัสว่า จตฺตาโร ขนฺธา ในพระบาลีว่า วิปากา จตฺตาโร ขนฺธา. บาลีนี้มาด้วยอำนาจวิปากปัจจัยแห่งอรูปธรรม


ความคิดเห็น 55    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 84

เท่านั้น ด้วยประการฉะนี้. แต่ในปัญหาวาระ ย่อมได้วิปากปัจจัยแม้แก่ จิตตชรูปและกัมมชรูปด้วย เพราะพระบาลีมาแล้วว่า ขันธ์ ๑ ที่เป็นวิปากาพยากตะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และรูปที่จิตเป็นสมุฏฐาน ด้วย อำนาจของวิปากปัจจัย. ขันธ์ที่ ๑ ที่เป็นวิปากาพยากตะ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ ๓ และกัมมชรูปในขณะปฏิสนธิ ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย. แต่ ในอธิการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำเทศนาด้วยอำนาจธรรมที่มีส่วนเหลือ. พรรณนาบาลีในวิปากปัจจัยนี้เพียงเท่านี้.

ก็วิปากปัจจัยนี้ เพราะเป็นวิบากธรรม ว่าโดยชาติมีเพียงชาติเดียว (คือวิปากชาติ) โดยประเภทแห่งภูมิจำแนกได้ ๔ ภูมิ ด้วยอำนาจกามาวจรภูมิเป็นต้น. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกด้วยประการต่างๆ ในวิปากปัจจัยนี้ ดังกล่าวมาแล้วนี้.

ก็ในวิปากปัจจัยที่จำแนกได้ดังอธิบายมาแล้ว กามาวจรวิบากและรูปาวจรวิบาก เป็นวิปากปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตกับตน และเป็นวิปากปัจจัย แก่จิตตชรูปในปวัตติกาล เป็นวิปากปัจจัยแก่กัมมชรูปในปฏิสนธิกาล. อรูปาวจรวิบาก เป็นวิปากปัจจัยเฉพาะแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น. โลกุตตรวิบากเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตและจิตตชรูป ในปัญจโวการภพ. เป็นปัจจัยเฉพาะแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น ในจตุโวการภพ. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในวิปากปัจจัยนี้ อย่างนี้แล.

วรรณนานิทเทสแห่งวิปากปัจจัย จบ


ความคิดเห็น 56    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 85

[๑๖] อาหารปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้นำมา กล่าวคือ

๑. อาหารคือคำข้าว เป็นปัจจัยแก่ธรรมนี้ ด้วยอำนาจของ อาหารปัจจัย

๒. นามอาหาร เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับนามอาหาร และแก่รูปทั้งหลายที่มีนามอาหารนั้นเห็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจ ของอาหารปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งอาหารปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน อาหารปัจจัยนิทเทส ต่อไป.

โอชาในรูปที่เกิดในสันตติ (๑) ๔ ชื่อว่า อาหาร ในคำว่า กพฬีกาโร อาหาโร. ก็เพราะอาหารนั้น บุคคลทำให้เป็นคำแล้วกลืนกินเข้าไปเท่านั้น จึงทำกิจแห่งอาหารได้ ที่อยู่ภายนอกหาทำกิจแห่งอาหารไม่ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า อาหาโร ตรัสว่า กพฬีกาโร อาหาโร. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า กพฬีกาโร นี้ สักว่าเป็นชื่อแห่งอาหารนั้น เพราะ เป็นวัตถุที่บุคคลพึงทำให้เป็นคำๆ แล้วกลืนกิน. อาหาร

คือ ผัสสะ เจตนา และวิญญาณ ชื่อว่า นามอาหาร. รูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาแล้วในคำนี้ว่า ตํสมุฏฺานานํ. สมจริงดังที่พระองค์ ตรัสไว้ในปัญหาวาระว่า ในขณะปฏิสนธิ อาหารที่เป็นวิปากาพยากตะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตและรูปที่เกิดจากกรรม ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย. พรรณนาบาลีในอาหารปัจจัย เพียงเท่านี้.


(๑) รูปที่เกิดจากสมุฏฐาน ๔ คือ กรรม จิต อุตุ อาหาร.


ความคิดเห็น 57    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 86

ก็อาหารปัจจัยนี้โดยย่อ ได้แก่ ธรรม ๔ อย่างเท่านั้น

คือ กพฬีการาหาร ผัสสาหาร เจตนาหาร และวิญญาณหาร. ในอาหาร ๔ อย่างเท่านั้น คือ กพฬีการาหาร ผัสสาหาร เจตนาหาร และวิญญาณาหาร นามอาหาร ๔ อย่างนั้น นามอาหาร ๓ ที่เหลือ เว้นกพฬีการาหาร ว่าโดยอำนาจแห่งชาติ จำแนกได้ ๔ ชาติ โดยเป็นกุศล อกุศล วิบาก และกิริยา.

ว่าด้วยประเภทแห่งภูมิอีก นามอาหารเหล่านี้จำแนกได้มากมายหลายอย่าง อย่างนี้

คือ กุศลจำแนกได้ ๔ ภูมิ อกุศล ๑ ภูมิ วิบาก ๔ ภูมิ กิริยา ๓ ภูมิ. ส่วนกพฬีการาหารโดยชาติเป็นอัพยากตะ โดยภูมิเป็นกามาวจรอย่างเดียว. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกด้วยประการ ต่างๆ ในอาหารปัจจัยนี้ ดังกล่าวมาแล้ว.

ก็ในอาหารปัจจัยซึ่งจำแนกได้ดังกล่าวมาแล้วนี้ อาหารที่เป็นกุศล ๓ อย่าง ทั้ง ๔ ภูมิเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปัญจโวการภพ ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย อาหารที่เหลือ เว้นรูปาวจรวิญญาณ เป็นปัจจัยเฉพาะแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น ในอรูปภพด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย. แม้ในอาหารที่เป็นอกุศลก็นัยนี้เหมือนกัน. อาหารที่เป็นวิบากทั้ง ๔ ภูมิ เป็นอาหารปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตในที่ทั้งปวง. ก็ในอธิการนี้ กามาวจรวิบาก และรูปาวจรวิบากที่เกิดในปัญจโวการภพ เป็นอาหารปัจจัยแก่จิตตชรูปในปวัตติกาล แก่กัมมชรูปในปฏิสนธิกาล. อาหารที่เป็นโลกุตตรวิบากเป็นอาหารปัจจัยแก่จิตตชรูปอย่างเดียว. อาหารที่เกิดในอรูปภพย่อมไม่เป็นปัจจัยแก่รูป. อาหารที่เป็นกิริยาทั้ง ๓ ภูมิ เป็นอาหารปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และจิตตชรูปในปัญจโวการภพ. อาหารที่เป็นกามาวจรและอรูปาวจร เป็นอาหารปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น ในอรูปภพ. กวฬีการาหารที่เกิดขึ้นในสันตติ ๔


ความคิดเห็น 58    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 87

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยไม่แปลกกันว่า เป็นปัจจัยแก่กายนี้ แม้ก็จริง แต่เมื่อว่าโดยแปลกกัน ในอธิการนี้ กวฬีการาหารนี้ เป็นผู้ให้เกิด รูปที่มีอาหารเป็นสมุฏฐานด้วยชนกสัตติ และตามรักษารูปที่มีอาหารเป็น สมุฏฐานด้วยอนุปาลกสัตติ ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย. อธิบายว่า เป็นปัจจัยแก่สันตติรูปอันมีสมุฏฐาน ๓ ที่เหลือ ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย เพราะเลี้ยงรูปไว้. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้ด้วยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในอาหารปัจจัยนี้ ดังพรรณนามาแล้ว.

วรรณนานิทเทสแห่งอาหารปัจจัย จบ

[๑๗] อินทริยปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นใหญ่ กล่าวคือ

๑. จักขุนทรีย์ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับจักขุวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย

๒. โสตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับโสตวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย

๓. ฆานินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับฆานวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย


ความคิดเห็น 59    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 88

๔. ชิวหินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับชิวหาวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย

๕. กายินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับกายวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย

๖. รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจ ของอินทริยปัจจัย

๗. นามอินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับนามอินทรีย์ และแก่รูปทั้งหลายที่มีนามอินทรีย์ และธรรมที่ประกอบกับนามอินทรีย์นั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งอินทริยปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน อินทริยปัจจัยนิทเทส ต่อไป.

บทว่า จกฺขุนฺทฺริยํ แปลว่า อินทรีย์คือจักษุ. บทว่า อินฺทฺริยปจฺจเยน ความว่า จักขุนทรีย์เป็นต้นนั้น ตัวเองเกิดก่อนแล้วเป็นปัจจัยแก่อรูปธรรม ตั้งแต่เกิดไปจนถึงดับ ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย. แม้ในโสตินทรีย์อเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. แม้ อรูปชีวิตินทรีย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงสงเคราะห์เข้าในคำนี้ว่า อินทรีย์ที่ไม่มีรูป. ในคำว่า ตํสมุฏฺานานํ นี้ ทรงสงเคราะห์แม้กัมมชรูปโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลัง. สมจริงดังที่พระองค์ตรัสไว้ในปัญหาวาระดังนี้ว่า อินทรีย์ที่เป็นวิปากกาพยากตะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุต และกัมมชรูป ในขณะ


ความคิดเห็น 60    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 89

ปฏิสนธิ ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย. พรรณนาบาลีในนิทเทสแห่ง อินทริยปัจจัยนี้เพียงเท่านี้.

ก็ อินทริยปัจจัย นี้ คืออินทรีย์ ๒๐ ถ้วนเว้นอิตถินทรีย์และ ปุริสินทรีย์.

จริงอยู่ อิตถินทรีย์ และปุริสินทรีย์ เป็นกำเนิดแห่งเพศหญิงและเพศชาย แม้ก็จริง แต่ในกาลที่เป็นกลละเป็นต้น แม้เมื่อ อิตถินทรีย์และปุริสินทรีย์เหล่านั้นจะมีอยู่ ก็ยังไม่สำเร็จความเป็นอินทริยปัจจัยแก่เพศหญิงและเพศชายเหล่านั้น เพราะเพศชายและเพศหญิงยังไม่มี ทั้งไม่เป็นอินทริยปัจจัยแก่ธรรมเหล่าอื่นด้วย.

จริงอยู่ ธรรมที่เป็นอินทริยปัจจัย จะชื่อว่าไม่สำเร็จความเป็นอินทริยปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่แยกกัน ในขณะที่ตนมีอยู่ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น อิตถินทรีย์และปุริสินทรีย์เหล่านั้น จึงไม่เป็นอินทริยปัจจัย.

ก็อิตถินทรีย์และปุริสินทรีย์ เหล่านี้เป็นพืชแห่งเพศหญิงและ เพศชายเหล่าใด โดยบรรยายที่มาในพระสูตร อิตถินทรีย์และปุริสินทรีย์เหล่านั้น นับว่าเป็นปกตูปนิสสยปัจจัย แก่เพศหญิงและเพศชายเหล่านั้นด้วย.

อินทริยปัจจัย ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ได้แก่ อินทรีย์ ๒๐ ถ้วน อินทริยปัจจัยนั้น โดยชาติจำแนกออกเป็น ๕ ชาติ คือกุศล อกุศล วิบาก กิริยาและรูป. ใน ๕ ชาตินั้น กุศลว่าด้วยอำนาจแห่งภูมิมี ๔ ภูมิ อกุศล เป็นกามาวจรอย่างเดียว วิบากมี ๔ ภูมิ กิริยามี ๓ ภูมิ รูปเป็นกามาวจรภูมิเท่านั้น ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกด้วยประการต่างๆ ในอินทริยปัจจัยนี้ อย่างนี้ก่อน.


ความคิดเห็น 61    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 90

ก็ในอินทริยปัจจัยซึ่งจำแนกแล้วอย่างนี้ ปัจจัยคืออินทรีย์ที่เป็น กุศลทั้ง ๔ ภูมิ เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปัญจโวการภพ ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย. อินทรีย์ที่เป็นอกุศล เหมือนกัน. กุศลและอกุศลที่เหลือเว้นรูปาวจรกุศล เป็นปัจจัยเฉพาะแก่ธรรมที่สัมปยุตในอรูปภพ ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.

อินทรีย์ที่เป็นวิบากทั้ง ๔ ภูมิ เป็นอินทริยปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตโดยส่วนเดียว. ก็บรรดาอินทรีย์ที่เป็นวิบากเหล่านี้ อินทรีย์ที่เป็นกามาวจรวิบาก และรูปาวจรวิบาก เมื่อเกิดในปัญจโวการภพ เป็นปัจจัยแก่จิตตชรูปในปวัตติกาล และกัมมชรูปในปฏิสนธิกาล ด้วยอำนาจของอินทริย์ปัจจัย. อินทรีย์ที่เป็นโลกุตตรวิบาก เป็นปัจจัยแก่จิตตชรูปอย่างเดียว. อินทรีย์ที่เป็นโลกุตตรวิบาก ซึ่งเกิดขึ้นในอรูปภพ ย่อมไม่เป็นปัจจัยแก่รูป.

อินทรีย์ที่เป็นกิริยาทั้ง ๓ ภูมิ เป็นอินทริยปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และจิตตชรูปในปัญจโวการภพ. ส่วนอินทรีย์ที่เป็นกามาวจรกิริยา และอรูปาวจรกิริยา ย่อมสำเร็จความเป็นอินทริยปัจจัยเฉพาะแก่ธรรมที่สัมปยุต เท่านั้น ในอรูปภพ.

ในรูปอินทรีย์ทั้ง ๖ มีจักขุนทรีย์เป็นต้น จักขุนทรีย์เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณจิต ๒ พร้อมทั้งธรรมที่สัมปยุตในฝ่ายกุศลวิบากและอกุศลวิบาก ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย. โสตินทรีย์เป็นต้น ก็เป็นอินทริยปัจจัยแก่โสตวิญญาณเป็นต้น อย่างนั้นเหมือนกัน.

รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่รูปที่เกิดร่วมกับตนในฐีติขณะ ด้วย


ความคิดเห็น 62    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 91

อำนาจของอินทริยปัจจัย. ความเป็นสหชาตปัจจัย ย่อมไม่มีแก่รูปชีวิตินทรีย์นั้น.

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในอินทริยปัจจัย อย่างนี้แล.

วรรณนานิทเทสแห่งอินทริยปัจจัย จบ

[๑๘] ฌานปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้เพ่ง อารมณ์ กล่าว

คือ องค์ฌานทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับฌาน และแก่รูปทั้งหลายที่มีฌานและธรรมที่ประกอบกับฌานนั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งฌานปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน ฌานปัจจัยนิทเทส ต่อไป.

บทว่า ฌานงฺคานิ ได้แก่ องค์ฌาน ๗ กล่าว

คือ วิตก วิจาร ปีติ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา และจิตเตกัคคตา ที่เกิดขึ้นในจิตที่เหลือ เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐. ก็เพราะหมวดแห่งวิญญาณ ๕ เป็นเพียงการตกไป (แห่งจิตในอารมณ์) อุเบกขา สุข และทุกข์แม้จะ มีอยู่ในจิตเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ทรงยกขึ้นว่าเป็นองค์ฌาน เพราะไม่มีการเข้าไปเพ่งอารมณ์. ก็บรรดาองค์ฌานเหล่านั้น องค์ฌานแม้ในอเหตุกจิตที่เหลือ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ทรงยกขึ้น (ว่าเป็นฌาน-


ความคิดเห็น 63    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 92

ปัจจัย) เหมือนกัน เพราะถูกตัดขาดไปแล้ว แต่ในการประมวลธรรมใน อธิการนี้ ทรงยกขึ้นไว้ด้วย.

แม้ในบทว่า ตํ สมุฏฺานานํ นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์เอากัมมชรูป. สมจริงดังที่พระองค์ตรัสไว้ใน ปัญหาวาระว่า " ในปฏิสนธิขณะ องค์ฌานที่เป็นวิปากาพยากตะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุต และกัมมชรูป ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย." พรรณนาบาลีในอธิการนี้เพียงเท่านี้.

ก็ฌานปัจจัยนี้คือองค์ฌาน ๗ จำแนกโดยประเภทแห่งชาติมี ๔ ชาติ

คือ กุศล อกุศล วิบาก และกิริยา. ว่าด้วยอำนาจแห่งภูมิอีกครั้ง จำแนก ได้ ๑๒ ภูมิ คือกุศล ๔ อกุศล ๑ วิบาก ๔ กิริยา ๓. ผู้ศึกษาพึงทราบ วินิจฉัยโดยการจำแนกด้วยประการต่างๆ ในฌานปัจจัยนี้ ดังกล่าวมา แล้ว.

ในฌานปัจจัยที่จำแนกออกอย่างนี้ องค์ฌานที่เป็นกุศลทั้ง ๔ ภูมิ เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และจิตตชรูปในปัญจโวการภพ ด้วยอำนาจ ของฌานปัจจัย. องค์ฌานที่เหลือเว้นที่เป็นรูปาวจร เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ สัมปยุตเท่านั้นในอรูปภพ ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย. แม้ในอกุศลเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. องค์ฌานที่เป็นกามาวจรวิบาก และ รูปาวจรวิบาก เป็นฌานปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และจิตตชรูปในปวัตติกาล. เป็นฌานปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และกัมมชรูปในปฏิสนธิกาล. องค์ฌานที่เป็น อรูปวิบาก เป็นฌานปัจจัยเฉพาะแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น (ในอรูปภพ) และโลกุตตรวิบากที่เกิดในอรูปภพก็เหมือนกัน. แต่ในปัญจโวการภพ องค์ฌานที่เป็นโลกุตตรวิบากนั้น เป็นปัจจัยแก่จิตตชรูปด้วยอำนาจของ


ความคิดเห็น 64    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 93

ฌานปัจจัย. องค์ฌานที่เป็นกิริยาทั้ง ๓ ภูมิ เป็นฌานปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และจิตตชรูปในปัญจโวการภพ. องค์ฌานที่เกิดในอรูปภพเป็นปัจจัยเฉพาะแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย. ผู้ศึกษา พึงทราบวินิจฉัย แม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในฌานปัจจัยนี้ ดังกล่าว มาแล้วแล.

วรรณนานิทเทสแห่งฌานปัจจัย จบ

[๑๙] มัคคปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นทาง กล่าวคือ

องค์มรรคทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมรรค และแก่รูปทั้งหลายที่มีมรรค และธรรมที่ประกอบกับมรรคเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งมัคคปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่ง มัคคปัจจัย ต่อไป.

บทว่า มคฺคงฺคานิ ได้แก่ องค์มรรค ๑๒ เหล่านี้

คือ ปัญญา วิตก สัมมาวาจา สันมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ วิริยะ สติ สมาธิ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ ที่เกิดขึ้นใน จิตที่เหลือ เว้นอเหตุกจิตตปบาท. พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงยกองค์ มรรคในอเหตุกจิต (เป็นมัคคปัจจัย) เพราะความเป็นมรรคเป็นธรรมเกิด ภายหลังแห่งเหตุ. ทรงสงเคราะห์กัมมชรูป ในบทว่า ตํ สมุฏฺานานํ นี้. สมจริงดังที่พระองค์ตรัสไว้ในปัญหาวาระว่า "องค์มรรคที่เป็นวิปากา-


ความคิดเห็น 65    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 94

พยากตะ ในขณะปฏิสนธิ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตและกัมมชรูป ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย." พรรณนาบาลีในอธิการนี้เท่านี้ก่อน.

ก็มัคคปัจจัยนี้ ได้แก่องค์มรรค ๑๒ แบ่งโดยประเภทแห่งชาติมี มีกุศลชาติเป็นต้น. และกุศลชาติเป็นต้น จำแนกโดยภูมิได้ ๑๒ ภูมิ มีกามาวจรภูมิเป็นต้น. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกด้วยประการ ต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว.

ก็ในมัคคปัจจัยที่จำแนกได้อย่างนี้ องค์มรรคที่เป็นกุศลทั้ง ๔ ภูมิ เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และจิตตชรูปในปัญจโวการภพ ด้วยอำนาจ ของมัคคปัจจัย. องค์มรรคที่เหลือเว้นที่เป็นรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ สัมปยุตในอรูปภพ ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย. อธิบายทั้งหมดท่านให้ พิสดารแล้วเหมือนมโนฌานปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้โดยธรรม ที่เป็นปัจจยุบบันในมัคคปัจจัยนี้ ดังกล่าวมาแล้วแล.

วรรณนานิทเทสแห่งมัคคปัจจัย จบ

[๒๐] สัมปยุตตปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ ประกอบ กล่าว

คือ นามขันธ์ทั้งหลาย ๔ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน โดยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งสัมปยุตตปัจจัย

บาลีใน สัมปยุตตปัจจัยนิทเทส มีเนื้อความกระจ่างแล้ว. ก็ชื่อว่า สัมปยุตตปัจจัยนี้ว่าโดยสังเขป ได้แก่ อรูปขันธ์ทั้งหมด. โดยประเภท


ความคิดเห็น 66    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 95

จำแนกได้หลายอย่าง

คือ โดยชาติ มีกุศลชาติเป็นต้น โดยภูมิ มีกามาวจรภูมิเป็นต้น. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกด้วยประการต่างๆ ในสัมปยุตตปัจจัยนี้ ดังกล่าวมาแล้ว.

ก็ในสัมปยุตตปัจจัยที่จำแนกแล้วอย่างนี้ บรรดากุศลขันธ์ทั้ง ๔ ภูมิ ขันธ์ ๑ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓, ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย ขันธ์ ๓ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑, ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒. กุศลขันธ์ทั้งหมด เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย ด้วยประการฉะนี้ แม้ในอกุศลขันธ์ วิบากขันธ์และกิริยาขันธ์ก็นัยนี้เหมือนกัน. ผู้ศึกษา พึงทราบวินิจฉัยแม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบัน ในสัมปยุตตปัจจัยนี้ ดัง พรรณนามาแล้วแล.

วรรณนานิทเทสแห่งสัมปยุตตปัจจัย จบ

[๒๑] วิปปยุตตปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ ไม่ประกอบ กล่าว

คือ

๑. รูปธรรมทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่นามธรรมทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

๒. นามธรรมทั้งหลายก็เป็นปัจจัยแก่รูปธรรมทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.


ความคิดเห็น 67    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 96

วรรณนานิทเทสแห่งวิปปยุตตปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน วิปปยุตตปัจจัยนิทเทส ต่อไป.

คำนี้ว่า รูปธรรมเป็นวิปปยุตตปัจจัยแก่อรูปธรรม พึงทราบด้วย อำนาจหทัยวัตถุและจักขุนทรีย์เป็นต้นก่อนๆ จริงอยู่ รูปธรรม ๖ อย่าง เหล่านี้เองเป็นวิปปยุตตปัจจัยแก่อรูปขันธ์. ถึงแม้ธรรมที่เป็นอารมณ์มี รูปายตนะเป็นต้น เป็นวิปปยุตตกัน (กับจักขายตนะเป็นต้น) ก็จริง แต่ก็ไม่จัดเป็นวิปปยุตตปัจจัย.

ถามว่า เพราะเหตุไร?

ตอบว่า เพราะไม่มีความเกี่ยวข้องในเรื่องสัมปโยคะ. อรูปขันธ์ ทั้งหลายเกิดขึ้น เหมือนออกมาจากภายในแห่งรูปอันเป็นที่อาศัย มีจักขุปสาทเป็นต้น. ความเกี่ยวข้องในจักขุปสาทเป็นต้นเหล่านี้ จึงมีอยู่ไม่ว่าอรูปขันธ์เหล่านั้นจะสัมปยุตหรือวิปปยุตกับจักขุปสาทเป็นต้นเหล่านั้น ก็ตาม. ส่วนธรรมที่เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นเพียงอารมณ์แห่งจิตที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยวัตถุรูปเท่านั้น เพราะเหตุนั้นความเกี่ยวข้องเรื่องสัมปโยคะใน จักขุปสาทเป็นต้นเหล่านั้น จึงไม่มี. รูปายตนะเป็นต้นเหล่านั้นไม่จัดเป็น วิปปยุตตปัจจัย เพราะไม่มีการเกี่ยวข้องในเรื่องสัมปโยคะ ด้วยประการ ฉะนี้. ผู้ศึกษาพึงทราบความเป็นวิปปยุตตปัจจัยนี้ในหทัยวัตถุเป็นต้นด้วย. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน ปัญหาวาระ ว่า "วัตถุรูปเป็น ปัจจัยแก่กุศลขันธ์และอกุศลขันธ์ ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย. วัตถุรูปเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิปากาพยากตะ และกิริยาพยากตะ ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย."


ความคิดเห็น 68    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 97

คำนี้ว่า อรูปธรรมเป็นปัจจัยแก่รูปธรรมด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย ผู้ศึกษาพึงทราบด้วยอำนาจขันธ์ ๔. จริงอยู่ ในบรรดาอรูปธรรม ขันธ์ ๔ เป็นวิปปยุตตปัจจัยแก่รูปธรรมที่เป็นสหชาตะและปุเรชาตะ. ส่วน นิพพานถึงจะเป็นอรูปธรรม ก็ไม่เป็นปัจจัยแก่รูปด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส (๑) ไว้ว่า ประกอบด้วยขันธ์ ๔ ไม่ประกอบด้วยขันธ์ ๔ (คือสัมปยุตหรือวิปปยุตใช้กับนามขันธ์). ผู้ศึกษาพึงทราบว่า เฉพาะขันธ์ ๔ เท่านั้น เป็นวิปปยุตตปัจจัยด้วยประการ ฉะนี้. สมจริง ดังที่พระองค์ตรัสไว้ใน ปัญหาวาระ ว่า ที่เป็นสหชาตะ กุศลขันธ์เป็นปัจจัยแก่จิตตตชรูป ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย. ที่เป็น ปัจฉาชาตะ กุศลขันธ์เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิขันธ์ที่เป็นวิปากาพยากตะเป็นปัจจัยแก่กัมมชรูป ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ ด้วย อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบการพรรณนาบาลีในอธิการนี้ อย่างนี้.

ก็ชื่อว่า วิปปยุตตปัจจัยนี้ โดยสังเขป ได้แก่ รูปธรรมและอรูปธรรม ที่กำลังเป็นไปในปัญจโวการภพ. บรรดารูปธรรมและอรูปธรรมเหล่านั้น รูปธรรมจำแนกได้ ๖ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งหทัยวัตถุและจักขุปสาท เป็นต้น. อรูปธรรมที่เกิดในปัญจโวการภพ จำแนกได้ ๔ ชาติ คือกุศล อกุศล วิบาก กิริยา. อรูปธรรมนั้นโดยภูมิจำแนกได้ ๑๑ ภูมิ

คือ กุศล ๔ อกุศล ๑ วิบาก ๓ กิริยา ๓ ด้วยอำนาจแห่งกามาวจรภูมิเป็น


(๑) อภิ. ธาตุกถา


ความคิดเห็น 69    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 98

ต้น. แต่อรูปวิบากไม่เป็นวิปปยุตตปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกด้วยประการต่างๆ ในวิปปยุตตปัจจัยนี้ ดังพรรณนามานี้

ก็ในวิปปยุตตปัจจัยที่จำแนกแล้วอย่างนี้ กุศล และอกุศลทั้ง ๔ ภูมิ ที่เกิดในปัญจโวการภพ เป็นปัจจัยแก่จิตชรูปที่เกิดขึ้นพร้อมกับตน ด้วย อำนาจของสหชาตวิปปยุตตปัจจัย. เป็นปัจจัยแก่รูปกายที่มีสมุฏฐาน ๔ และ ๓ ที่เกิดก่อน ที่ล่วงเลยอุปาทขณะมาถึงฐีติขณะ ด้วยอำนาจของ ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย. ก็คำว่า รูปกายที่มีสมุฏฐาน ๓ ในที่นี้ ผู้ศึกษา พึงทราบว่า ได้แก่กายแห่งพรหมปาริสัชชา เป็นต้น เพราะไม่มีอาหาร สมุฏฐาน.

ก็กามาวจรวิบากและรูปาวจรวิบาก เป็นปัจจัยแก่จิตตชรูป ในปวัตติกาลและกัมมชรูปในปฏิสนธิกาล ด้วยอำนาจของสหชาตวิปปยุตตปัจจัย. โลกุตตรวิบากเป็นปัจจัยเฉพาะแก่จิตตชรูปอย่างเดียว. ก็วิบากทั้ง ๓ ภูมินี้ (กาม + รูป + โลกุตตระ) เป็นปัจจัยแก่กายที่มีสมุฏฐาน ๔ และ ๓ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย.

กิริยาทั้ง ๓ ภูมิ เป็นปัจจัยแก่จิตตรูป ด้วยอำนาจของสหชาตวิปปยุตตปัจจัย, เป็นปัจจัยแก่กายที่มีสมุฏฐาน ๔ และสมุฏฐาน ๓ ซึ่ง เกิดก่อน ด้วยอำนาจชองปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย.

ส่วนในฐิตรูป ๖ อย่างนั้น วัตถุรูปเป็นปัจจัยแก่กามาวจรวิบากและ รูปาวจรวิบากในขณะปฏิสนธิ ด้วยอำนาจของสหชาตวิปปยุตตปัจจัย. เป็นปัจจัยแก่กุศลทั้ง ๔ ภูมิ อกุศล ๑ ภูมิ วิบากทั้ง ๓ ภูมิเว้นวิญญาณจิต ๑๐ และกิริยาจิตทั้ง ๓ ภูมิที่เกิดขึ้นในปวัตติกาล ด้วยอำนาจของ ปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย. จักขายตนะเป็นต้น เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ


ความคิดเห็น 70    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 99

เป็นต้น. ด้วยอำนาจของปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย แม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในอธิการนี้ ดังพรรณนามาแล้วแล.

วรรณนานิทเทสแห่งวิปปยุตตปัจจัย จบ

[๒๒] อัตถิปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ยังมีอยู่ กล่าว

คือ

๑. นามขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

๒. มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

๓. ในปฏิสนธิขณะ นามรูปเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

๔. จิตและเจตสิกธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่รูปทั้งหลายที่ มีจิตเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

๕. มหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจ ของอัตถิปัจจัย

๖. จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับจักขุวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

๗. โสตายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับโสตวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย


ความคิดเห็น 71    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 100

๘. ฆานายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับฆานวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

๙. ชิวหายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับชิวหาวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

๑๐. กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม ทั้งหลายที่ประกอบกับกายวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

๑๑. รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับจักขุวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

๑๒. สัททายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับโสตวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

๑๓. คันธายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับฆานวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

๑๔. รสายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับชิวหาวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

๑๕. โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับกายวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

๑๖. รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

๑๗. มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ อาศัยรูปใดเป็นไป รูป


ความคิดเห็น 72    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 101

นั้นเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลาย ที่ประกอบกับมโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งอัตถิปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน อัตถิปัจจัยนิทเทส ต่อไป.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอัตถิปัจจัย ด้วยอำนาจแห่งสหชาตะ ด้วยคำว่า จตฺตาโร ขนฺธา เป็นต้น. ทรงแสดงอัตถิปัจจัยด้วยอำนาจแห่ง ปุเรชาตะด้วยคำว่า จกฺขฺวายตนํ เป็นต้น. ในคำว่า ยํ รูปํ นิสฺสาย นี้ ทรงแสดงอัตถิปัจจัยด้วยอำนาจธรรมทั้งที่เป็น สหชาตะและปุเรชาตะ. บาลีนี้มาแล้วด้วยอำนาจอัตถิปัจจัย แห่งธรรมทั้งที่เป็นสหชาตะและปุเรชาตะทีเดียวด้วยประการฉะนี้.

แต่ใน ปัญหาวาระ ได้อัตถิปัจจัย ด้วยอำนาจแห่งอาหารและอินทรีย์ที่เป็นปัจฉาชาตะด้วย เพราะพระบาลีมาแล้วด้วยอำนาจธรรม เหล่านี้

คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาร อินทรีย์. แต่ในที่มีพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเทศนา ด้วยอำนาจแห่งธรรมที่มีส่วนเหลือ. พรรณนาบาลีในอธิการนี้เพียงเท่านี้.

ก็ชื่อว่า อัตถิปัจจัยนี้ มี ๒ อย่าง คือโดยเป็นอัญญมัญญะและไม่ใช่อัญญมัญญะ. ใน ๒ อย่างนั้น อัตถิปัจจัยที่เป็นอัญญมัญญะ มี ๓ อย่าง คืออรูปกับอรูป รูปกับรูป รูปและอรูปกับรูปและอรูป. จริงอยู่ ในคำนี้ว่า ขันธ์ ๔ เป็นอัตถิปัจจัยแก่อรูป พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถึงอรูปเป็นปัจจัยกัน ด้วยอำนาจการเกิดขึ้นแห่งจิตทั้งหมด. ในคำนี้


ความคิดเห็น 73    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 102

ว่า จตฺตาโร มหาภูตา ตรัสถึงรูปเป็นปัจจัยกับรูป ด้วยอำนาจการสืบต่อ แห่งรูปทั้งหมด. ในคำนี้ว่า โอกฺกนฺติกฺขเณ นามรูปํ ตรัสถึงรูปและอรูปกับรูปและอรูปเป็นปัจจัยกัน ด้วยอำนาจแห่งขันธ์ที่ทำหน้าที่ปฏิสนธิและ วัตถุรูป. อัตถิปัจจัยที่ไม่ใช่อัญญมัญญะมี ๓ อย่าง คืออรูปเป็นอัตถิปัจจัยแก่รูป รูปเป็นอัตถิปัจจัยแก่รูป รูปเป็นอัตถิปัจจัยแก่อรูป จริงอยู่ ในคำ นี้ว่า จิตฺตเจตสิกา ธมฺมา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงอรูปเป็นปัจจัยแก่ รูป ด้วยอำนาจปัญจโวการภพ. ในคำนี้ว่า มหาภูตา อุปาทารูปานํ ตรัสถึงรูปเป็นปัจจัยแก่รูป ด้วยอำนาจการสืบต่อแห่งรูปทั้งหมด. ในคำมีอาทิ ว่า "จกฺขวายตนํ จกฺขุวิญฺาณธาตุยา" พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า รูป เป็นปัจจัยแก่อรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ด้วยอำนาจวัตถุและอารมณ์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อัตถิปัจจัยนี้โดยสังเขป จะกล่าวว่า ได้แก่ เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นไป คือนามและรูปที่ถึงซึ่งขณะทั้ง ๓ ก็ถูก.

อัตถิปัจจัยนั้นโดยประเภทแห่งชาติแจกออกเป็น ๕ ชาติ คือกุศล อกุศล วิบาก กิริยา และรูป. ใน ๕ ชาตินั้น อัตถิปัจจัยที่เป็นกุศลมี ๒ คือเป็นสหชาตะกับปัจฉาชาตะ, อกุศล วิบาก และกิริยาก็เหมือนกัน. บรรดา อัตถิปัจจัย ที่เป็นกุศลเป็นต้นนั้น กุศลจำแนกออกเป็น ๔ ภูมิ ด้วยอำนาจเป็นกามาวจรเป็นต้น. อกุศลเป็นกามาวจรอย่างเดียว. วิบากเป็นไปทั้ง ๔ ภูมิ. กิริยาเป็นไปใน ๓ ภูมิ อัตถิปัจจัยคือรูปเป็นกามาวจรอย่างเดียว. ก็ อัตถิปัจจัยคือรูปนั้นมี ๒ อย่าง ด้วยอำนาจสหชาตะและปุเรชาตะ. ใน ๒ อย่างนั้น วัตถุ ๕ และอารมณ์ ๕ เป็นปุเรชาตะอย่างเดียว. หทัยวัตถุ เป็นสหชาตะก็ได้ เป็นปุเรชาตะก็ได้ ส่วนอาหารและอินทรีย์ที่มาแล้วใน ปัญหาวาระ ย่อมไม่ได้การจำแนกโดยเป็นสหชาตะเป็นต้น. ผู้ศึกษาพึง


ความคิดเห็น 74    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 103

ทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกด้วยประการต่างๆ ในอธิการนี้ ดังพรรณนา มาแล้ว.

ก็ในอัตถิปัจจัยที่จำแนกไว้อย่างนี้ กุศลแม้ทั้ง ๔ ภูมิที่เกิดพร้อมกัน เป็นอัตถิปัจจัย. ในปัญจโวการภพ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน แก่ขันธ์ ทั้งหลาย โดยนัยเป็นต้นว่า ขันธ์ ๑ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓. และเป็นปัจจัย แก่จิตตชรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย. แก่สหชาตกุศลที่เหลือ เว้นรูปาวจรกุศล เป็นปัจจัยเฉพาะแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตเท่านั้นในอรูปภพ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย. แก่กุศลที่เป็นปัจฉาชาตะทั้ง ๔ ภูมิ เป็นปัจจัยแก่ กายที่มีสมุฏฐาน ๔ และ ๓ ในปัญจโวการภพ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย แม้ในอกุศลเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่ อกุศลที่เป็นสหชาตะแม้นั้น เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุต และจิตตชรูปในปัญจโวการภพ และ เป็นปัจจัยเฉพาะแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตเท่านั้นในจตุโวการภพ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย. อกุศลที่เป็นปัจฉาชาตอกุศล เป็นปัจจัยแก่กายที่มีสมุฏฐาน ๔ และ ๓ ในปัญจโวการภพ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

ก็โดยความเป็นวิบาก อัตถิปัจจัยที่เป็นกามาวจรวิบาก และรูปาวจรวิบาก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายและกัมมชรูป ในขณะปฏิสนธิโดยแน่นอน ด้วยอำนาจของสหชาตัตถิปัจจัย. แต่เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตและจิตตชรูปในปวัตติกาล ด้วยอำนาจของสหชาตัตถิปัจจัย เป็นปัจจัยแก่กายที่มีสมุฏฐาน ๔ และ ๓ ซึ่งถึงฐีติขณะแล้ว ด้วยอำนาจของ ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย.

แต่อรูปาวจรวิบาก และโลกุตตรวิบาก ที่เกิดในอรูปภพ เป็นปัจจัย เฉพาะแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตนเท่านั้น ด้วยอำนาจสหชาตัตถิปัจจัย.


ความคิดเห็น 75    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 104

โลกุตตรวิบากในปัญจโวการภพ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตกับตนและจิตตชรูป ด้วยอำนาจของสหชาตัตถิปัจจัย เป็นปัจจัยแก่กายที่มีสมุฏฐาน ๔ และ ๓ ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตัตถิปัจจัย.

โดยความเป็นกิริยา อัตถิปัจจัยที่เป็นรูปาวจรกิริยา เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตและจิตตชรูป ด้วยอำนาจของสหชาตัตถิปัจจัย. เป็นปัจจัยแก่กายที่มีสมุฏฐาน ๔ และ ๓ ด้วยอำนาจของปัจฉชาตัตถิปัจจัย.

แต่กามาวจรและอรูปาวจรกิริยา เป็นปัจจัยเฉพาะแก่ขันธ์ที่สัมปยุต เท่านั้น ในอรูปภพ และเป็นปัจจัยแม้แก่จิตตชรูปในปัญจโวการภพ ด้วย อำนาจของสหชาตัตถิปัจจัย. เป็นปัจจัยแก่กายที่มีสมุฏฐาน ๔ และ ๓ ด้วย อำนาจปัจฉาชาตัตถิปัจจัย.

ก็ธรรมคือรูป เป็นอัตถิปัจจัย ๔ ปัจจัย คือสหชาตะ ปุเรชาตะ อาหาร และอินทรีย์. ใน ๔ ปัจจัยนั้น อัตถิปัจจัยคือรูปที่เป็นสหชาตะ มี ๔ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งสมุฏฐาน. ในสมุฏฐาน ๔ นั้น รูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน เป็นสหชาตัตถิปัจจัย อย่างนี้

คือ มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัย แก่มหาภูตรูป ๓, มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑, มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒, มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่อุปาทายรูป ด้วยอำนาจของสหชาตัตถิปัจจัย. วัตถุรูปในขณะปฏิสนธิ เป็นปัจจัยแก่กามาวจรวิบากและรูปาวจรวิบากขันธ์ ด้วยอำนาจของสหชาตัตถิปัจจัย. รูปที่มีสมุฏฐาน ๓ ที่เหลือเป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตัตถิปัจจัย อย่างนี้

คือ มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓, มหาภูตรูป ๓ เป็น ปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑, มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒, มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่อุปาทายรูป.


ความคิดเห็น 76    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 105

ส่วน ปุเรชาตัตถิปัจจัยนี้ ๒ อย่าง

คือ วัตถุปุเรชาตะ และอารัมมณปุเรชาตะ. ทั้ง ๒ อย่างนั้น ผู้ศึกษาพึงเชื่อมความถือเอาตามนัย ที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในปุเรชาตปัจจัยในหนหลัง. แม้อาหารัตถิปัจจัย พึงประกอบตามนัยที่ประกอบแล้วในกวฬีการาหารปัจจัยในหนหลัง. ก็อาหารัตถิปัจจัยนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า อัตถิปัจจัย ในอธิการนี้ ด้วยความเป็นปัจจัยในขณะที่ตนยังไม่ดับไป. แม้ รูปชีวิตินทรีย์ พึงถือเอาตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในการอธิบายรูปชีวิตินทรีย์ ในอินทริยปัจจัยข้างต้น. ก็ในที่นี้ รูปชีวิตินทรีย์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า อัตถิปัจจัยด้วยความเป็นปัจจัยในขณะที่ตน ยังไม่ดับไป. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย แม้ด้วยธรรมที่เป็นปัจจยุบบัน ในอธิการนี้ ดังนี้แล.

วรรณนานิทเทสแห่งอัตถิปัจจัย จบ

[๒๓] นัตถิปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ไม่มี กล่าว

คือ

จิตและเจตสิกธรรมที่ดับไปแล้วตามลำดับด้วยดี เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายคือจิต และเจตสิกที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ด้วยอำนาจของนัตถิปัจจัย.


ความคิดเห็น 77    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 106

วรรณนานิทเทสแห่งนัตถิปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน นัตถิปัจจัยนิทเทส ต่อไป.

บทว่า สมนนฺตรนิรุทฺธา

คือ เป็นธรรมที่ไม่มีระหว่างคั่นด้วยจิตตุปบาทอื่น ดับไปโดยลำดับด้วยดี. บทว่า ปฏุปฺปนฺนานํ แปลว่า เกิดขึ้น เฉพาะหน้า. ด้วยบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมยังความที่นัตถิปัจจัย เป็นนัตถิปัจจัย เพราะอรรถว่า ให้โอกาสแก่ธรรมที่จะเกิดภายหลังเป็นไป จริงอยู่ เมื่อธรรมที่เกิดก่อน ไม่ให้โอกาสแก่ธรรมที่เกิดภายหลังเป็นไป ด้วยอำนาจการที่ตนเองดับไป ความที่ธรรมในภายหลังเหล่านั้นจะเกิดขึ้น เฉพาะหน้า ไม่พึงมี. พรรณนาบาลีในอธิการนี้เท่านี้. คำที่เหลือทั้งหมด ผู้ศึกษาพึงทราบตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในอนันตรปัจจัยนั่นเอง.

จริงอยู่ ลักษณะของปัจจัยเท่านั้น เป็นความแปลกกันในระหว่างอนันตรปัจจัยกับนัตถิปัจจัยนี้. แต่ความต่างกันแห่งปัจจัยและปัจจยุบบันไม่มีเลย. อนึ่ง ในปัจจัยทั้งสองนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปัจจัย และปัจจยุบบันโดยสรุปไว้ โดยนัยเป็นต้นว่า จักขุวิญญาณธาตุ และธรรมที่สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั้นเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ. ในที่นี้ทรงแสดงธรรมเหล่านั้นทั้งหมด โดยทั่วๆ ไป ด้วยอำนาจการดับไปและเกิดขึ้นว่า ธรรมคือจิตและเจตสิกที่ดับไปตามลำดับด้วยดี เป็นปัจจัยแก่ธรรมคือจิต และเจตสิกที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า.

วรรณนานิทเทสแห่งนัตถิปัจจัย จบ


ความคิดเห็น 78    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 107

[๒๔] วิคตปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ปราศจากไป กล่าวคือ.

จิตและเจตสิกธรรมทั้งหลายที่ปราศจากไปแล้ว ตามลำดับด้วยดี เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลาย คือจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ด้วยอำนาจของวิคตปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งวิคตปัจจัย

ใน วิคตปัจจัยนิทเทส บทว่า สมนนฺตรวิคตา

คือ ปราศจากไปโดย ลำดับด้วยดี. ด้วยบทนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงว่า วิคตปัจจัยเป็น ปัจจัยโดยภาวะที่ตนเองปราศจากไป. นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัยนี้ต่างกัน เพียงพยัญชนะเท่านั้น เนื้อความไม่ต่างกันเลย.

วรรณนานิทเทสแห่งวิคตปัจจัย จบ

[๒๕] อวิคตปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ยังไม่ ปราศจากไป กล่าว

คือ

๑. นามขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของอิวิคตปัจจัย

๒. มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย

๓. ในปฏิสนธิขณะ นามธรรมและรูปธรรมทั้งหลาย เป็น ปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย


ความคิดเห็น 79    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 108

๔. จิตและเจตสิกธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่รูปทั้งหลายที่มี จิตเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย

๕. มหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูป ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย

๖. จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับจักขุวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย

๗. โสตายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับโสตวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย

๘. ฆานายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับฆานวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย

๙. ชิวหายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับชิวหาวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย

๑๐. กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับกายวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย

๑๑. รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับจักขุวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย

๑๒. สัททายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับโสตวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย

๑๓. คันธายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับฆานวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย


ความคิดเห็น 80    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 109

๑๔. รสายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับชิวหาวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย

๑๕. โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับกายวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของ อวิคตปัจจัย

๑๖. รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบ กับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย

๑๗. มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ อาศัยรูปใดเป็นไป รูป นั้นเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งอวิคตปัจจัย

คำเป็นต้นว่า จตฺตาโร ขนฺธา ใน อวิคตปัจจัยนิทเทส ผู้ศึกษา พึงทราบเนื้อความโดยอาการทั้งปวง ตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในอัตถิปัจจัยนิทเทส. จริงอยู่ ปัจจัยนี้กับอัตถิปัจจัยต่างกันเพียงพยัญชนะเท่านั้น เนื้อความหาตางกันไม่.

วรรณนานิทเทสแห่งอวิคตปัจจัย จบ


ความคิดเห็น 81    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 110

วรรณนาปัจจยนิทเทสวาระ

(บาลีอรรถกถาหน้า ๕๑๘ - ๕๒๙)

เพื่อความแจ่มแจ้งแห่งการดำเนินไปแห่งญาณ ในปัจจัย ๒๔ เหล่านี้ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วทั้งโดยอุทเทส และนิทเทส ดังพรรณนามาแล้ว บัดนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบ ปกิณณกวินิจฉัย ด้วยอำนาจแห่งบท ๑๐ เหล่านี้คือ

๑. โดยภาวะที่ธรรมหลายๆ อย่าง เป็นปัจจัยอย่างเดียวกัน

๒. โดยภาวะธรรมอย่างเดียว เป็นปัจจัยได้หลายๆ อย่าง

๓. โดยภาวะที่ปัจจัยอย่างเดียว เป็นปัจจัยได้หลายๆ อย่าง

๔. โดยปัจจัยที่เป็นสภาคะกัน

๕. โดยปัจจัยที่เป็นวิสภาคะกัน

๖. โดยปัจจัยที่เป็นคู่กัน

๗. โดยเห็นชนกปัจจัย และอชนกปัจจัย

๘. โดยปัจจัยที่เข้ากับธรรมได้ทั้งหมดและไม่ทั้งหมด

๙. โดยการกำหนดมีอาทิว่า รูปเป็นปัจจัยแก่รูปเป็นต้น

๑๐. โดยการจำแนกโดยภพ.

ใน ๑๐ อย่างนั้น

๑. บทว่า โดยภาวะที่ธรรมหลายๆ อย่างเป็นปัจจัยอย่างเดียว กัน ความว่า ธรรมหลายอย่างเป็นปัจจัยโดยความเป็นอันเดียวกัน ในปัจจัย ๒๓ ที่เหลือเว้น กัมมปัจจัยเหล่านี้. ส่วนกัมมปัจจัย ได้แก่เจตนา


ความคิดเห็น 82    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 111

ธรรมอย่างเดียวเท่านั้น. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยภาวะที่ธรรมหลายๆ อย่างเป็นปัจจัยอย่างเดียวกัน ในอธิการนี้อย่างนี้ก่อน.

๒. บทว่า โดยภาวะที่ธรรมอย่างเดียวเป็นปัจจัยหลายๆ อย่าง ความว่า ในเหตุปัจจัยก่อน ธรรมอย่างหนึ่ง

คือ อโมหะ ไม่เป็นเพียง ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย ฌานปัจจัยเท่านั้น (แต่) เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจปัจจัย ๒๐ ที่เหลือ. อโลภะ และ อโทสะ แม้ไม่เป็นอินทริยปัจจัยและมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๑๘ ที่เหลือ. โลภะ โมหะ แม้ไม่เป็นวิปากปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๑๗ ที่เหลือ. โทสะ แม้ไม่เป็นอธิปติปัจจัย ก็เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๑๖ ที่เหลือ.

ใน อารัมมณปัจจัย รูปายตนะ เป็นปัจจัย ๔ อย่าง คืออารัมมณปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย แก่จักขุวิญญาณธาตุ มโนธาตุ และอเหตุกมโนวิญญาณธาตุ แต่ยังเป็นปัจจัยด้วยอำนาจของ อารัมมณาธิปติปัจจัย และอารัมมณูปนิสสยปัจจัยอีก แก่สเหตุกมโนวิญญาณธาตุ. ผู้ศึกษาพึงทราบความที่อารัมมณปัจจัยธรรมทั้งหมด เป็นปัจจัยหลายอย่างโดยนัยนี้.

ใน อธิปติปัจจัย ผู้ศึกษาพึงทราบความที่อารัมมณาธิปติเป็นปัจจัย หลายอย่าง ตามนัยที่กล่าวแล้วในอารัมมณปัจจัย. ในธรรมที่เป็นสหชาตาธิปติ วิมังสาธิปติ เป็นปัจจัย ๒๐ อย่าง เหมือนอโมหะเหตุ. ฉันทะ ไม่ เป็นเหตุปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย และมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๑๗ ที่เหลือ. จิตตะ ไม่เป็นเหตุปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย ฌานปัจจัย และ


ความคิดเห็น 83    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 112

มัคคปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๑๙ ที่เหลือ. วิริยะ ไม่เป็นเหตุปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย และฌานปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๙ ที่เหลือ.

ใน อนันตรปัจจัย บรรดาขันธ์ ๔ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ โดยนัย เป็นต้นว่า " จกฺวิญฺญาณธาตุ ".

เวทนาขันธ์ ไม่เป็นเหตุปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย และมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๑๙ ที่เหลือ.

สัญญาขันธ์ ไม่เป็นอินทริยปัจจัย และฌานปัจจัย เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจปัจจัย ๑๗ ที่เหลือ.

ใน สังขารขันธ์ เหตุ เป็นปัจจัยตามนัยที่กล่าวแล้วในเหตุปัจจัย ฉันทะ และ วิริยะ เป็นปัจจัยตามนัยที่กล่าวแล้วในอธิปติปัจจัย.

ผัสสะ ไม่เป็นเหตุปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย และมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๑๘ ที่เหลือ.

เจตนา ไม่เป็นเหตุปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย และมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๑๙ ที่เหลือ.

วิตก ไม่เป็นเหตุปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทริยปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๑๙ ที่เหลือ.

วิจาร ไม่เป็นมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๑๘ ที่เหลือ.

ปีติ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๑๘ เหล่านั้นเหมือนกัน.

เอกัคคตา ไม่เป็นเหตุปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย และ อาหารปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๒๐ ที่เหลือ.


ความคิดเห็น 84    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 113

สัทธา ไม่เป็นเหตุปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย ฌานปัจจัย และมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๑๘ ที่เหลือ

สติ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๑๘ คือปัจจัย ๑๘ เหล่านั้น และ มัคคปัจจัย.

ชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๑๘ ที่กล่าวแล้วในสัทธา.

หิริ และ โอตตัปปะ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๑๗ ที่เหลือ โดย เอาอินทริยปัจจัยออก.

เจตสิกที่เป็นคู่ๆ กัน มี กายปัสสัทธิ เป็นต้น และบรรดา เยวาปนกะ เจตสิก

คือ อธิโมกข์ มนสิการ ตัตรมัชฌัตตตา กรุณา และ มุทิตา ก็เหมือนกัน คือเป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย ๑๗ เท่านั้น. ส่วน วิรตีเจตสิก เป็นปัจจัย ๑๘ อย่าง คือปัจจัย ๑๗ เหล่านั้น และมัคคปัจจัย.

มิจฉาทิฏฐิ เป็นปัจจัย ๑๗ อย่าง โดยนำวิปากปัจจัยออก

มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ และ มิจฉาอาชีวะ เป็นปัจจัย ๑๙ อย่าง คือปัจจัย ๑๗ เหล่านั้น และกัมมปัจจัย กับอาหารปัจจัย

เจตสิกธรรมเหล่านี้

คือ อริหิกะ อโนตตัปปะ มานะ ถีนะ มิทธะ อุทธัจจะ ไม่เป็นเหตุปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย และมัคคปัจจัย แต่เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจปัจจัย ๑๖ ที่เหลือ.

วิจิกิจฉา อิสสา มัจฉริยะ และ กุกกุจจะ เป็นปัจจัย ๑๕ อย่าง โดยเอาอธิปติปัจจัยออกจากนั้น.


ความคิดเห็น 85    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 114

พึงทราบความที่ วิญญาณขันธ์ เป็นปัจจัยหลายอย่าง ตามนัยที่ กล่าวแล้วในอธิปติปัจจัย. แม้ในสมนันตรปัจจัยก็นัยนี้เหมือนกัน.

ใน สหชาตปัจจัย บรรดาขันธ์ ๔ ก่อน พึงทราบความที่ธรรมหนึ่งๆ เป็นปัจจัยหลายอย่าง ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นเอง.

มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัย ๙ อย่าง คืออารัมมณปัจจัย อารัมมณาธิปติปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย.

หทัยวัตถุ เป็นปัจจัย ๑๐ อย่าง คือปัจจัย ๙ เหล่านั้น และ วิปปยุตตปัจจัย.

ใน อัญญมัญญปัจจัย ไม่มีธรรมที่ไม่เคยมีมาก่อน (คือเหมือนกับ สหชาตปัจจัย).

ใน นิสสยปัจจัย จักขายตนะ เป็นต้น เป็นปัจจัย ๙ อย่าง

คือ อารัมมณปัจจัย อารัมมณาธิปติปัจจัย นิสสยปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย อินทริยปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย

ใน อุปนิสสยปัจจัย ไม่มีธรรมไม่เคยกล่าวมาก่อน.

ใน ปุเรชาตปัจจัย รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ และ รสายตนะ เป็นปัจจัย ๖ อย่าง

คือ อารัมมณปัจจัยย อารัมมณาธิปติปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิตตปัจจัย ในปุเรชาต ปัจจัยนี้มีคำที่ยังไม่ได้อธิบายเพียงเท่านี้.

ใน ปัจฉาชาตปัจจัย เป็นต้น ไม่มีธรรมที่ยังไม่เคยมีมาก่อน.


ความคิดเห็น 86    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 115

ใน อาหารปัจจัย กพฬีการาหารเป็นปัจจัย ๖ อย่าง คืออารัมมณปัจจัย อารัมมณาธิปติปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย อาหารปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย.

ใน อินทริยปัจจัย เป็นต้น ไม่มีธรรมที่ยังไม่เคยมีมา, ผู้ศึกษาพึง ทราบวินิจฉัย แม้โดยภาวะที่ธรรมอย่างเดียว เป็นปัจจัยได้หลายอย่าง ในอธิการนี้ ดังพรรณนามาแล้วแล.

๓. บทว่า โดยภาวะที่ปัจจัยเดียว เป็นปัจจัยได้หลายอย่าง ความว่า ธรรมใดเป็นปัจจัยแห่งปัจจยุบบันชนิดใดชนิดหนึ่ง ในบรรดา เหตุปัจจัย เป็นต้น โดยอาการใด โดยอรรถใด ธรรมนั้นไม่ละอาการนั้น อรรถนั้น ถึงความเป็นปัจจัยหลายอย่างแก่ธรรมเหล่านั้นในขณะนั้นเอง โดยอาการใด โดยอรรถใด อย่างอื่นอีก ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย ธรรมนั้นโดยภาวะที่เป็นปัจจัยได้หลายอย่าง โดยอาการนั้น โดยอรรถนั้น คือ

อโมหะ เป็นเหตุปัจจัย อโมหะนั้นไม่ละอรรถแห่งเหตุปัจจัยนั้นเลย ถึงความเป็นปัจจัยหลายอย่าง โดยอาการ ๑๑ อีก

คือ อธิปติปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย วิปากปัจจัย อินทริยปัจจัย มัคคปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย.

อโลภะ และ อโทสะ ถึงความเป็นปัจจัยหลายอย่าง ด้วยอำนาจ ปัจจัยที่เหลือจาก ๑๑ ปัจจัยนั้น โดยนำปัจจัย ๓

คือ อธิปติปัจจัย อินทริยปัจจัย และมัคคปัจจัย ออก. อโลภะ และ อโทสะ ทั้งสองนี้ ย่อมได้ในเหตุปัจจัย และวิปากปัจจัยด้วย. ส่วนในกุศลและกิริยา ขาด


ความคิดเห็น 87    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 116

วิปากปัจจัยไป. โลภะ โทสะ และ โมหะ ย่อมถึงความเป็นปัจจัยหลาย อย่าง ด้วยอำนาจปัจจัยที่เหลือ เว้นปัจจัย ๔

คือ ปัจจัย ๓ เหล่านั้น และวิปากปัจจัย.

อารัมมณปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งอารัมมณปัจจัยนั้นเลย ย่อมถึง ความเป็นปัจจัยหลายอย่าง ด้วยอาการ ๗ อีก

คือ อารัมมณาธิปติปัจจัย นิสสยปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย. นี้เป็นกำหนดอย่างสูงสุดในอารัมมณปัจจัยนี้. ก็เมื่ออรูปธรรมคือรูปธรรม ที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอารัมมณปัจจัยมีอยู่ ย่อมได้ปัจจัยเพิ่มขึ้นเพียงอารัมมณาธิปติปัจจัย และอารัมมณูปนิสสยปัจจัย เท่านั้น.

วิมังสา ใน อธิปติปัจจัย เหมือนกับอโมหะ. ฉันทะ. ไม่ละอรรถ แห่งอธิปติปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัยหลายอย่าง โดยอาการ ๘ อีก

คือ สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย วิปากปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย. วิริยะ ถึงความ เป็นปัจจัยหลายอย่างด้วยอาการ ๑๐ ด้วยอำนาจปัจจัยเหล่านี้

คือ ปัจจัย ๘ เหล่านั้น และอินทริยปัจจัย กับมัคคปัจจัย. จิตตะ ถึงความเป็นปัจจัย หลายอย่าง โดยอาการ ๑๐ นอกเหนือจากอธิปติปัจจัย ด้วยอำนาจการ นำมัคคปัจจัยออกจากนั้น แล้วเพิ่มอาหารปัจจัยเข้าไป. ส่วน อารัมมณาธิปติปัจจัย ผู้ศึกษาพึงทราบว่าเป็นปัจจัยหลายอย่าง ตามนัยที่กล่าวแล้ว ในอารัมมณปัจจัยในหนหลัง.

อนันตรปัจจัย และ สมนันตรปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งอนันตรปัจจัย และสมนันตรปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัยหลายอย่าง ด้วยอาการ ๕ อีก

คือ อุปนิสสยปัจจัย กัมมปัจจัย อาเสวนปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย


ความคิดเห็น 88    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 117

เจตนาในอริยมรรคเท่านั้น ย่อมได้ความเป็นกัมมปัจจัย ในอนันตรปัจจัยนี้ ธรรมที่เหลือหาได้ไม่.

สหชาตปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งสหชาตปัจจัยเลย ย่อมถึงความเป็นปัจจัยหลายอย่าง ด้วยอาการ ๑๔ อีก

คือ เหตุปัจจัย อธิปติปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย. นี้เป็นกำหนดอย่างสูงสุด แต่ว่าด้วยอำนาจ วัตถุสหชาตะ (วัตถุที่เกิดพร้อม คือ ป. หทัย) เป็นต้น พึงทราบว่าไม่มี เหตุปัจจัยเป็นต้น ในวัตถุสหชาตะนี้. แม้ในอัญญมัญญปัจจัย ก็นัยนี้เหมือนกัน.

นิสสยปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งนิสสยปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัย หลายอย่าง ด้วยอาการ ๑๗ แม้อื่นอีก ด้วยอำนาจปัจจัยที่เหลือ โดยนำออก ๖ ปัจจัยในบรรดาปัจจัย ๒๔

คือ อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย อาเสวนปัจจัย นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย และอรรถแห่งนิสสยปัจจัยของตนด้วย. แม้นี้ก็เป็นกำหนดอย่างสูงสุด ก็เมื่อว่าด้วยอำนาจแห่งวัตถุนิสสยะเป็นต้น. พึงทราบว่า ไม่มีเหตุปัจจัยเป็นต้น ใน นิสสยปัจจัยนี้.

ใน อุปนิสสยปัจจัย อารัมมณูปนิสสยปัจจัย เหมือนกับอารัมมณาธิปติปัจจัย. อนันตรูปนิสสยปัจจัยไม่ละอรรถแห่งอนันตรูปนิสสยปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัยหลายอย่าง ด้วยอาการ ๖ อีก

คือ อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย กัมมปัจจัย อาเสวนปัจจัย นัตถิปัจจัย. และวิคตปัจจัย. อริยมรรคเจตนาเท่านั้น ย่อมได้ความเป็นกัมมปัจจัย ในอนันตรูป-


ความคิดเห็น 89    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 118

นิสสยปัจจัยนี้ ธรรมที่เหลือหาได้ไม่. ปกตูปนิสสยะ ก็คือปกตูปนิสสยปัจจัยนั่นเอง.

ปุเรชาตปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งปุเรชาตปัจจัยของตน ย่อมถึงความ เป็นปัจจัยอีกหลายอย่าง โดยอาการ ๘ อีก

คือ อารัมมณปัจจัย อารัมมณาธิปติปัจจัย นิสสยปัจจัย อุปนิสสปัจจัย อินทริยปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย. นี้เป็นการแสดงปัจจัยที่มากที่สุด แต่ในอารัมมณปุเรชาตปัจจัย ย่อมไม่ได้นิสสยปัจจัย อินทริยปัจจัย และวิปปยุตตปัจจัย. พึงทราบปัจจัยที่ได้หรือไม่ได้ ยิ่งไปกว่านี้.

ปัจฉาชาตปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งปัจฉาชาตปัจจัยของตน ย่อมถึง ความเป็นปัจจัยหลายอย่าง ด้วยอาการ ๓ อีก

คือ วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย.

อาเสวนปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งอาเสวนปัจจัย ย่อมถึงความเป็น ปัจจัยอีกหลายอย่างโดยอาการ ๕

คือ อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย.

กัมมปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งกัมมปัจจัย ที่เป็นกัมมปัจจัยในขณะ เดียวกัน (เอกขณิกกัมมปัจจัย

คือ สหชาตกัม) ก่อน ยังถึงความเป็นปัจจัย อีกหลายอย่าง ด้วยอาการ ๙

คือ สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย.

ที่เป็น นานักขณิกกัมมปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัย อีกหลายอย่าง โดยอาการ ๕

คือ อุปนิสสยปัจจัย อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย.


ความคิดเห็น 90    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 119

วิปากปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งวิปากปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัย อีกหลายอย่างด้วยอาการ ๑๔

คือ เหตุปัจจัย อธิปติปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย.

ใน อาหารปัจจัย กวฬีการาหาร ไม่ละอรรถแห่งอาหารปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัยอีกหลายอย่างด้วยอาการ ๒ อย่าง

คือ อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย. อาหาร ๓ ที่เหลือ ไม่ละอรรถแห่งอาหารปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัยอีกหลายอย่างด้วยอาการ ๑๑

คือ อธิปติปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย อินทริยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย ตามสมควร.

ใน อินทริยปัจจัย รูปอินทรีย์ ๕ ไม่ละอรรถแห่งอินทริยปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัยอีกหลายอย่าง โดยอาการ ๕

คือ นิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย. แม้รูปชีวิตินทรีย์ ก็ไม่ละอรรถแห่งอินทริยปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัยอีกหลายอย่างโดย อาการ ๒

คือ อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย. อรูปอินทรีย์ ไม่ละอรรถ แห่งอินทริยปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัยอีกหลายอย่างโดยอาการ ๑๓

คือ เหตุปัจจัย อธิปติปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย ตามสมควร.


ความคิดเห็น 91    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 120

ฌานปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งฌานปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัย อีกหลายอย่างโดยอาการ ๑๐

คือ สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย วิปากปัจจัย อินทริยปัจจัย มัคคปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย.

มัคคปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งมัคคปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัยอีก หลายอย่างโดยอาการ ๑๒

คือ ปัจจัย ๑๐ ที่กล่าวแล้วในฌานปัจจัย และ เหตุปัจจัย กับอธิปติปัจจัย ตามสมควร.

สัมปยุตตปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งสัมปยุตตปัจจัย ย่อมถึงความเป็น ปัจจัยอีกหลายอย่างโดยอาการ ๑๓

คือ เหตุปัจจัย อธิปติปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย.

วิปปยุตตปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งวิปปยุตตปัจจัย ย่อมถึงความเป็น ปัจจัยอีกหลายอย่างด้วยอาการ ๑๗ ตามสมควร

คือ ปัจจัยที่เหลือ โดย นำเอาปัจจัย ๖ ออก

คือ อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อาเสวนปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย. พึงทราบวิภาคแห่งปัจจัยแห่ง รูป และอรูปในวิปปยุตตปัจจัยนั้น.

อัตถิปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งอัตถิปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัยอีก หลายอย่างโดยอาการ ๑๘ ตามสมควร ด้วยอำนาจปัจจัยที่เหลือ ด้วยนำ ปัจจัย ๕ ออก

คือ อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อาเสวนปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย.

นัตถิปัจจัย และ วิคตปัจจัย เหมือนกับอนันตรปัจจัย.


ความคิดเห็น 92    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 121

อวิคตปัจจัย เหมือนกับอัตถิปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้ โดยภาวะที่ปัจจัยอย่างเดียวเป็นปัจจัยได้หลายอย่าง ในอธิการนี้ ดัง พรรณนามาแล้ว.

๔. บทว่า โดยเป็นปัจจัยที่สภาคกัน ความว่า จริงอยู่ ในปัจจัย ๒๔ นี้ อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อนันตรูปนิสสยปัจจัย อาเสวนปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย เป็นสภาคกัน. อนึ่ง อารัมมณปัจจัย อารัมมณาธิปติปัจจัย และอารัมมณูปนิสสยปัจจัย ก็เป็นสภาคกันแล. พึงทราบวินิจฉัยแม้ด้วยอำนาจของปัจจัยที่เป็นสภาคกันในอธิการนี้ ด้วย อุบายนี้.

๕. บทว่า โดยเป็นปัจจัยที่เป็นวิสภาคกัน ความว่า ก็บรรดา ปัจจัยเหล่านี้ ปุเรชาตปัจจัยเป็นวิสภาคกับปัจฉาชาตปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย เป็นวิสภาคกับวิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัยเป็นวิสภาคกับนัตถิปัจจัย วิคตปัจจัยเป็นวิสภาคกับอวิคตปัจจัย. พึงทราบวินิจฉัยแม้ด้วยอำนาจของปัจจัย ที่เป็นวิสภาคกันในอธิการนี้ โดยอุบายนี้.

๖. บทว่า โดยเป็นปัจจัยที่เป็นคู่กัน มีอธิบายว่า ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยด้วยอำนาจของปัจจัยที่เป็นคู่กันในปัจจัยเหล่านี้ ด้วยเหตุเหล่า นี้คือโดยความที่มีอรรถเหมือนกัน มีศัพท์เหมือนกัน มีกาลที่ผิดกัน เป็นเหตุและเป็นผลกัน และเป็นปฏิปักษ์ต่อกันและกัน

จริงอยู่ อนันตรปัจจัย กับสมนันตรปัจจัย จัดเป็นคู่หนึ่ง เพราะ มีเนื้อความเหมือนกัน.

นิสสยปัจจัย กับอุปนิสสยปัจจัย จัดเป็นคู่หนึ่ง เพราะมีศัพท์ เหมือนกัน.


ความคิดเห็น 93    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 122

ปุเรชาตปัจจัย กับปัจฉาชาตปัจจัย จัดเป็นคู่หนึ่ง เพราะมีกาลเป็นปฏิปักษ์กัน.

กัมมปัจจัย กับวิปากปัจจัย จัดเป็นคู่หนึ่ง เพราะเป็นเหตุและเป็นผลกัน.

สัมปยุตตปัจจัย กับวิปปยุตตปัจจัย จัดเป็นคู่หนึ่ง เพราะเป็นปฏิปักษ์ซึ่งกันและกัน.

อัตถิปัจจัย กับนัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย กับอวิคตปัจจัยก็เหมือนกันอย่างนั้น. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้ด้วยอำนาจปัจจัยที่เป็นของคู่กันในอธิการนี้ ดังกล่าวมาแล้ว.

๗. บทว่า โดยเป็นชนกปัจจัย และอชนกปัจจัย ความว่า ก็บรรดาปัจจัยเหล่านี้ ปัจจัยนี้คืออนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อนันตรูปนิสสยปัจจัย ปกตูปนิสสยปัจจัย และอาเสวนปัจจัย นานักขณิกกัมมปัจจัย นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย จัดเป็นชนกปัจจัยอย่างเดียว ไม่เป็นอชนกปัจจัย. ปัจฉาชาตปัจจัยเป็นฝ่ายอุปถัมภ์เท่านั้น ไม่เป็นชนกปัจจัย. ปัจจัยที่เหลือ เป็นชนกับปัจจัย อชนกปัจจัยและอุปถัมภ์ปัจจัย. พึงทราบวินิจฉัยแม้ด้วย อำนาจของปัจจัย ที่เป็นชนกปัจจัยและอชนกปัจจัยในอธิการนี้ ดังพรรณนา มาแล้ว.

๘. บทว่า โดยเป็นปัจจัยที่เข้ากับธรรมทั้งหมด และไม่ทั้งหมด ความว่า ในปัจจัยเหล่านี้ สหชาตปัจจัย นิสสยปัจจัย อัตถิปัจจัย และ อวิคตปัจจัย ชื่อว่าเข้าได้กับธรรมทั้งหมด (สพฺพฏฺานิก). อธิบายว่า เป็นที่ตั้ง เป็นเหตุแห่งรูปธรรมและอรูปธรรม ที่เป็นสังขตะทั้งหมด


ความคิดเห็น 94    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 123

อธิบายว่า ธรรมแม้อย่างหนึ่งเมื่อเกิดขึ้น เว้นจากปัจจัยเหล่านี้ย่อมไม่มี. อารัมมณะ อารัมมณาธิปติ อนันตระ สมนันตระ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ อาเสวนะ สัมปยุต นัตถิ และวิคตปัจจัย ชื่อว่าปัจจัยที่เข้าได้กับ ธรรมไม่หมด (อสพฺพฏฺานิก) เพราะไม่เป็นที่ตั้งแห่งรูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหมด อธิบายว่า เป็นที่ตั้งเป็นเหตุแห่งอรูปขันธ์ทั้งหลายเท่านั้น. จริงอยู่ อรูปธรรมเท่านั้นย่อมเกิดเพราะปัจจัยเหล่านี้ รูปธรรมหาเกิดขึ้น ไม่. แม้ปุเรชาตปัจจัย และปัจฉาชาตปัจจัย ชื่อว่าปัจจัยที่เข้าไม่ได้กับ ธรรมทั้งหมด (อสพฺพฏฺานิก) เพราะเป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปขันธ์และ รูปขันธ์เท่านั้นตามลำดับ. แม้ปัจจัยที่เหลือจากที่กล่าวแล้วก็ชื่อว่าประกอบ ไม่ได้ทุกแห่ง เพราะเป็นเหตุแห่งการเกิดขึ้นของรูปธรรมและอรูปธรรมบางพวก. พึงทราบวินิจฉัยแม้ด้วยอำนาจของปัจจัยที่เข้าได้ทุกแห่ง และเข้าไม่ได้ทุกแห่งในอธิการนี้ ดังพรรณนามาแล้ว.

๙. บทว่า โดยการกำหนดว่า รูปเป็นปัจจัยแก่รูปเป็นต้น ความว่า ก็ในปัจจัย ๒๔ เหล่านี้ แม้ปัจจัยอย่างหนึ่งที่เป็นรูปอย่างเดียว จะชื่อว่าเป็นปัจจัยเฉพาะแก่รูปเท่านั้น ย่อมไม่มี. แต่ที่เป็นรูปโดยส่วนเดียว เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปเท่านั้นมีอยู่.

ถามว่า ก็ปัจจัยอย่างนั้นคือปัจจัยไหน? ตอบว่า ปุเรชาตปัจจัย. จริงอยู่ ปุเรชาตปัจจัยเป็นรูปโดยแน่นอน (แต่) เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูป เท่านั้น. ปัจจัยที่เป็นรูปอย่างเดียวชื่อว่าเป็นปัจจัยแก่รูปและอรูปไม่มี แต่ที่เป็นอรูปอย่างเดียวเป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปเท่านั้นมีอยู่. ถามว่า ได้แก่ ปัจจัยไหน? ตอบว่า ได้แก่ปัจจัย ๖

คือ อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย


ความคิดเห็น 95    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 124

อาเสวนปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย. จริงอยู่ปัจจัยทั้ง ๖ นั้นเป็นอรูปอย่างเดียว เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปเท่านั้น.

ปัจจัยที่เป็นอรูปอย่างเดียว เป็นปัจจัยเฉพาะแก่รูปเท่านั้นมีอยู่. ถามว่า ได้แก่ปัจจัยไหน? ตอบว่า ได้แก่ปัจฉาชาตปัจจัย. จริงอยู่ ปัจฉาชาตปัจจัยนั้นเป็นอรูปอย่างเดียว เป็นปัจจัยเฉพาะแก่รูปเท่านั้น.

ส่วนปัจจัยที่เป็นอรูปธรรมอย่างเดียว เป็นปัจจัยทั้งแก่รูปและอรูป มีอยู่. ถามว่า ได้แก่ปัจจัยไหน ตอบว่า ได้แก่ปัจจัย ๕

คือ เหตุปัจจัย กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย ฌานปัจจัย และมัคคปัจจัย. จริงอยู่ ปัจจัย ๕ ทั้งหมดนั้น เป็นอรูปอย่างเดียว เป็นปัจจัยแก่รูปธรรมก็ได้ อรูปธรรมก็ได้. แต่ปัจจัยที่เป็นทั้งรูปและอรูปโดยแน่นอน ชื่อว่าเป็น ปัจจัยเฉพาะแก่รูปเท่านั้น ย่อมไม่มี แต่เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปมีอยู่ ถามว่า ได้แก่ปัจจัยไหน? ตอบว่า ได้แก่อารัมมณปัจจัย และ อุปนิสสยปัจจัย. จริงอยู่ ปัจจัยทั้งสองนี้เป็นทั้งรูปและอรูปแน่นอน (แต่) เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปเท่านั้น.

อนึ่ง ปัจจัยที่เป็นทั้งรูปและอรูปโดยแน่นอน เป็นปัจจัยทั้งแก่รูป และอรูปมีอยู่. ถามว่า ได้แก่ปัจจัยไหน? ตอบว่า ได้แก่อธิปติปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย. จริงอยู่ ปัจจัยนั้นทั้งหมด เป็นทั้งรูปและอรูป (และ) เป็นปัจจัยทั้งแก่รูปและอรูปด้วย. พึงทราบ วินิจฉัยแม้โดยการกำหนดมีอาทิว่า รูปเป็นปัจจัยแก่รูปเป็นต้น ในอธิการนี้ ดังกล่าวมาแล้ว.


ความคิดเห็น 96    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 20 ก.พ. 2565

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 125

๑๐. บทว่า โดยการจำแนกโดยภพ ความว่า ก็บรรดาปัจจัย ๒๔ เหล่านี้ ใน ปัญจโวการภพก่อน ปัจจัยอะไรๆ ที่ชื่อว่ามีไม่ได้ ย่อมไม่มี. ส่วนใน จตุโวการภพ ปัจจัย ๒๑ ที่เหลือ ย่อมมีได้ โดยนำ ปัจจัย ๓

คือ ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย และวิปปยุตตปัจจัย ออก ใน เอกโวการภพ ย่อมได้ปัจจัย ๗ เหล่านั้น

คือ สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย กัมมปัจจัย อินทริยปัจจัย อัตถิปัจจัย และ อวิคตปัจจัย. ส่วนในรูปที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ในภายนอก ย่อมได้ปัจจัย ๕ เท่านั้น

คือ สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย.

พึงทรามวินิจฉัยแม้โดยการจำแนกโดยภพในอธิการนี้ ดังกล่าวมา แล้วแล.

วรรณนาปัจจัยนิทเทสวาระ จบ